พบผลลัพธ์ทั้งหมด 587 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4589/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อมาโดยสุจริต แม้จะถูกยึดเนื่องจากความผิดในการนำเข้า โจทก์มีสิทธิเรียกคืนได้
โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริตจากโจทก์ร่วมผู้เป็นพ่อค้าขายรถยนต์ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท และมีสิทธิติดตามเอาคืนตามอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะมีอำนาจยึดรถยนต์พิพาทเพราะร.นำเข้าโดยสำแดงเท็จและหลีกเลี่ยงกฎหมายและข้อจำกัดอันเกี่ยวแก่การนำเข้า อันพึงยึดและริบตาม พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 24,27,99 แต่ขณะโจทก์รับโอนมาศาลยังมิได้พิพากษาให้ริบหรือตกเป็นของแผ่นดิน โดยโจทก์ขอรถยนต์พิพาทคืนภายในกำหนด30 วัน นับแต่ถูกยึด จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อตัดหน้าและการรับผิดชอบความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
ขณะที่ ส. ขับรถยนต์มาตามถนนพหลโยธินด้วยความเร็ว จำเลยที่ 1 ได้ขับรถบรรทุกออกจากถนนพัฒน์พงษ์ตัดผ่านถนนพหลโยธินโดยไม่ใช้ความระมัด-ระวังและหยุดรอที่บริเวณปากทางถนนพัฒน์พงษ์และที่หัวเกาะกลางถนนให้รถของ ส.ซึ่งแล่นมาตามถนนพหลโยธินผ่านไปก่อน แต่จำเลยที่ 1 ได้ขับรถตัดหน้ารถยนต์ของ ส. อย่างกะทันหันและในระยะกระชั้นชิดทำให้ ส.ไม่สามารถห้ามล้อรถให้หยุดได้ทัน และไม่สามารถหักหลบได้ จึงได้เกิดชนกันโดยจุดชนอยู่บนถนนพหลโยธิน จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อ และความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 เป็นผลที่ใกล้ชิดกับเหตุที่รถทั้งสองคันชนกัน และเป็นความประมาทเลินเล่อที่เกิดขึ้นภายหลังจากความประมาทของส.ที่ขับรถด้วยความเร็วมาก่อน ซึ่งหากจำเลยที่ 1 ไม่ขับรถตัดหน้ารถยนต์ของ ส.แล้วความเสียหายย่อมจะไม่เกิดขึ้น กรณีเช่นนี้จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดแต่ฝ่ายเดียว
ค่าใช้จ่ายที่โจทก์ที่ 1 ต้องเสียไปในการร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้-จัดการมรดกมิใช่เป็นค่าปลงศพหรือค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการปลงศพ
ค่าใช้จ่ายที่โจทก์ที่ 1 ต้องเสียไปในการร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้-จัดการมรดกมิใช่เป็นค่าปลงศพหรือค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการปลงศพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4035/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาต และการทับเส้นทางเดินรถประจำทาง ความผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์
จำเลยนำรถยนต์รับจ้างที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกิน 7 คนมาประกอบการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งรถยนต์ดังกล่าวพระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 5(2) ยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 23 วรรคหนึ่งและมาตรา 126 แต่ที่จำเลยนำรถยนต์ดังกล่าวรับส่งคนโดยสารระหว่างตลาดนาโยงกับอำเภอเมืองตรัง ซึ่งเป็นช่วงหนึ่งของเส้นทางเดินรถประจำทางของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางสายตรัง-เขาช่อง โดยเก็บค่าโดยสารคนละ 5 บาท จึงเป็นกรณีที่ใช้รถยนต์อื่นนอกจากรถยนต์โดยสารประจำทางรับจ้างคนโดยสารซึ่งเสียค่าโดยสารเป็นรายตัวตามรายทางในทางที่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 22 วรรคหนึ่งหาจำต้องเป็นการรับส่งเฉพาะคนโดยสารตามรายทางระหว่างที่จำเลยขับรถส่งคนโดยสารไม่ เพราะการรับส่งคนโดยสารของจำเลยอยู่ในเขตรายทางเส้นทางเดินรถของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากรถยนต์ที่เช่าซื้อร่วมกัน และการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากความเสียหายของสินค้าที่บรรทุก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันที่เกิดเหตุชนกับรถของโจทก์ การส่งหมายนัดให้แก่จำเลยที่ 2 ที่บ้านเลขที่ 24 หมู่ที่ 11 ตำบลเขาสวนกวางอำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ไม่พบจำเลยที่ 2 คงพบแต่ภรรยาจำเลยที่ 2 แจ้งว่าจำเลยที่ 2 ชื่อนายประกิตศิริโคจรสมบัติไม่ใช่ประจำ ศิริโคจรสมบัติ ตามที่ปรากฏในฟ้องและหมายนัดต่อมาจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ปรากฏว่านายประกิตอยู่ที่บ้านเลขที่ 24 หมู่ที่ 4 ตำบลเขาสวนกวางอำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น และนายประกิต กับจำเลยที่ 1ได้ร่วมกันเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องตรงตามทางพิจารณา คงระบุชื่อผิดจากนายประกิตเป็นนายประจำไป ผู้รับผิดที่แท้จริงคือเจ้าของรถยนต์บรรทุก แม้โจทก์จะไม่ได้แก้ชื่อให้ถูกต้อง แต่ในฟ้องก็บรรยายให้เจ้าของรถยนต์บรรทุกรับผิดอยู่แล้ว นายประกิตเจ้าของรถยนต์บรรทุกที่แท้จริงต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์บรรยายฟ้องว่า รถของโจทก์บรรทุกน้ำปลาเพื่อไปส่งลูกค้า ลูกจ้างของจำเลยขับรถชนรถโจทก์โดยละเมิด เมื่อรถโจทก์ถูกชน รถโจทก์เสียหายหลายประการ รวมทั้งน้ำปลา ขวดน้ำปลาและลังบรรจุน้ำปลาแตกหักเสียหาย ฟ้องโจทก์พอเข้าใจแล้วว่าน้ำปลาและลังซึ่งอยู่ในความครอบครองของโจทก์เสียหายเนื่องจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างจำเลย ส่วนโจทก์จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายในฐานะใดเป็นเรื่องรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 70-0608 นครปฐม โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าว เมื่อวันที่ 19 มกราคม2528 จำเลยที่ 1 ได้ขับรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 70-0608 นครปฐมไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ชนรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 1 จ -7807 กรุงเทพมหานครซึ่งโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยได้รับความเสียหาย โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชำระค่าซ่อมรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 1 จ -7807กรุงเทพมหานคร ไปแล้ว เป็นเงิน 13,678 บาท โจทก์จึงเข้ารับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวจาก จำเลยที่ 1 ผู้กระทำละเมิดจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 70-0608นครปฐม ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ เช่นนี้ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดแล้วว่า โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 70-0608นครปฐม ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 3 จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3104/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์โดยการส่งมอบ และผลกระทบต่อการขอคืนของกลาง
ผู้ร้องได้ยกรถยนต์ของกลางให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยที่ 1แล้ว หลังจากยกให้ไม่เคยเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย การให้รถยนต์ของกลางเพียงแต่ส่งมอบให้ก็สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 523 แล้ว หลักฐานทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่กรณีที่จะต้องจดทะเบียนการโอนตาม มาตรา 525 ฟังไม่ได้ว่ารถยนต์ของกลางเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องจึงไม่อาจขอคืนรถยนต์ของกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ของบุคคลที่มิได้รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้: สิทธิในการขอคืนรถยนต์
โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางที่ใช้ขนไม้แปรรูปหวงห้ามโดยโจทก์มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำของผู้ต้องหาเมื่อพิจารณา พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 64 ทวิที่บัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดรถยนต์ของกลางไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการพิจารณาคดี จนกว่าพนักงานอัยการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องหรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นของผู้กระทำความผิดหรือของผู้มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นผู้กระทำความผิดหรือไม่ซึ่งตามบทบัญญัติของมาตรานี้มิได้มีข้อความระบุถึงกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิด จะตีความว่าบทบัญญัติดังกล่าวมีความมุ่งหมายให้ยึดทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดไม่ได้ และรถยนต์ของกลางก็มิได้เป็นหลักฐานสำคัญแห่งองค์ความผิดเพื่อพิสูจน์ให้เห็นความผิดของผู้กระทำความผิดว่ากระทำความผิดฐานมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต พนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่มีอำนาจยึดรถยนต์ของกลางซึ่งเป็นของโจทก์ไว้ประกอบคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุดตามนัย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2496/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าซื้อช่วงรถยนต์และการชดใช้ราคาจากผู้ให้เช่าซื้อเดิมเมื่อสัญญาเช่าซื้อเดิมสิ้นสุด
โจทก์เช่าซื้อรถยนต์จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของจำเลยที่ 2 โดยโจทก์ทราบว่า รถยนต์คันดังกล่าวเป็นรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 เช่าซื้อจากจำเลยที่ 2มาจำหน่าย และจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาให้โจทก์เช่าซื้อช่วงรถยนต์คันดังกล่าว โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อที่ทำไว้กับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วจำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนไปจากโจทก์ได้แต่การที่โจทก์เช่าซื้อรถยนต์จากจำเลยที่ 1 ซึ่งถือเป็นพ่อค้าตามความหมายดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1332 โดยสุจริต โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับชดใช้ราคารยนต์ที่ซื้อมาจากจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนพิเศษจากรถยนต์ใช้ในการประกอบการค้า ถือเป็นเงินได้พึงประเมินและรายรับเพื่อเสียภาษี
โจทก์ประกอบการค้าประเภทการค้า 10 นายหน้าและตัวแทนตามบัญชีอัตราภาษีการค้า โดยรับฝากขายสินค้าผงชูรสและผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ต่าง ๆจากการผลิตผงชูรสให้แก่บริษัท อ.โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน ซึ่งเรียกว่า"ค่าบริการดำเนินการจัดธุรกิจให้กับผู้อื่น" หรือ คอนซายน์เมนท์ฟี (consignmentfee) เป็นรายเดือนตามอัตราแน่นอนที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยไม่คำนึงถึงยอดขายสินค้าว่าจะเป็นจำนวนเท่าใด จึงเป็นกรณีพิเศษแตกต่างไปจากการเป็นตัวแทนนายหน้าตามธรรมดา และการที่โจทก์รับสินค้าฝากขายดังกล่าวนี้โจทก์ได้รับเปอร์เซ็นต์การขายเป็นค่าตอบแทน แสดงว่า ตามปกติธรรมดาค่าตอบแทนย่อมคิดตามผลของงาน กล่าวคือ ค่าตอบแทนขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้าที่จำหน่ายไป ถ้าจำหน่ายได้มากค่าตอบแทนย่อมสูงขึ้น แต่หากโจทก์จำหน่ายสินค้าที่รับฝากจากบริษัท อ.มากขึ้นไม่ว่าจำนวนเท่าใด โจทก์ก็จะไม่ได้ค่าตอบแทนมากขึ้น ซึ่งเหตุที่มีการกำหนดค่าตอบแทนแน่นอนตายตัวก็เนื่องจากบริษัท อ.ได้มอบรถยนต์ของตนจำนวน 60 - 70 คันต่อเดือนให้โจทก์ใช้เป็นยานพาหนะในการจำหน่ายสินค้าโดยไม่เสียค่าตอบแทนนั่นเอง อันเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า หากบริษัท อ.ไม่ได้ให้รถยนต์โจทก์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทนแล้ว โจทก์จะต้องมีรายจ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะในการประกอบกิจการ และย่อมเป็นการแน่นอนว่าการกำหนดค่าบริการหรือค่าตอบแทนอันเป็นรายรับหรือเงินได้ของโจทก์จะต้องสูงขึ้น เพราะต้องคิดคำนวณต้นทุนในเรื่องยานพาหนะเพิ่มขึ้นและคงไม่กำหนดค่าตอบแทนเป็นจำนวนแน่นอนตายตัวเช่นนี้ ดังนั้นการที่บริษัท อ.ได้ให้โจทก์ใช้รถยนต์โดยไม่เสียค่าตอบแทนนั้น จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่บริษัท อ.ให้แก่โจทก์นอกเหนือไปจากค่าตอบแทนที่กำหนดไว้เป็นตัวเงินตายตัวตามสัญญา ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่โจทก์ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามป.รัษฎากร มาตรา 39และเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่โจทก์กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งจะต้องนำมาคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65แห่ง ป.รัษฎากร
สำหรับภาษีการค้า แม้ผลประโยชน์เนื่องจากการประกอบการค้าที่เป็นรายรับจากการประกอบกิจการประเภทนายหน้าและตัวแทนหรือรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่นตามบัญชีอัตราภาษีการค้า 10 คือ ค่าตอบแทนหรือค่าบริการก็ตามค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่กำหนดเป็นตัวเงินนั้นเป็นผลประโยชน์โดยตรง แต่ก็เห็นได้ว่า หากโจทก์ในฐานะตัวแทนหรือนายหน้ารับจัดธุรกิจฝากขายสินค้าให้ตัวการไม่ได้รถยนต์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทนจากตัวการแล้ว ค่าตอบแทนหรือค่าบริการจะต้องสูงขึ้นตามปริมาณสินค้าที่จำหน่ายได้ หรือสูงกว่ากรณีที่ได้รับรถยนต์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทน ดังนั้น การที่โจทก์ได้ใช้รถยนต์โดยไม่เสียค่าตอบแทนทำให้ผลประโยชน์ค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่กำหนดไว้เป็นตัวเงินต่ำลง แทนที่จะสูงขึ้นหากโจทก์ใช้รถยนต์ที่ตนเองหามา ประโยชน์จากการที่โจทก์ได้ใช้รถยนต์โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นประโยชน์อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการประกอบการค้า ถือได้ว่าเป็นรายรับตามมาตรา 79 ซึ่งจะเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 แห่ง ป.รัษฎากร
สำหรับภาษีการค้า แม้ผลประโยชน์เนื่องจากการประกอบการค้าที่เป็นรายรับจากการประกอบกิจการประเภทนายหน้าและตัวแทนหรือรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่นตามบัญชีอัตราภาษีการค้า 10 คือ ค่าตอบแทนหรือค่าบริการก็ตามค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่กำหนดเป็นตัวเงินนั้นเป็นผลประโยชน์โดยตรง แต่ก็เห็นได้ว่า หากโจทก์ในฐานะตัวแทนหรือนายหน้ารับจัดธุรกิจฝากขายสินค้าให้ตัวการไม่ได้รถยนต์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทนจากตัวการแล้ว ค่าตอบแทนหรือค่าบริการจะต้องสูงขึ้นตามปริมาณสินค้าที่จำหน่ายได้ หรือสูงกว่ากรณีที่ได้รับรถยนต์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทน ดังนั้น การที่โจทก์ได้ใช้รถยนต์โดยไม่เสียค่าตอบแทนทำให้ผลประโยชน์ค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่กำหนดไว้เป็นตัวเงินต่ำลง แทนที่จะสูงขึ้นหากโจทก์ใช้รถยนต์ที่ตนเองหามา ประโยชน์จากการที่โจทก์ได้ใช้รถยนต์โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นประโยชน์อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการประกอบการค้า ถือได้ว่าเป็นรายรับตามมาตรา 79 ซึ่งจะเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประโยชน์จากการใช้รถยนต์ของบริษัทในการประกอบธุรกิจ ถือเป็นรายได้ที่ต้องนำมาคำนวณภาษี
