คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมวลกฎหมายแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: ผู้ขนส่ง vs ผู้ขนสินค้า
คำว่า "ผู้ขนส่ง" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 610 หมายถึงผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการขนส่งของหรือสินค้า ซึ่งผู้ส่งหรือผู้ตราส่งตกลงให้ผู้ขนส่งนำของหรือสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่ง และมีหน้าที่จะต้องเป็นผู้ทำหรือออกใบตราส่งให้ในกรณีที่ผู้ส่งเรียกเอาใบตราส่ง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดังกล่าว จำเลยจึงเป็นผู้ขนส่ง ซึ่งต่างกับผู้ทำหน้าที่ขนหรือแบกหามสินค้าจากเรือขึ้นท่าเรือและจากท่าเรือลงบรรทุกในเรือ
หมายเหตุ ตามแนวฎีกาที่ 1665/2525 และฎีกาที่ 3630/2525

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ และการแบ่งแยกหน้าที่ระหว่างผู้ขนส่งกับการขนถ่ายสินค้า
คำว่า ผู้ขนส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 610 หมายถึงผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการขนส่งของหรือสินค้า ซึ่งผู้ส่งหรือผู้ตราส่งตกลงให้ผู้ขนส่งนำของหรือสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่ง ซึ่งต่างกับผู้ทำหน้าที่ขนหรือแบกหามสินค้าจากเรือขึ้นท่าเรือและจากท่าเรือลงบรรทุกในเรือ
(หมายเหตุตามแนวฎีกาที่ 16652525 และฎีกาที่ 3630/2525)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโมฆะของคู่สมรสเดิมก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และสิทธิในการรับมรดกของทายาท
ด. จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับเดิม) ในขณะที่ ด. มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 อยู่แล้ว การสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ด. จึงเป็นโมฆะตามมาตรา 1490 และ 1445 (เดิม) โจทก์ที่ 1 จึงมิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ด. ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ ด. แม้การสมรสระหว่าง ด. กับโจทก์ที่ 1 จะยังไม่มีคำพิพากษาเพิกถอนหรือพิพากษาว่าเป็นโมฆะ แต่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ เพราะจำเลยได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้
มรดกอยู่ระหว่างจัดการแบ่งให้ทายาท โจทก์ฟ้องคดีแม้จะเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
เอกสารมีข้อความว่า "บัดนี้ ว. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จัดการแบ่งมรดกตามที่ควรได้เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาทไว้เป็นที่เรียบร้อยซึ่งผู้รับได้รับไว้ถูกต้องทุกประการแล้ว และขอรับรองไว้ในหนังสือนี้ว่า ข้าพเจ้าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมดด้วย" ซึ่งโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ลงชื่อไว้ก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกบอกในวันทำเอกสารว่าใครมารับเงินก็ต้องเซ็นชื่อ ในวันทำเอกสารนี้โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังไม่ทราบว่ามีที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่เคยบอกให้ทราบ ทั้งเอกสารก็ไม่ได้ระบุชัดว่าโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่ต้องการที่ดินมรดกดังนั้นที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 รับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกด้วยซึ่งหมายความถึงเฉพาะเงินอันเป็นส่วนแบ่งบางส่วนของกองมรดกซึ่งโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ได้รับไปเท่านั้น โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังมีสิทธิรับที่ดินซึ่งเป็นมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาขายลดเช็ค: สิทธิเรียกร้องบังคับตามสัญญานั้น มีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คแล้วนำมาทำสัญญาขายลดให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่าได้นำเช็คไปทำสัญญาขายลดให้แก่โจทก์จริง จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค หาได้ฟ้องให้รับผิดในมูลหนี้ตามเช็คที่นำไปทำสัญญาขายลดให้แก่โจทก์ไม่ ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงต้องบังคับตามสัญญาขายลดเช็ค แต่สัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 คือมีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3408/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งทรัพย์สินกองมรดกโดยผู้จัดการมรดกที่เป็นคู่กรณี เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของสามีโจทก์ร่วมกับโจทก์ เอาทรัพย์สินกองมรดกมาทำสัญญาแบ่งให้ตนเองประโยชน์ส่วนได้เสียของจำเลยย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก แม้จะเป็นการกระทำในฐานะส่วนตัวก็ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722 สัญญาแบ่งทรัพย์นั้นจึงตกเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าบันทึกตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์จำเลยตกเป็นโมฆะ เพราะทำขึ้นโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย มิได้มีคำขอเกี่ยวกับทรัพย์สินตามสัญญานั้นแต่อย่างใด เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้หลังขาดอายุความ: การทำบันทึกผ่อนชำระถือเป็นการยอมรับหนี้ แม้หนี้จะขาดอายุความแล้ว
