พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องคดีเดิมที่ศาลยกฟ้องแล้วด้วยเหตุฟ้องซ้ำ ย่อมเป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย
ปรากฏว่าก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์เคยฟ้องจำเลยมาแล้วครั้งหนึ่งตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 149/2517 โดยกล่าวในฟ้องว่าจำเลยร้องเท็จขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในคดีหมายเลขแดงที่ 433/2516 ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทของจำเลยในคดีนั้นเสีย และให้เพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่า การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147, 148 คดีถึงที่สุดโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้ โดยอ้างเหตุผลอย่างเดียวกันกับในคดีก่อน และขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดที่พิพาทแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ ดังนี้ เมื่อคดีหมายเลขแดงที่ 149/2517 นั้นถึงที่สุดโดยศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ด้วยเหตุผลว่า เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 433/2516 แล้ว โจทก์จะนำคดีซึ่งเคยถูกยกฟ้องด้วยเหตุฟ้องซ้ำมารื้อร้องฟ้องอีกหาได้ไม่ เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำเมื่อคดีอยู่ระหว่างพิจารณา: ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173
โจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวหาว่ากระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คต่อศาลอาญา คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์เพราะโจทก์เป็นฝ่ายอุทธรณ์ ฉะนั้น การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยในข้อหาเดียวกันต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการอีก จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2243/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีเรื่องเอกสารปลอมต้องระบุเหตุแห่งการปลอมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ จำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารปลอม โดยไม่อ้างเหตุตั้งประเด็นไว้ว่าปลอมอย่างไร ย่อมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 จำเลยไม่มีสิทธิสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2632/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในคดีฟ้องแย้งที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
ฟ้องแย้งของจำเลยมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ดังนั้น เมื่อคดีตามฟ้องแย้งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1504/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเรื่องทุนทรัพย์และข้อเท็จจริง
โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 55 แม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 เรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์แต่ละคนไม่เกินสองหมื่นบาท จึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยเป็นการไม่ชอบ และเมื่อเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้ามฟ้องคดีซ้ำเรื่องเดียวกัน แม้สิทธิฟ้องยังไม่ระงับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญากล่าวหาว่าจำเลยเป็นพนักงานสอบสวน ได้ละเว้นการสอบสวนดำเนินคดีที่โจทก์กล่าวหา ร.กับพวกทำร้ายร่างกายโจทก์ คือเปรียบเทียบปรับ ร.โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อช่วยเหลือ ร.ให้ได้รับโทษน้อยลง ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งประทับฟ้อง ในระหว่างสืบพยานโจทก์ โจทก์ได้ขอเพิ่มเติมฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต โจทก์จึงมาฟ้องเป็นคดีใหม่ ซึ่งข้อหาเป็นความผิดเรื่องเดียวกัน ดังนี้ แม้สิทธิการฟ้องคดีของโจทก์ยังมิได้ระงับไปก็ตาม หากโจทก์ได้ใช้สิทธินั้นฟ้องคดีแล้ว โจทก์ย่อมจะฟ้องเรื่องเดียวกันซ้อนเข้ามาอีกหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ซึ่งนำมาใช้บังคับในคดีอาญาได้
(อ้างฎีกาที่ 298-299/2510)
(อ้างฎีกาที่ 298-299/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 กรณีเรียกค่าเสียหายจากประกันภัยอุบัติเหตุรายเดียวกัน
โจทก์เอาประกันภัยรถยนต์ไว้กับจำเลย สำหรับความเสียหายอันเกิดแก่ทรัพย์สินของบุคคลอื่นโดยรถยนต์นั้น ในวงเงินไม่เกิน 50,000 บาท ต่อมาลูกจ้างโจทก์ขับรถยนต์ดังกล่าวชนผู้อื่นบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายคน โจทก์ถูกผู้เสียหายฟ้องและได้ใช้ค่าเสียหายไปแล้วบางราย โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระเงินค่าเสียหายที่โจทก์จ่ายไปแล้ว ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จำเลยยอมใช้เงินให้โจทก์ 29,000 บาท คดีถึงที่สุด โจทก์มาฟ้องให้จำเลยรับผิดสำหรับค่าเสียหายที่โจทก์จ่ายให้แก่ผู้เสียหายที่ถูกรถของโจทก์ชนเป็นคดีนี้อีก ดังนี้ แม้จำนวนเงินค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องในคดีนี้บางส่วนจะเป็นเงินที่โจทก์ชำระให้แก่ผู้เสียหายต่างรายกันกับผู้เสียหายในคดีก่อนก็ตาม แต่ก็เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินชดใช้ตามกรมธรรม์ ซึ่งมีประเด็นวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้เงินได้เพียงไรหรือไม่ และศาลต้องวินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยโดยอาศัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอุบัติเหตุรายเดียวกัน อาศัยกรมธรรม์ฉบับเดียวกัน ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 565/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาจำกัดในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 5,000 บาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์จำเลยพิพาทกันด้วยเรื่องที่ดินราคา 5,000 บาทศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย และศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2518 โจทก์ฎีกาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์โดยยื่นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2518อันเป็นวันก่อนพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มีผลบังคับ การพิจารณาว่าคู่ความมีสิทธิฎีกาได้หรือไม่เพียงไรนั้น ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายและสิทธิในวันยื่นฎีกาเป็นสำคัญ ฎีกาโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ซึ่งใช้อยู่ในวันยื่นฎีกา (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 542/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224, 226 และ 249 กรณีข้อพิพาทเกินกรอบประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวของโจทก์ 2 ห้อง มีกำหนด 10 ปี ค่าเช่าห้องละ 100 บาทต่อเดือน บัดนี้ครบกำหนดสัญญาและโจทก์บอกเลิกการเช่าแล้ว จำเลยไม่ยอมออก ขอให้ขับไล่และชำระค่าเช่าที่ค้าง 2,000 บาท กับค่าเสียหายเดือนละ 200 บาท นับแต่วันฟ้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา โดยจำเลยออกเงินช่วยค่าก่อสร้างแก่โจทก์ 68,000 บาท โจทก์ตกลงจะให้จำเลยเช่ามีกำหนด 30 ปี ทำสัญญาไว้ 10 ปีก่อน และจะต่อสัญญาเช่าอีกครั้งละ 10 ปี จนครบ ขอให้ยกฟ้องโจทก์และบังคับให้โจทก์ทำหนังสือสัญญาเช่ากับจดทะเบียนการเช่าให้จำเลย ดังนี้ เป็นกรณีโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวที่ให้เช่าอันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องเดือนละ 200 บาท และเรียกค่าเช่าที่ค้าง 2,000 บาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ และมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่า จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยไมได้ชำระเงินช่วยค่าก่อสร้างให้โจทก์ โจทก์จำเลยจึงไม่มีสัญญาต่างตอบแทนแก่กัน
จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์รับเงินช่วยค่าก่อสร้างจากจำเลย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นการต้องห้าม ซึ่งการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ และต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 249
สำหรับข้อที่จำเลยอ้างในคำให้การและฟ้องแย้งว่า ตามสัญญาเช่าข้อ 12 โจทก์ให้คำมั่นแก่จำเลยว่า เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง โจทก์ยอมให้จำเลยขอเช่าต่อไปได้อีก และจำเลยได้บอกกล่าวแก่โจทก์ขอทำสัญญาเช่าต่อไปอีก 10 ปี โจทก์ตกลงแล้ว สัญญาเช่าจึงมีต่อไป นั้น แม้โจทก์จะให้การแก้ฟ้องแย้งปฏิเสธความข้อนี้ก็ตาม แต่เมื่อในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทตามสัญญาข้อ 12 ไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้ง ครั้นศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่จำเลย จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ว่าศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ให้ ขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ ซึ่งเป็นข้อกฎหมายว่าศาลชั้นต้นพิพากษาคดีครบทุกประเด็นที่พิพาทกันหรือไม่ ดังนี้อุทธรณ์ของจำเลยย่อมต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้โดยวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ขอต่ออายุการเช่ากับโจทก์ก่อนหมดอายุสัญญาเช่าแล้ว โจทก์ต้องยินยอมให้จำเลยเช่าต่อไป จึงเป็นการไม่ชอบ และต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 249
เมื่อศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาซึ่งคู่ความจะอุทธรณ์ไม่ได้ อันเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสีย และให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์รับเงินช่วยค่าก่อสร้างจากจำเลย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นการต้องห้าม ซึ่งการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ และต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 249
สำหรับข้อที่จำเลยอ้างในคำให้การและฟ้องแย้งว่า ตามสัญญาเช่าข้อ 12 โจทก์ให้คำมั่นแก่จำเลยว่า เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง โจทก์ยอมให้จำเลยขอเช่าต่อไปได้อีก และจำเลยได้บอกกล่าวแก่โจทก์ขอทำสัญญาเช่าต่อไปอีก 10 ปี โจทก์ตกลงแล้ว สัญญาเช่าจึงมีต่อไป นั้น แม้โจทก์จะให้การแก้ฟ้องแย้งปฏิเสธความข้อนี้ก็ตาม แต่เมื่อในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทตามสัญญาข้อ 12 ไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้ง ครั้นศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่จำเลย จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ว่าศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ให้ ขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ ซึ่งเป็นข้อกฎหมายว่าศาลชั้นต้นพิพากษาคดีครบทุกประเด็นที่พิพาทกันหรือไม่ ดังนี้อุทธรณ์ของจำเลยย่อมต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้โดยวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ขอต่ออายุการเช่ากับโจทก์ก่อนหมดอายุสัญญาเช่าแล้ว โจทก์ต้องยินยอมให้จำเลยเช่าต่อไป จึงเป็นการไม่ชอบ และต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 249
เมื่อศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาซึ่งคู่ความจะอุทธรณ์ไม่ได้ อันเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสีย และให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในข้อเท็จจริงขัดกับข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับแก้ไข) กรณีทุนทรัพย์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน คือจำเลยบังอาจร่วมกันมีเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ และจำเลยบังอาจร่วมกันขายเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ จำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดจริงตามฟ้องทุกประการ โจทก์นำพยานเข้าสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยว่า นอกจากเฮโรอีนของกลางบรรจุซองพลาสติกซึ่งพลตำรวจ จ. ปลอมตัวไปซื้อแล้ว ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจยังค้นได้ธนบัตร ฉบับละ 10 บาท 2 ฉบับใช้ห่อเฮโรอีนไว้ 2 ห่อจากจำเลยอีก ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2514 ข้อ 2