โจทก์ประกอบการค้าประเภทการค้า 10 นายหน้าและตัวแทนตามบัญชีอัตราภาษีการค้า โดยรับฝากขายสินค้าผงชูรสและผงชูรสและผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ต่าง ๆ จากการผลิตผงชูรสให้แก่บริษัท อ. โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน ซึ่งเรียกว่า"ค่าบริการดำเนินการจัดธุรกิจให้กับผู้อื่น" หรือคอนซายน์เมนท์พี (consignmentfee) เป็นรายเดือนตามอัตราแน่นอนที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยไม่คำนึงถึงยอดขายสินค้าว่าจะเป็นจำนวนเท่าใด จึงเป็นกรณีพิเศษแตกต่างไปจากการเป็นตัวแทนนายหน้าตามธรรมดา และการที่โจทก์ รับสินค้าฝากขายดังกล่าวนี้โจทก์ได้รับเปอร์เซนต์ การขาย เป็นค่าตอบแทน แสดงว่า ตามปกติธรรมดาค่าตอบแทนย่อมคิดตามผลของงาน กล่าวคือ ค่าตอบแทนขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้าที่จำหน่ายไป ถ้าจำหน่ายได้มากค่าตอบแทนย่อมสูงขึ้นแต่หากโจทก์จำหน่ายสินค้าที่รับฝากจากบริษัท อ. มาก ขึ้นไม่ว่าจำนวนเท่าใด โจทก์ก็จะไม่ได้ค่าตอบแทนมากขึ้นซึ่งเหตุที่มีการกำหนดค่าตอบแทนแน่นอนตายตัวก็เนื่องจากบริษัทอ. ได้มอบรถยนต์ของตนจำนวน 60-70 คันต่อเดือนให้โจทก์ใช้เป็นยานพาหนะในการจำหน่ายสินค้า โดย ไม่เสียค่าตอบแทนนั่นเอง อันเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า หากบริษัท อ. ไม่ได้ให้รถยนต์โจทก์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทนแล้ว โจทก์จะต้องมีรายจ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะในการประกอบกิจการ และ ย่อมเป็นการแน่นอนว่าการกำหนดค่าบริการ หรือค่าตอบแทนอันเป็นรายรับหรือเงินได้ของโจทก์ จะต้องสูงขึ้น เพราะต้องคิดคำนวณต้นทุนในเรื่องยานพาหนะ เพิ่มขึ้นและคงไม่กำหนดค่าตอบแทนเป็นจำนวนแน่นอนตายตัว เช่นนี้ ดังนั้นการที่บริษัท อ. ได้ให้โจทก์ใช้รถยนต์โดยไม่เสียค่าตอบแทนนั้น จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าตอบแทน หรือค่าบริการที่บริษัท อ. ให้แก่โจทก์นอกเหนือไปจากค่าตอบแทนที่กำหนดไว้เป็นตัวเงินตายตัวตามสัญญา ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่โจทก์ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้ เป็นเงิน จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 39 และเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่โจทก์กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งจะต้องนำมาคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับภาษีการค้า แม้ผลประโยชน์เนื่องจากการประกอบการค้าที่เป็นรายรับจากการประกอบกิจการประเภทนายหน้าและตัวแทนหรือรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่นตามบัญชีอัตราภาษีการค้า 10 คือ ค่าตอบแทนหรือค่าบริการก็ตาม ค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่กำหนดเป็นตัวเงินนั้นเป็นประโยชน์โดยตรง แต่ก็เห็นได้ว่าหากโจทก์ในฐานะตัวแทนหรือนายหน้ารับจัดธุรกิจฝากขายสินค้าให้ตัวการไม่ได้รถยนต์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทนจากตัวการแล้วค่าตอบแทนหรือค่าบริการจะต้องสูงขึ้นตามปริมาณสินค้าที่จำหน่ายได้ หรือสูงกว่ากรณีที่ได้รับรถยนต์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทน ดั้งนั้น การที่โจทก์ได้ใช้รถยนต์โดยไม่เสียค่าตอบแทนทำให้ผลประโยชน์ค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่กำหนดไว้เป็นตัวเงินต่ำลง แทนที่จะสูงขึ้นหากโจทก์ใช้รถยนต์ที่ตนเองหามา ประโยชน์จากการที่โจทก์ได้ใช้รถยนต์ โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นประโยชน์ อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการประกอบการค้าถือได้ว่าเป็นรายรับตามมาตรา 79 ซึ่งจะเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร