คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้รับโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 363 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้เช่าเมื่อมีการซื้อขายทรัพย์สินที่เช่า: ผู้ซื้อต้องรับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าเดิม
จำเลยที่ 2 เช่าที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของ ต่อมาโจทก์เช่าช่วงจากจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ยินยอม แล้วโจทก์ซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างที่สัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ยังมีผลบังคับอยู่ แม้จำเลยที่ 1 จะต้องโอนขายที่พิพาทให้โจทก์ แต่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนจะต้องรับโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าที่จำเลยที่ 1 ผู้โอนได้ทำไว้กับจำเลยที่ 2 ผู้เช่าเดิมมาด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 และโจทก์ก็รู้ถึงความผูกพันตามสัญญาเช่าระหว่างจำเลยทั้งสองอยู่ก่อนแล้ว จำเลยที่ 2 จึงยังมีสิทธิในที่พิพาทในฐานะผู้เช่าอยู่ โจทก์จะห้ามจำเลยที่ 2 เกี่ยวข้องในที่พิพาทหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินที่มีสัญญาเช่าเดิม ผู้รับโอนต้องรับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่า
จำเลยที่ 2 เช่าที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของ ต่อมาโจทก์เช่าช่วงจากจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ยินยอม แล้วโจทก์ซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างที่สัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ยังมีผลบังคับอยู่ แม้จำเลยที่ 1 จะต้องโอนขายที่พิพาทให้โจทก์ แต่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนจะต้องรับโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าที่จำเลยที่ 1 ผู้โอนได้ทำไว้กับจำเลยที่ 2ผู้เช่าเดิมมาก่อนด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 539และโจทก์ก็รู้ถึงความผูกพันตามสัญญาระหว่างจำเลยทั้งสองอยู่ก่อนแล้วจำเลยที่ 2 จึงยังมีสิทธิในที่พิพาทในฐานะผู้เช่าอยู่ โจทก์จะห้ามจำเลยที่ 2ไม่ให้เกี่ยวข้องในที่พิพาทหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมโมฆะ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิ แม้ได้มาภายหลังบอกล้างโมฆียะกรรม สิทธิติดตามทรัพย์สินตามกฎหมาย
ส.ภริยาโจทก์ได้ขายที่ดินให้แก่ ก. กับพวก ไปโดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอม โจทก์ฟ้อง ส. และ ก.กับพวก เป็นคดีแรก ขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเสีย ปรากฏว่า ก.กับพวกขายที่พิพาทแก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว โจทก์จึงขอให้ศาลเรียกจำเลยที่ 1 เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีนั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นว่า นิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่าง ส.กับ ก.และพวก เป็นโมฆะ ให้เพิกถอนเสีย และเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย ระหว่าง ก. กับพวก กับจำเลยที่ 1 เสียด้วย ศาลฎีกาพิพากษายืน ขณะที่คดีแรกอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 ได้ขายฝากที่พิพาทแก่จำเลยที่ 2 และที่พิพาทหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ให้ทำลายนิติกรรมการขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองเสีย ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้อง ส.กับพวก ขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ ในคดีแรกนั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกล้างนิติกรรมแล้ว เมื่อในที่สุดศาลพิพากษาว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคแรก การที่ ก. กับพวก โอนขายที่ดินให้จำเลยที่ 1 ก็ดีหรือจำเลยที่ 1 ขายฝากที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ก็ดีเป็นอันใช้ยันโจทก์ไม่ได้ เพราะการขายต่อ ๆ มา จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจที่จะโอนขายได้ เข้าหลักที่ว่า ผู้รับโอนไม่มีอำนาจดีกว่าผู้โอน เพราะนิติกรรมอันเดิมเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกเสียแล้ว โจทก์ย่อมใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินตามมาตรา 1336 ได้ กรณีเช่นนี้ จะนำมาตรา 1299 และ 1300 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่ ส่วนมาตรา 1329 นั้น ต้องได้ความว่า ได้ทรัพย์สินมาในระหว่างที่ยังไม่มีการบอกล้างโมฆียะกรรม ถ้าได้มาภายหลังบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากกรรมสิทธิ์เดิมถูกเพิกถอนด้วยเหตุฉ้อฉล ผู้รับโอนไม่มีสิทธิอ้างซื้อโดยสุจริต
