พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14806/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง: ผู้กู้และผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดในส่วนเกินหลังบังคับจำนอง หากสัญญามิได้ระบุข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 733
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ยืมและบังคับจำนอง เมื่อตามสัญญาจำนองมิได้ตกลงยกเว้นความใน ป.พ.พ. มาตรา 733 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในเงินส่วนที่ขาดหลังจากการบังคับจำนอง และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วยตามมาตรา 698 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7128/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ประธานขาดอายุความ และการคิดดอกเบี้ยตามสัญญาจำนอง
ทรัพย์จำนองถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีอื่นนำยึดออกขายทอดตลาดโดยติดจำนอง จำเลยเป็นผู้ซื้อทรัพย์ติดจำนองดังกล่าว ส่วนคดีที่โจทก์ฟ้องบังคับให้ชำระหนี้จำนองศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดโจทก์มิได้บังคับคดีจนล่วงเลย 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา โจทก์ย่อมสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แต่การจำนองหาระงับสิ้นไปไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (1) (3) เพราะมิใช่กรณีหนี้ประกันระงับสิ้นไปด้วยเหตุประการอื่นใดมิใช่เหตุอายุความหรือผู้จำนองหลุดพ้น การจำนองจึงยังมีอยู่โจทก์จึงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนอง แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไปไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/27 และมาตรา 745 เมื่อจำเลยซื้อทรัพย์ติดจำนอง โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับจำนองแก่จำเลยจากทรัพย์นั้นได้ และตาม ป.พ.พ. มาตรา 715 บัญญัติให้ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์ต่อไปนี้ด้วย คือ (1) ดอกเบี้ย (2) ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ (3) ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนอง โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในการบังคับจำนองได้ เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองมีข้อตกลงว่าผู้จำนองยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในการบังคับจำนองทรัพย์พิพาทได้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญาจำนองได้ แม้จำเลยไม่ใช่ผู้กู้และมิได้เป็นคู่สัญญาจำนองกับโจทก์ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7016/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนองหลังผู้จำนองเสียชีวิต, เบี้ยปรับภาษีอากร และการประเมินที่ถูกต้องตามกฎหมาย
แม้โจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี หลังจากรู้ว่า ก. ตายก็ตาม แต่โจทก์ผู้รับจำนองยังสามารถใช้สิทธิบังคับจำนองได้ เพราะเหตุดังกล่าวไม่ทำให้หนี้ตามสัญญาจำนองระงับสิ้นไปตามที่ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 744
ป.รัษฎากร มาตรา 67 ตรี ได้กำหนดบทลงโทษให้ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยที่ 1 เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 26 อีก
บทบัญญัติใน ป.รัษฎากร มาตรา 89 มิได้มุ่งหมายให้ลงโทษผู้กระทำผิดเรียงตามอนุมาตราไป แต่มุ่งหมายให้ลงโทษตามอนุมาตราที่กำหนดเบี้ยปรับสูงสุดเพียงอนุมาตราเดียว จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (2) (3) (4) หรือ (10) เพียงอนุมาตราเดียวซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์สามารถเรียกเก็บเบี้ยปรับได้สูงสุด
สำหรับกรณีเบี้ยปรับตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (8) และ (9) ทั้งสองกรณี เป็นการเสียเบี้ยปรับที่สามารถแยกจากบทบัญญัติตามมาตรา 89 (2) (3) (4) (10) ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (8) หรือ (9) อีกฐานหนึ่ง
ป.รัษฎากร มาตรา 67 ตรี ได้กำหนดบทลงโทษให้ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยที่ 1 เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 26 อีก
บทบัญญัติใน ป.รัษฎากร มาตรา 89 มิได้มุ่งหมายให้ลงโทษผู้กระทำผิดเรียงตามอนุมาตราไป แต่มุ่งหมายให้ลงโทษตามอนุมาตราที่กำหนดเบี้ยปรับสูงสุดเพียงอนุมาตราเดียว จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (2) (3) (4) หรือ (10) เพียงอนุมาตราเดียวซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์สามารถเรียกเก็บเบี้ยปรับได้สูงสุด
สำหรับกรณีเบี้ยปรับตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (8) และ (9) ทั้งสองกรณี เป็นการเสียเบี้ยปรับที่สามารถแยกจากบทบัญญัติตามมาตรา 89 (2) (3) (4) (10) ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (8) หรือ (9) อีกฐานหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8706/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนองและการรับผิดในฐานะผู้รับโอนมรดก ผู้รับโอนต้องรับผิดตามสัญญาเดิม
จำเลยทั้งห้าเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จำนองมาจากนาย ก. สืบเนื่องมาจากการรับมรดก จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของนาย ก. กล่าวคือต้องรับผิดตามสัญญาจำนองแทนนาย ก. หาใช่เป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองแต่อย่างใด กรณีของจำเลยทั้งห้าจึงมิต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 735 ที่โจทก์ในฐานะผู้รับจำนองจะต้องมีจดหมายบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ จึงเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10625/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี, การมอบอำนาจ, ดอกเบี้ยผิดสัญญา, และการบังคับจำนอง: ข้อจำกัดและผลกระทบต่อการเรียกร้อง
ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสี่ย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง เมื่อจำเลยทั้งสี่ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ย่อมเป็นประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) มาปรับแก่คดีแล้วเห็นว่าไม่สมควรยกขึ้นวินิจฉัยให้ เป็นการไม่ชอบ ปัญหาว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีแทนเฉพาะกิจการของโจทก์สาขาย่อยนวนครหรือไม่นั้น เมื่อพิจารณาหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 มีข้อความว่า "...กรรมการผู้มีอำนาจของธนาคารได้แต่งตั้งและมอบอำนาจให้ ส. ผู้จัดการสาขาย่อยนวนคร ซึ่งได้ลงลายมือชื่อไว้ท้ายหนังสือนี้เป็นตัวแทนของธนาคารอันชอบด้วยกฎหมายในอันที่จะกระทำแทนธนาคารในกิจการของสาขาที่กล่าวข้างต้น... รวมทั้งให้มีอำนาจ ดังนี้ 6. ...ฟ้องคดีอาญา คดีแพ่ง ...เพื่อป้องกันและรักษาทรัพย์สิน ผลประโยชน์หรือสิทธิต่าง ๆ ของธนาคาร..." ย่อมหมายความว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ในฐานะผู้จัดการสาขาย่อยนวนครดำเนินคดีแทนโจทก์ในกิจการของสาขาย่อยนวนครของโจทก์เท่านั้น ส. ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับหนี้ของโจทก์สาขาอื่น ส. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์เฉพาะหนี้เงินกู้ที่โอนจากสาขาเพชรบุรีตัดใหม่ไปยังสาขาย่อยนวนคร
โจทก์เป็นผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ประกอบประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นลูกค้าโจทก์ไม่อาจทราบถึงหลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ได้ การที่จำเลยที่ 1 นำเงินมาชำระหนี้โจทก์แล้วโจทก์นำไปหักชำระหนี้ตามจำนวนที่คิดคำนวณเอง โดยโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์อันเป็นกิจการที่เชื่อถือของประชาชน ย่อมมีเหตุให้จำเลยที่ 1 เข้าใจและเชื่อโดยสุจริตว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยถูกต้อง ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้โดยจงใจฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือเป็นการกระทำอันใดตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องชำระ อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจะได้รับทรัพย์นั้นคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 เมื่อข้อสัญญาเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยของโจทก์เป็นโมฆะ เท่ากับสัญญากู้ยืมเงินมิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยก่อนผิดนัด และไม่อาจนำเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระแก่โจทก์มาแล้วไปหักออกจากดอกเบี้ยที่โจทก์ไม่มีสิทธิคิดได้ จึงต้องนำเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไปชำระต้นเงินทั้งหมด
แม้ผู้บอกกล่าวบังคับจำนองจะมิใช่ผู้รับจำนองและไม่ได้รับมอบอำนาจจากผู้รับจำนอง แต่โจทก์ผู้รับจำนองยอมรับเอาการกระทำของผู้บอกกล่าวบังคับจำนองที่ได้กระทำไปในนามของโจทก์โดยการฟ้องคดีนี้ ถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การบอกกล่าวบังคับจำนองนั้นแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง
โจทก์เป็นผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ประกอบประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นลูกค้าโจทก์ไม่อาจทราบถึงหลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ได้ การที่จำเลยที่ 1 นำเงินมาชำระหนี้โจทก์แล้วโจทก์นำไปหักชำระหนี้ตามจำนวนที่คิดคำนวณเอง โดยโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์อันเป็นกิจการที่เชื่อถือของประชาชน ย่อมมีเหตุให้จำเลยที่ 1 เข้าใจและเชื่อโดยสุจริตว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยถูกต้อง ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้โดยจงใจฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือเป็นการกระทำอันใดตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องชำระ อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจะได้รับทรัพย์นั้นคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 เมื่อข้อสัญญาเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยของโจทก์เป็นโมฆะ เท่ากับสัญญากู้ยืมเงินมิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยก่อนผิดนัด และไม่อาจนำเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระแก่โจทก์มาแล้วไปหักออกจากดอกเบี้ยที่โจทก์ไม่มีสิทธิคิดได้ จึงต้องนำเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไปชำระต้นเงินทั้งหมด
แม้ผู้บอกกล่าวบังคับจำนองจะมิใช่ผู้รับจำนองและไม่ได้รับมอบอำนาจจากผู้รับจำนอง แต่โจทก์ผู้รับจำนองยอมรับเอาการกระทำของผู้บอกกล่าวบังคับจำนองที่ได้กระทำไปในนามของโจทก์โดยการฟ้องคดีนี้ ถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การบอกกล่าวบังคับจำนองนั้นแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9919/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ขาดอายุความ: สิทธิเจ้าหนี้จำนองยังคงมีอยู่ตามกฎหมาย แม้หนี้ประธานขาดอายุความแล้ว
คดีก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้วนั้น โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้ตายให้รับผิดในฐานะ ส. เป็นลูกหนี้ตามสัญญากู้เงินและจำนองที่ดินพิพาทในคดีนี้ไว้เป็นประกัน และคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องด้วยเหตุว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 โดยยังมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิบังคับทรัพย์สินที่จำนองได้หรือไม่ เพราะแม้มูลหนี้ตามสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธานจะขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม แล้วก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติยกเว้นไว้มิให้ใช้บังคับแก่กรณีสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามมาตรา 193/27 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงหรือผู้ทรงบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้อันตนได้ยึดถือไว้ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง จำนำ หรือที่ได้ยึดถือไว้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกิน 5 ปีขึ้นไปไม่ได้ และตามมาตรา 745 ก็บัญญัติไว้ว่า ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่า 5 ปีไม่ได้ อันเป็นประเด็นที่ยังไม่ได้มีการวินิจฉัย เมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. เพื่อชำระหนี้โจทก์จากทรัพย์สินที่จำนองได้ กรณีไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9524/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับจำนองย่อมเป็นสิทธิทรัพย์สินแยกต่างหากจากสิทธิส่วนบุคคลตามสัญญาค้ำประกัน แม้พิพากษายกฟ้องค้ำประกัน
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้งเจ็ดสัญญาพร้อมดอกเบี้ยจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่สำหรับหนี้ตามสัญญาใช้บัตรวีซ่ากรุงไทยและสินเชื่อธนวัฎบัตรเครดิต ศาลชั้นต้นเพียงแต่พิพากษายกฟ้องโดยเหตุที่โจทก์มิได้นำสืบจำนวนหนี้ที่แท้จริงในกรณีโจทก์คิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นว่าเป็นจำนวนเท่าใด ทำให้ศาลชั้นต้นไม่อาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ได้และในทำนองเดียวกันศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ก็โดยเหตุจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 เพียง 4 สัญญาในจำนวน 7 สัญญา แต่โจทก์นำสืบยอดหนี้รวมกันมาทั้งเจ็ดสัญญา ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจทราบจำนวนหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชี 4 สัญญาที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันเป็นเหตุให้ไม่อาจพิพากษากำหนดจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดได้เช่นกัน แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงชี้ชัดแล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญาใช้บัตรวีซ่ากรุงไทยและสินเชื่อธนวัฎบัตรเครดิตเช่นนี้แม้ศาลชั้นต้นในคดีนี้จะพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีต่อโจทก์อันเป็นบุคคลสิทธิที่โจทก์มีต่อจำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันก็ตามแต่สำหรับที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้ไว้แก่โจทก์นั้น โจทก์ย่อมเป็นเจ้าหนี้จำนองและทรงทรัพย์สิทธิที่จะบังคับจำนองเพื่อเอาชำระหนี้ตามวงเงินจำนองที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองไว้ได้ เพราะไม่ปรากฏเหตุความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาจำนองดังที่ ป.พ.พ. มาตรา 744 บัญญัติไว้ ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองที่ดินแปลงดังกล่าวของจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำพิพากษาที่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9494/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้, การบังคับจำนอง, และดอกเบี้ย: ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามกฎหมาย
จ. กับจำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินโจทก์ ตกลงผ่อนชำระเงินกู้และดอกเบี้ยคืนเป็นรายงวดหากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดทุกงวด โจทก์ได้รับชำระหนี้ครั้งสุดท้ายวันที่ 18 มกราคม 2539 จึงต้องถือว่าลูกหนี้ผิดนัดชำระงวดที่เหลือทั้งหมด สิทธิเรียกร้องในกรณีหนี้เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ย่อมเกิดขึ้นนับแต่นั้น อายุความฟ้องเรียกเงินจำนวนที่ค้างจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) ซึ่งมีกำหนดอายุความห้าปีและเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2539 แต่โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 พฤษภาคม 2544 เกินห้าปีแล้ว ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความและศาลฎีกาเห็นควรให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่เป็นลูกหนี้ร่วมกับ จ. ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1), 247 และแม้หนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้ประธานจะขาดอายุความ แต่จำนองเป็นทรัพย์สิทธิซึ่งจะระงับสิ้นไปก็แต่โดยกรณีต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (1) ถึง (6) เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิบังคับเอาชำระหนี้จำนองได้แต่ไม่อาจบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินห้าปีตามมาตรา 745 ได้และเมื่อโจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น และตามสัญญาจำนองกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้ว จึงเป็นไปตามข้อตกลงไปในสัญญาจำนองอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงไม่ใช่เบี้ยปรับที่ศาลจะปรับลดให้แก่ลูกหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9494/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จำนอง-การบังคับจำนอง-ดอกเบี้ย-การแก้ไขคำพิพากษา
สิทธิเรียกร้องในกรณีหนี้เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ ย่อมเกิดขึ้นนับแต่นั้น อายุความฟ้องเรียกเงินจำนวนที่ค้างจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) ซึ่งมีกำหนดอายุความห้าปี และเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2539 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2544 จึงเกินห้าปี ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความ และศาลฎีกาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่เป็นลูกหนี้ร่วมกับ จ. เจ้ามรดกที่มีจำเลยที่ 1 เป็นทายาทโดยธรรมซึ่งให้การยกข้อต่อสู้ว่าคดีขาดอายุความด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1), 247
หนี้ตามสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธานขาดอายุความ แต่จำนองเป็นทรัพย์สิทธิซึ่งจะระงับสิ้นไปก็แต่โดยกรณีต้องตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 744 ที่บัญญัติเหตุจำนองระงับไว้ใน (1) ถึง (6) โจทก์จึงมีสิทธิบังคับเอาชำระหนี้จำนองได้ แต่ไม่อาจบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีตามที่มาตรา 745 บัญญัติห้ามไว้เท่านั้น
โจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองเท่านั้น และตามสัญญาจำนองกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 13.75 ต่อปี ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงของคู่สัญญา จึงมิใช่เบี้ยปรับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมาย เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อ้างมาในฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
หนี้ตามสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธานขาดอายุความ แต่จำนองเป็นทรัพย์สิทธิซึ่งจะระงับสิ้นไปก็แต่โดยกรณีต้องตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 744 ที่บัญญัติเหตุจำนองระงับไว้ใน (1) ถึง (6) โจทก์จึงมีสิทธิบังคับเอาชำระหนี้จำนองได้ แต่ไม่อาจบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีตามที่มาตรา 745 บัญญัติห้ามไว้เท่านั้น
โจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองเท่านั้น และตามสัญญาจำนองกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 13.75 ต่อปี ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงของคู่สัญญา จึงมิใช่เบี้ยปรับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมาย เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อ้างมาในฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6862/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนองที่ดินหลังแบ่งแยก - จำนองยังคงครอบคลุมถึงส่วนแบ่งแยกแม้จะมีการแบ่งแยกโฉนด
ภายหลังจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 จำนองที่ดินโฉนดที่ดินพิพาทแล้วมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินที่พิพาทออกเป็นแปลงย่อยอีก 3 แปลง ซึ่งที่ดินที่แบ่งแยกนี้ต้องติดจำนองทุกแปลง บุคคลใดรับโอนไปผู้รับจำนองติดตามไปบังคับจำนองได้ เพราะเป็นทรัพย์สินซึ่งจำนองอยู่เดิมแม้จะแบ่งออกเป็นหลายส่วน จำนองก็ยังคงครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วนด้วยกันอยู่นั่นเอง เมื่อคำขอท้ายฟ้องได้ขอให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินที่พิพาทแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินพิพาทได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 717 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้บังคับจำนองเฉพาะที่ดินแปลงย่อยจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษาให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินพิพาทด้วย