พบผลลัพธ์ทั้งหมด 599 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีจากการยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา แม้ประนีประนอมยอมความแล้วก็ต้องชำระ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 259 ซึ่งอยู่ในภาค 4ลักษณะ 1 ให้นำบทบัญญัติลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีมาใช้บังคับแก่วิธีการชั่วคราวที่ศาลสั่งตามที่กล่าวไว้ในลักษณะนี้โดยอนุโลมแสดงว่ากรณีมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาก็ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับกรณีมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี ตามที่บทบัญญัติไว้ในตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และมาตรา 149 วรรคแรกเมื่อโจทก์ดำเนินการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์ของจำเลยไว้เป็นการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ถือว่าโจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรานี้แล้ว แม้ต่อมาโจทก์จำเลยจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและโจทก์ไม่ได้รับประโยชน์จากการยึดทรัพย์ของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา โจทก์ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์ที่ยึด เงินประกันค่าเสียหายที่โจทก์วางต่อศาลชั้นต้นเป็นเงินประกันค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยจะได้รับความเสียหาย แม้จำเลยไม่ได้รับความเสียหาย แต่เมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี และศาลชั้นต้นได้แจ้งคำสั่งให้โจทก์นำเงินมาชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งโจทก์ก็ทราบคำสั่งแล้ว แต่ก็มิได้นำเงินมาชำระ ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะไม่คืนเงินที่โจทก์วางไว้เป็นประกันค่าเสียหายจนกว่าโจทก์จะนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าหากในที่สุดโจทก์ไม่นำเงินค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีมาชำระและไม่มีทรัพย์สินที่จะยึดมาชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลชั้นต้นก็เบิกเงินค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวมาชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างฉ้อฉล หากไม่มีพยาน ศาลไม่รับวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล ศาลฎีกาสั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวน จำเลยมิได้นำพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นตามที่อ้างไว้ในคำฟ้องอุทธรณ์ จึงมิใช่เรื่องการฉ้อฉลตามที่อ้าง ไม่เข้าเหตุที่จะอุทธรณ์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีพยานหลักฐานสนับสนุน หากอ้างฉ้อฉลแต่ไม่นำสืบ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ชอบ
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยอ้างว่าฝ่ายโจทก์ฉ้อฉล ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนยังไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีตามฎีกาโจทก์ได้จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่จำเลยและโจทก์กล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ แต่จำเลยมิได้นำพยานหลักฐานมาสืบตามที่อ้างไว้ในคำฟ้องอุทธรณ์ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องมีการฉ้อฉลตามที่อ้างไม่เข้าเหตุที่จะอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 138(1) ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมาจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3764/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: ทรัพย์สินจำเลยมีมูลค่าสูงกว่าหนี้ แม้มีหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลไม่เห็นเหตุให้ล้มละลาย
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายนั้นประเด็นสำคัญแห่งคดีมีอยู่ว่า จำเลยซึ่งถูกฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งมีกำหนดจำนวนหนี้สินแน่นอนเกินกว่าห้าหมื่นบาทหรือไม่ คดีนี้ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันว่าจำเลยมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องยังไม่มีเหตุสมควรให้จำเลยล้มละลายและพิพากษายกฟ้องดังนี้เมื่อจำเลยนำสืบฟังได้ว่า จำเลยมีทรัพย์สินรวมกันมีมูลค่าสูงกว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้อง ปัญหาว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องจริงหรือไม่ จึงไม่ใช่ประเด็นที่จะต้องชี้ขาดในชั้นนี้ ดังนั้นการที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ดังที่จำเลยฎีกามานั้น ก็หาทำให้ผลแห่งคำพิพากษาคดีนี้เปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใดไม่ ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมตัดสิทธิทายาท & สัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิผู้จัดการมรดก
เมื่อเจ้ามรดกทำพินัยกรรมตัดผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก ผู้คัดค้านจึงมิใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713 แม้ต่อมาภายหลังผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมกับผู้คัดค้านทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก และรับมรดกบางส่วนของเจ้ามรดกก็ตาม ก็เป็นเพียงข้อตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างบุคคลทั้งสองให้เสร็จ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850เท่านั้น หาใช่การสละมรดกหรือสละพินัยกรรมของผู้ร้องไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 และ 1698(3) ไม่เพราะการสละมรดกหรือสละพินัยกรรมเพียงบางส่วนไม่อาจกระทำได้เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1613วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับประกันภัย/ผู้รับช่วงสิทธิ ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิด แม้มีการประนีประนอมยอมความกับผู้เสียหายแล้ว
