พบผลลัพธ์ทั้งหมด 804 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5534/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายก่อนกำหนด และผลของการทำสัญญาซื้อขายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวม
การที่จำเลยทั้งสองบอกเลิกสัญญาก่อนจะถึงกำหนดการโอนเท่ากับจำเลยได้สละเงื่อนเวลาที่จะไปโอนที่ดินให้โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิบอกกล่าวให้จำเลย-ทั้งสองไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ก่อนกำหนดเวลาตามสัญญาได้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ไปโอนให้โจทก์ตามนัด จำเลยทั้งสองจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
การซื้อขายตัวทรัพย์ซึ่งมิใช่เป็นการขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนจะทำได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน เมื่อยังมิได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างทายาท การที่จำเลยที่ 2 เอาทรัพย์มาทำสัญญาจะขายให้โจทก์โดยทายาทอื่นมิได้ยินยอมด้วย จึงไม่มีผลผูกพัน จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญามิได้
การซื้อขายตัวทรัพย์ซึ่งมิใช่เป็นการขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนจะทำได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน เมื่อยังมิได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างทายาท การที่จำเลยที่ 2 เอาทรัพย์มาทำสัญญาจะขายให้โจทก์โดยทายาทอื่นมิได้ยินยอมด้วย จึงไม่มีผลผูกพัน จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญามิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5494/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงตามทุนทรัพย์
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 46 ประกอบด้วย มาตรา 15คำพิพากษาในคดีอาญาจะผูกพันแต่คู่ความเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2หาได้เป็นคู่ความในคดีอาญา ข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทนั้น จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 จึงชอบที่จะยกข้อต่อสู้และนำสืบได้ว่า จำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายประมาท และในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งนี้ ศาลก็ไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา จำเลยทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์สำหรับฟ้องเดิมของโจทก์ และฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ต่างไม่เกิน 200,000 บาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ฎีกาว่า เหตุรถชนกันเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 แต่ฝ่ายเดียวนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5291/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายสินสมรส: ผลผูกพันสัญญา, อำนาจฟ้อง, และการชำระหนี้
ฉ. ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสให้แก่โจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยผู้เป็นสามี ซึ่งจำเลยอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1480 เดิม แต่ตราบใดที่สัญญายังมิได้ถูกศาลเพิกถอนสัญญาย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย การที่จำเลยเพียงแต่มีหนังสือบอกล้างสัญญาไปยังโจทก์โดยมิได้ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญา สัญญาจึงยังสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ฟ้องโดยแนบสำเนาภาพถ่ายหนังสือสัญญาการซื้อขายระหว่างโจทก์ กับ ฉ. มาท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่า ฉ. มิได้ทำสัญญาตามสำเนาภาพถ่ายดังกล่าวต้องถือว่าจำเลยยอมรับถึงการมีอยู่ของต้นฉบับและความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 125 ศาลรับฟังสำเนาเอกสารนั้นแทนต้นฉบับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(1) โจทก์กับ ฉ. ตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทโดยอาศัยหลักฐานเป็นหนังสือ กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข) ที่ห้ามมิให้คู่ความนำสืบ พยานบุคคลว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัญญาอยู่อีก เมื่อตามสัญญาเอกสารดังกล่าวไม่มีข้อตกลงว่าให้ ฉ. เก็บเงินจากโจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่าได้ตกลงกันดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้รับฟัง โจทก์ต้องชำระเงิน ณ ภูมิลำเนาของ ฉ. ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 324 ตามสัญญากำหนดให้โจทก์ส่งเงินเป็นรายเดือนของทุกเดือนภายในกำหนด 2 ปี โดยไม่ได้กำหนดว่าจะต้องส่งเดือนละเท่าใดพฤติการณ์แสดงว่าคู่สัญญาถือเอาเงื่อนเวลาที่กำหนดให้โจทก์ชำระให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลา 2 ปี เป็นข้อสำคัญ โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากเงื่อนเวลาดังกล่าว จะถือเอาว่าจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือนเท่ากับราคาที่ซื้อขายหารด้วยระยะเวลา2 ปี หาได้ไม่ บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 326 เพียงแต่ให้สิทธิแก่ผู้ชำระหนี้ในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จให้เท่านั้น มิได้หมายความว่าต้องมีใบเสร็จจึงจะรับฟังเป็นหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างก่อนจดทะเบียนบริษัท: ผลผูกพันต่อบริษัทที่จัดตั้งภายหลัง และความรับผิดของผู้เริ่มก่อการ
ก่อนบริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล อ. ได้ ตกลงให้โจทก์ออกแบบตกแต่งภายในให้บริษัทจำเลยที่ 1โดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็นกรรมการของ จำเลยที่ 1 นั่งร่วมปรึกษาหารือ ทั้งเมื่อโจทก์ได้ออกแบบ ตกแต่งภายใน ซึ่งเป็นงานของจำเลยที่ 1 ตามความต้องการของ อ.และจำเลยที่2อ.ก็ได้อนุมัติแบบตกแต่ง ถือว่า อ. และจำเลยที่ 2 ร่วมกันทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ออกแบบตกแต่ง ภายในสำนักงานสาขาของบริษัทจำเลยที่ 1 และถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาว่าจ้างในฐานะเป็นผู้เริ่มก่อการของจำเลยที่ 1 ทั้งก่อนหน้านั้นจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำ สัญญาเช่าอาคารเพื่อทำเป็นสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 1 ยังไม่เป็นนิติบุคคล และต่อมาเมื่อ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว ก็ได้ใช้สถานที่ซึ่ง โจทก์ออกแบบตกแต่งภายในและควบคุมการก่อสร้างเป็น สำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 แสดงว่าที่ประชุมตั้ง บริษัทจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันสัญญาว่าจ้างที่จำเลยที่ 1 ผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้กับโจทก์ สัญญาว่าจ้างดังกล่าวจึงผูกพัน จำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็น กรรมการของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว จึงพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1113 โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยได้รับเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2530 ตามหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ภายใน 10 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 29สิงหาคม 2530 เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2530 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยชำระเงิน ให้โจทก์เสร็จสิ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำวินิจฉัย คชก. ต้องยื่นต่อประธาน คชก.ตำบลโดยตรง การยื่นผ่านบุคคลอื่นถือเป็นโมฆะ ทำให้คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลมีผลผูกพัน
พระราชบัญญัติ ญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 56บัญญัติให้มีการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัดได้โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล การที่จำเลยที่ 1ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อนายอำเภอและประธาน คชก.ตำบลผ่านนายอำเภอ โดยปลัดอำเภอซึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ คชก.ตำบลเป็นผู้รับหนังสือก็ตาม เมื่อปรากฏว่าประธาน คชก.ตำบลไม่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของคชก.ตำบล จึงเป็นที่สุด เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ยอมขายนาพิพาทให้โจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันเป็นที่สุดดังกล่าว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 58 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลผูกพันเมื่อมีสาระสำคัญครบถ้วน แม้เสนอเงื่อนไขใหม่ภายหลังก็ไม่กระทบสัญญาก่อนหน้า
เอกสารหมาย จ.1 แม้จะมิได้ใช้ถ้อยคำว่าเป็นสัญญาจะซื้อจะขายแต่ก็มีข้อความระบุชัดแจ้งถึงข้อตกลงของคู่กรณีในอันที่จะทำการซื้อขายที่ดินโดยระบุชัดเจนทั้งตัวทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ราคาที่ซื้อขายตลอดจนวิธีการและกำหนดเวลาในการปฏิบัติการชำระหนี้ได้สาระสำคัญครบถ้วน จึงมีผลเป็นสัญญาจะซื้อจะขายตามกฎหมายแล้วส่วนเอกสารหมาย จ.2 นั้นเป็นเงื่อนไขที่ไม่ได้มีปรากฏตามเอกสารหมาย จ.1 แม้หากจะฟังว่าเป็นเงื่อนไขที่มิได้มีการตกลงกันมาก่อนก็ตาม ก็เป็นเพียงคำเสนอใหม่ของโจทก์ที่เสนอภายหลังแยกต่างหากได้เป็นคนละส่วนกัน นิติกรรมตามเอกสารหมาย จ.1 จึงมีผลแล้วเมื่อจำเลยที่ 1 ได้สนองรับ ความผูกพันเฉพาะในข้อเสนอใหม่ดังกล่าวย่อมสิ้นไปหาอาจยกเป็นเหตุอ้างให้กระเทือนถึงข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งมีผลสมบูรณ์เป็นนิติกรรมแล้วก่อนหน้านั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3799/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซื้อขายที่ดินมีผลผูกพันแม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ และการนำสืบราคาซื้อขายที่นอกเหนือจากสัญญา
ก่อนมีการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน คู่ความทั้งสองฝ่ายได้มีการต่อรองราคากัน เมื่อตกลงราคากันได้แล้ว ฝ่ายจำเลยได้วางมัดจำไว้แก่ฝ่ายโจทก์เป็นเงิน100,000 บาท แม้ไม่มีการทำหลักฐานเป็นหนังสือ ข้อตกลงเรื่องราคาซื้อขายดังกล่าวย่อมมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง การที่โจทก์นำสืบข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากหนังสือสัญญาขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาถึงที่สุด: สิทธิครอบครองที่ดิน
สามีของผู้ร้องและบุตรของผู้ร้องอีก 4 คนได้ร่วมกันฟ้องผู้ประกันเกี่ยวกับที่พิพาท ศาลฎีกาพิพากษาว่าที่พิพาทในคดีนี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่พิพาทในคดีดังกล่าวเป็นของผู้ประกัน ต่อมาผู้ประกันได้ฟ้องขับไล่ผู้ร้องและบุตรออกจากที่พิพาทศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้พิพากษาถึงที่สุดว่าที่พิพาทเป็นของผู้ประกันให้ขับไล่ผู้ร้องและพวกผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงผูกพันผู้ร้อง ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นตามป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก ผู้ร้องจะกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ผู้ประกันจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันเฉพาะคู่กรณี ผู้บริวารของจำเลยไม่อาจอ้างเป็นเหตุเพิกถอนได้
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินซึ่งจำเลยเช่าจากโจทก์ บ้านพิพาทปลูกอยู่ในที่ดินที่จำเลยเช่า ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยให้รื้อถอนบ้านพิพาทออกไป แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่าจำเลยยอมรื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินของโจทก์ ศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด แต่จำเลยมิได้รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปตามสัญญาโจทก์จึงขอออกหมายบังคับคดี และปรากฏว่าบ้านพิพาทในคดีนี้เป็นบ้านหลังเดียว กันกับบ้านพิพาทในอีกคดีหนึ่งซึ่ง ส.เป็นโจทก์ได้มอบอำนาจให้จำเลยในคดีนี้ฟ้องขับไล่ผู้ร้องในคดีนี้เป็นจำเลยให้ออกจากบ้านพิพาทและคดีดังกล่าวได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า ผู้ร้องยอมอาศัยห้องหนึ่งของบ้านพิพาทอย่างผู้อาศัย ดังนั้น เมื่อ ส. แถลงรับในคดีนี้ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลว่า เป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวและมอบอำนาจให้จำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นบิดาเป็นผู้ดูแลบ้านพิพาทและฟ้องคดีแทน ทั้งยินยอมที่จะปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยทำไว้กับโจทก์คดีนี้ ส. จึงอยู่ในฐานะวงศ์ญาติและบริวารของจำเลย ผู้ร้องในฐานะผู้อาศัยอยู่ในบ้านพิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งทำไว้กับ ส. ก็อยู่ในฐานะบริวารของจำเลยเช่นเดียวกัน หาได้มีอำนาจพิเศษอันจะเป็นข้ออ้างต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1) แต่อย่างใดไม่ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิจะขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและหมายบังคับคดีในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันเฉพาะคู่กรณี ผู้มีฐานะบริวารย่อมไม่มีสิทธิโต้แย้ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินที่จำเลยเช่าจากโจทก์ แล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยยอมรื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินของโจทก์ ศาลพิพากษาตามยอมและ ส. บุตรของจำเลยยอมรับว่าเป็นเจ้าของบ้านพิพาท จำเลยเป็นผู้ดูแลบ้านพิพาทแทน ส. และยอมปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังนี้ ส. อยู่ในฐานะวงศ์ญาติและบริวารของจำเลย ผู้ร้องอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทในฐานะผู้อาศัยสิทธิของ ส. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีที่ ส. เป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมีผลผูกพันเฉพาะคู่กรณีไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ผู้ร้องย่อมอยู่ในฐานะบริวารของจำเลยเช่นเดียวกัน จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและหมายบังคับคดีในคดีนี้ ส่วนที่ผู้ร้องฎีกาถึงเหตุที่เพิ่งยกประเด็นเรื่องโจทก์ให้ผู้ร้องเช่าที่ดินต่อจากจำเลย และ ส.ไม่ได้มอบอำนาจให้จำเลยดูแลบ้านพิพาทและฟ้องคดีแทนขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์นั้น เป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย