คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมวลกฎหมายอาญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 752 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความบทลงโทษหนักขึ้นเฉพาะผู้กระทำผิดโดยตรงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี เป็นบทลงโทษผู้กระทำความผิดหนักขึ้น ต้องตีความโดยเคร่งครัด คือหมายความเฉพาะตัวผู้กระทำตามที่ระบุไว้ในมาตรา 340 ตรีเท่านั้น การที่จำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายได้แล้ว จำเลยวิ่งไปหลบซ่อนอยู่ในบ้านของร. ส่วนพวกของจำเลยวิ่งไปซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่คนร้ายอีกคนหนึ่งจอดรออยู่ทั้งก่อนทำการปล้นทรัพย์จำเลยก็ไม่ได้มายังที่เกิดเหตุด้วยรถจักรยานยนต์จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 340 ตรีคงมีความผิดตามมาตรา 340 วรรคสอง เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด ม.215 และ ม.216 ประมวลกฎหมายอาญา: การมั่วสุมและขัดคำสั่งเจ้าพนักงานเป็นกรรมเดียว
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216 มุ่งประสงค์ลงโทษผู้ที่ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ไม่ยอมเลิกการมั่วสุมกันเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 ซึ่งเป็นการกระทำที่ยังไม่ถึงขึ้นที่ผู้กระทำได้ลงมือใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ หรือทำให้เกิดความวุ่นวายอันเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 ดังนั้น มาตรา 216 จึงเป็นความผิดต่างหากอีกบทหนึ่งหากเจ้าพนักงานได้มีคำสั่งให้เลิกแล้ว แต่ผู้กระทำไม่เลิกตามคำสั่งของเจ้าพนักงานและได้กระทำการต่อไปจนเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 ผู้กระทำก็ย่อมมีความผิดทั้งตามมาตรา 215 และมาตรา 216 อันเป็นกรรมเดียวกัน
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า ข้อ (1) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2529 เวลากลางวัน จำเลยทั้งสี่กับพวกร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองและร่วมกันใช้ก้อนอิฐ ก้อนหิน และวัตถุของแข็งเป็นอาวุธขว้างปาประทุษร้ายเจ้าพนักงานตำรวจและเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองจังหวัดภูเก็ต ในขณะที่ทำการห้ามปรามมิให้มีการขว้างปาทำลายศาลาประชาคมกับขว้างปาเผาทำลายโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน และ โรงงานไทยแลนด์แทนทาลั่ม อินดัสตรี จำกัด ข้อ (2) เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจและเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองจังหวัดภูเก็ตสั่งให้จำเลยทั้งสี่กับพวกที่มั่วสุมเพื่อกระทำผิดตามฟ้องข้อ (1) ให้เลิกไป แต่จำเลยกับพวกดังกล่าวไม่ยอมเลิก ดังนี้ ตามฟ้องข้อ (1) เป็นการบรรยายฟ้องในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 ส่วนฟ้อง ข้อ 2 เป็นการบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216 ซึ่งตามฟ้องข้อ (2) นี้มีความหมายเพียงว่า เจ้าพนักงานได้มีคำสั่งให้เลิกในขณะที่จำเลยกับพวกกำลังมั่วสุมกันเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 เท่านั้น ข้อความตามฟ้องข้อ (2) มิได้มีความหมายว่า ในขณะที่เจ้าพนักงานได้มีคำสั่งให้เลิกนั้น จำเลยกับพวกได้ลงมือกระทำการครบถ้วนตามฟ้องข้อ (1) อันเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 แล้ว ดังนั้น การที่จำเลยได้กระทำการต่อไปตามฟ้องข้อ (1) โดยไม่เลิกตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน จำเลยย่อมมีความผิดตามมาตรา 215 อีกบทหนึ่ง อันเป็นกรรมเดียวกับความผิดตามมาตรา 216 ตามฟ้องข้อ (2) และต้องลงโทษตามมาตรา 216 อันเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดตามมาตรา 215 และ 216 ประมวลกฎหมายอาญา: การมั่วสุมและไม่เลิกตามคำสั่งเจ้าพนักงานเป็นกรรมเดียว