ม. ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โฉนดที่ดินที่พิพาทได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลว่า จำเลยที่ 1 ใช้กลฉ้อฉลโอนเอาที่ดินโฉนดที่พิพาทไป ขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 1 ออกจากโฉนดที่พิพาท ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า ม. ได้ถูกจำเลยที่ 1 ใช้กลฉ้อฉลจริง พิพากษาให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 1 ออกจากโฉนดที่พิพาท คดีถึงที่สุด ระหว่างที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้แก้ชื่อในโฉนดที่พิพาทให้เป็นของ ม.ตามเดิม จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นวันที่ ม. ถึงแก่กรรม ดังนี้ โดยผลของคำพิพากษาดังกล่าวถือว่าได้มีการบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว ซึ่งตามมาตรา 138 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ท่านให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก จึงเท่ากับจำเลยที่ 1 ไม่เคยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่พิพาทเลย ที่พิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ ม. อยู่ตามเดิม จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท และจะยกเอาเหตุทีได้รับโอนโดยเสียค่าตอบแทน และโดยสุจริต มายันโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกที่พิพาทจาก ม. เจ้าของที่พิพาทเดิมหาได้ไม่
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเรียกที่พิพาทคืนจากผู้ไม่มีสิทธิ ในฐานโจทก์เป็นทายาทรับมรดกคนหนึ่งของ ม. เจ้ามรดก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2380/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช็ค: เริ่มนับแต่วันธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้ผู้รับโอนเช็คภายหลัง
จำเลยออกเช็คให้แก่ ย. ลงวันที่ 14 เมษายน 2515 ย. นำเช็คไปเข้าบัญชี ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยบอกว่า "ยังรอเรียกเก็บเงินอยู่ โปรดนำมายื่นใหม่" วันที่17 เดือนเดียวกัน ย. นำเช็คไปเข้าบัญชีอีกครั้งหนึ่ง ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แจ้งว่าให้ไปติดต่อผู้สั่งจ่ายต่อมา ย. สลักหลังเช็คให้โจทก์ โจทก์นำไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2515 ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินอีกโดยแจ้งว่าบัญชีปิดแล้ว ดังนี้ถือว่าความผิดได้เกิดขึ้นและรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้ว ตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน 2515 โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อเกินสามเดือนนับแต่นั้น คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับโอนเช็คที่รู้ว่าไม่มีมูลหนี้ ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินจากผู้สั่งจ่าย
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็ครายพิพาทจากจำเลยในฐานะเป็นผู้สั่งจ่าย โดยโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยให้การว่า จำเลยออกเช็ครายพิพาทให้แก่ ส. เพื่อเป็นประกันหนี้โดย ส. รับเหมาช่วงงานจากจำเลยไปทำ และต่อมา ส. ทิ้งงานนั้นแล้วยักยอกเอาเช็คนั้นไปให้โจทก์ โจทก์ทรงเช็คโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นผู้ทรงโดยไม่สุจริตเนื่องจากการฉ้อฉลของ ส. เพราะทำให้จำเลยเสียเปรียบ อย่างไรก็ตาม ส. อาจจะสมรู้ร่วมคิดกับโจทก์ให้โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อให้ได้เงินมาแบ่งปัน จึงเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต ตามคำให้การจำเลยดังกล่าว จำเลยยืนยันแต่เพียงว่า ส. ฝ่ายเดียวฉ้อฉล หาได้ยืนยันว่าโจทก์ร่วมฉ้อฉลด้วยไม่แม้จะมีข้อความทำนองว่า ส. สมรู้ร่วมคิดกับโจทก์ จำเลยก็กล่าวแต่เพียงว่า ส. อาจจะสมรู้ร่วมคิดกับโจทก์เท่านั้น ซึ่งแปลได้ว่า ส. อาจไม่ได้สมรู้ร่วมคิดกับโจทก์ก็ได้ คำให้การของจำเลยดังกล่าวแล้วจึงคลุมเครือไม่ชัดแจ้ง เมื่อศาลชั้นต้นสอบถามในระหว่างพิจารณา จำเลยก็แถลงว่าเช็ครายพิพาทจะตกไปอยู่ที่โจทก์อย่างไรจำเลยไม่ทราบ ดังนี้ คดีจึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบตามข้อต่อสู้ในคำให้การนั้นได้
