พบผลลัพธ์ทั้งหมด 310 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สลากกินแบ่งรัฐบาล: เงื่อนไขการจ่ายรางวัลต้องชัดเจนและเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ผู้ซื้อไม่ผูกพันเงื่อนไขที่แจ้งภายหลัง
เงื่อนไขที่พิมพ์ไว้ในสลากกินแบ่งรัฐบาลว่า "เงินรางวัลจ่ายแก่ผู้ถือสลากฉบับที่ถูกรางวัลมาขอรับ " ก็ดี " ถ้าผู้ถูกรางวัลไม่สามารถนำสลากที่ถูกรางวัลมาขอรับเงินตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ไม่ว่าเป็นกรณีใด ๆ ก็เป็นอันไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จ่ายเงินที่อ้างว่าถูกรางวัลนั้น " ก็ดี ยังแปลไม่ได้ว่าถึงแม้จะถูกรางวัลแล้ว จะไม่ได้รับรางวัลตามที่มีสิทธิ
และแม้ว่าเงื่อนไข (ข้อกำหนด) ดังกล่าวจะได้แจกจ่ายและโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงแล้วก็ตาม ยังหาผูกมัดผู้ซื้อไม่ เพราะเป็นข้อความที่นอกออกไปจากข้อสัญญาที่จำเลยระบุไว้ในสลากว่า (ว่าจะจ่ายให้แก่ผู้ถูกรางวั) จึงไม่เป็นเหตุจะให้ถือได้ว่าผู้ซื้อสลากได้รับเอาข้อสัญญาตามข้อกำหนดดังกล่าวนั้นไปด้วย
(ฎีกาที่ 1372/2497)
และแม้ว่าเงื่อนไข (ข้อกำหนด) ดังกล่าวจะได้แจกจ่ายและโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงแล้วก็ตาม ยังหาผูกมัดผู้ซื้อไม่ เพราะเป็นข้อความที่นอกออกไปจากข้อสัญญาที่จำเลยระบุไว้ในสลากว่า (ว่าจะจ่ายให้แก่ผู้ถูกรางวั) จึงไม่เป็นเหตุจะให้ถือได้ว่าผู้ซื้อสลากได้รับเอาข้อสัญญาตามข้อกำหนดดังกล่าวนั้นไปด้วย
(ฎีกาที่ 1372/2497)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387-389/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งสิทธิในที่ดินหลังมีการซื้อขายแล้ว การฟ้องต้องรวมผู้ซื้อเป็นจำเลย
โจทย์ฟ้องขอให้แสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ และขอทำลายนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทหลังกล่าวระหว่างจำเลยผู้ขาย กับบุคคลภายนอกผู้ซื้อ เมื่อคดีปรากฏว่า จำเลยได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่รายพิพาท และส่งมอบการครอบครองให้ผู้ซื้อไปแล้ว ดังนี้ เมื่อมิได้ฟ้องผู้ซื้อเข้ามาเป็นจำเลยด้วย แม้ศาลจะวินิจฉัยว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์ก็จะพิพากษาให้ทำลายหนังสือสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยและผู้ซื้อไม่ได้ เพราะผู้ซื้อเป็นบุคคลภายนอกคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387-389/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งสิทธิในที่ดินและการทำลายสัญญาซื้อขาย: จำเป็นต้องฟ้องผู้ซื้อร่วมด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ และขอทำลายนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวระหว่างจำเลยผู้ขายกับบุคคลภายนอกผู้ซื้อเมื่อคดีปรากฏว่า จำเลยได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่รายพิพาท และส่งมอบการครอบครองให้ผู้ซื้อไปแล้วดังนี้ เมื่อมิได้ฟ้องผู้ซื้อเข้ามาเป็นจำเลยด้วยแม้ศาลจะวินิจฉัยว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์ก็จะพิพากษาให้ทำลายหนังสือสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยและผู้ซื้อไม่ได้เพราะผู้ซื้อเป็นบุคคลภายนอกคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินหลังคู่สัญญาตาย: ผู้ซื้อมีสิทธิบังคับโอนแม้เกินอายุความมรดก
สามีภริยาผู้เป็นเจ้าของร่วมในที่ดิน ทำสัญญาจะขายที่ดินนั้นแก่เขา โดยส่งมอบที่ดินและโฉนดให้ผู้ซื้อครอบครองแล้ว และผู้ขายก็ได้รับชำระราคาครบถ้วนแล้วต่อมาสามีตายลงเสียก่อนโอนโฉนดให้ผู้ซื้อ ดังนี้แม้ผู้ซื้อจะฟ้องคดีขอบังคับให้โอนตามสัญญาภายหลังสามีตายเกิน 1 ปี ซึ่งขาดอายุความมรดกแล้วก็ตามก็ถือได้ว่าผู้ซื้อได้ครอบครองที่ดินที่จะซื้อขายกันมีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินไว้จนกว่าจะโอนกรรมสิทธิได้เหตุที่ผู้ขายคนหนึ่งตายเกิน 1 ปีแล้ว ย่อมไม่ห้ามผู้ซื้อผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจะใช้สิทธิบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189,241(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/97)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2108/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ: การฟ้องรอนสิทธิ & ประเด็นสุจริตของผู้ซื้อ
เมื่อโจทก์ใช้สิทธิทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยมากว่า 10 ปีโจทก์ย่อมได้ทรัพย์สินอย่างหนึ่งเรียกว่า "ภาระจำยอม" บนที่ดินของจำเลยโดยทางอายุความ เมื่อยังไม่จดทะเบียนจึงเข้าข่ายบังคับของ ม.1294 วรรค 2 เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทรงทรัพย์สิทธิภาระจำยอมและถูกจำเลยรอบสิทธิเพียงเท่านี้ก็เป็นฟ้องที่ครบบริบูรณ์ตาม ป. วิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 แล้ว ข้อจำเลยได้รับโอนมาโดยสุจริตหรือไม่ ๆ จำเป็นต้องกล่าวเพราะเป็นประเด็นอีกข้อหนึ่งเพิ่มเติมจากข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าว ต่อเมื่อจำเลยกล่าวอ้างขึ้นก็เป็นประเด็นที่จะต้องนำสืบกันต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1655/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ซื้อต้องรู้ว่าเป็นของโจรจึงผิดฐานรับของโจร
การที่จะเอาผิดแก่ผู้ซื้อฐานรับของโจรนั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่า ผู้ซื้อรับซื้อไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของร้ายที่ได้มาจากการกระทำผิดต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1655/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับซื้อของโจร: ผู้ซื้อต้องรู้ว่าเป็นของผิดกฎหมาย
การที่จะเอาผิดแก่ผู้ซื้อฐานรับของโจรนั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าผู้ซื้อรับซื้อไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของร้ายที่ได้มาจากการกระทำผิดต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิทธิของผู้ซื้อเมื่อผู้ขายถึงแก่กรรมก่อนโอนกรรมสิทธิ์
ข้อความในสัญญามีว่า ได้ซื้อขายที่ดินกันและได้ชำระราคากันเสร็จแล้วแต่มีกล่าวไว้อีกว่าคู่สัญญาจะต้องไปทำการโอนโฉนดที่ดินที่ซื้อขายให้แก่กันภายในกำหนดดังนี้ย่อมเป็นสัญญาจะซื้อขาย หาใช่เป็นสัญญาซื้อขายเด็ดขาด
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันไว้แล้ว ผู้ขายถึงแก่กรรมลงก่อนทำการโอนดังนี้ ผู้ซื้อย่อมฟ้องผู้รับมรดกของผู้ขายให้ทำการโอนที่ดินนั้น ให้ตามสัญญาได้
โจทก์เคยฟ้องจำเลย ขอให้ศาลแสดงว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ซื้อไว้จากผู้ตาย เป็นกรรมสิทธิของโจทก์ศาลวินิจฉัยว่าสัญญาที่โจทก์ฟ้องเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขายเท่านั้น โจทก์ยังไม่มีกรรมสิทธิจึงพิพากษายกฟ้องดังนี้ โจทก์ย่อมฟ้องใหม่ให้จำเลยโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายนั้น ให้แก่โจทก์ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันไว้แล้ว ผู้ขายถึงแก่กรรมลงก่อนทำการโอนดังนี้ ผู้ซื้อย่อมฟ้องผู้รับมรดกของผู้ขายให้ทำการโอนที่ดินนั้น ให้ตามสัญญาได้
โจทก์เคยฟ้องจำเลย ขอให้ศาลแสดงว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ซื้อไว้จากผู้ตาย เป็นกรรมสิทธิของโจทก์ศาลวินิจฉัยว่าสัญญาที่โจทก์ฟ้องเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขายเท่านั้น โจทก์ยังไม่มีกรรมสิทธิจึงพิพากษายกฟ้องดังนี้ โจทก์ย่อมฟ้องใหม่ให้จำเลยโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายนั้น ให้แก่โจทก์ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิในทรัพย์สิน การซื้อขายผ่อนส่ง และผลกระทบต่อผู้ซื้อต่อจากผู้ผิดสัญญา
ข้อตกลงในวิธีการชำระราคา+ข้อตกลงให้กรรมสิทธิในทรัพย์ที่ซื้อขายให้โอนไปเมื่อใดนั้น ไม่ใช่ข้อตกลงพิเศษนอกเหนือสัญญาและไม่มีข้อกฎหมายบังคับว่า ข้อตกลงเช่นนี้จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ข้อตกลงเช่นว่านั้นมีผลใช้บังคับได้ ดังนั้นเมื่อบุคคลอื่นได้ทรัพย์นี้ไปและทรัพย์นั้นได้มาระหว่างกันเป็นทอด ๆ ไม่ใช่ในท้องตลาด แม้จะได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก็ตาม ก็หาได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1320 และ 1332 ไม่
โจทก์จำเลยตกลงกันให้โจทก์กู้เงินจากคนภายนอกมาซื้อโต๊ะบิลเลียดและเครื่องอุปกรณ์มอบให้จำเลยไปแล้วให้จำเลยรับชำระหนี้เงินกู้แก่บุคคลภายนอกแทนโจทก์ จำเลยรับชำระหนี้เงินกู้แก่บุคคลภายนอกแทนโจทก์ จำเลยชำระหนี้เสร็จและได้รับสัญญากู้คืนมาเมื่อใดให้โต๊ะบิลเลียดตกเป็นกรรมสิทธิแก่จำเลย เมื่อจำเลยผ่อนส่งตต้นเงินแทนโจทก์ไปบ้างแล้วคงค้างอีก 6,000 บาท จำเลยจะอ้างว่าราคาโต๊ะอีก 6,000 บาทที่ค้างนี้ได้แปลงเป็นหนี้เงินกู้แล้วไม่ได้เพราะหนี้เงินกู้นั้นเป็นหนี้ที่โจทก์กู้มาแต่แรก ซึ่งจำเลยเพียงแต่รับปากว่าจะชำระแทนโจทก์เท่านั้นหาใช่ว่าได้แปลงหนี้ค่าโต๊ะบิลเลียดกับเครื่องอุปกรณ์มาเป็นสัญญากู้ยืมเงินให้จำเลยต้องรับผิดต้องชำระเงินกู้นั้นไม่ กรรมสิทธิในโต๊ะยังอยู่กับโจทก์ ๆ มีสิทธิติดตามเอาคืนมาได้ตาม ป.พ.พ.ม.1336
โจทก์จำเลยตกลงกันให้โจทก์กู้เงินจากคนภายนอกมาซื้อโต๊ะบิลเลียดและเครื่องอุปกรณ์มอบให้จำเลยไปแล้วให้จำเลยรับชำระหนี้เงินกู้แก่บุคคลภายนอกแทนโจทก์ จำเลยรับชำระหนี้เงินกู้แก่บุคคลภายนอกแทนโจทก์ จำเลยชำระหนี้เสร็จและได้รับสัญญากู้คืนมาเมื่อใดให้โต๊ะบิลเลียดตกเป็นกรรมสิทธิแก่จำเลย เมื่อจำเลยผ่อนส่งตต้นเงินแทนโจทก์ไปบ้างแล้วคงค้างอีก 6,000 บาท จำเลยจะอ้างว่าราคาโต๊ะอีก 6,000 บาทที่ค้างนี้ได้แปลงเป็นหนี้เงินกู้แล้วไม่ได้เพราะหนี้เงินกู้นั้นเป็นหนี้ที่โจทก์กู้มาแต่แรก ซึ่งจำเลยเพียงแต่รับปากว่าจะชำระแทนโจทก์เท่านั้นหาใช่ว่าได้แปลงหนี้ค่าโต๊ะบิลเลียดกับเครื่องอุปกรณ์มาเป็นสัญญากู้ยืมเงินให้จำเลยต้องรับผิดต้องชำระเงินกู้นั้นไม่ กรรมสิทธิในโต๊ะยังอยู่กับโจทก์ ๆ มีสิทธิติดตามเอาคืนมาได้ตาม ป.พ.พ.ม.1336
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสุราผิดกฎหมาย: ศาลไม่ริบสุราเมื่อกรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือและผู้ซื้อไม่มีส่วนรู้เห็น
ขายสุราให้ผู้อื่นไป โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิตต์ ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.สุรา 2493 มาตรา
40 นั้น เมื่อปรากฎว่า สุราของกลางได้ขายและกรรมสิทธิตกเป็นของผู้ซื้อแล้ว ทั้งผู้ซื้อก็ไม่ได้รู้เห็นในการกระทำผิด
ของผู้ขายแล้ว ศาลก็ย่อมไม่ริบสุราของกลางนั้น./
40 นั้น เมื่อปรากฎว่า สุราของกลางได้ขายและกรรมสิทธิตกเป็นของผู้ซื้อแล้ว ทั้งผู้ซื้อก็ไม่ได้รู้เห็นในการกระทำผิด
ของผู้ขายแล้ว ศาลก็ย่อมไม่ริบสุราของกลางนั้น./