คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลฎีกา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,432 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2589/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาทเลินเล่อจากการยิงปืน ยิงผิดเป้าทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บสาหัส ศาลฎีกาแก้เป็นประมาท
จำเลยมีเจตนาใช้อาวุธปืนแก๊ปยาวยิงค้างคาวโดยไม่พิจารณาให้ดีว่าบริเวณที่ยิงไปนั้นจะมีผู้เสียหายอยู่หรือไม่ เมื่อกระสุนปืนที่ยิงไปนั้นไม่ถูกค้างคาว แต่กลับไปถูกผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน กรณีเช่นนี้จึงถือว่าจำเลยกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง จำเลยย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องขอให้ลงโทษในความผิดฐานนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจลงโทษจำเลยได้เพราะจำเลยต่อสู้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาท จำเลยจึงไม่หลงข้อต่อสู้ ทั้งการแตกต่างระหว่างการกระทำโดยเจตนากับประมาทนั้น กฎหมายมิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1794/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำนวนอุทธรณ์โดยตรงถึงศาลฎีกาโดยไม่ผ่านศาลอุทธรณ์: ศาลฎีกาไม่รับพิจารณาจนกว่าศาลชั้นต้นจะพิจารณาคำร้องขออนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรง
โจทก์ยื่นอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต่อมาเจ้าหน้าที่รายงานต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยได้รับสำเนาอุทธรณ์และสำเนาคำร้องดังกล่าวแล้วมิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์และคำคัดค้านภายในกำหนดเวลาตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นสั่งให้รวบรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลอุทธรณ์แต่ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนไปศาลฎีกา โดยไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะข้อกฎหมายและมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่ กรณียังถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 233 ทวิ วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ได้ ศาลฎีกาให้ส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณาคำร้องที่โจทก์ขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ-พยานเท็จคดีลักทรัพย์: ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำเลยทั้งสองตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
เมื่อมันสำปะหลังที่ขุดเป็นของโจทก์ที่ 1 ที่ปลูกในที่ดินเกิดเหตุ โดยจำเลยทั้งสองมิได้เป็นผู้ปลูก การที่จำเลยที่ 1 ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ทั้งสี่ลักทรัพย์มันสำปะหลังที่ตนปลูกจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งทำให้โจทก์ทั้งสี่เสียหาย จำเลยที่ 1 ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 หาใช่เป็นเรื่องขาดเจตนาไม่ ส่วนจำเลยที่ 2ไปให้การเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนยืนยันว่าตนร่วมปลูกมันสำปะหลังกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นความเท็จ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 จะได้มีเจตนาร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 2 คงเป็นเพียงความผิดฐานแจ้งความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่าเท่านั้น ปัญหานี้แม้จะไม่มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้อง และกำหนดโทษให้เหมาะสมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225,192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง เนื่องจากไม่ได้วินิจฉัยประเด็นสำคัญเรื่องการลาออกหรือการเลิกจ้าง
ปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้ยื่นใบลาออกจากงานเพราะเกษียณอายุโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2542 เป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างของโจทก์ด้วยการลาออกจากงาน เมื่อจำเลยอนุมัติ การลาออกของโจทก์จึงมีผลนับแต่วันที่โจทก์ประสงค์ นั้น จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้แล้วว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากโจทก์ลาออกจากการเป็นพนักงานของจำเลย ทำให้โจทก์พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานนับแต่วันที่ลาออกแล้ว อันเป็นประเด็นที่ศาลแรงงานกลางจะต้องวินิจฉัย การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาโดยรับฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างเมื่ออายุครบ 50 ปี เพราะเหตุเกษียณอายุ โดยที่มิได้รับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานตามที่คู่ความนำสืบ และยังไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์ได้ยื่นใบลาออกจากงานจริงหรือไม่ หากยื่นใบลาออก โจทก์ยื่นเมื่อใด การที่โจทก์ออกจากงานเป็นผลเนื่องจากโจทก์ยื่นใบลาออก หรือจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุโจทก์เกษียณอายุตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ถือว่าเป็นคำพิพากษาที่มิได้แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้ โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 ชอบที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเสีย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: ยึดทรัพย์เพิ่มเติมเพื่อชำระหนี้ แม้ทรัพย์จำนองมีราคาไม่เพียงพอ ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ยึดทรัพย์เพิ่มเติมได้
หนี้ตามคำพิพากษาคำนวณถึงวันที่โจทก์ขอยึดที่ดินพิพาททั้งต้นและดอกเบี้ยรวมมากกว่า 10,000,000 บาท แต่ทรัพย์จำนองทั้งสามแปลงมีราคาตามราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีรวมไม่ถึง 1,000,000 บาท ที่ดินพิพาทเจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาที่ดิน 98,119,440 บาท แม้ปัจจุบันเป็นชื่อจำเลยที่ 3 ถือกรรมสิทธิ์รวม แต่จำเลยที่ 3 รับมรดกมาจากผู้ค้ำประกันซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม ที่ดินจึงอยู่ในขอบเขตที่อาจถูกบังคับคดีได้ตามคำพิพากษา แม้การบังคับคดีตามคำพิพากษาจะต้องบังคับเอาแก่ทรัพย์จำนองก่อน หากไม่ครบจำนวนหนี้จึงจะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่น แต่การยึดทรัพย์ที่ดินพิพาทสืบเนื่องจากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ยึด หากเพิกถอนการยึดโจทก์ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมการยึดทรัพย์โดยไม่มีการขายอัตราร้อยละ 3.5 ซึ่งจะเป็นเงินค่าธรรมเนียมจำนวนมาก เนื่องจากจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองทั้งสามแปลงยังไม่เสร็จสิ้น ก็ยังไม่ทราบจำนวนหนี้ที่เหลือที่จะบังคับคดีต่อไป และนำมาเป็นเกณฑ์คำนวณค่าธรรมเนียมได้ และจากสภาพราคาทรัพย์จำนองเป็นที่เห็นได้ว่าไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อขายทรัพย์จำนองเสร็จก็ต้องกลับมายึดที่ดินพิพาทใหม่ การยึดที่ดินพิพาทไว้แต่ยังไม่ต้องนำออกขายจนกว่ามีการขายทอดตลาดจำนองเสร็จสิ้นและได้เงินไม่พอชำระหนี้ จึงค่อยนำที่ดินพิพาทออกขายนั้นไม่ขัดต่อขั้นตอนการบังคับคดีตามคำพิพากษาและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์โดยมีเจตนาใช้ยานพาหนะเพื่อหลบหนี ศาลฎีกาพิจารณาเจตนาของผู้กระทำผิด
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานมาเบิกความถึงการกระทำผิดของจำเลยเนื่องจากผู้เสียหายถึงแก่ความตายไปเสียก่อน แต่โจทก์มีคำให้การของผู้เสียหายที่ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนทันทีหลังเกิดเหตุ และได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนในวันรุ่งขึ้นซึ่งคำให้การของผู้เสียหายเป็นเรื่องราวต่อเนื่องสอดคล้องกับหลักฐานการเบิกเงินจากธนาคาร และยังสอดคล้องกับคำเบิกความของ พ. ซึ่งเป็นเพื่อนจำเลยและไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลย ทั้งผู้เสียหายเคยรักใคร่มีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับจำเลย ไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน ไม่มีเหตุที่ผู้เสียหายจะปรักปรำจำเลย พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน่าเชื่อว่าจำเลยลักทรัพย์ของผู้เสียหาย
การกระทำที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ นั้น ต้องดูที่เจตนาของผู้กระทำผิดเป็นส่วนสำคัญว่าต้องการใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมหรือไม่ เมื่อจำเลยมีเจตนาจะลักเงินสดที่อยู่ในกระเป๋าสะพายของผู้เสียหายที่วางอยู่ในรถที่จำเลยขับอยู่ก่อนแล้วโดยใช้อุบายหลอกผู้เสียหายให้ลงจากรถไปซื้อน้ำอัดลม แล้วถือโอกาสขับรถซึ่งมีกระเป๋าสะพายใส่เงินและกระเป๋าเสื้อผ้าของผู้เสียหายหนีไป จำเลยไม่ได้มีเจตนาที่จะใช้รถเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาเอาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุม จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิคงผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกจ้างไม่เป็นธรรม: การฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรงเป็นเหตุชอบธรรม
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารจำเลยทำรายการซื้อตั๋วแลกเงินแทนลูกค้า จากนั้นเก็บตั๋วแลกเงินที่ขายให้ลูกค้าไว้แล้วออกสมุดเงินฝากให้แก่ลูกค้าโดยที่ลูกค้ามิได้ฝากเงินไว้กับจำเลย เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบการทำงานของจำเลยซึ่งให้สาขาออกคู่ฉบับใบลงรับมอบให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐาน อาจเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายได้ เพราะหากลูกค้านำสมุดเงินฝากมาขอเบิกเงินจากจำเลย จำเลยอาจต้องรับผิดจ่ายเงินตามสมุดเงินฝากแก่ลูกค้า แม้จะยังไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยเนื่องจากโจทก์กระทำไปโดยได้รับความยินยอมจากลูกค้าและเพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยโจทก์มิได้ทุจริตต่อหน้าที่ ก็ต้องถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยอันเป็นกรณีร้ายแรงแล้ว จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องตักเตือนและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4)
อุทธรณ์ของโจทก์ที่อ้างพยานบุคคล พยานเอกสารและเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้ศาลฎีการับฟังว่า พยานหลักฐานจำเลยยังรับฟังไม่ได้ว่าผู้แทนนิติบุคคลไม่ยินยอมให้ใช้ชื่อนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ซื้อตั๋วแลกเงินก็ดี จ. เป็นผู้เก็บส่วนต่างของดอกเบี้ยจากการจำหน่ายตั๋วแลกเงินให้แก่ลูกค้าก็ดี ล้วนแต่เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยและคณะกรรมการสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนทางวินัยโจทก์แล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า คณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งขึ้นมิได้มีการสอบสวนทางวินัยและลงโทษโจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางมิได้รับฟังข้อเท็จจริงว่า ท. กับ จ. กระทำการฝ่าฝืนต่อระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยและจำเลยอนุมัติให้บุคคลทั้งสองลาออกดังที่โจทก์อ้างมาในอุทธรณ์ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการเพิ่มเติมข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมา ถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยขัดขวางการยื่นฟ้องภายในอายุความ ศาลฎีกาตัดสินให้รับคำฟ้องได้
ในวันครบกำหนดอายุความโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นซึ่งโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ว่า โจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำฟ้องไปยื่นต่อศาลจังหวัดอุดรธานีที่มีเขตศาลเหนือคดี แต่เงินที่เตรียมไปไม่พอกับค่าธรรมเนียมจึงนำคำฟ้องกลับมาที่จังหวัดขอนแก่นและแจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อเวลา 16 นาฬิกา ทำให้โจทก์ไม่สามารถกลับไปยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดอุดรธานีได้ทัน จึงขออนุญาตยื่นฟ้องที่ศาลจังหวัดขอนแก่นเพื่อให้ศาลจังหวัดขอนแก่นรับคำฟ้องไว้ดำเนินการต่อไป ผู้พิพากษาศาลจังหวัดขอนแก่นสั่งในคำร้องว่ารับไว้ส่งศาลจังหวัดอุดรธานีโดยด่วน เท่ากับยอมรับว่าโจทก์ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10 แม้ศาลจังหวัดขอนแก่นจะมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้อง แต่การสั่งรับคำร้องและให้ส่งศาลจังหวัดอุดรธานีพิจารณาโดยด่วนนั้น ย่อมถือได้ว่าศาลจังหวัดขอนแก่นได้ยอมรับคำฟ้องของโจทก์แล้ว แม้ศาลจังหวัดอุดรธานีจะมีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ภายหลังก็ไม่มีผลทำให้คดีของโจทก์ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องเช็คและการยื่นฟ้องข้ามเขตศาล: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการยื่นคำฟ้องข้ามเขตศาลโดยมีเหตุสุดวิสัยไม่ทำให้ขาดอายุความ
อายุความฟ้องร้องผู้สั่งจ่ายเช็คมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่เช็คถึงกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ดังนั้น เช็คลงวันที่ 5 สิงหาคม2540 ย่อมครบกำหนดอายุความในวันที่ 5 สิงหาคม 2541 ปรากฏว่าในวันครบกำหนดดังกล่าวโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นซึ่งโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ว่า โจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำฟ้องไปยื่นต่อศาลจังหวัดอุดรธานีที่มีเขตศาลเหนือคดีแต่เงินที่เสมียนทนายเตรียมไปไม่พอกับค่าธรรมเนียม เสมียนทนายจึงนำคำฟ้องกลับมาที่จังหวัดขอนแก่นและแจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อเวลา 16 นาฬิกา อันเป็นเหตุสุดวิสัยที่โจทก์ไม่สามารถกลับไปยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดอุดรธานีได้ทัน จึงขออนุญาตยื่นฟ้องที่ศาลจังหวัดขอนแก่น ผู้พิพากษาศาลจังหวัดขอนแก่นสั่งในคำร้องว่า "รับไว้ส่งศาลจังหวัดอุดรธานีโดยด่วนเพื่อพิจารณาต่อไป" คำสั่งดังกล่าวเท่ากับยอมรับว่าโจทก์ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10 แม้ว่าศาลจังหวัดขอนแก่นจะมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ แต่การที่ผู้พิพากษาศาลจังหวัดขอนแก่นสั่งรับคำร้องและให้ส่งศาลจังหวัดอุดรธานีพิจารณาโดยด่วนนั้น ย่อมถือได้ว่าศาลจังหวัดขอนแก่นได้ยอมรับคำฟ้องของโจทก์แล้ว ส่วนการที่ศาลจังหวัดขอนแก่นจะส่งคำฟ้องไปให้ศาลจังหวัดอุดรธานีพิจารณาสั่งในภายหลังก็เป็นขั้นตอนปฏิบัติของศาลมิได้เกี่ยวกับคู่ความ แม้ศาลจังหวัดอุดรธานีจะมีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ภายหลังก็หามีผลทำให้คดีของโจทก์ที่ยื่นฟ้องภายในกำหนดอายุความกลับกลายเป็นคดีที่ขาดอายุความไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความตกไป: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
แม้คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิ่มชื่อโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดั่งเช่นคดีนี้ แล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว แต่ต่อมาภายหลังโจทก์ฟ้องจำเลยและคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข เมื่อโจทก์จำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ย่อมแสดงว่าเงื่อนไขตามสัญญาไม่สำเร็จผล สัญญาประนีประนอมยอมความย่อมตกไปไม่มีผลบังคับ เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอม คำพิพากษาตามยอมก็ย่อมไม่มีผลบังคับเช่นกัน ดังนั้น ถือไม่ได้ว่าคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
of 344