หลังจากหนี้ขาดอายุความแล้ว ลูกหนี้ได้ทำบันทึกยอมผ่อนชำระหนี้ให้เจ้าหนี้อันเป็นการรับสภาพความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 188 ลูกหนี้จึงต้องรับผิดในหนี้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้หลังขาดอายุความ: การทำบันทึกผ่อนชำระถือเป็นการยอมรับหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 188
หลังจากหนี้ขาดอายุความแล้ว. ลูกหนี้ได้ทำบันทึกยอมผ่อนชำระหนี้ให้เจ้าหนี้อันเป็นการรับสภาพความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 188 ลูกหนี้จึงต้องรับผิดในหนี้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2051/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 366: สัญญาต้องทำเป็นหนังสือจึงมีผลผูกพัน
โจทก์ยื่นข้อเสนอต่อจำเลยให้ใช้ที่ดินที่โจทก์มีสิทธิเช่าเป็นที่ก่อสร้างสถานีจอดรถยนต์โดยสารประจำจังหวัด จำเลยนำเรื่องเสนอที่ประชุมคณะอนุกรรมการควบคุมการขนส่งประจำจังหวัดคณะอนุกรรมการเห็นชอบ จำเลยจึงเสนอเรื่องต่อไปยังกรมการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบกพิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย จึงมีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยให้ดำเนินการแจ้งให้โจทก์ไปทำสัญญากับกรมการขนส่งทางบก ดังนี้ กรณีต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้ทำสัญญากับกรมการขนส่งทางบกตามที่กรมการขนส่งทางบกประสงค์จะให้ทำสัญญาเป็นหนังสือตามที่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยก็ยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาเอาจากจำเลยได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2682/2519 และ 1957/2522)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลายต้องแสดงเจตนาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การส่งเงินโดยไม่แสดงเจตนาถือเป็นการสละสิทธิ
แม้ว่าพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 จะให้สิทธิแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้หักกลบลบหนี้กันได้ แต่วิธีหักกลบลบหนี้ก็จะต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 342 โดยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ปรากฏว่าเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยอายัดเงินที่ผู้ร้องเป็นลูกหนี้จำเลย และให้ส่งเงินนั้นแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์. ผู้ร้องได้ส่งเงินฝากดังกล่าว ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่แสดงเจตนาขอหักกลบลบหนี้ หนี้เงินฝากระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องเป็นอันระงับลงสิทธิที่จะหักกลบลบหนี้ย่อมสิ้นสุดลง ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอหักกลบลบหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 152/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าตลอดชีพที่ไม่ได้จดทะเบียน มีผลเป็นสัญญาเช่าระยะเวลา 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ
เอกสารหมาย ล.2 มีข้อความว่า โจทก์ได้ให้จำเลยเช่าเคหะช่วงล่างตึกสามชั้น ตึกเลขที่ 611/1 ถนนเทอดไท ตำบลบางยี่เรือเขตธนบุรี กรุงเทพฯ ให้อยู่ตลอดชีพ จึงได้ทำสัญญาไว้เป็นหลักฐาน แล้วลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้เช่าเอกสารดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นตราสารตามความหมายในประมวลรัษฎากร คงเป็นเพียงหลักฐานการเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 538 อย่างหนึ่งเท่านั้น แม้ไม่ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าจำเลยอาศัย หากทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเช่า ก็ไม่เป็นเหตุยกฟ้องเพราะการอาศัยหรือการเช่าเป็นการกล่าวอ้างถึงมูลเดิมว่าจำเลยเข้าอยู่ในตึกพิพาทได้อย่างไรเท่านั้น ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี ศาลต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่พิพาทต่อไปหรือไม่
โจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าตึกพิพาทตลอดอายุของจำเลย แต่การเช่ารายนี้ไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ฉะนั้น จำเลยจึงมีสิทธิบังคับโจทก์ให้จำเลยเช่าตึกพิพาทได้มีกำหนด 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยก่อนครบกำหนด 3 ปี
of 42