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216 มุ่งประสงค์ลงโทษผู้ที่ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ไม่ยอมเลิกการมั่วสุมกันเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 ซึ่งเป็นการกระทำที่ยังไม่ถึงขั้นที่ผู้กระทำได้ลงมือใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ หรือทำให้เกิดความวุ่นวายอันเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 ดังนั้น มาตรา 216 จึงเป็นความผิดต่างหากอีกบทหนึ่งหากเจ้าพนักงานได้มีคำสั่งให้เลิกแล้ว แต่ผู้กระทำไม่เลิกตามคำสั่งของเจ้าพนักงานและได้กระทำการต่อไปเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 ผู้กระทำก็ย่อมมีความผิดทั้งตามมาตรา 215 และมาตรา 216 อันเป็นกรรมเดียวกัน ฟ้องโจทก์บรรยายว่า ข้อ (1) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2529เวลากลางวัน จำเลยทั้งสี่กับพวกร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไปก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองและร่วมกันใช้ก้อนอิฐ ก้อนหินและวัตถุของแข็งเป็นอาวุธขว้างปาประทุษร้ายเจ้าพนักงานตำรวจและเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองจังหวัดภูเก็ต ในขณะที่ทำการห้ามปรามมิให้มีการขว้างปาทำลายศาลาประชาคมกับขว้างปาเผาทำลายโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลินและโรงงานไทยแลนด์แทนทาลั่มอินดัสตรี จำกัดข้อ (2) เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจและเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองจังหวัดภูเก็ตสั่งให้จำเลยทั้งสี่กับพวกที่มั่วสุมเพื่อกระทำผิดตามฟ้องข้อ (1) ให้เลิกไป แต่จำเลยกับพวกดังกล่าวไม่ยอมเลิก ดังนี้ ตามคำฟ้องข้อ (1) เป็นการบรรยายฟ้องในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 ส่วนฟ้องข้อ (2) เป็นการบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216 ซึ่งตามฟ้อง (2)นี้มีความหมายเพียงว่า เจ้าพนักงานได้มีคำสั่งให้เลิกในขณะที่จำเลยกับพวกกำลังมั่วสุมกันเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 เท่านั้นข้อความตามฟ้องข้อ (2) มิได้มีความหมายว่าในขณะที่เจ้าพนักงานได้มีคำสั่งให้เลิกนั้น จำเลยกับพวกได้ลงมือกระทำการครบถ้วนตามฟ้องข้อ (1) อันเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 แล้ว ดังนั้น การที่จำเลยได้กระทำการต่อไปตามฟ้องข้อ (1) โดยไม่เลิกตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน จำเลยย่อมมีความผิดตามมาตรา 215 อีกบทหนึ่งอันเป็นกรรมเดียวกับความผิดตามมาตรา 216 ตามฟ้องข้อ (2) และต้องลงโทษตามมาตรา 216 อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารเสนอขอทำสัญญาประกันชีวิตไม่ใช่เอกสารสิทธิ ตามประมวลกฎหมายอาญา
คำขอเอาประกันชีวิตแบบออมทรัพย์สงเคราะห์มีสาระสำคัญว่า พ. และ ส. มีความประสงค์ที่จะเอาประกันชีวิตตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในคำขอมีลักษณะเป็นเพียงคำเสนอขอทำสัญญาประกันชีวิตเท่านั้น ยังไม่แน่ว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะตกลงรับประกันหรือไม่ ส่วนบันทึกปากคำผู้เอาประกันก็เพียงเอกสารซึ่งผู้ขอเอาประกันชีวิตตอบคำถามตามที่บริษัทผู้รับประกันต้องการทราบ ในเรื่องความเกี่ยวพันระหว่างผู้เอาประกันชีวิตกับผู้รับประโยชน์ตลอดจนรายละเอียดในการชำระเบี้ยประกัน เอกสารดังกล่าวมานี้มิใช่หลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ จึงไม่ใช่เอกสารสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารเสนอขอทำสัญญาประกันภัยไม่ใช่เอกสารสิทธิปลอมตาม ป.อ. มาตรา 1(9)
คำขอเอาประกันชีวิตแบบออมทรัพย์สงเคราะห์มีสาระสำคัญว่า ผู้เอาประกันมีความประสงค์ที่จะเอาประกันชีวิตตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในคำขอ มีลักษณะเป็นเพียงคำเสนอขอทำสัญญาประกันชีวิตเท่านั้น ยังไม่แน่ว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะตกลงรับประกันหรือไม่ และบันทึกปากคำผู้เอาประกันก็เป็นเพียงเอกสารซึ่งผู้ขอเอาประกันชีวิตตอบคำถามตามที่บริษัทผู้รับประกันต้องการทราบในเรื่องความเกี่ยวพันระหว่างผู้เอาประกันชีวิตกับผู้รับประโยชน์ ตลอดจนรายละเอียดในการชำระเบี้ยประกัน เอกสารดังกล่าวมิใช่หลักฐานแห่งการก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ จึงมิใช่เอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1(9).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารเสนอขอทำประกันชีวิตไม่ใช่เอกสารสิทธิ ตามความหมายในประมวลกฎหมายอาญา
