พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมเกิดขึ้นจากการใช้สิทธิอย่างต่อเนื่อง แม้ผู้รับโอนซื้อโดยสุจริตก็ไม่อาจปฏิเสธได้ ศาลบังคับให้จดทะเบียนได้
โจทก์ทั้งหกใช้ทางพิพาทเดินผ่านที่ดินจำเลยมาเป็นเวลาหลายสิบปี จึงได้ภารจำยอมในที่ดินของจำเลยมาก่อนที่จำเลยจะซื้อที่ดินมาจาก ม. แม้จะฟังว่าจำเลยซื้อที่ดินมาโดยสุจริต ไม่รู้ว่าที่ดินนั้นตกอยู่ในภารจำยอม จำเลยก็ยกการรับโอนโดยสุจริตเพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ต้องสิ้นไปหาได้ไม่ ในชั้นพิจารณาโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน พ.เป็นพยานโจทก์ไว้แล้ว แต่โจทก์ไม่สามารถนำ พ.มาเบิกความได้โดยแถลงว่าโจทก์ขออ้างคำเบิกความของ พ.ในชั้นที่โจทก์ขอคุ้มครองชั่วคราวมาเป็นพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาด้วย จำเลยไม่ได้คัดค้าน ดังนั้นศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจรับฟังคำเบิกความของ พ.ดังกล่าวได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 บัญญัติว่า เจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิทำการทุกอย่างอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมแต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายของตนเองนั้น ย่อมหมายความรวมถึงว่าโจทก์ทั้งหกชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนสิทธิภารจำยอมในโฉนดของจำเลยได้ เพราะเป็นการกระทำอันจำเป็นเพื่อรักษาสิทธิของโจทก์ทั้งหกประการหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ & การเปลี่ยนแปลงภารยทรัพย์: การวางเสาไฟฟ้าต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดิน
ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ การที่โจทก์ไปขอใช้เงินแก่เจ้าของที่ดินจำเลยคนก่อนแต่เขาไม่ยอมก็ดีหรือโจทก์ขอให้ผลมะพร้าวให้จำเลยแล้วผิดข้อตกลงกันก็ดี เมื่อเป็นเรื่องโจทก์เสนอให้ค่าตอบแทนเพื่อโจทก์จะทำถนนได้กว้างขึ้นเท่านั้น จึงไม่ทำให้ทางพิพาทซึ่งตกเป็นภารจำยอมอยู่แล้วกลายเป็นไม่เป็นภารจำยอมหรือภารจำยอมหมดสิ้นไปแต่อย่างใด แม้ทางพิพาทจะตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ แต่การปักเสาไฟฟ้าการวางสายไฟฟ้าในที่ดินจำเลยที่เป็นภารจำยอมนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์ ทำให้เกิดภารเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ได้ เมื่อโจทก์ไม่ให้ค่าทดแทนและไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยโจทก์จึงหามีสิทธิปักเสาพาดสายไฟฟ้าตามทางพิพาทไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนภารจำยอมเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อรักษาและใช้สิทธิภารจำยอม แม้ได้มาโดยอายุความ
การจดทะเบียนภารจำยอมเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมประการหนึ่งตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1391 ฉะนั้น แม้จะได้ภารจำยอมโดยอายุความก็ตาม โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ก็ชอบจะเรียกให้จำเลยที่ 1 เจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนภารจำยอมแก่ตนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่เสื่อมประโยชน์จากการเช่าพื้นที่ขายของแบบแผงลอยชั่วคราว
การที่จำเลยนำที่ดินบริเวณที่ตกเป็นภารจำยอมแก่โจทก์ออกให้พ่อค้าแม่ค้าเช่าขายของในลักษณะหาบเร่แผงลอยไม่ถาวร ไม่เป็นการเสื่อมประโยชน์แก่ภารจำยอมของโจทก์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส สินส่วนตัว และผลผูกพันสัญญาประนีประนอมยอมความในการก่อตั้งภารจำยอม
จำเลยได้รับยกให้ที่ดินภายหลังจากประกาศใช้พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 เมื่อหนังสือยกให้ไม่ได้ระบุว่าให้เป็นสินสมรสจึงต้องถือว่าที่ดินของจำเลยเป็นสินส่วนตัว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) จำเลยจึงมีอำนาจจัดการ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้มีทางภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ในที่ดินดังกล่าวโดยมิได้รับความยินยอมจากภริยา จึงมีผลผูกพันจำเลย สัญญาประนีประนอมยอมความ มีข้อตกลงว่าจำเลยจะจดทะเบียนที่ดินเป็นภารจำยอมให้โจทก์เป็นสัญญาก่อตั้งภารจำยอมในที่พิพาท เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนยกเลิกภารจำยอมโดยสำคัญผิด และผลกระทบต่อสิทธิในทางเข้าออก
ที่จำเลยฎีกาว่า แม้หากการจดทะเบียนยกเลิกภาระจำยอมจะเกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิด ก็ต้องถือว่าเป็นความสำคัญผิดซึ่งเกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้รับมอบอำนาจโจทก์โจทก์จะถือเอาความสำคัญผิดนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 เดิม (มาตรา 158) นั้นแม้ว่าจำเลยจะให้การต่อสู้ประเด็นข้อนี้ไว้ในคำให้การด้วยก็ตามแต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นพิพาทไว้ในชั้นชี้สองสถานและจำเลยก็มิได้โต้แย้งคัดค้านไว้ ต้องถือว่าจำเลยได้สละประเด็นข้อนี้แล้ว จึงเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยการใช้ต่อเนื่องแม้กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือ การใช้แทนโจทก์ทำให้ระยะเวลาต่อเนื่องนับรวมได้
แม้โจทก์จะเพิ่งปลูกบ้านในที่ดินโฉนดเลขที่ 58 เมื่อปลายปี2519 ซึ่งเชื่อได้ว่าโจทก์ได้ใช้ทางเดินพิพาทด้วยตนเองเดินออกสู่ถนนทางสาธารณะตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่งจำเลยปิดกั้นทางเดินพิพาทเมื่อเดือนเมษายน 2528 รวมเวลาที่โจทก์ใช้ทางเดินพิพาทด้วยตนเองไม่ถึง 10 ปี ก็ตาม แต่โจทก์ก็รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 58มาจาก ฟ.ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของเดิมมาตั้งแต่ปี2515ซึ่งฟ.และครอบครัวได้ใช้ทางเดินพิพาทเดินออกถนนสาธารณะมาตั้งแต่ปี 2515ตลอดมา การใช้ทางเดินพิพาทของ ฟ. และครอบครัวก่อนที่โจทก์จะเข้ามาปลูกบ้านในที่ดินจึงเป็นการใช้แทนโจทก์ เมื่อรวมระยะเวลาตั้งแต่ ฟ. และครอบครัวใช้ทางเดินพิพาทแทนโจทก์ ในปี2515 ตลอดมาจนกระทั่งโจทก์ใช้ทางเดินพิพาทด้วยตนเองในปี2519 ต่อ ๆ มาจนจำเลยปิดกั้นทางเดินพิพาทเมื่อเดือนเมษายน2528 ก็เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ทางเดินพิพาทจึงตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 58 ของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่จำเป็นต้องติดกัน แม้มีคลองคั่นก็อาจเป็นภารจำยอมได้หากมีการใช้สิทธิเกิน 10 ปี
สามยทรัพย์และภารยทรัพย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกันแม้ทางพิพากษาจะมีคลองสาธารณะคันอยู่ก็อาจเป็นภารจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่จำกัดการติดกันของที่ดิน แม้มีคลองคั่นก็อาจเป็นภารจำยอมได้
ทางภารจำยอมนั้นสามยทรัพย์และภารยทรัพย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกัน ดังนี้ แม้จะมีคลองสาธารณะคั่นอยู่ก็อาจเป็นทางภารจำยอมได้ โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ดังนั้น การที่จำเลยฎีกาว่าทางพิพาทไม่เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3717/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลงฐานแห่งข้อฟ้องในชั้นฎีกา: สิทธิภารจำยอมโดยอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องโดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินเป็นทางภารจำยอมไปสู่ทางสาธารณะแล้วต่อมาจำเลยปิดกั้นทางเดิน ขอให้บังคับจำเลยเปิดทางและจดทะเบียนเป็นภารจำยอมเท่านั้น ฉะนั้น การที่โจทก์ฎีกาว่าได้สิทธิภารจำยอมมาโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย