คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเมินภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 719 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 165/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีล่วงหน้าตามมาตรา 18 ทวิ ต้องทำก่อนถึงกำหนดเวลายื่นแบบฯ หากเกินกำหนดการประเมินนั้นไม่ชอบ
การออกหมายเรียกเพื่อประเมินภาษีการค้าล่วงหน้าตามมาตรา18ทวิแห่งประมวลรัษฎากรเจ้าพนักงานประเมินไม่จำต้องระบุเลขมาตราเนื่องจากประมวลรัษฎากรไม่ได้กำหนดไว้ว่าในการออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษีอากรจะต้องระบุมาตราที่จะใช้ในการประเมินภาษีอากรแต่อย่างใด การประเมินเรียกเก็บภาษีล่วงหน้าตามมาตรา18ทวินั้นกำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกเก็บได้ก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการเมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าได้มีการขยายหรือเลื่อนกำหนดระยะเวลาสำหรับการยื่นแบบแสดงรายการการค้าของโจทก์สำหรับเดือนภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี2528และ2529การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินภาษีการค้าของโจทก์สำหรับเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมีนาคม2528และของเดือนเมษายนถึงมีนาคม2529ล่วงหน้าตามมาตรา18ทวิเมื่อวันที่27มิถุนายน2531จึงเป็นการประเมินหลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี2528และ2529แล้วการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีล่วงหน้าก่อนกำหนดเวลายื่นรายการ การประเมินภาษีย้อนหลังขัดต่อมาตรา 18 ทวิ
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา18ทวิวรรคแรกกำหนดให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรก่อนถึงกำหนดสำหรับภาษีการค้าที่ใช้บังคับอยู่ขณะนั้นมาตรา85ทวิและมาตรา86กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีและยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่15ของเดือนถัดไปเว้นแต่อธิบดีจะกำหนดเป็นอย่างอื่นโดยกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการสามารถขยายหรือเลื่อนกำหนดออกไปได้อีกถ้าอธิบดีหรือรัฐมนตรีเห็นเป็นการสมควรตามความจำเป็นแก่กรณีตามมาตรา3อัฏฐเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในช่วงปี2527ถึง2529ไม่มีประกาศให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไปการที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีการค้าดอกเบี้ยค้างรับเมื่อวันที่27กรกฎาคม2531โดยประเมินเป็นภาษีการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี2527ถึง2529จึงเป็นการประเมินภายหลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี2527ถึง2529ไปแล้วซึ่งเป็นการประเมินย้อนหลังมิใช่ประเมินล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการจึงเป็นการประเมินที่ขัดต่อมาตรา18ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยใช้หลักฐานทางบัญชีของคู่สัญญา: ชอบด้วยกฎหมายหากไม่มีข้อจำกัด
สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. ตามเอกสารหมายจ.1 แผ่นที่ 20 ระบุไว้ชัดเจนว่าบริษัท ส.ผู้ซื้อได้ชำระค่าที่ดินจำนวน 70 ล้านบาทให้โจทก์ผู้ขายเรียบร้อยแล้ว สัญญาดังกล่าวทำต่อเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนตามกฎหมายเชื่อว่า ได้มีการชำระค่าที่ดินครบถ้วนตามนั้น ที่โจทก์นำสืบว่า การชำระราคาที่ดินเป็นไปตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 16 และ 17กล่าวคือ ชำระเป็นเงินสด 35 ล้านบาท โดยผ่อนชำระเป็น 5 งวด งวดละ7 ล้านบาท แต่ละงวดห่างกัน 1 ปี จำนวนที่เหลือ 35 ล้านบาท ชำระเป็นหุ้นของบริษัท ส.ในปี 2526 และ 2527 ได้รับชำระมาแล้วปีละ 7 ล้านบาท ปี 2528ไม่ได้รับ ปี 2529 ได้รับชำระเพียง 2 ล้านบาท นั้น เป็นการนำสืบที่ขัดต่อสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 20 อีกทั้งสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.1แผ่นที่ 16 ถึง 17 เป็นสัญญาที่ทำกันเองระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. กรรมการและผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของทั้งสองฝ่ายเป็นญาติกัน อาจจะทำสัญญาดังกล่าวกันอย่างไรหรือเมื่อใดก็ได้ และจะให้มีผลผูกพันกันจริงหรือไม่ก็ได้ และตามบัญชีงบดุลของบริษัท ส.ก็ลงไว้ว่า ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่บริษัทโจทก์เป็นเงิน 7 ล้านบาท และตั้งบริษัทโจทก์เป็นเจ้าหนี้ 70 ล้านบาท และลงว่าได้ชำระค่าหุ้นเป็นเงิน 35 ล้านบาทรวมเป็นเงิน 70 ล้านบาท ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวแสดงว่าบริษัท ส.ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่โจทก์แล้วจำนวน 70 ล้านบาท ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อบริษัท ส.ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากโจทก์ก็ได้นำไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ยืมธนาคาร ในวันเดียวกันจำนวน70 ล้านบาท แสดงว่า บริท ส.นำเงินที่กู้ยืมดังกล่าวมาชำระราคาที่ดินให้โจทก์ และโจทก์ได้จ่ายเป็นค่าหุ้นให้บริษัท ส. 35 ล้านบาท และให้บริษัท ส.กู้ยืมจำนวน 28ล้านบาท จึงเชื่อได้ว่าโจทก์มีรายได้จากการขายที่ดินจำนวน 70 ล้านบาท การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ทำการประเมินและมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ โดยนำรายได้ดังกล่าวมาลงบัญชีรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2526 จึงชอบแล้ว
คดีนี้ถ้าตรวจดูเฉพาะเอกสารหลักฐานทางบัญชีของโจทก์เท่านั้นก็ไม่สามารถทราบได้ว่าโจทก์หลีกเลี่ยงกำหนดรายได้ให้น้อยลงเพื่อที่จะเสียภาษีให้น้อยกว่าความเป็นจริง และไม่มีกฎหมายห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยถือเอาเอกสารหลักฐานทางบัญชีของบริษัทที่ติดต่อเกี่ยวข้องกับโจทก์มาประกอบการพิจารณาแต่อย่างใด ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยนำเอกสารหลักฐานทางบัญชีของโจทก์มาพิจารณาประกอบการประเมิน จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากรายได้จากการขายที่ดิน และการใช้เอกสารหลักฐานทางบัญชีของบริษัทคู่สัญญาประกอบการพิจารณา
สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. ตามเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 20 ระบุไว้ชัดเจนว่าบริษัท ส.ผู้ซื้อได้ชำระค่าที่ดินจำนวน 70 ล้านบาท ให้โจทก์ผู้ขายเรียบร้อยแล้ว สัญญาดังกล่าวทำต่อเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนตามกฎหมายเชื่อว่า ได้มีการชำระค่าที่ดินครบถ้วนตามนั้น ที่โจทก์นำสืบว่า การชำระราคาที่ดินเป็นไปตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 16 และ 17กล่าวคือ ชำระเป็นเงินสด 35 ล้านบาท โดยผ่อนชำระเป็น5 งวด งวดละ 7 ล้านบาท แต่ละงวดห่างกัน 1 ปี จำนวนที่เหลือ3 ล้านบาท ชำระเป็นหุ้นของบริษัท ส. ในปี 2526 และ 2527ได้รับชำระมาแล้วปีละ 7 ล้านบาท ปี 2528 ไม่ได้รับ ปี 2529ได้รับชำระเพียง 2 ล้านบาท นั้น เป็นการนำสืบที่ขัดต่อสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 20 อีกทั้งสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 16 ถึง 17 เป็นสัญญาที่ทำกันเองระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. กรรมการและผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของทั้งสองฝ่ายเป็นญาติกัน อาจจะทำสัญญาดังกล่าวกันอย่างไรหรือเมื่อใดก็ได้ และจะให้มีผลผูกพันกันจริงหรือไม่ก็ได้ และตามบัญชีงบดุลของบริษัท ส.ก็ลงไว้ว่า ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่บริษัทโจทก์เป็นเงิน7 ล้านบาท และตั้งบริษัทโจทก์เป็นเจ้าหนี้ 70 ล้านบาทและลงว่าได้ชำระค่าหุ้นเป็นเงิน 35 ล้านบาท รวมเป็นเงิน70 ล้านบาท ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวแสดงว่าบริษัท ส.ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่โจทก์แล้วจำนวน 70 ล้านบาทยิ่งไปกว่านั้นเมื่อบริษัท ส. ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากโจทก์ก็ได้นำไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ยืมธนาคารในวันเดียวกันจำนวน 70 ล้านบาท แสดงว่า บริษัท ส.นำเงินที่กู้ยืมดังกล่าวมาชำระราคาที่ดินให้โจทก์ และโจทก์ได้จ่ายเป็นค่าหุ้นให้บริษัท ส.35 ล้านบาทและให้บริษัท ส. กู้ยืมจำนวน 28 ล้านบาท จึงเชื่อได้ว่าโจทก์มีรายได้จากการขายที่ดินจำนวน 70 ล้านบาท การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ทำการประเมินและมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ โดยนำรายได้ดังกล่าวมาลงบัญชีรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2526 จึงชอบแล้ว คดีนี้ถ้าตรวจดูเฉพาะเอกสารหลักฐานทางบัญชีของโจทก์เท่านั้นก็ไม่สามารถทราบได้ว่าโจทก์หลีกเลี่ยงกำหนดรายได้ให้น้อยลงเพื่อที่จะเสียภาษีให้น้อยกว่าความเป็นจริงและไม่มีกฎหมายห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยถือเอาเอกสารหลักฐานทางบัญชีของบริษัทที่ติดต่อเกี่ยวข้องกับโจทก์มาประกอบการพิจารณาแต่อย่างใด ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยนำเอกสารหลักฐานทางบัญชีของโจทก์มาพิจารณาประกอบการประเมิน จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเพิ่มเติมที่ไม่ชอบเนื่องจากเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรม
เมื่อโจทก์อ้างว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบ และขอให้ศาลเพิกถอน โจทก์ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นการไม่ชอบตามที่กล่าวอ้าง
สำเนาเอกสารที่จำเลยอ้างเป็นเพียงพยานหลักฐานประกอบกับพยานอื่น ทั้งเมื่อจำเลยอ้างส่งสำเนาเอกสารดังกล่าว โจทก์ก็มิได้คัดค้านว่าต้นฉบับไม่มี หรือเอกสารปลอม หรือสำเนาไม่ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93
การกำหนดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 เจ้าพนักงานประเมินต้องกำหนดเสียตั้งแต่เบื้องต้นที่ทำการประเมินภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินครั้งแรกโดยกำหนดเงื่อนไขว่า สำหรับเงินเพิ่มพิจารณาลดให้คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเงินเพิ่มตามกฎหมาย หากอุทธรณ์การประเมินจะไม่ลดเงินเพิ่มให้และจะประเมินเพิ่มเติมต่อไป เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข เจ้าพนักงานประเมินจึงทำการประเมินในครั้งที่สองเพิ่ม โดยเรียกเงินเพิ่มเพิ่มเติมในส่วนที่ลดให้นั้นเป็นการอาศัยเงื่อนไขในอนาคตมากำหนดเงินเพิ่มเพิ่มเติม ทั้งเป็นเงื่อนไขที่มิให้โจทก์ปฏิบัติตามสิทธิที่กฎหมายกำหนดไว้ การประเมินในกรณีที่สองนี้ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: เงื่อนไขลดเงินเพิ่มที่ไม่ชอบ และการประเมินซ้ำ
เมื่อโจทก์อ้างว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบและขอให้ศาลเพิกถอน โจทก์ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นการไม่ชอบตามที่กล่าวอ้าง สำเนาเอกสารที่จำเลยอ้างเป็นเพียงพยานหลักฐานประกอบกับพยานอื่น ทั้งเมื่อจำเลยอ้างส่งสำเนาเอกสารดังกล่าว โจทก์มิได้คัดค้านว่าต้นฉบับไม่มี หรือเอกสารปลอม หรือสำเนาไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93 การกำหนดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 เจ้าพนักงานประเมินต้องกำหนดเสียตั้งแต่เบื้องต้นที่ทำการประเมินภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินครั้งแรกโดยกำหนดเงื่อนไขว่าสำหรับเงินเพิ่มพิจารณาลดให้คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเงินเพิ่มตามกฎหมาย หากอุทธรณ์การประเมินจะไม่ลดเงินเพิ่มให้และจะประเมินเพิ่มเติมต่อไป เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข เจ้าพนักงานประเมินจึงทำการประเมินในครั้งที่สองเพิ่ม โดยเรียกเงินเพิ่มเติมในส่วนที่ลดให้นั้นเป็นการอาศัยเงื่อนไขในอนาคตมากำหนดเงินเพิ่มเติมเพิ่มเติม ทั้งเป็นเงื่อนไขที่มิให้โจทก์ปฏิบัติตามสิทธิที่กฎหมายกำหนดไว้ การประเมินในกรณีที่สองนี้ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7336/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีภาษีโรงเรือนฯ ต้องชำระภาษีนำก่อนจึงจะรับฟ้องได้ ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ผู้รับการประเมินจะนำคดีมาฟ้องว่า การประเมินไม่ถูกต้องตามมาตรา 31 ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 39 ก่อนนำคดีมาฟ้องต่อศาล โจทก์ผู้รับการประเมินจะต้องชำระค่าภาษีก่อนมิฉะนั้นจะเป็นฟ้องที่รับไว้พิจารณาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7336/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน ต้องชำระภาษีประเมินก่อน จึงจะสามารถนำคดีไปสู่ศาลได้