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ส. ได้ทิ้งงานรับเหมาช่วงงานจากจำเลยงวดที่ออกเช็คนั้นไปแล้ว ทั้งจำเลยก็ได้เลิกสัญญากับ ส. ก่อนเช็คนั้นถึงกำหนดจ่ายเงิน กับได้แจ้งให้โจทก์ทราบก่อนฟ้องแล้วด้วย ฉะนั้น เช็คที่จำเลยออกให้เป็นประกันจึงเป็นอันไม่มีมูลหนี้ต่อกันระหว่างจำเลยกับ ส. แล้วการที่โจทก์ยอมรับโอนเช็ครายพิพาทมาโดยรู้ว่าเช็คนั้นเป็นเช็คที่จำเลยออกให้เพื่อประกันหนี้การรับเหมาช่วงงานก่อสร้าง และจำเลยผู้สั่งจ่ายไม่มีมูลหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ ส. ตามเช็คนั้นแล้ว โจทก์ผู้รับโอนเช็ครายพิพาทจึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับโอนเช็คที่รู้ว่าไม่มีมูลหนี้ ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินจากผู้สั่งจ่าย
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็ครายพิพาทจากจำเลยในฐานะเป็นผู้สั่งจ่าย โดยโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยให้การว่า จำเลยออกเช็ครายพิพาทให้แก่ ส. เพื่อเป็นประกันหนี้โดย ส.รับเหมาช่วงงานจากจำเลยไปทำ และต่อมาส. ทิ้งงานนั้น แล้วยักยอกเอาเช็คนั้นไปให้โจทก์ โจทก์ทรงเช็คโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นผู้ทรงโดยไม่สุจริตเนื่องจากการฉ้อฉลของ ส. เพราะทำให้จำเลยเสียเปรียบ อย่างไรก็ตาม ส.อาจจะสมรู้ร่วมคิดกับโจทก์ ให้โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อให้ได้เงินมาแบ่งปัน จึงเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต ตามคำให้การจำเลยดังกล่าว จำเลยยืนยันแต่เพียงว่า ส. ฝ่ายเดียวฉ้อฉล หาได้ยืนยันว่าโจทก์ร่วมฉ้อฉลด้วยไม่ แม้จะมีข้อความทำนองว่า ส.สมรู้ร่วมคิดกับโจทก์ จำเลยก็กล่าวแต่เพียงว่า ส.อาจจะสมรู้ร่วมคิดกับโจทก์เท่านั้น ซึ่งแปลได้ว่า ส.อาจไม่ได้สมรู้ร่วมคิดกับโจทก์ก็ได้ คำให้การของจำเลยดังกล่าวแล้วจึงคลุมเครือไม่ชัดแจ้ง เมื่อศาลชั้นต้นสอบถามในระหว่างพิจารณา จำเลยก็แถลงว่าเช็ครายพิพาทจะตกไปอยู่ที่โจทก์อย่างไรจำเลยไม่ทราบ ดังนี้ คดีจึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบตามข้อต่อสู้ในคำให้การนั้นได้
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ส. ได้ทิ้งงานรับเหมาช่วงงานจากจำเลยงวดที่ออกเช็คนั้นไปแล้ว ทั้งจำเลยก็ได้เลิกสัญญากับ ส. ก่อนเช็คนั้นถึงกำหนดจ่ายเงิน กับได้แจ้งให้โจทก์ทราบก่อนฟ้องแล้วด้วย ฉะนั้น เช็คที่จำเลยออกให้เป็นประกันจึงเป็นอันไม่มีมูลหนี้ต่อกันระหว่างจำเลยกับ ส. แล้ว การที่โจทก์ยอมรับโอนเช็ครายพิพาทมาโดยรู้ว่าเช็คนั้นเป็นเช็คที่จำเลยออกให้เพื่อประกันหนี้การรับเหมาช่วงงานก่อสร้าง และจำเลยผู้สั่งจ่ายไม่มีมูลหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ ส. ตามเช็คนั้นแล้ว โจทก์ผู้รับโอนเช็ครายพิพาทจึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1697/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คโดยไม่สุจริต ผู้รับโอนไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินจากผู้สั่งจ่าย
โจทก์รับโอนเช็คพิพาทจากผู้สลักหลังโดยไม่สุจริต จึงไม่มีสิทธิจะเรียกเงินตามเช็คพิพาทจากผู้สั่งจ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1697/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คพิพาทโดยไม่สุจริต ทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินจากผู้สั่งจ่าย
โจทก์รับโอนเช็คพิพาทจากผู้สลักหลังโดยไม่สุจริต จึงไม่มีสิทธิจะเรียกเงินตามเช็คพิพาทจากผู้สั่งจ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและการรับซื้อโรงเรือน: ข้อตกลงแยกต่างหากไม่ผูกพันผู้รับโอน
ข้อตกลงเรื่องผู้ให้เช่าต้องรับซื้อโรงเรือนของจำเลย(ผู้เช่า) ตามสัญญาข้อ 3 ตอนท้าย แม้จะเป็นเงื่อนไขในสัญญา แต่ก็เป็นเงื่อนไขหรือข้อตกลงต่างหากจากการเช่าจึงไม่ผูกพันโจทก์ผู้รับโอนให้จำต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 คือ ต้องรับซื้อโรงเรือนของจำเลยก่อน จึงจะมีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้
of 37