คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พินัยกรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 953 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583-584/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมต้องพิจารณาว่าทรัพย์สินเป็นของเจ้ามรดกจริงหรือไม่ การยกทรัพย์ก่อนเสียชีวิตมีผลต่อพินัยกรรม
การที่เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ผู้ใด โดยอ้างว่า เป็นทรัพย์ของเจ้ามรดกนั้น มิใช่จะถือว่าทรัพย์ที่ระบุในพินัยกรรม เป็นของเจ้ามรดกเสมอไป ต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานต่าง ๆ ว่าเป็น ทรัพย์ของเจ้ามรดกหรือไม่ เมื่อคดีฟังได้ว่าเจ้ามรดกได้ยกทรัพย์ บางส่วนให้จำเลยทั้งสองก่อนตาย ทรัพย์ส่วนที่ยกให้ย่อมไม่เป็น ของเจ้ามรดกที่จะทำพินัยกรรมยกให้โจทก์ทั้งสองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พิพากษายกฟ้องกรณีพินัยกรรมปลอมและทรัพย์มรดก โดยพิจารณาจากลักษณะลายมือชื่อและอายุของผู้ทำพินัยกรรม
เมื่อปรากฏว่าคำพยานโจทก์หลายปากขัดกันเป็นข้อพิรุธ อีก ทั้งพยานโจทก์ทุกปากล้วนเป็นผู้ใกล้ชิดกับโจทก์ทั้งสิ้น ไม่มี คนใดพอที่จะถือได้ว่าเป็นพยานคนกลางโดยแท้จริง ประกอบกับเมื่อ พิจารณาลายมือชื่อของ บ. ในพินัยกรรมที่โจทก์อ้างเปรียบเทียบกับลายมือชื่อของ บ. ในเอกสารอื่น ๆ แล้ว จึงเชื่อได้ว่า บ. มิได้ทำพินัยกรรม การยกให้อสังหาริมทรัพย์ จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะสมบูรณ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 โจทก์และจำเลยร่วมเป็นทายาทโดยธรรมของ บ. ย่อมมีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มีในบ้านพิพาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360วรรคสอง แต่คำฟ้องแย้งของจำเลยร่วมเรียกร้องเอาดอกผลของ บ้านพิพาทจากโจทก์เป็นของตนแต่เพียงผู้เดียวทั้งหมด ศาลจะพิพากษา ให้จำเลยร่วมได้รับแต่ส่วนแบ่งในเมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยร่วมควรได้แต่ส่วนแบ่งเท่าใดก็ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 437/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชัดแจ้ง – การโต้แย้งสิทธิมรดก – พินัยกรรมเฉพาะส่วน – ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
ฎีกาของโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่า ไม่ถูกต้องอย่างไรและที่ถูกต้องเป็นอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3354/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดิน ส.ค.1 โดยการส่งมอบการครอบครองสมบูรณ์ ทำให้ข้อกำหนดพินัยกรรมเดิมเพิกถอนได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดิน ส.ค.1 เมื่อยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว จึงไม่สามารถจดทะเบียนโอนให้แก่กันได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนั้นการโอนไปซึ่งการครอบครองนั้นย่อมทำได้โดยส่งมอบ เมื่อ อ.ส่งมอบการครอบครองให้แก่ห.ซึ่งเป็นมารดาโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทไว้แทนโจทก์ การยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ดังกล่าวจึงสมบูรณ์ ถือได้ว่า ก. ผู้ทำพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมด้วยความตั้งใจ ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทที่ ก.ทำไว้แต่เดิมเพื่อยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยนั้น เป็นอันเพิกถอนไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1696

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงท้ากันทางศาล: ผลคดีอาญา (ปลอมแปลงพินัยกรรม) ผูกพันคดีแพ่ง (มรดก) ต้องรอฟังผลคดีอาญาถึงที่สุด
คู่ความตกลงท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาคดีอาญาเป็นข้อวินิจฉัยว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทปลอมหรือไม่ มีความหมายว่าคู่ความประสงค์ให้ถือเอาผลของคำพิพากษาที่ถึงที่สุดเป็นข้อแพ้ชนะในประเด็น ดังกล่าวดังนี้ ศาลต้องรอฟังผลของคำพิพากษาคดีอาญาที่ถึงที่สุดเป็น หลักในการวินิจฉัยคดีตามที่คู่ความท้ากัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินที่ได้มาตามพินัยกรรมและการครอบครองปรปักษ์: พระบรมราชโองการมีผลเป็นกฎหมายคุ้มครองสิทธิ
ที่ดินพิพาทมีพระบรมราชโองการแสดงถึงพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชทานที่ดินแก่เจ้ามรดกเพื่อใช้เป็นที่ทำฮวงซุ้ยฝังศพบุคคลในตระกูล ตลอดไปไม่พึงประสงค์ให้บุคคลภายนอกละเมิดสิทธิ เมื่อเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกที่พิพาทให้ผู้สืบตระกูล ต่างมีสิทธิร่วมกันในที่ดินมิให้โอนขายจำหน่ายสิทธิ ทั้งระบุให้ผู้สืบตระกูล มีหน้าที่ปฏิบัติตามพินัยกรรมนั้น หากทำตามความประสงค์ไม่ได้ ก็มีทางแก้ไขเฉพาะวิธีการทำฎีกาทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แม้ข้อความในพินัยกรรมดังกล่าวจะมีลักษณะคล้ายเป็นการก่อตั้งทรัสต์ แต่เมื่อได้กระทำก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับเมื่อ พ.ศ. 2468ก็นับว่าพินัยกรรมส่วนนี้สมบูรณ์ใช้ได้ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1686 พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย่อมมีผลเป็นกฎหมาย เมื่อมิได้มีพระบรมราชโองการของพระองค์ท่านเองหรืออำนาจเด็ดขาดอื่นใดยกเลิกเพิกถอนโดยเฉพาะแล้วพระบรมราชโองการนั้นย่อมมีผลอยู่ ฉะนั้น การที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการรับรองความถูกต้องของพินัยกรรมให้ที่ดินพิพาทเป็นที่ฝังศพของบุคคลในตระกูลเจ้ามรดกเป็นการถาวรดังความในพินัยกรรม ทั้งทรงห้ามบุคคลใดฟ้องร้องเพื่อบังคับเอาที่ดินพิพาทไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ หากมีการฟ้องร้องดังกล่าวก็ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องรับวินิจฉัยคดีให้ผิดไปจากพินัยกรรมนั้น ย่อมมีผลรวมถึงการห้ามมิให้ฟ้องร้องเอาที่ดินพิพาทโดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ด้วย เพราะมิฉะนั้นแล้วอาจเป็นช่องทางให้ทายาท หรือผู้จัดการมรดกหลีกเลี่ยงข้อความในพินัยกรรมและขัดต่อพระราชประสงค์ โดยวิธีปล่อยให้ผู้รับโอนที่ดินพิพาทครอบครองปรปักษ์ และใช้ที่ดินพิพาทไปแสวงประโยชน์อย่างอื่นนอกจากใช้เป็นที่ฝังศพของตระกูล เป็นการทำให้วัตถุประสงค์ในพินัยกรรมไร้ผลเมื่อเป็นเช่นนี้ จำเลยจึงไม่อาจยกเอาอายุความครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ผู้มีสิทธิ vs. ผู้คัดค้าน กรณีพินัยกรรมเป็นข้อพิพาท
คำร้องของผู้ร้องและของผู้คัดค้านที่ขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ต่างก็อ้างเหตุว่าเป็นทายาทโดยธรรม โดยเป็นบุตรของผู้ตายเช่นกัน ประเด็นพิพาทจึงมีเพียงว่าสมควรตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าพินัยกรรมเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ จึงไม่สมควรให้ส่งพินัยกรรมของผู้ร้องไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ เมื่อคำร้องของผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ปรากฏว่า นอกจากที่ดินตาม น.ส.3 ก. อันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกให้ พ. แล้ว ผู้ตายยังมีทรัพย์มรดกอื่นอีกหรือไม่การที่ผู้คัดค้านอ้างว่าพินัยกรรมเป็นเอกสารปลอม เมื่อผู้คัดค้านไม่ใช่ฝ่ายเริ่มคดีขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และศาลไม่ได้ประกาศนัดไต่สวนคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้าน ทำให้ พ.ไม่ได้มาเป็นคู่ความในคดี ซึ่ง พ. อาจมีข้อโต้เถียงว่าพินัยกรรมของผู้ตายไม่ใช่เอกสารปลอม และคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่จะให้ศาลวินิจฉัยว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ จึงไม่มีเหตุสมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2182/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาจากคำร้องและข้อเท็จจริงเฉพาะหน้า ไม่ต้องวินิจฉัยความถูกต้องของพินัยกรรม
คดีมีปัญหาเพียงว่าสมควรตั้งผู้คัดค้านที่ 1 หรือ น.เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องหรือไม่เท่านั้น เมื่อในพินัยกรรมที่ผู้คัดค้านอ้างไม่มีข้อความกำหนดแต่งตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกไว้ จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยไปถึงว่าพินัยกรรมนั้นปลอมหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมเป็นโมฆะ: เจ้ามรดกไม่มีสติสัมปชัญญะขณะทำพินัยกรรม