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ผู้รับการประเมินจะนำคดีมาฟ้องว่า การประเมินไม่ถูกต้องตามมาตรา 31ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 39 ก่อนนำคดีมาฟ้องต่อศาล โจทก์ผู้รับการประเมินจะต้องชำระค่าภาษีก่อนมิฉะนั้นจะเป็นฟ้องที่รับไว้พิจารณาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6815/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าทรัพย์สิน: การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินโดยใช้ค่าเช่าเป็นหลัก และการพิจารณาความแตกต่างของที่ดิน
ในสัญญาเช่าไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าคู่สัญญาได้ตกลงซื้อหรือเช่าซื้อทรัพย์สินที่เช่าและไม่ปรากฏว่าค่าเช่าที่ชำระให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาทรัพย์สินที่เช่า ส่วนที่มีการตกลงให้ชำระค่าเช่าเพิ่มขึ้นทุกปี ก็เป็นเพียงวิธีตกลงกันให้ชำระค่าเช่าอย่างหนึ่ง ซึ่งนิยมใช้ในการทำสัญญาเช่าทรัพย์สินระยะยาวตามปกติธรรมดาทั่วไป ไม่มีลักษณะเป็นการตกลงซื้อและไม่มีความเกี่ยวพันกับราคาซื้อทรัพย์ที่เช่าแต่อย่างใด ส่วนที่มีข้อตกลงจะขายทรัพย์ที่เช่าให้ผู้เช่าก็เป็นเพียงคำมั่นจะขายทรัพย์ที่เช่าให้แก่ผู้เช่าหากผู้เช่าประสงค์จะซื้อในอนาคตโดยเสนอราคาจะขายไว้ล่วงหน้าเท่านั้นดังนั้น สัญญาเช่าฉบับนี้จึงเป็นสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 จำเลยทั้งสองจึงนำค่าเช่าตามสัญญาดังกล่าวมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 ได้ ที่ดินที่โจทก์ให้เช่าตามฟ้องตั้งอยู่คนละเขตกับที่ดินอีก 4 แปลง ที่โจทก์นำค่ารายปีมาเปรียบเทียบ และนอกจากจะเป็นที่ดินที่ไม่ได้อยู่ใกล้เคียงกันแล้วที่ดินดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นที่ดินที่เจ้าของที่ดินใช้ประกอบกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการคนละประเภทกับของโจทก์ ทั้งที่ดินของโจทก์ตามฟ้องเป็นที่ดินให้เช่าโดยกำหนดค่าเช่าไว้ในสัญญาเช่าเป็นการแน่นอน ในเมื่อไม่มีเหตุอันบ่งให้เห็นว่าค่าเช่าที่กำหนดไว้มิใช่จำนวนเงินอันสมควรจะให้เช่าได้ การที่จำเลยที่ 1กำหนดค่ารายปีโดยถือค่าเช่าเป็นหลักในการคำนวณ จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5503/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: หลักฐานใบขนสินค้าขาออกของศุลกากรฮ่องกงมีน้ำหนักเพียงพอ แม้เป็นสำเนา
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 หาใช่บทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรไม่ แต่เป็นระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนในเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการที่ยื่นนั้นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์ภายในกำหนด 5 ปี พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนหรือนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้เท่านั้นแต่สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีและเงินเพิ่มมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เดิม การที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ออกหมายเรียกจำเลยมาไต่สวนหรือหมายเรียกพยานหรือให้จำเลยหรือพยานนำบัญชีพยานหลักฐานมาแสดง ภายในกำหนด 5 ปี ก็หาทำให้การประเมินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ชอบไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง เอกสารสำเนาใบขนสินค้าขาออกที่ผู้ส่งออกยื่นต่อศุลกากรเมืองฮ่องกงเป็นสำเนาเอกสารที่ถ่ายจากต้นฉบับ เป็นเอกสารของทางราชการเมืองฮ่องกงซึ่งผู้ส่งสินค้าออกยื่นเอกสารดังกล่าวแจ้งการส่งออกต่อทางราชการเมืองฮ่องกง ว. รองกงสุลใหญ่ฝ่ายศุลกากรประจำเมืองฮ่องกงเป็นผู้ติดต่อขอรับเอกสารมาจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรเมืองฮ่องกง ส่งมาให้กองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร ซึ่งต้นฉบับอยู่ที่ศุลกากรเมืองฮ่องกงแม้จะเป็นเอกสารลับของทางราชการเมืองฮ่องกงก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟัง ทั้งเป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นและเท่ากับศาลภาษีอากรกลางได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) แม้จะเป็นภาพถ่ายสำเนาเอกสารที่ไม่มีผู้ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องก็ตามก็รับฟังเอกสารดังกล่าวประกอบพยานบุคคลได้
of 72