พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 487/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากพฤติการณ์แทง: ศาลพิจารณาจากลักษณะการทำร้ายและอาวุธที่ไม่ชัดเจน
จำเลยได้ลอบแทงผู้ตายทางข้างหลังเพียงครั้งเดียว(โดยไม่ปรากฏสาเหตุ)แผลทะลุใน ผู้ตายอยู่ได้ 30 นาทีก็ขาดใจตาย อาวุธที่จำเลยใช้ทำร้ายไม่ปรากฏชัดว่าเป็นอะไรแน่ดังนี้ถือว่าจำเลยมิได้มีเจตนาฆ่าผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องหมิ่นประมาท: ข้อความที่อ้างถึงต้องกล่าวถึงรายละเอียดโดยบริบูรณ์ เพื่อให้ศาลพิจารณาได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้นำจดหมายปิดประกาศโฆษณามีข้อความหมิ่นประมาทใส่ความนายสอนกำนันตำบลนาโยงมีใจความว่า'นายสอนกำนันเป็นคนธรรมดาขาดการศึกษาดีงาม ชอบแต่ขู่เข็ญราษฎรเพื่อหวังผลประโยชน์แก่ส่วนตัวฝ่ายเดียว ฯลฯ' ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ได้กล่าวข้อความในส่วนที่กล่าวหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทนายสอนกำนันนั้นไว้ในฟ้องโดยบริบูรณ์ตามความหมายแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) วรรคสองแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำขอในคดีบุกรุก: ศาลพิจารณาตามแผนที่พิพาท แม้เนื้อที่ต่างจากฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยไม่ให้เกี่ยวข้องในที่ของโจทก์ ซึ่งจำเลยบุกรุกเข้ามา กว้าง 1 วา ยาวประมาณ 3 เส้น ครั้นเมื่อเจ้าพนักงานไปทำแผนที่โจทก์นำชี้ที่ที่จำเลยบุกรุกเข้ามาตามในวงเส้นสีแดง ซึ่งกว้างเพียง 3 ศอก ยาว 3 เส้น 3 วา 2 ศอกเกินที่กล่าวในฟ้องไป 3 วา 2 ศอก ดังนี้ ก็ต้องถือว่า โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่ของโจทก์ตามในวงเส้นสีแดงแห่งแผนที่พิพาทนั้นเอง ศาลพิพากษาห้ามจำเลยไม่ให้เกี่ยวข้องในที่พิพาทภายในวงเส้นสีแดงแห่งแผนที่พิพาทได้ ไม่เป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของทายาทเมื่อผู้ตายยังมีชีวิตอยู่: ศาลพิจารณาได้เองตามมาตรา 142(5)
บิดากู้เงินเขามาและมอบนาให้เขาทำต่างดอกเบี้ยเงินกู้ บุตรมาฟ้องขอชำระเงินกู้และขอนาคืนโดยอ้างว่าบิดาตายแล้ว บุตรเป็นทายาทผู้รับมรดก ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าบิดายังมีชีวิตอยู่ อำนาจฟ้องคดีของบุตรก็หมดไป บิดาจะขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วยก็ไม่ได้ เพราะฟ้องเดิมใช้ไม่ได้แล้ว ก็ไม่มีฟ้องที่สมบูรณ์ซึ่งบิดาจะร่วมเป็นโจทก์ด้วยได้
อำนาจฟ้องเช่นนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นพิจารณาเองได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)
อำนาจฟ้องเช่นนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นพิจารณาเองได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ทั้งจากละเมิดและผิดสัญญา แม้สัญญาเป็นโมฆะ ศาลพิจารณาจากข้อเท็จจริงและกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินไป 1140 บาทโดยเอาโฉนดปลอมมาให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกัน จนถึงกับฟ้องคดีอาญา ศาลพิพากษาจำคุกจำเลยและให้จำเลยใช้เงิน 1140 บาท แก่โจทก์ จำเลยได้นำเงิน 1140 บาทไปชำระกองหมายตามหมายบังคับคดีแล้ว โจทก์จึงฟ้องเรียกดอกเบี้ยกับค่าธรรมเนียมและค่าเสียหายอย่างอื่นจากจำเลยอีก ดังนี้ ย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะคดีก่อนอัยยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา และขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงิน 1140 บาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายตามอำนาจที่ ป.ม.วิ.อาญามาตรา 43 ให้ไว้และโจทก์ได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยยการด้วย โจทก์ยังไม่ได้เรียกค่าเสียหาย จีงฟ้องคดีนี้ได้ อนึ่งฟ้องดังกล่าวนี้ไม่ใช่เป็นฟ้องทางลักษณะสัญญาโดยตรง ในอันที่ศาลจะยกฟ้องเสียได้ โดยเห็นว่าสัญญากู้เป็นโมฆะแล้ว
ในทางแพ่ง กฎหมายไม่บังคับว่า การฟ้องคดีที่ทำได้ทั้งละเมิดและผิดสัญญานั้นโจทก์จะต้องเลือกเอาทางใดทางหนึ่ง โจทก์จะฟ้องโดยบรรยายข้อเท็จจริงและเรียกค่าเสียหายมาเฉย ๆ ก็ได้ ศาลมีหน้าที่ต้องนำเอาตัวบทกฎหมายมาปรับแก่คดีนั้นว่า ตามฟ้องโจทก์นั้นมีกฎหมายให้โจทก์ได้ค่าเสียหายตามฟ้องหรือไม่.
ในทางแพ่ง กฎหมายไม่บังคับว่า การฟ้องคดีที่ทำได้ทั้งละเมิดและผิดสัญญานั้นโจทก์จะต้องเลือกเอาทางใดทางหนึ่ง โจทก์จะฟ้องโดยบรรยายข้อเท็จจริงและเรียกค่าเสียหายมาเฉย ๆ ก็ได้ ศาลมีหน้าที่ต้องนำเอาตัวบทกฎหมายมาปรับแก่คดีนั้นว่า ตามฟ้องโจทก์นั้นมีกฎหมายให้โจทก์ได้ค่าเสียหายตามฟ้องหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีแพ่งทั้งจากละเมิดและผิดสัญญา ศาลต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยไม่จำกัดว่าโจทก์ต้องเลือกว่าจะฟ้องทางใด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินไป 1,140 บาทโดยเอาโฉนดปลอมมาให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกัน จนถึงกับฟ้องคดีอาญา ศาลพิพากษาจำคุกจำเลยและให้จำเลยใช้เงิน 1,140 บาทแก่โจทก์ จำเลยได้นำเงิน 1,140 บาทไปชำระกองหมายตามหมายบังคับคดีแล้ว โจทก์จึงฟ้องเรียกดอกเบี้ยกับค่าธรรมเนียมและค่าเสียหายอย่างอื่นจากจำเลยอีก ดังนี้ ย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำเพราะคดีก่อนอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา และขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงิน 1,140 บาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายตามอำนาจที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ให้ไว้และโจทก์ได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการด้วย โจทก์ยังไม่ได้เรียกค่าเสียหาย จึงฟ้องคดีนี้ได้อนึ่งฟ้องดังกล่าวนี้ไม่ใช่เป็นฟ้องทางลักษณะสัญญาโดยตรงในอันที่ศาลจะยกฟ้องเสียได้ โดยเห็นว่าสัญญากู้เป็นโมฆะแล้ว
ในทางแพ่ง กฎหมายไม่บังคับว่าการฟ้องคดีที่เป็นได้ทั้งละเมิดและผิดสัญญานั้นโจทก์จะต้องเลือกเอาทางใดทางหนึ่ง โจทก์จะฟ้องโดยบรรยายข้อเท็จจริงและเรียกค่าเสียหายมาเฉยๆ ก็ได้ ศาลมีหน้าที่ต้องเอาตัวบทกฎหมายมาปรับแก่คดีนั้นว่า ตามฟ้องโจทก์นั้นมีกฎหมายให้โจทก์ได้ค่าเสียหายหรือไม่
ในทางแพ่ง กฎหมายไม่บังคับว่าการฟ้องคดีที่เป็นได้ทั้งละเมิดและผิดสัญญานั้นโจทก์จะต้องเลือกเอาทางใดทางหนึ่ง โจทก์จะฟ้องโดยบรรยายข้อเท็จจริงและเรียกค่าเสียหายมาเฉยๆ ก็ได้ ศาลมีหน้าที่ต้องเอาตัวบทกฎหมายมาปรับแก่คดีนั้นว่า ตามฟ้องโจทก์นั้นมีกฎหมายให้โจทก์ได้ค่าเสียหายหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งควบคู่คดีอาญา: ศาลต้องพิจารณาค่าเสียหายแม้พิพากษายกฟ้องอาญา
คดีหาเป็นคดีอาญาว่า จำเลยบุกรุกทำให้เสียทรัพย์ และได้เรียกค่าเสียหายมาด้วย แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องในความผิดทางอาญา ฐานทำให้เสียทรัพย์สำหรับค่าเสียหายว่า จำเลยจะต้องรับผิดเพียงไร หรือไม่ ซึ่งศาลควรต้องพิพากษาให้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่า ความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ตาม ป.ม.วิ.อาญา มาตรา 47.
คดีที่ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้แก่ผู้ชนะคดีในชั้นฎีกาได้.
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/92
คดีที่ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้แก่ผู้ชนะคดีในชั้นฎีกาได้.
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/92
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472-1473/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ต้องระบุประเด็นชัดเจนต่อเนื่องจากอุทธรณ์เดิม ศาลต้องพิจารณาตามประเด็นที่อุทธรณ์
ฟ้องอุทธรณ์หรือฟ้องฎีกาจะต้องตั้งประเด็นตามมาตรา 225 และต้องแสดงเหตุผลประกอบตามมาตรา 172 ป.ม.วิ.แพ่ง
ศาลชั้นต้นสืบพะยานของ ป.สองปากแล้วสั่งงดสืบพะยานของ ป. และพิพากษาให้ ป.แพ้คดี ป.ยื่นอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพะยานไม่ชอบ และว่าพะยานหลักฐานของ ป.เท่าที่สืบมาแล้วควรฟังได้ เพราะเหตุใด ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแต่เรื่องงดสืบพะยาน แล้วพิพากษาให้ศาลชั้นต้นสืบพะยานต่อไปและพิพากษาใหม่ศาลชั้นต้นสืบพะยานแล้วพิพากษาให้ ป.แพ้คดีตามเดิม ป.ยื่นอุทธรณ์เป็นครั้งที่ 2 บรรยาย การดำเนินคดีมาตั้งแต่ต้นและกล่าวว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นคลาดเคลื่อนต่อเหตุผลและข้อกฎหมายดังที่ ป.ได้ยกเป็นองค์อุทธรณ์ ในคำฟ้องอุทธรณ์เดิมแล้วขอศาลอุทธรณ์ได้ถือเอาคำฟ้องอุทธรณ์ฉะบับเดิมของ ป.มาเป็นองค์อุทธรณ์ในชั้นนี้ทุกประการด้วย ดังนี้เห็นได้ว่า คำฟ้องอุทธรณ์ใหม่ของ ป.ต่อเนื่องมาจากคำฟ้องอุทธรณ์เดิม ไม่ได้อ้างถึงถ้อยคำอื่นในสำนวนเช่นคำแถลงการณ์เป็นต้น แต่ต้องอ้างถึงคำฟ้องอุทธรณ์ด้วยกันและต่อเนื่องกัน จึงเป็นอุทธรณ์ที่ใช้ได้ตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นสืบพะยานของ ป.สองปากแล้วสั่งงดสืบพะยานของ ป. และพิพากษาให้ ป.แพ้คดี ป.ยื่นอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพะยานไม่ชอบ และว่าพะยานหลักฐานของ ป.เท่าที่สืบมาแล้วควรฟังได้ เพราะเหตุใด ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแต่เรื่องงดสืบพะยาน แล้วพิพากษาให้ศาลชั้นต้นสืบพะยานต่อไปและพิพากษาใหม่ศาลชั้นต้นสืบพะยานแล้วพิพากษาให้ ป.แพ้คดีตามเดิม ป.ยื่นอุทธรณ์เป็นครั้งที่ 2 บรรยาย การดำเนินคดีมาตั้งแต่ต้นและกล่าวว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นคลาดเคลื่อนต่อเหตุผลและข้อกฎหมายดังที่ ป.ได้ยกเป็นองค์อุทธรณ์ ในคำฟ้องอุทธรณ์เดิมแล้วขอศาลอุทธรณ์ได้ถือเอาคำฟ้องอุทธรณ์ฉะบับเดิมของ ป.มาเป็นองค์อุทธรณ์ในชั้นนี้ทุกประการด้วย ดังนี้เห็นได้ว่า คำฟ้องอุทธรณ์ใหม่ของ ป.ต่อเนื่องมาจากคำฟ้องอุทธรณ์เดิม ไม่ได้อ้างถึงถ้อยคำอื่นในสำนวนเช่นคำแถลงการณ์เป็นต้น แต่ต้องอ้างถึงคำฟ้องอุทธรณ์ด้วยกันและต่อเนื่องกัน จึงเป็นอุทธรณ์ที่ใช้ได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีครอบครองปรปักษ์: ศาลพิจารณาประเด็นที่เคยตัดสินแล้วหรือไม่
คดีก่อน โจทก์ฟ้องอ้างว่าที่พิพาทมารดาโจทก์ได้มาโดยชนะความจาก ย. โจทก์และมารดาได้ครอบครองโดยสงบและเปิดเผยเกิน 10 ปี ขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทตกกรรมสิทธิแก่โจทก์ ศาลฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทเกิน 10 ปีจริงแต่ที่ที่มารดาโจทก์ชนะความหาใช่ที่ ๆ โจทก์ฟ้องไม่ จึงพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดโจทก์จึงนำมาฟ้องจำเลยใหม่ว่า ที่พิพาทในคดีก่อนนั้น โจทก์และมารดาได้ครอบครองมาโดยสงบและเปิดเผยเกิน 10 ปี ขอให้ศาลฟ้องว่าที่เป็นโจทก์ ดังนี้เป็นการฟ้องซ้ำไม่ เพราะคดีก่อนศาลพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าโจทก์ฟ้องกล่าวข้ออ้างโดยเห็นว่าข้อหาไม่ตรงกัน กล่าวคือที่พิพาทไม่ใช่ที่ซึ่งมารดาโจทก์ชนะความตามฟ้อง หาได้พิพากษายกฟ้องในประเด็นที่โจทก์อ้างว่าได้กรรมสิทธิในทางครอบครองไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตร: ศาลพิจารณาตามความเหมาะสมเมื่อแม่ฟ้องแย้งสิทธิบิดา
โจทก์ผู้เป็นบิดาฟ้องเรียกบุตรคืนจากหญิงผู้เป็นมารดาโดยอ้างอำนาจปกครองตามมาตรา 1537 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่จำเลยก็ได้ฟ้องแย้งขอให้ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่แก่มารดาตามมาตรา 1538(6) ดังนี้ ศาลย่อมพิพากษาให้เด็กอยู่ในอำนาจปกครองของมารดาได้ในเมื่อเป็นการสมควรแก่รูปคดี เพราะมาตรา 1538 นี้ เป็นบทยกเว้นของมาตรา 1537 ที่อำนาจปกครองนั้นอยู่แก่มารดา อันเป็นกรณีธรรมดาโดยทั่วๆ ไป