คำเบิกความของโจทก์และ ส. หลานเจ้ามรดกประกอบกับ หลักฐานการป่วยของเจ้ามรดกที่โรงพยาบาล ฟังได้ว่าเจ้ามรดกมีสติ เลอะเลือนก่อนถึงแก่กรรม ส่วนข้อนำสืบของจำเลยที่ 1 มีพิรุธและ ไม่น่าเชื่อถือกล่าวคือ เจ้ามรดกมีอายุกว่า 80 ปีแล้ว แต่ใน พินัยกรรมระบุอายุเพียง 71 ปี ที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าจำลายพิมพ์ นิ้วมือของเจ้ามรดกในพินัยกรรมได้ แต่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มี ความเชี่ยวชาญ ในเรื่องนี้อย่างไร ที่จำเลยที่ 1อ้างว่าไม่ทราบว่า เจ้ามรดกทำพินัยกรรมไว้แต่บุตรกลับเบิกความว่า อยู่ในขณะทำ พินัยกรรมด้วย นอกจากนี้ผู้จัดทำพินัยกรรมก็เป็นทนายจำเลยที่ 1 จึงถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และจำเลยก็ไม่นำพยานในพินัยกรรม มาเป็นพยานต่อศาลด้วย จึงไม่น่าเชื่อว่าเจ้ามรดกซึ่งมีอายุกว่า 80 ปี มีอาการไม่ค่อยรู้เรื่องจะทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินจำนวนมาก ถึง 10รายการให้บุคคลอื่น คดีจึงฟังได้ว่าในขณะทำพินัยกรรม เจ้ามรดกไม่มีสติสัมปชัญญะและไม่ทราบข้อความในพินัยกรรม พินัยกรรม จึงไม่มีผลบังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินสงวนตามพินัยกรรมและพระบรมราชโองการ: ป้องกันการครอบครองปรปักษ์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระบรมราชโองการพระราชทานที่ดินให้ ร. เพื่อใช้เป็นฮวงซุ้ยฝังศพบุคคลในตระกูลของร.ตลอดไปพินัยกรรมของร. ที่ทำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6ในเวลาต่อมามีข้อความว่าให้ที่ดินพิพาทเป็นที่กลางสำหรับตระกูลมิให้เป็นทรัพย์สมบัติส่วนตัวของผู้หนึ่งผู้ใดในตระกูลเป็นอันขาดแสดงเจตนารมณ์ว่าให้ผู้สืบตระกูลต่างมีส่วนร่วมในที่ดินไม่ให้โอนขายจำหน่าย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการข้อความว่าพินัยกรรมเป็นการทำถูกต้องตามพระราชกำหนดกฎหมาย ถ้าจะมีผู้ใดไปฟ้องร้องว่ากล่าวขอให้เปลี่ยนแปลงไปจากความประสงค์ของ ร. ห้ามอย่าให้ผู้พิพากษารับไว้พิจารณาไว้พิจารณาให้ผิดไปจากความประสงค์นี้ แสดงถึงการที่ทรงรับรองความถูกต้องของพินัยกรรม และมีพระราชประสงค์ให้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ฝังศพในตระกูลของร. เป็นการถาวรดั่งข้อความในพินัยกรรม หากมีบุคคลใดก็ตามฟ้องร้องว่ากล่าวเพื่อบังคับเอาที่ดินพิพาทไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ก็ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องรับวินิจฉัยคดีให้ผิดไปจากพินัยกรรม พระบรมราชโองการดังกล่าวจึงมีพระราชประสงค์รวมถึงการห้ามมิให้ฟ้องร้องเอาที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ด้วย ที่ดินพิพาทจึงไม่อาจถูกครอบครองปรปักษ์ได้ พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีผลเด็ดขาดตามกฎหมาย เมื่อมิได้มีพระบรมราชโองการของพระองค์หรืออำนาจเด็ดขาดอื่นใดอันมีเจตนารมณ์ยกเลิกเพิกถอนโดยเฉพาะแล้ว พระบรมราชโองการนั้นย่อมยังมีผลอยู่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 และบรรพ 4 เป็นกฎหมายทั่วไปที่มีผลเพียงยกเลิกกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีแล้วในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือซึ่งแย้งกับบทแห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวเท่านั้น ไม่มีข้อความใดระบุให้ยกเลิกพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งมีผลอย่างกฎหมายแต่อย่างใด ข้อความในพระบรมราชโองการจึงยังมีผลบังคับอยู่ จำเลยทุกคนไม่อาจยกอายุความการครอบครองปรปักษ์ขึ้นต่อสู้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ร. การที่จำเลยและบริวารเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทและได้ขอออกโฉนดในที่ดินพิพาทจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์อันเนื่องมาจากการที่โจทก์ไม่สามารถจะทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าทายาทของ ร. เจ้าของที่ดินพิพาทจะมีสิทธินำที่ดินพิพาทไปหาผลประโยชน์ตามที่ ร. ทำพินัยกรรมระบุไว้ได้หรือไม่
of 96