เมื่อคดีได้ความว่าจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นกับ ส.และต. ภายหลังจากที่โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามพันธะที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยแก่ ส.และต. ผู้เสียหายแล้วผลของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิของผู้เสียหายที่ได้เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้จ่ายไปนั้นได้โดยหาจำต้องบอกกล่าวหรือทวงถามเสียก่อนไม่ แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้บรรยายถึงจำนวนเงินที่รับประกันภัยและผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของรถยนต์ที่เอาประกันภัยหรือไม่ทั้งมิได้ส่งกรมธรรม์ประกันภัยมาพร้อมกับคำฟ้อง ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะข้อความดังกล่าวเป็นรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา และโจทก์ไม่จำเป็นต้องส่งกรมธรรม์ประกันภัยมาพร้อมกับคำฟ้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2660/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความประนีประนอม และผลผูกพันสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้ไม่มีลายมือชื่อจำเลยร่วม
ใบแต่งทนายความของจำเลยร่วมระบุว่าให้ทนายความของจำเลยร่วมมีอำนาจประนีประนอมยอมความได้ แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจะไม่มีลายมือชื่อจำเลยร่วมอยู่ด้วย แต่เมื่อทนายความจำเลยร่วม จำเลย ทนายความจำเลย และโจทก์กับทนายความโจทก์ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ทั้งศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมไปด้วยแล้ว สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมใช้บังคับได้และมีผลผูกพันจำเลยร่วมด้วย
ที่จำเลยร่วมฎีกาว่าศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนคำร้องของจำเลยร่วมก่อนมีคำสั่งนั้น ปัญหาข้อนี้จำเลยร่วมมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยร่วมฎีกาว่าศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนคำร้องของจำเลยร่วมก่อนมีคำสั่งนั้น ปัญหาข้อนี้จำเลยร่วมมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2660/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายในการประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลยร่วม แม้ไม่มีลายมือชื่อ หากใบแต่งทนายระบุชัดเจน
ใบแต่งทนายความของจำเลยร่วมระบุว่าให้ทนายความของจำเลยร่วมมีอำนาจประนีประนอมยอมความได้ แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจะไม่มีลายมือชื่อจำเลยร่วมอยู่ด้วยแต่เมื่อทนายความจำเลยร่วม ทนายความจำเลย และโจทก์กับทนายความโจทก์ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและข้อตกลงหรือการสัญญาประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ทั้งศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมไปด้วยแล้วสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมใช้บังคับได้และมีผลผูกพันจำเลยร่วมด้วย ที่จำเลยร่วมฎีกาว่าศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนคำร้องของจำเลยร่วมก่อนมีคำสั่งนั้น ปัญหาข้อนี้จำเลยร่วมมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความรอนสิทธิซื้อขาย: การประนีประนอมยอมความและข้อยกเว้นตามมาตรา 481
แม้คำให้การของจำเลยจะไม่ระบุระยะเวลาที่เป็นอายุความตามข้อต่อสู้ไว้แต่ ป.พ.พ. บัญญัติเรื่องอายุความรับผิดในการรอนสิทธิไว้ในลักษณะซื้อขายมาตรา 481 เพียงมาตราเดียว โดยกำหนดอายุความไว้สามเดือน ตามคำให้การของจำเลยจึงพอถือได้ว่าจำเลยต่อสู้ว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความในเรื่องความรับผิดในการรอนสิทธิตามนัยกฎหมายดังกล่าวแล้ว การที่จะนำอายุความสามเดือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 481 มาใช้บังคับนั้นข้อเท็จจริงต้องได้ความว่าโจทก์ได้ประนีประนอมยอมความคืนทรัพย์ให้แก่บุคคลภายนอกหรือยอมคืนทรัพย์ให้ตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง การที่รถยนต์ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดเนื่องจากเป็นรถยนต์ของผู้อื่นที่ถูกลักมาจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง ความรับผิดของจำเลยผู้ขายจึงไม่ตกอยู่ในบังคับอายุความมาตรา 481 แต่ต้องตกอยู่ในอายุความทั่วไปตามมาตรา 164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีประนีประนอมยอมความ การไม่อุทธรณ์ทำให้ฎีกาไม่ได้
โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยตกลงโอนที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งให้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม และคดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาตามยอม ขอให้เรียกจำเลยมาสอบถาม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการสั่งในระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นก่อนชี้ขาดตามคำร้องนั้นถือได้ว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์ไม่โต้แย้งไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ และโจทก์จะฎีกาคำสั่งนั้นไม่ได้ เพราะต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249