พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการขอวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น, ฟ้องเคลือบคลุม, สิทธิเรียกร้องก่อนกำหนด, การส่งหนังสือบอกกล่าว, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ได้ คำให้การของจำเลยที่ 1 ไม่ชัดแจ้งว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะเหตุใด ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้ คดีจึงไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่แม้ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยให้ก็เป็นการนอกประเด็น ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง ฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินมีข้อความว่า ระยะเวลาชำระหนี้ที่กำหนดไว้ไม่เป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนกำหนด นั้น เกิดขึ้นด้วยใจสมัครของจำเลยที่ 1 เอง หาเกี่ยวกับสังคมหรือประชาชนไม่จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ก็ต้องร่วมรับผิดด้วย แม้จะไม่มีข้อกำหนดในสัญญาว่าจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดตั้งแต่เมื่อใด จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน แม้จำเลยที่ 2 จะมีที่อยู่แยกต่างหากจากภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 มีหลักแหล่งที่ทำการเป็นปกติแห่งเดียวกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองไปถึงจำเลยที่ 1 แล้วถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ผู้จำนองได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้นแล้วด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีผู้ค้ำประกัน: ใช้ระยะเวลาตามกฎหมายอาญาเมื่อมูลเหตุเกิดจากความผิดอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. จำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่ง ส. มีต่อโจทก์รวมทั้งเรื่องอายุความที่โจทก์อาจฟ้อง ส. เป็นคดีแพ่งขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694 การที่โจทก์ฟ้องให้ ส. ชดใช้เงินที่ยักยอกคืนโจทก์ เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมายอาญาและศาลพิพากษาแล้วว่า ส. มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 353 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีจึงมีอายุความที่จะต้องฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมาภายใน 10 ปี นับแต่วันกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) กำหนดอายุความทางอาญาจึงยาวกว่าอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448วรรคแรก ที่กำหนดไว้เพียง 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้อง ส. ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ส. กระทำความผิดเบียดบังยักยอกเงินของโจทก์ไปโดยทุจริตเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ ส. กระทำผิดจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งของผู้ค้ำประกัน ยึดตามอายุความอาญาเมื่อมูลหนี้เกิดจากความผิดทางอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. ดังนั้นจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่ง ส. มีต่อโจทก์ รวมทั้งเรื่องอายุความที่โจทก์อาจฟ้อง ส.เป็นคดีแพ่งขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694 การที่โจทก์จะฟ้องให้ ส. ชดใช้เงินที่ยักยอกคืนโจทก์นั้นเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดซึ่งเกิดจากการกระทำความผิดฐานยักยอกของ ส. ตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีอายุความที่จะต้องฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายใน 10 ปีนับแต่วันกระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3)กำหนดอายุความทางอาญาจึงยาวกว่าอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก ที่กำหนดไว้เพียง 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาใช้บังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองโจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ ส. กระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5629/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองเกินวงเงินและดอกเบี้ยทบต้น: ข้อตกลงโมฆะและขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองระบุว่าจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำ-ประกันและผู้จำนอง ค้ำประกันและจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 1,000,000 บาท จำเลยที่ 3 จึงมีความรับผิดตามสัญญาดังกล่าวในต้นเงิน1,000,000 บาท เท่านั้น ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่ว่า การกำหนดจำนวนต้นเงินตามสัญญาจำนองไม่ตัดสิทธิผู้รับจำนองที่จะบังคับจำนองสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้เพราะมีดอกเบี้ยหรือหนี้อุปกรณ์รวมกันเกินวงเงินที่กำหนดไว้ เป็นข้อตกลงที่ใช้ได้เพราะจำเลยที่ 3 ผู้จำนองต้องรับผิดดอกเบี้ยและหนี้อุปกรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 715 อยู่แล้ว แต่ข้อตกลงที่กำหนดให้จำเลยที่ 3 ผู้จำนองต้องรับผิดสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินตามสัญญาจำนองเพราะเหตุใด ๆ นั้น เป็นข้อตกลงที่ทำให้สัญญาจำนองไม่มีจำนวนเงินที่แน่นอน หรือไม่มีจำนวนขึ้นสูงสุดที่ได้เอาทรัพย์จำนองตราไว้เป็นประกันเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 708 และเป็นช่องทางให้หลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนอง จึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับส่วนที่จำเลยที่ 3 ตกลงยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ก็มีผลเพียงว่าจำเลยที่ 3ผู้ค้ำประกันจะอ้างสิทธิพิเศษ เช่น การยกข้อต่อสู้ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้หรือเกี่ยงให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนไม่ได้เท่านั้น มิได้หมายความว่าจำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่ากับตัวลูกหนี้ด้วย
ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า กรณีผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามบัญชีเดินสะพัด ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3 ได้ตามสัญญา นับแต่วันที่จำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่จำเลยที่ 3 ทำสัญญาจำนองจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกัน ซึ่งปรากฏว่ามีรายการหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2528 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ พฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3
ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า กรณีผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามบัญชีเดินสะพัด ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3 ได้ตามสัญญา นับแต่วันที่จำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่จำเลยที่ 3 ทำสัญญาจำนองจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกัน ซึ่งปรากฏว่ามีรายการหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2528 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ พฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน - การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการประกวดราคา - ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
การที่บุคคลใดจะเข้าประกวดราคาตามใบแจ้งความประกวดราคาหรือไม่ ย่อมเป็นเรื่องที่บุคคลนั้นจะต้องพิจารณาเองว่าสมควรเข้าประกวดราคาเช่นนั้นหรือไม่ ใบแจ้งความประกวดราคาของโจทก์ระบุว่าโจทก์ไม่จำต้องสนองรับการเสนอราคาใดก็ตามที่ส่งมาโดยไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลดังนั้นแม้จำเลยที่ 1 มีสิทธิเสนอราคางานเสาเข็มเจาะระบบอื่นนอกเหนือจากระบบตามใบแจ้งความประกวดราคาของโจทก์ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะไม่พิจารณาและไม่สนองรับการเสนอราคาเสาเข็มเจาะระบบอื่นดังกล่าวของจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องให้เหตุผลแก่จำเลยที่ 1 แต่อย่างใด การแจ้งความประกวดราคาของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดไม่ยอมทำสัญญาจ้างงานเสาเข็มเจาะตามที่ได้ตกลงในการประกวดราคา จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ ในการประกวดราคาจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ผิดเงื่อนไขในการประกวดราคาโดยไม่ยอมเข้าทำสัญญากับโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาหลักประกันอันเป็นเบี้ยปรับตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบแจ้งความประกวดราคา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคสอง ส่วนความเสียหายของโจทก์ที่เกิดจากการที่โจทก์เริ่มงานเสาเข็มเจาะล่าช้าทำให้งานโครงการของโจทก์เสร็จช้าไปก็ดี ความเสียหายที่เกิดจากการที่โจทก์ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ผู้ควบคุมงานรายใหม่เพิ่มขึ้นก็ดีความเสียหายอันเกิดจากความล่าช้าเพราะเกิดอุปสรรคในการสร้างงานเสาเข็มเจาะของผู้รับจ้างรายใหม่ก็ดี การว่าจ้างผู้รับจ้างรายใหม่ทำให้โจทก์ต้องจ่ายเงินค่างวดเร็วขึ้นและทำให้โจทก์ต้องรับภาระในการจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารมากขึ้นก็ดี ค่าใช้จ่ายในการเตรียมเอกสารและค่าปรึกษาด้านกฎหมายและเอกสารในการทำสัญญาใหม่ก็ดี ต่างเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างงานเสาเข็มเจาะกับโจทก์ทั้งสิ้น แต่ตามใบแจ้งความประกวดราคาได้ความว่าสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเป็นหนังสือตามแบบในการประกวดราคาฉะนั้น แม้จำเลยที่ 1 และโจทก์ได้แสดงเจตนาเสนอสนองถูกต้องตรงกันแต่จำเลยที่ 1 ยังมิได้ลงนามในสัญญาจ้างงานเสาเข็มเจาะ สัญญาจ้างงานเสาเข็มเจาะระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่เกิดขึ้นโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายต่าง ๆ อันเกิดจากการผิดสัญญานั้นได้ การต่อรองในเรื่องราคาและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการลดราคาค่าว่าจ้างลง มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเงื่อนไขในการประกวดราคาใหม่ เพราะโจทก์มีสิทธิต่อรองราคาเช่นนั้นตามใบแจ้งความประกวดราคา ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้มรดก-ผู้ค้ำประกัน: การรับสภาพหนี้ทำให้สะดุดอายุความ, แยกพิจารณาความรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. และในฐานะผู้ค้ำประกันให้รับผิดชำระหนี้ที่ จ. เป็นหนี้โจทก์ กรณีต้องแยกวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยในแต่ละฐานะ สำหรับความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกนั้น เมื่อจำเลยลงชื่อรับสภาพหนี้ในสัญญารับสภาพหนี้ในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ จ. จึงมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเฉพาะในส่วนมรดกของ จ. ที่ตกได้แก่จำเลยเท่านั้น สำหรับมรดกส่วนอื่นเมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับแต่จ. ถึงแก่ความตาย คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 ส่วนการรับสภาพหนี้ของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันนั้นอายุความย่อมสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้เดิม จำเลยไม่อาจยกข้อต่อสู้ของกองมรดกของ จ.ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ในเรื่องอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4657/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันเช็ค: ผู้ค้ำประกันต้องชำระหนี้แทนผู้สั่งจ่ายเช็คเมื่อไม่ชำระหนี้
จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์การที่จำเลยที่ 3 ทำหนังสือซึ่งมีข้อความระบุถึงเลขที่วันออกเช็ค และจำนวนเงินตามเช็คพิพาท และมีข้อความตอนท้ายใจความว่า จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันได้อ่านข้อความเข้าใจดีแล้วจึงลงลายมือชื่อรับรองไว้เป็นหลักฐาน และลงลายมือชื่อในช่องผู้ค้ำประกันด้วย คำว่า "ค้ำประกัน" มีความหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 ว่าอันค้ำประกันนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น ดังนั้นเมื่อตามเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน จึงเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทไม่ชำระเงินตามเช็ค จำเลยที่ 3 จะยอมชำระแทน เอกสารดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกันหลังสัญญาประนีประนอมสิ้นสุด – ไม่ต้องฟ้องคดีใหม่
เมื่อจำเลยรับว่าจำเลยยังค้างชำระหนี้โจทก์อยู่ภายหลังจากกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความสิ้นสุดลงแล้วโจทก์ย่อมบังคับชำระหนี้โดยยึดทรัพย์สินของผู้ค้ำประกันในศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274 ได้โดยไม่ต้องฟ้องผู้ค้ำประกันเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4574/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้และการระงับความรับผิดของผู้ค้ำประกันและลูกหนี้ร่วม
โจทก์และจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน น. ในหนี้รายเดียวกัน จึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อโจทก์ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แทน น. ไปแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้กึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 229 (3) และ 296 และยังมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ น. เพื่อให้ชำระหนี้ทั้งหมดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 วรรคแรกอีกด้วย เมื่อปรากฏต่อมาว่าโจทก์ตกลงกับ น. ทำหนังสือสัญญากู้เงินมีข้อความว่าน. เป็นลูกหนี้กู้เงินโจทก์ ถือได้ว่ามีหนี้ใหม่เกิดขึ้นตามสัญญากู้เงิน เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ มีผลทำให้หนี้ตามสิทธิไล่เบี้ยแก่ น. นั้นระงับไป โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับตามมูลหนี้ใหม่ในสัญญากู้เงิน กรณีดังกล่าวความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้เดิมของ น. และในฐานะลูกหนี้ร่วมกับโจทก์ย่อมระงับไปด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4574/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่กระทบสิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันและลูกหนี้ร่วม
โจทก์และจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน น. ในหนี้รายเดียวกันจึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อโจทก์ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แทน น.ไปแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ย เอา แก่ จำเลยได้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 229(3) และ 296 และยังมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ น.เพื่อให้ชำระหนี้ทั้งหมดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 693 วรรคแรกอีกด้วย เมื่อปรากฏต่อมาว่าโจทก์ตกลงกับ น. ทำหนังสือสัญญากู้เงินมีข้อความว่า น.เป็นลูกหนี้กู้เงินโจทก์ ถือได้ว่ามีหนี้ใหม่เกิดขึ้น ตามสัญญากู้เงิน เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ มีผลทำให้หนี้ตามสิทธิไล่เบี้ยแก่ น. นั้นระงับไป โจทก์ขอ ที่จะฟ้องบังคับตาม มูลหนี้ ใหม่ในสัญญากู้เงิน กรณีดังกล่าว ความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเดิม ของ น. และในฐานะลูกหนี้ร่วมกับโจทก์ย่อมระงับไปด้วยโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลย