พบผลลัพธ์ทั้งหมด 829 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6850/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษา: เจ้าหนี้ต้องส่งคำบังคับให้ลูกหนี้โดยตรง แม้กรรมสิทธิ์จะโอนไปยังบุคคลภายนอก
การบังคับคดีตามคำพิพากษาโจทก์ชอบที่จะขอให้ศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้แก่จำเลยซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาในฐานะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์เท่านั้นแม้ผลแห่งคำพิพากษาจะได้วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินเป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสอง(2)ก็ตามเมื่อผู้คัดค้านมิใช่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์จึงไม่ชอบที่โจทก์จะขอให้ศาลส่งคำบังคับให้แก่ผู้คัดค้านอันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา272ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6848/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันลูกหนี้ร่วมชำระหนี้จริง ไม่เป็นหนี้สมยอม
ลูกหนี้และบริษัท ส.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับเจ้าหนี้โดยยอมรับผิดร่วมกันชำระเงินแก่เจ้าหนี้ ไม่ว่าลูกหนี้จะต้องรับผิดตามเช็คมูลหนี้เดิมเป็นส่วนตัวหรือไม่ก็ตาม การที่ลูกหนี้ยินยอมระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ดังกล่าวรวมทั้งคดีอาญาข้อหาความผิดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คซึ่งลูกหนี้และบริษัทถูกเจ้าหนี้ฟ้องอยู่ทั้งเพื่อประสงค์ให้เจ้าหนี้ลดยอดหนี้ให้แก่ลูกหนี้และบริษัท ส. โดยยอมตนเข้าผูกพันทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระเงินแก่เจ้าหนี้ร่วมกับบริษัท ส.เช่นนี้ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 ซึ่งหมายความว่าลูกหนี้กับบริษัท ส.มีหน้าที่ที่จะต้องร่วมกันชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความแก่เจ้าหนี้ ถือว่าลูกหนี้มีความผูกพันที่ต้องชำระหนี้ที่มีอยู่จริงแก่เจ้าหนี้ หาใช่เป็นหนี้สมยอมโดยปราศจากมูลหนี้ซึ่งต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94ไม่ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6606/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนสถานะนิติบุคคลบริษัทร้างเพื่อคุ้มครองสิทธิลูกหนี้ที่ได้รับความเสียหาย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1246 (6) ศาลจะสั่งให้จดชื่อบริษัทกลับคืนเข้าสู่ทะเบียนก็ต่อเมื่อพิจารณาได้ความเป็นที่พอใจว่า ในขณะที่ขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียนนั้น บริษัทยังทำการค้าขายหรือยังประกอบการงานอยู่ หรือมิฉะนั้นเห็นว่าเป็นการยุติธรรมที่จะให้บริษัทได้กลับคืนขึ้นทะเบียนอีก เพราะฉะนั้นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งดังกล่าวจึงต้องอ้างเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง และต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นตามข้อกล่าวอ้างนั้นด้วย คือ (1) ความจริงขณะที่ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนบริษัทยังทำการค้าขายหรือยังประกอบการงานอยู่ หรือ (2) เพื่อความเป็นธรรมควรให้บริษัทกลับคืนขึ้นทะเบียนอีก
คำร้องขอของผู้ร้องได้กล่าวอ้างว่า ในขณะที่บริษัท ท. ถูกขีดชื่อเป็นบริษัทร้างนั้น บริษัทดังกล่าวเป็นลูกหนี้ของผู้ร้องอยู่ จึงเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่สามารถดำเนินคดีแก่บริษัทดังกล่าวได้ อันเป็นเหตุให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายและผู้ร้องนำสืบว่า ผู้ร้องได้ออกหนังสือค้ำประกันบริษัทดังกล่าวต่อธนาคารที่ได้ทำสัญญาไว้กับกองทัพบก ต่อมาบริษัทดังกล่าวผิดสัญญาต่อกองทัพบกและไม่ยอมชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร ผู้ร้องในฐานะผู้ค้ำประกันจึงได้ชำระหนี้ให้แก่ธนาคารแทนบริษัทดังกล่าว แล้วจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากบริษัทดังกล่าว แต่บริษัทดังกล่าวถูกขีดชื่อเป็นบริษัทร้าง ผู้ร้องจึงไม่สามารถดำเนินคดีแก่บริษัทดังกล่าวได้ ดังนี้ คำร้องขอของผู้ร้องได้กล่าวอ้างและพิสูจน์ได้ว่า ผู้ร้องได้รับความเสียหายซึ่งไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลับจดชื่อบริษัท ท. ให้คืนสถานะเป็นนิติบุคคลตาม ป.พ.พ. มาตรา1246 (6)
คำร้องขอของผู้ร้องได้กล่าวอ้างว่า ในขณะที่บริษัท ท. ถูกขีดชื่อเป็นบริษัทร้างนั้น บริษัทดังกล่าวเป็นลูกหนี้ของผู้ร้องอยู่ จึงเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่สามารถดำเนินคดีแก่บริษัทดังกล่าวได้ อันเป็นเหตุให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายและผู้ร้องนำสืบว่า ผู้ร้องได้ออกหนังสือค้ำประกันบริษัทดังกล่าวต่อธนาคารที่ได้ทำสัญญาไว้กับกองทัพบก ต่อมาบริษัทดังกล่าวผิดสัญญาต่อกองทัพบกและไม่ยอมชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร ผู้ร้องในฐานะผู้ค้ำประกันจึงได้ชำระหนี้ให้แก่ธนาคารแทนบริษัทดังกล่าว แล้วจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากบริษัทดังกล่าว แต่บริษัทดังกล่าวถูกขีดชื่อเป็นบริษัทร้าง ผู้ร้องจึงไม่สามารถดำเนินคดีแก่บริษัทดังกล่าวได้ ดังนี้ คำร้องขอของผู้ร้องได้กล่าวอ้างและพิสูจน์ได้ว่า ผู้ร้องได้รับความเสียหายซึ่งไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลับจดชื่อบริษัท ท. ให้คืนสถานะเป็นนิติบุคคลตาม ป.พ.พ. มาตรา1246 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6237/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระชัดเจน ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 700 การที่เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้อันจะมีผลให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดนั้นต้องเป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลาอันมีกำหนดแน่นอน แต่การที่จำเลยที่ 2 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ว่าหากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเสียหายจำเลยที่ 2 ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์นั้น มิได้เป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลา อันมีกำหนดแน่นอน จำเลยที่ 2 จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ vs. สิทธิเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดี: การรวบรวมทรัพย์สินลูกหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 22 (2) บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น แม้ทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงาน-บังคับคดีก็ตาม เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ยังต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ตามมาตรา 110 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 112ทั้งนี้ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเสมอภาคตามส่วน แต่อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 110 วรรคท้าย
ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเจ้าหนี้จำนองทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ได้ฟ้องบังคับจำนองและทำการบังคับคดี โดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์พิพาทเพื่อขายทอดตลาดแล้วศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดในคดีนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมไม่มีอำนาจที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโอนการยึดทรัพย์พิพาทมาไว้ในคดีล้มละลาย เพราะเป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับแก่ทรัพย์อันเป็นหลักประกันโดยตรง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทซึ่งจำนองเป็นหลักประกันต่อไปในการบังคับคดีแพ่ง แม้เป็นการปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 เมื่อคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิดังกล่าวของผู้คัดค้านที่ 1 จึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไปตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่ง ตามบท-บัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งหาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 แต่ผู้เดียว ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483แต่ประการใดไม่ โจทก์หรือเจ้าหนี้อื่นจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขาย ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องแจ้งให้ทราบซึ่งวันขายทอดตลาดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 306
ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเจ้าหนี้จำนองทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ได้ฟ้องบังคับจำนองและทำการบังคับคดี โดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์พิพาทเพื่อขายทอดตลาดแล้วศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดในคดีนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมไม่มีอำนาจที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโอนการยึดทรัพย์พิพาทมาไว้ในคดีล้มละลาย เพราะเป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับแก่ทรัพย์อันเป็นหลักประกันโดยตรง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทซึ่งจำนองเป็นหลักประกันต่อไปในการบังคับคดีแพ่ง แม้เป็นการปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 เมื่อคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิดังกล่าวของผู้คัดค้านที่ 1 จึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไปตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่ง ตามบท-บัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งหาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 แต่ผู้เดียว ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483แต่ประการใดไม่ โจทก์หรือเจ้าหนี้อื่นจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขาย ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องแจ้งให้ทราบซึ่งวันขายทอดตลาดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 306
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5650/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันการศึกษาต่างประเทศ: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญา
จำเลยที่ 1 ได้รับทุนจากโจทก์ไปศึกษาที่ต่างประเทศ มีสัญญาตกลงว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาจะกลับเข้ารับราชการ ถ้าผิดสัญญายอมใช้เงินค่าปรับ3 เท่าของเงินเดือนและค่าใช้จ่าย มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมาจำเลยที่ 1ผิดสัญญาไม่กลับเข้ารับราชการและไม่ชำระหนี้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดร่วมกัน ตามสัญญาค้ำประกันสำหรับผู้ที่ทางราชการส่งไปดูงานหรือส่งไปศึกษา แม้จะมีถ้อยคำระบุว่า จำเลยที่ 2 ยอมใช้เงินทั้งสิ้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้รับการทวงถาม และจำเลยที่ 2 ยอมรับใช้แทนจำเลยที่ 1 จนครบถ้วนทันทีเมื่อได้รับการทวงถามก็ตาม โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ผูกพันตนในลักษณะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ฉะนั้นโจทก์จะเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายจัดสรรที่ดิน: กรรมสิทธิ์ยังเป็นของลูกหนี้ เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิรับชำระหนี้
บริษัทลูกหนี้และ ศ. กรรมการผู้จัดการบริษัทลูกหนี้ในขณะนั้นเคยถูกฟ้องคดีอาญาข้อหาจัดสรรที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาตศาลพิพากษาให้ลงโทษปรับต่อมาบริษัทลูกหนี้ขายที่ดินที่จะจัดสรรให้ ย. และ ย. ยกที่ดินนี้ให้ ศ. ในวันเดียวกันแล้ว ศ.ได้ขายที่ดินบางส่วนและนำเงินที่ขายได้เข้าบริษัทลูกหนี้ตลอดมาแสดงให้เห็นว่าเป็นการทำ นิติกรรมโดย เจตนาลวงโดยสมรู้กันเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวจึงยังคงเป็นของบริษัทลูกหนี้โดย ศ. กรรมการผู้จัดการถือไว้แทนบริษัทลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหมายเรียก ย. กรรมการผู้จัดการของบริษัทลูกหนี้มาสอบสวนและให้ส่งดวงตราต่างๆของลูกหนี้มาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เก็บรักษาไว้เป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา19วรรคแรก ย. ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องโต้แย้งมูลหนี้ของเจ้าหนี้โดยไม่ต้องประทับตราของลูกหนี้และถือว่า ย. มีอำนาจทำการแทนลูกหนี้ได้มิใช่กระทำในฐานะส่วนตัว เจ้าหนี้ผู้ยื่น คำขอรับชำระหนี้มีหน้าที่นำ พยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อพิสูจน์ว่าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้มีอยู่จริงและในการตรวจ คำขอรับชำระหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกเจ้าหนี้ลูกหนี้หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สินแล้วทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระนั้นต่อศาลดังนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจวินิจฉัยว่า ศ. ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4946/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยการรับชำระด้วยทรัพย์สินอื่นแทนการโอนทรัพย์สินเดิม สิทธิระงับเมื่อเจ้าหนี้รับชำระหนี้แล้ว
ว.เป็นสามีธ.และเป็นบุตรของจำเลยว.และธ.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์2 จำนวน คือหนี้เกิดจากการซื้อหุ้นและออกเช็คกับหนี้เงินกู้รวมเป็นเงิน 24,128,385 บาท โดยยอมรับผิดร่วมกัน จำเลยยินยอมให้ ว.นำที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่พิพาทโอนชำระหนี้แก่โจทก์ต่อมาโจทก์แจ้งให้ ว.จัดการโอนทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความแก่โจทก์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นจะใช้สิทธิดำเนินคดีตามกฎหมาย และ/หรือใช้สิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความหักทรัพย์สินที่ไม่ชำระหนี้ออกไปและหาก ว.ม่ดำเนินการโจทก์ขอถือหนังสือฉบับดังกล่าวเป็นการแจ้งว่าโจทก์ขอตั้งผู้ตีราคาทรัพย์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ช.เป็นผู้ตีราคาและผู้ตีราคาได้ตีราคาทรัพย์ที่นำมาชำระหนี้ไม่ได้เป็นเงิน 2,930,000 บาทต่อมาโจทก์มีหนังสือแจ้งให้ ว.ดำเนินการดังที่แจ้งไว้อีกครั้ง แต่ ว.มิได้ดำเนินการแต่อย่างใด โจทก์จึงยื่นฟ้องว.และธ.เป็นคดีล้มละลาย โดยนำราคาทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ตีราคาเป็นเงิน 2,930,000 บาทเพราะไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้หักออกจากการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ นำไปเป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องและขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในส่วนนี้ไปแล้ว ดังนี้ เมื่อทรัพย์สินที่ ว.และ ธ.นำมาทำสัญญาเพื่อโอนชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้แก่ที่ดินและบ้าน ที่ดินและที่พิพาทกับรถยนต์นั้น เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และ ว.กับส.ลูกหนี้ระบุไว้ว่า หากทรัพย์สินดังกล่าวรายใดไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้ก็ต้องหักออกไปตามราคาที่ตกลงกัน หากตกลงกันไม่ได้ก็ให้ผู้ตีราคาซึ่งโจทก์เป็นผู้ตั้งขึ้นมาตีราคา คำวินิจฉัยของผู้ตีราคาดังกล่าวให้เป็นที่สุด ซึ่งหมายความว่า เมื่อมีการตกลงราคาหรือตีราคาทรัพย์สินแล้ว ก็จะต้องนำไปหักออกจากยอดเงินที่ระบุไว้ในสัญญา และถือว่า ว.และธ.ยังค้างชำระหนี้โจทก์อยู่เป็นหนี้เงินตามจำนวนเงินที่มีการตกลงหรือตีราคาทรัพย์สินนั้นเมื่อปรากฏว่า หลังจากจำเลยปฏิเสธไม่ยอมโอนที่พิพาทแก่โจทก์แล้ว โจทก์มีหนังสือถึง ว.และธ.ขอให้ตีราคาที่พิพาทจนต่อมาได้มีการตั้งผู้ตีราคาและตีราคาที่พิพาท แล้วโจทก์นำราคาทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ตีราคาเพราะไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้ไปรวมกับยอดเงินที่โจทก์ฟ้องว.และธ. เป็นคดีล้มละลาย และศาลมีคำสั่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในส่วนนี้ไปแล้ว ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ได้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นจากลูกหนี้แทนการชำระหนี้โดยการรับโอนที่ดินพิพาทตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมทำให้หนี้ของลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะต้องโอนที่พิพาทแก่โจทก์เป็นอันระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 321 วรรคแรก จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องโอนที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความอีก การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องให้มีการโอนที่พิพาทชำระหนี้ต่อไป และยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 198 และมาตรา 199 ขึ้นอ้างและปรับบทก็เพื่อวินิจฉัยให้เห็นว่าเมื่อโจทก์เลือกให้ว.และธ. ลูกหนี้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้เป็นเงินแทนการโอนที่พิพาทแก่โจทก์เข้าข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 198แสดงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องให้โอนที่พิพาทแล้ว ย่อมถือได้ว่าการชำระหนี้เป็นเงินแก่โจทก์เพียงอย่างเดียวเป็นการชำระหนี้อันกำหนดให้กระทำแต่ต้นมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 199 โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิฟ้องจำเลยโอนที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์อีก อันอยู่ในประเด็นที่ว่าจำเลยมีหน้าที่ต้องโอนที่พิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4740/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับจำนองขอรับชำระหนี้จากการบังคับคดี - ไม่จำกัดสิทธิ ต้องฟ้องบังคับจำนองก่อน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา289วรรคแรกไม่มีข้อจำกัดสิทธิของผู้รับจำนองว่าจะต้องฟ้องร้องบังคับจำนองก่อนหรือจะต้องเป็นเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาจึงจะขอรับชำระหนี้ได้ทั้งไม่มีบทบัญญัติใดระบุว่าโจทก์และผู้รับจำนองจะต้องเป็นบุคคลฐานะเดียวกันไม่ได้หากผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยมีที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้จำนองเป็นประกันผู้ร้องย่อมอาศัยอำนาจแห่งการจำนองขอให้ศาลขายที่ดินโดยปลอดจำนองเพื่อนำเงินที่ขายได้ชำระหนี้แก่ผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้อื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอเฉลี่ยทรัพย์ต้องแสดงหลักฐานการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ให้ชัดเจน มิฉะนั้นศาลไม่อนุญาต
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา290วรรคสองการร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ผู้ร้องต้องนำสืบให้ได้ความว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องจะบังคับเอาชำระหนี้ได้เมื่อผู้ร้องมิได้นำสืบให้เห็นผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอเฉลี่ย