คำขอเอาประกันชีวิตแบบออมทรัพย์สงเคราะห์มีสาระสำคัญว่าพ.และส. มีความประสงค์ที่จะเอาประกันชีวิตตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในคำขอมีลักษณะเป็นเพียงคำเสนอขอทำสัญญาประกันชีวิตเท่านั้น ยังไม่แน่ว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะตกลงรับประกันหรือไม่ ส่วนบันทึกปากคำผู้เอาประกันก็เป็นเพียงเอกสารซึ่งผู้ขอเอาประกันชีวิตตอบคำถามตามที่บริษัทผู้รับประกันต้องการทราบในเรื่องความเกี่ยวพันระหว่างผู้เอาประกันชีวิตกับผู้รับประโยชน์ ตลอดจนรายละเอียดในการชำระเบี้ยประกัน เอกสารดังกล่าวมานี้มิใช่หลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ จึงไม่ใช่เอกสารสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างวานให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานฆ่าโดยเจตนา แม้ยังไม่สำเร็จความผิด ก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ฉ. ติดต่อหามือปืนมายิงผู้เสียหายตามที่จำเลยที่ 1 ต้องการฉ. มีพฤติการณ์เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด แต่เมื่อโจทก์ได้กัน ฉ. ไว้ที่พยาน คำเบิกความของ ฉ. รับฟังได้ แต่มีน้ำหนักน้อย ต้องฟังพยานอื่นประกอบจึงจะรับฟังลงโทษจำเลยได้
จำเลยที่ 1 จ้าง วาน ใช้ ให้จำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย แต่จำเลยที่ 2 ยังไม่ได้กระทำความผิดฆ่าผู้อื่นจำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4), 84 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากตัวการร่วมเป็นผู้ใช้/ผู้สนับสนุน และขอบเขตการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน แต่ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 มิได้ร่วมจำหน่ายกัญชาด้วย เพียงแต่ จำเลยที่ 2 ได้ บอกที่ซ่อน กัญชาและขอให้จำเลยที่ 1 ช่วย จำหน่ายกัญชาแทนในขณะที่จำเลยที่ 2 ไม่อยู่จึงเป็นการก่อให้จำเลยที่ 1 กระทำผิด อันเป็นความผิดฐาน เป็นผู้ใช้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 ซึ่ง ถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่าง กับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง จะลงโทษจำเลยที่ 2 ฐาน เป็นผู้ใช้ ให้กระทำผิดไม่ได้
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ได้ บอกที่ซ่อน กัญชา และขอให้จำเลยที่ 1 ช่วย จำหน่ายกัญชาแก่ผู้ซื้อแทนนั้น เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1กระทำผิด เป็นความผิดฐาน เป็นผู้สนับสนุนตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86 ซึ่ง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์บรรทุกที่ใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา แม้กฎหมายเฉพาะไม่ได้บัญญัติการริบไว้
แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 จะมิได้บัญญัติถึงการริบของกลางไว้แต่ก็มิได้บัญญัติถึง เรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่นดังนั้น เมื่อจำเลยใช้ รถยนต์บรรทุกบรรทุกน้ำหนักเกินอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย รถยนต์บรรทุกจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ ใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบรถยนต์บรรทุกนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ประกอบด้วย มาตรา 17
การที่ศาลพิพากษาให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางซึ่ง โจทก์ขอให้ริบตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 นั้น ศาลย่อมเห็นแล้วว่ารถยนต์บรรทุกของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ ในการกระทำความผิด แม้จะมิได้ระบุบทกฎหมาย ก็มิใช่กรณีศาลพิพากษาไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลริบของกลาง: รถยนต์ใช้ในการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 จะมิได้บัญญัติถึงการริบของกลางไว้ แต่ ก็มิได้บัญญัติถึง เรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่นดังนั้น เมื่อจำเลยใช้ รถยนต์บรรทุกบรรทุกน้ำหนักเกินอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย รถยนต์บรรทุกจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ ใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบรถยนต์บรรทุกนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ประกอบด้วย มาตรา 17 การที่ศาลพิพากษาให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางซึ่ง โจทก์ขอให้ริบตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 นั้น ศาลย่อมเห็นแล้วว่ารถยนต์บรรทุกของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ ในการกระทำความผิด แม้จะมิได้ระบุบทกฎหมาย ก็มิใช่กรณีศาลพิพากษาไม่ชอบ.
of 76