พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนหรือไม่: ประเด็นต่างกัน แม้เกี่ยวข้องกับที่ดินแปลงเดียวกัน ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 6 ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาทซึ่งจำเลยที่ 4 โอนขายให้จำเลยที่ 6 ประเด็นในคดีก่อนมีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยที่ 6 ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทอันเป็นที่บางส่วนตาม น.ส. 3 ที่จำเลยที่ 4 โอนขายให้จำเลยที่ 6 นั้น เป็นของโจทก์ จำเลยที่ 4 ได้ น.ส. 3 มาโดยมิชอบ ประเด็นในคดีนี้มีว่าจำเลยที่ 4 ได้ น.ส. 3 มาโดยมิชอบหรือไม่ กับประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แม้ประเด็นในคดีนี้จะเกี่ยวข้องกับประเด็นในคดีก่อน แต่ก็มิใช่ประเด็นเดียวกันโดยตรง ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่ฟ้องซ้อนกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนหรือไม่: คดีที่ดินพิพาท ประเด็นต่างกัน แม้เกี่ยวข้องกับการครอบครองและโอนสิทธิ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 6 ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาทซึ่งจำเลยที่ 4 โอนขายให้จำเลยที่ 6 ประเด็นในคดีก่อนมีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยที่ 6 ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทอันเป็นที่บางส่วนตามน.ส.3 ที่จำเลยที่ 4 โอนขายให้จำเลยที่ 6 นั้น เป็นของโจทก์ จำเลยที่ 4 ได้ น.ส.3 มาโดยมิชอบ ประเด็นในคดีนี้มีว่าจำเลยที่ 4 ได้ น.ส.3 มาโดยมิชอบหรือไม่ กับประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ถึง ที่ 3 แม้ประเด็นในคดีนี้จะเกี่ยวข้องกับประเด็นในคดีก่อน แต่ก็มิใช่ประเด็นเดียวกันโดยตรง ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่ฟ้องซ้อนกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่าและฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีใหม่กับจำเลยที่ไม่เคยเป็นคู่ความเดิมไม่ถือเป็นการฟ้องซ้อน
ค้างค่าเช่าผ้าประจำเดือนพฤษภาคม 2516 ฟ้องวันที่ 31 กรกฎาคม 2517 ไม่ขาดอายุความ ซึ่งเริ่มนับเมื่อใช้สิทธิเรียกร้องได้ไม่เกิน 2 ปี
คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีใหม่ จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่ความในคดีก่อน ไม่เป็นฟ้องซ้อน
คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีใหม่ จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่ความในคดีก่อน ไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและอายุความครอบครองที่ดิน: จำเลยฟ้องโจทก์ได้ แม้โจทก์ฟ้องก่อน
ในเรื่องฟ้องซ้อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) นั้น กฎหมายห้ามแต่โจทก์มิให้ฟ้องจำเลย หาได้ห้ามจำเลยมิให้กลับมาฟ้องโจทก์ด้วยไม่ ไม่เหมือนกับเรื่องฟ้องซ้ำตามมาตรา 148 ซึงห้ามทั้งโจทก์และจำเลยมิให้ฟ้องคดีขึ้นใหม่
การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทในระหว่างที่ศาลพิจารณาคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ ขอให้ห้ามเกี่ยวข้องกับที่พิพาทโดยอ้างว่าเป็นของจำเลยนั้น จำเลยจะยกเอาสิทธิแห่งการครอบครองมายันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1273/2500)
การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทในระหว่างที่ศาลพิจารณาคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ ขอให้ห้ามเกี่ยวข้องกับที่พิพาทโดยอ้างว่าเป็นของจำเลยนั้น จำเลยจะยกเอาสิทธิแห่งการครอบครองมายันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1273/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและอายุความครอบครองที่ดิน: จำเลยฟ้องโจทก์ได้ แม้ศาลยกฟ้องคดีก่อน และสิทธิครอบครองใช้ยันคู่ความในคดีเดิมไม่ได้
ในเรื่องฟ้องซ้อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173 วรรคสอง (1) นั้น กฎหมายห้ามแต่โจทก์มิให้ฟ้องจำเลยหาได้ห้ามจำเลยมิให้กลับมาฟ้องโจทก์ด้วยไม่ ไม่เหมือนกับเรื่องฟ้องซ้ำตามมาตรา 148 ซึ่งห้ามทั้งโจทก์และจำเลยมิให้ฟ้องคดีขึ้นใหม่
การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทในระหว่างที่ศาลพิจารณาคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ ขอให้ห้ามเกี่ยวข้องกับที่พิพาทโดยอ้างว่าเป็นของจำเลยนั้น จำเลยจะยกเอาสิทธิแห่งการครอบครองมายันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่1273/2500)
การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทในระหว่างที่ศาลพิจารณาคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ ขอให้ห้ามเกี่ยวข้องกับที่พิพาทโดยอ้างว่าเป็นของจำเลยนั้น จำเลยจะยกเอาสิทธิแห่งการครอบครองมายันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่1273/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56-57/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีแรกเรียกค่าเสียหาย คดีหลังเรียกคืนเงินค่ารถ ศาลยกฟ้องคดีหลัง
โจทก์และจำเลยทำสัญญาแลกเปลี่ยนรถยนต์กัน จำเลยผิดสัญญา โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นคดีแรก ในระหว่างพิจารณาคดีแรก โจทก์มาฟ้องคดีหลังให้จำเลยคืนเงินค่ารถยนต์อีก โดยที่โจทก์อาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคารถรวมมาในคดีแรกได้ คดีหลังจึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 (1) แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อยกฟ้องโจทก์ในคดีหลังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีขับไล่: เจ้าของรวมฟ้องคดีเดียวกันซ้ำ
โจทก์กับ ส.ท.ภ. และ ล. มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกัน จำเลยเช่าที่ดินดังกล่าวจาก ส. ครบกำหนดแล้ว ส.ฟ้องขับไล่จำเลย ดังนี้ เป็นเรื่องที่ ส.เจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1356, 1359 ประกอบด้วยมาตรา 302 กล่าวคือเจ้าของรวมแต่ละคนมีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์คืนโดยไม่จำต้องไห้เจ้าของรวมทุกคนร่วมกันฟ้อง และจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของรวมหมดทุกคน จึงเท่ากับเป็นการฟ้องคดีแทน เมื่อ ส.ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่เช่าแล้ว และคดีอยู่ระหว่างพิจารณา โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินเช่นเดียวกับคดีที่ ส.ฟ้องนั้นอีก จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 (ปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนนี้ จำเลยมิได้ฎีกา แต่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเอง)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: เจ้าของรวมฟ้องขับไล่จำเลยเรื่องเดียวกันซ้ำ ศาลพิพากษายกฟ้อง
โจทก์กับ ส.ท.ภ. และ ล. มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกัน จำเลยเช่าที่ดินดังกล่าวจาก ส.ครบกำหนดแล้วส. ฟ้องขับไล่จำเลยดังนี้ เป็นเรื่องที่ ส. เจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์เรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1356,1359 ประกอบด้วยมาตรา 302 กล่าวคือเจ้าของรวมแต่ละคนมีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์คืนโดยไม่จำต้องให้เจ้าของรวมทุกคนร่วมกันฟ้อง และจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของรวมหมดทุกคน จึงเท่ากับเป็นการฟ้องคดีแทนเมื่อ ส. ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่เช่าแล้วและคดีอยู่ระหว่างพิจารณาโจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินเช่นเดียวกับคดีที่ ส. ฟ้องนั้นอีกจึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 (ปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนนี้ จำเลยมิได้ฎีกา แต่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเอง)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำ-ฟ้องซ้อนในคดีชำเรา และการพิจารณาความผิดฐานพยายามกระทำชำเรา
อัยการศาลทหารเคยยื่นคำฟ้องจำเลยต่อศาลทหาร ศาลทหารเห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน จึงพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยถึงความผิดที่ฟ้องนั้นแต่ประการใด ดังนี้ พนักงานอัยการย่อมนำคดีเดียวกันนั้นมาฟ้องจำเลยต่อศาลพลเรือนในวันเดียวกันนั้นอีกได้ไม่เป็นการฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน และเมื่อปรากฏว่าคดีในชั้นเดิมพนักงานสอบสวนเข้าใจผิดว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร แต่ผู้ทำการสอบสวนนั้นก็คือนายตำรวจซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งกระทำไปตามอำนาจที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 48 วรรคแรกตอนท้ายนั่นเอง เมื่อพนักงานอัยการฟ้องคดีนี้ใหม่ต่อศาลพลเรือน จึงไม่จำเป็นต้องสอบสวนใหม่
จำเลยพยายามเอาของลับของตนใส่เข้าไปในของลับของเด็กหญิงอายุ 11 ขวบ นานราว 8 อึดใจก็ใส่ไม่เข้า เด็กหญิงนั้นรู้สึกเจ็บที่บริเวณของลับภายนอก และในครั้งต่อมาจำเลยเอาไข่ขาวทาของลับของจำเลยเสียก่อนแล้วจึงพยายามใส่เข้าไปในของลับของเด็กหญิงนั้น นานราว 6 อึดในก็ใส่ไม่เข้า การกระทำของจำเลยแต่ละครั้งเช่นนี้แสดงให้เห็นการกระทำและเจตนาของจำเลยว่าจำเลยได้ลงมือกระทำชำเราแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล มีความผิดตามมาตรา 277 ประกอบด้วย 80
จำเลยพยายามเอาของลับของตนใส่เข้าไปในของลับของเด็กหญิงอายุ 11 ขวบ นานราว 8 อึดใจก็ใส่ไม่เข้า เด็กหญิงนั้นรู้สึกเจ็บที่บริเวณของลับภายนอก และในครั้งต่อมาจำเลยเอาไข่ขาวทาของลับของจำเลยเสียก่อนแล้วจึงพยายามใส่เข้าไปในของลับของเด็กหญิงนั้น นานราว 6 อึดในก็ใส่ไม่เข้า การกระทำของจำเลยแต่ละครั้งเช่นนี้แสดงให้เห็นการกระทำและเจตนาของจำเลยว่าจำเลยได้ลงมือกระทำชำเราแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล มีความผิดตามมาตรา 277 ประกอบด้วย 80
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง: โจทก์ต่างคนกัน ไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173
การที่จำเลยในคดีซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา กลับเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนั้นเป็นจำเลยในคดีใหม่ด้วยเรื่องเดียวกัน ก็ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง(1) เพราะโจทก์ในคดีหลังนี้ไม่ใช่โจทก์คนเดียวกันกับคดีก่อน