พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,691 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8232/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วม การชำระหนี้บางส่วน และสิทธิบังคับคดี ศาลยืนยึดสิทธิเจ้าหนี้ในการบังคับคดีกับลูกหนี้ร่วมรายอื่น
คำพิพากษาระบุไว้ชัดเจนว่าให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ หากไม่ชำระหนี้ให้ยึดที่ดินทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ เมื่อจำเลยที่ 3นำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์เพื่อไถ่ถอนจำนองและโจทก์ตกลงรับชำระหนี้ จึงเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาในลำดับแรกแล้วกรณีไม่จำต้องนำที่ดินทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ออกขายตลาด
การที่โจทก์รับชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3ย่อมทำให้หนี้ของจำเลยที่ 3 ที่ชำระหนี้ในการไถ่ถอนจำนองระงับลงเท่าจำนวนที่ชำระหนี้ซึ่งมีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่เป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาด้วย เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ตกลงปลดหนี้ให้แก่จำเลยที่ 3 หนี้ของจำเลยทั้งสามจึงยังไม่ระงับไปหนี้ยังเหลืออยู่อีกจำนวนเท่าใด จำเลยทั้งสามยังคงต้องรับผิดร่วมกันอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 โจทก์จึงมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2เพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปได้จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการยึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 ได้
การที่โจทก์รับชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3ย่อมทำให้หนี้ของจำเลยที่ 3 ที่ชำระหนี้ในการไถ่ถอนจำนองระงับลงเท่าจำนวนที่ชำระหนี้ซึ่งมีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่เป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาด้วย เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ตกลงปลดหนี้ให้แก่จำเลยที่ 3 หนี้ของจำเลยทั้งสามจึงยังไม่ระงับไปหนี้ยังเหลืออยู่อีกจำนวนเท่าใด จำเลยทั้งสามยังคงต้องรับผิดร่วมกันอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 โจทก์จึงมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2เพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปได้จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการยึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8223/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ต่างสกุลเงินและอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้บังคับตามคำพิพากษา
การเปลี่ยนเงินต่างประเทศเป็นเงินไทยเพื่อการชำระหนี้นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ทำการขายเงินตราต่างประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ แต่เพื่อความสะดวกในการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกานี้ เห็นสมควรให้นำหนี้ที่แต่ละฝ่ายต้องชำระเงินแก่กันมาหักกลบลบกัน โดยนำค่าเสียหายที่โจทก์จะต้องชดใช้แก่จำเลยมาคิดคำนวณเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐโดยให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ ณ วันสิ้นทำการในวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกานี้หากอัตราแลกเปลี่ยนในวันดังกล่าวสูงกว่าอัตราแลกเปลี่ยนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ในวันที่ 4 ตุลาคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษา ก็ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 4 ตุลาคม 2542 จำเลยจึงมีสิทธิที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งแสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศส่วนที่เหลือจากการหักกลบลบกันแล้ว โดยถือตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันเวลาที่จำเลยใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล และการชำระหนี้สินสมรสเพื่อยกเลิกการบังคับคดี
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากผู้ร้องเพียงกึ่งหนึ่งและยกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ดังนี้ แม้ก่อนที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องนี้ ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดังกล่าวและคดีถึงที่สุดแล้ว แต่คำร้องนี้เป็นคำร้องคนละอย่างกับคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์การที่คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องถึงที่สุดก็ไม่มีผลต่อสิทธิของผู้ร้องที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องนี้ เมื่อคำสั่งคำร้องนี้มิได้มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้ผู้ร้องอุทธรณ์ ผู้ร้องจึงย่อมอุทธรณ์ได้
การขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวย่อมมีผลให้ตัวทรัพย์ที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้หลุดพ้นจากการบังคับคดี และมิใช่เป็นเพียงขอรับการคุ้มครองจากการได้รับผลกระทบกระทั่งจากการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 แต่เป็นการดำเนินการที่มีผลอย่างเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 288 นั่นเอง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องชอบแล้ว
การขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวย่อมมีผลให้ตัวทรัพย์ที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้หลุดพ้นจากการบังคับคดี และมิใช่เป็นเพียงขอรับการคุ้มครองจากการได้รับผลกระทบกระทั่งจากการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 แต่เป็นการดำเนินการที่มีผลอย่างเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 288 นั่นเอง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษา: ลูกหนี้ตามคำพิพากษาสามารถร้องขอให้ศาลบังคับคดีลูกหนี้อีกฝ่ายได้
ตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นเป็นผลให้โจทก์และจำเลยต่างมีสภาพเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่มีหนี้ต้องชำระต่างตอบแทนกัน ในส่วนจำเลยจะต้องโอนสิทธิครอบครองในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ และโจทก์จะต้องชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยเช่นกัน อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 272 จำเลยย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับเพื่อดำเนินการบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดีและเกณฑ์การฟ้องล้มละลาย: การพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะนั้น
สิทธิในการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เป็นสิทธิแก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีคือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้นที่จะร้องขอให้บังคับคดี จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้ออ้างว่าโจทก์ไม่อาจฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายเพราะสามารถเข้าสวมสิทธิแทนจำเลยในการบังคับคดีเอาจากลูกหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยในคดีอื่นไม่ได้
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยก่อนวันที่ พ.ร.บ. ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับและคดียังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาล จึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่เป็นกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น ไม่อาจนำ หลักเกณฑ์จำนวนหนี้ขั้นต่ำที่อาจฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาเปรียบเทียบในคดีนี้ได้
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยก่อนวันที่ พ.ร.บ. ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับและคดียังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาล จึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่เป็นกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น ไม่อาจนำ หลักเกณฑ์จำนวนหนี้ขั้นต่ำที่อาจฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาเปรียบเทียบในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับคดีและการฟ้องล้มละลาย: ข้อจำกัดของโจทก์ที่ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และการบังคับใช้กฎหมายล้มละลายที่แตกต่างกัน
จำเลยเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องชำระหนี้เงินกู้แก่จำเลย 450,000 บาท แต่สิทธิในการบังคับคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 กำหนดให้เป็นสิทธิของคู่ความฝ่ายที่ชนะคดี (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) เท่านั้น ที่จะร้องขอให้บังคับคดีได้ โจทก์มิใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี จึงไม่มีสิทธิตามมาตรา 271 และโจทก์ไม่อาจเข้าสวมสิทธิในการบังคับคดีของจำเลย ซึ่งเป็นสิทธิที่กฎหมายให้ไว้แก่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับและคดียังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาลจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่เป็นกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5)พ.ศ. 2542 ใช้บังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542มาตรา 34 จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์จำนวนหนี้ขั้นต่ำที่อาจฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฉบับดังกล่าวมาเปรียบเทียบและถือเป็นเหตุอันไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายในคดีนี้ได้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับและคดียังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาลจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่เป็นกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5)พ.ศ. 2542 ใช้บังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542มาตรา 34 จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์จำนวนหนี้ขั้นต่ำที่อาจฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฉบับดังกล่าวมาเปรียบเทียบและถือเป็นเหตุอันไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายในคดีนี้ได้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7008/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ: หน้าที่ของโจทก์ในการระงับข้อเรียกร้องของบุคคลภายนอก
ในรายงานกระบวนพิจารณาชั้นจำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดี ศาลชั้นต้นได้สอบถามทนายความทั้งสองฝ่ายแล้วได้ความว่า จำเลยถูกโจทก์อีกคดีหนึ่งฟ้องที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา ส่วนโจทก์ได้รับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเพียงเช็ค 1 ฉบับ ศาลชั้นต้นเห็นว่ากรณีดังกล่าวโจทก์ยังไม่ผิดสัญญา จึงให้งดไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้องจำเลย การที่ศาลชั้นต้นสอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความก็เป็นการไต่สวนแล้ว มิใช่ว่าจำต้องสืบพยานบุคคลเท่านั้นจึงจะเป็นการไต่สวน และเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบถามคู่ความพอวินิจฉัยได้แล้วก็ไม่จำต้องสืบพยานบุคคลอีกศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องจำเลยโดยไม่สืบพยานชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6983/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายต้องแสดงหลักฐานหนี้สินล้นพ้นตัว แม้ฟ้องก่อนบังคับคดี แต่ต้องพิสูจน์ฐานหนี้
การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาคดีแพ่งมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายก่อนสิ้นระยะเวลาบังคับคดี แม้การฟ้องคดีล้มละลายจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง แต่การที่โจทก์จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าก่อนฟ้องจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 9(1) เมื่อโจทก์นำสืบแต่เพียงหนังสือของสำนักงานที่ดินที่ว่าได้ตรวจสอบทรัพย์สินของจำเลยที่สำนักงานที่ดินแล้วไม่ปรากฏว่าจำเลยถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองที่ดิน โดยพยานหลักฐานของโจทก์นอกจากนั้นไม่ได้แสดงว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้สันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8 พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาจึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราว การอายัดทรัพย์ และการบังคับคดี: การเปลี่ยนแปลงสถานะของทรัพย์หลังมีคำสั่งอายัด
คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้น ครั้งแรก ที่ให้อายัดที่ดินของจำเลยที่ 1 กับคำสั่งครั้งที่สองที่ให้อายัดเงินที่ จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะได้รับจากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ขอบังคับให้ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งศาลมีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมชั่วคราว และคำสั่งให้อายัดเงินสุทธิที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิ จะได้รับจากการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าว คงมีผลบังคับเฉพาะแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้มีผลบังคับถึง จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 4 จึงไม่มีสิทธิที่จะ อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งดังกล่าว
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งแรกดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำขอให้ยกเลิกคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรคสอง หรือ ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 228 วรรคสอง คำสั่งดังกล่าวจึงถึงที่สุด ที่ดินที่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งอายัดชั่วคราวจึงเป็นหลักประกันเบื้องต้นในการที่โจทก์ จะบังคับคดีได้ เมื่อต่อมาปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์ ได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำพิพากษา ของจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวจนทำให้คำสั่งอายัดที่ดินชั่วคราวไร้ผล และทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะได้รับเงิน จากการบังคับคดีของเจ้าหนี้ จึงถือเสมือนว่าเงินจำนวนดังกล่าว เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ได้มาแทนที่ที่ดินที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัด ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ประกอบกับเงินเป็นทรัพย์ที่สามารถยักย้าย ถ่ายเทหรือปิดบังซ่อนเร้นโดยง่าย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะมี คำสั่งให้อายัดเงินดังกล่าวไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา
การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งแรก โจทก์ขอให้อายัด ที่ดินของจำเลยที่ 1 ส่วนการขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งที่สอง โจทก์ขอให้อายัดเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะได้รับจากการที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 บังคับคดีให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่ถูกอายัดให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลัง เป็นคนละประเด็นกัน จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งแรกดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำขอให้ยกเลิกคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรคสอง หรือ ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 228 วรรคสอง คำสั่งดังกล่าวจึงถึงที่สุด ที่ดินที่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งอายัดชั่วคราวจึงเป็นหลักประกันเบื้องต้นในการที่โจทก์ จะบังคับคดีได้ เมื่อต่อมาปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์ ได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำพิพากษา ของจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวจนทำให้คำสั่งอายัดที่ดินชั่วคราวไร้ผล และทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะได้รับเงิน จากการบังคับคดีของเจ้าหนี้ จึงถือเสมือนว่าเงินจำนวนดังกล่าว เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ได้มาแทนที่ที่ดินที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัด ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ประกอบกับเงินเป็นทรัพย์ที่สามารถยักย้าย ถ่ายเทหรือปิดบังซ่อนเร้นโดยง่าย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะมี คำสั่งให้อายัดเงินดังกล่าวไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา
การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งแรก โจทก์ขอให้อายัด ที่ดินของจำเลยที่ 1 ส่วนการขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งที่สอง โจทก์ขอให้อายัดเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะได้รับจากการที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 บังคับคดีให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่ถูกอายัดให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลัง เป็นคนละประเด็นกัน จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำที่ดิน แม้มีการโอนที่ดินแล้ว ศาลฎีกาวินิจฉัยว่ายังบังคับคดีแก่ผู้กระทำการละเมิดได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนเล้าไก่ส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินโจทก์อ้างการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนเล้าไก่ส่วนที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำเป็นคำฟ้องที่ต้องบังคับแก่จำเลยโดยตรงได้ เพราะผู้กระทำการละเมิดโจทก์คือจำเลย และเป็นการขอให้รื้อถอนเฉพาะส่วนที่รุกล้ำที่ดินโจทก์ แม้จำเลยจะโอนที่ดินแปลงที่บ้านและเล้าไก่ปลูกอยู่ให้ ป. บุตรชายไปก่อนแล้วก็ตาม การบังคับจำเลยให้รื้อถอนเล้าไก่เฉพาะส่วนที่รุกล้ำที่ดินโจทก์ก็หาได้กระทบกระเทือนสิทธิใด ๆ ของ ป. ผู้รับโอนที่ดินจากจำเลยแต่อย่างใดไม่ ดังนี้ศาลจึงอาจพิพากษาให้ตามคำขอท้ายฟ้องได้