พบผลลัพธ์ทั้งหมด 546 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การระบุสถานที่เกิดเหตุที่ชัดเจนเพียงพอให้จำเลยเข้าใจข้อหา
เมื่อคำฟ้องบรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ซึ่งเกิดกระทำผิดที่กล่าวหามาพอเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจได้ดีว่า การกระทำผิดเกิดณ สถานที่ใดแล้ว แม้จะไม่ได้ระบุ ตำบล อำเภอ จังหวัดของสถานที่ที่เกิดเหตุนั้นมาด้วยก็เป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว
(อ้างฎีกาที่ 951/2509)
(อ้างฎีกาที่ 951/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 913/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความถูกต้องของฟ้องอาญา: กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินไม่เป็นเหตุให้ฟ้องต่างจากข้อเท็จจริงสารสำคัญ หากการครอบครองเป็นไปตามฟ้อง
ฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์หรือรับของโจรทรัพย์ของผู้เสียหายข้อเท็จจริงฟังได้ความว่าเป็นทรัพย์ของพี่ผู้เสียหาย ซึ่งสั่งให้ผู้เสียหายจัดการส่งทรัพย์นั้นไปให้ ดังนี้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงต่างกับฟ้องในข้อสารสำคัญ เมื่อจำเลยต่อสู้ปฏิเสธว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับทรัพย์ดังกล่าวนั้น จึงไม่ถือว่าจำเลยหลงต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86-88/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาเกี่ยวกับเช็ค: เพียงระบุวันออกเช็คและวันที่นำเข้าบัญชีก็เพียงพอ แม้ไม่ระบุวันปฏิเสธ
ฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คโดยระบุวันเวลาที่จำเลยออกเช็ค กับวันที่โจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีของโจทก์และว่าธนาคารตามเช็คนั้นปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้จะไม่ได้ระบุวันที่ธนาคารปฏิเสธก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 818/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบของฟ้องอาญาคดีเบียดบังยักยอกเงิน การระบุรายละเอียดทรัพย์สินที่ยักยอก
ฟ้องบรรยายว่าจำเลยมีหน้าที่ รับจ่าย ทำบัญชีตลอดทั้งควบคุมเก็บรักษาเงินและมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการนี้ว่าจำเลยมีหน้าที่จะต้องนำยอดเงินสดคงเหลือประจำวันส่วนที่เกินกว่า 3,000 บาท เข้าฝากธนาคารระหว่างตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม2505 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2507 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกันตลอดมา จำเลยได้รับเงินรายได้ 10 ประเภทและจ่ายไปคงเหลืออยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย 109,502.68 บาท จำเลยไม่นำเงินจำนวนดังกล่าวนี้เข้าบัญชีธนาคาร กลับเบียดบังยักยอกเป็นอาณาประโยชน์ส่วนตัวเสียปรากฏตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5ขอให้ลงโทษ ฯลฯ ดังนี้ เมื่ออ่านฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5 ซึ่งเป็นบัญชีแสดงจำนวนเงินที่ได้รับและจ่ายไปคงเหลือแต่ละเดือนประจำเดือนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2505 ถึงเดือนธันวาคม 2507เห็นได้ว่า โจทก์ได้กล่าวข้อเท็จจริงถึงจำนวนเงินรายได้ของโจทก์ร่วมที่จำเลยรับไว้และยักยอกไปพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงรายละเอียดเงินรายได้ประเภทไหนเท่าใดอีกจึงเป็นฟ้องที่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 818/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบของฟ้องอาญา ยักยอกเงิน - ไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดประเภทเงินรายได้ หากฟ้องระบุจำนวนเงินที่ยักยอกชัดเจน
ฟ้องบรรยายว่าจำเลยมีหน้าที่ รับจ่าย ทำบัญชีตลอดทั้งควบคุมเก็บรักษาเงินและมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการนี้ว่าจำเลยมีหน้าที่จะต้องนำยอดเงินสดคงเหลือประจำวันส่วนที่เกินกว่า 3,000 บาท เข้าฝากธนาคารระหว่างตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม2505 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2507 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกันตลอดมา จำเลยได้รับเงินรายได้ 10 ประเภทและจ่ายไปคงเหลืออยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย 109,502.68 บาท จำเลยไม่นำเงินจำนวนดังกล่าวนี้เข้าบัญชีธนาคารกลับเบียดบังยักยอกเป็นอาณาประโยชน์ส่วนตัวเสียปรากฏตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5ขอให้ลงโทษ ฯลฯ ดังนี้ เมื่ออ่านฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5 ซึ่งเป็นบัญชีแสดงจำนวนเงินที่ได้รับและจ่ายไปคงเหลือแต่ละเดือนประจำเดือนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2505 ถึงเดือนธันวาคม 2507เห็นได้ว่า โจทก์ได้กล่าวข้อเท็จจริงถึงจำนวนเงินรายได้ของโจทก์ร่วมที่จำเลยรับไว้และยักยอกไปพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงรายละเอียดเงินรายได้ประเภทไหนเท่าใดอีกจึงเป็นฟ้องที่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467-468/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มาตรา 1114 มิได้ห้ามฟ้องอาญาฉ้อโกง แม้มีข้อตกลงซื้อหุ้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1114 ที่ได้บัญญัติห้ามมิให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นฟ้องร้องขอให้ศาลเพิกถอนการที่ตนได้เข้าชื่อซื้อ โดยยกเหตุว่าสำคัญผิดหรือต้องข่มขู่หรือถูกลวงล่อฉ้อฉลนั้น ห้ามเฉพาะในกรณีที่ฟ้องร้องกันในทางแพ่งเท่านั้น มิได้มีผลห้ามมิให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นฟ้องในคดีอาญาฐานฉ้อโกง ฉะนั้น ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการ ในเมื่อมีการร้องทุกข์ จึงมีอำนาจดำเนินคดีกับจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาของผู้ถูกกล่าวหา: จำเลยต้องเข้าสู่ฐานะจำเลยก่อน จึงมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโดยเห็นว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุมแต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นฟ้องที่ใช้ได้ไม่เคลือบคลุมพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดีดังนี้ จำเลยจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้เพราะจำเลยยังมิได้เข้าสู่ฐานะเป็นจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาและการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ในฟ้องข้อ 1 โจทก์ไม่ได้ระบุว่าจำเลยเป็นผู้ลักทรัพย์ของกลาง โจทก์บรรยายไว้แต่เพียงว่ามีคนร้ายลักเอาไปแล้วจึงบรรยายต่อไปในข้อ 2 ว่า ทั้งนี้โดยจำเลยเป็นผู้ลักหรือมิฉะนั้นก็รับของโจรไว้ ซึ่งมิได้กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองฐาน จึงไม่ขัดกัน ฟ้องของโจทก์เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่าง ให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี เมื่อจำเลยฎีกาเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมา จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ฎีกาดุลพินิจในการลงโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่าง ให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี เมื่อจำเลยฎีกาเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมา จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ฎีกาดุลพินิจในการลงโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาและการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ในฟ้องข้อ 1 โจทก์ไม่ได้ระบุว่าจำเลยเป็นผู้ลักทรัพย์ของกลางโจทก์บรรยายไว้แต่เพียงว่ามีคนร้ายลักเอาไปแล้วจึงบรรยายต่อไปในข้อ 2 ว่า ทั้งนี้โดยจำเลยเป็นผู้ลักหรือมิฉะนั้นก็รับของโจรไว้ซึ่งมิได้กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองฐาน จึงไม่ขัดกันฟ้องของโจทก์เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่าง ให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี เมื่อจำเลยฎีกาเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมา จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ฎีกาดุลพินิจในการลงโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่าง ให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี เมื่อจำเลยฎีกาเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมา จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ฎีกาดุลพินิจในการลงโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาฐานลักทรัพย์/รับของโจร: ความสมบูรณ์ของฟ้อง และขอบเขตการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ในฟ้องข้อ 1 โจทก์ไม่ได้ระบุว่าจำเลยเป็นผู้ลักทรัพย์ของกลาง. โจทก์บรรยายไว้แต่เพียงว่ามีคนร้ายลักเอาไป.แล้วจึงบรรยายต่อไปในข้อ 2 ว่า ทั้งนี้โดยจำเลยเป็นผู้ลักหรือมิฉะนั้นก็รับของโจรไว้. ซึ่งมิได้กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองฐาน จึงไม่ขัดกัน. ฟ้องของโจทก์เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว.
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่าง ให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี. เมื่อจำเลยฎีกาเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมา. จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218.
ฎีกาดุลพินิจในการลงโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่าง ให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี. เมื่อจำเลยฎีกาเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมา. จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218.
ฎีกาดุลพินิจในการลงโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.