คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศุลกากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 316 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับโทษทางศุลกากร การกำหนดโทษปรับรายตัว การกักขังแทนค่าปรับ และการริบของกลาง
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 บัญญัติความว่าสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ดังนั้น ถ้าจะปรับจำเลยเรียงตัวคนละ 4 เท่าของอัตราราคานั้น ก็จะเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ เกิน 4 เท่าย่อมขัดบทกฎหมายมาตราดังกล่าว และจะนำ มาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับไม่ได้ เพราะได้มีบัญญัติไว้เป็นพิเศษ โดยพระราชบัญญัติศุลกากรต่างหากแล้ว
ศาลอุทธรณ์กล่าวไว้ในคำพิพากษาว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่กำหนดวันกักขังแทน ค่าปรับไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 ควรจะกักขังได้นานกว่านั้นแต่โจทก์ไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่พิพากษาแก้ โจทก์ฎีกาขอให้แก้ไข ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1920/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดของกลางโดยอธิบดีศุลกากร แม้ศาลไม่ริบของกลาง ก็ไม่เป็นการละเมิด
การที่อธิบดีศุลกากรที่สั่งขายทอดตลาดของที่ยึดตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ แม้ต่อมาศาลจะสั่งไม่ริบของที่ยึดนั้นก็ตาม คำสั่งของอธิบดีที่สั่งขายไปนั้นก็ยังเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้นเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขายของที่ยึดนั้นไปตามคำสั่งของอธิบดีศุลกากรดังกล่าว จึงหาเป็นการละเมิดต่อเจ้าของทรัพย์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษปรับในคดีศุลกากรและสุรา: ศาลฎีกาไม่รับพิจารณาเนื่องจากเป็นเพียงการแก้ไขเล็กน้อยในข้อเท็จจริง
ศาลขั้นต้นพิพากษาปรับจำเลยสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากร เข้าด้วยแล้ว เป็นเงินคนละ 36,068 บาท บังคับค่าปรับตามมาตรา 29,30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับ ให้กักขังคนละ 2 ปี ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงอย่างเดียวกับศาลชั้นต้น แต่พิพากษาแก้ให้ปรับจำเลยทั้งสามเป็นเงิน 36,068 บาท โดยแยกเรียงตัวคนละ 12,022 บาท 66 สตางค์ ไม่ชำระค่าปรับ จัดการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29,30 หากต้องกักขังแทน ให้กักขังคนละ 8 เดือน ดังนี้ เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายศุลกากร: พยานหลักฐานต้องแสดงเค้ามูลความผิดผู้ครอบครองสินค้า
พระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 10 มิได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่าเมื่อปรากฎว่าผู้ใดมีสิ่งซึ่งต้องห้าม หรือสิ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นสิ่งต้องกำกัดหรือเป็นสิ่งลักลอยหนีศุลกากรไว้ในครอบครอง ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นได้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือนำเข้ามาโดยลักลอบหนีศุลกากร หากแต่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นความจริงตามข้อเท็จจริงที่จดแจ้งไว้ในบันทึกของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้พบเห็นข้อนี้เป็นข้อสันนิษฐานข้อแรก ส่วนข้อสันนิษฐานว่าผู้มีสิ่งนั้นไว้ในครอบครองเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบ ฯ นั้น เป็นเพียงพอที่สืบเนื่องจากข้อสันนิษฐานข้อแรกนั้น
ข้อเท็จจริงที่จดแจ้งไว้ในบันทึกตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติที่กล่าวนั้น อย่างน้อยจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ประกอบกันเป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมพอจะแสดงเค้ามูลว่าผู้มีไว้ในครอบครองนั้นเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากร
บันทึกของเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งไว้แต่ว่า ตำรวจได้ตรวจค้นบ้านจำเลย ค้นพบสิ่งของบรรจุอยู่ในกระสอบ ได้สอบถามจำเลย จำเลยว่ารับฝากไว้จากชายไม่ทราบชื่อ บรรทุกรถมา 1 คัน ตอนเช้าวันนั้นเอง ตำรวจสงสัยว่าเป็นสินค้าที่หลบหนีศุลกากร จึงยึดสินค้าและคุมตัวจำเลยมาดำเนินคดี เพียงเท่านี้ย่อมไม่มีลักษณะเป็นบันทึกอันจะก่อให้เกิดข้อสันนิษฐานตามมาตรา 10 ที่กล่าวนั้น และเมื่อเป็นดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยร่วมกับผู้อื่นนำสินค้าเหล่านั้นเข้ามาในราชอาณาจักรโจทก์ก็ต้องมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลย และจะลงโทษจำเลยได้ก็ต่อเมื่อพยานหลักฐานของโจทก์เพียงพอให้ฟังว่าจำเลยกระทำผิดตามข้อหา
ถ้าศาลชั้นต้นถือว่าโจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายจึงมิได้พิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์ คงวินิจฉัยแต่ของจำเลยแล้วฟังว่าจำเลยมีความผิดลงโทษจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายแต่ก็เอาข้อสันนิษฐานนั้นมาประกอบด้วย แล้วจึงฟังว่าจำเลยมีความผิดและพิพากษายืน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ากรณีแห่งคดีนี้ไม่มีข้อสันนิษฐานของกฎหมาย และเห็นว่าศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยโดยชอบด้วยวิธีพิจารณา ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลล่าง แต่พึงวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ตามพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยได้นำสืบมาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายในคดีศุลกากร: พยานหลักฐานต้องแสดงเค้ามูลความผิดของผู้ครอบครอง
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 10มิได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า เมื่อปรากฏว่าผู้ใดมีสิ่งซึ่งต้องห้าม หรือสิ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นสิ่งกำกัดหรือเป็นสิ่งลักลอบหนีศุลกากรไว้ในครอบครอง ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นได้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากร หากแต่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นความจริงตามข้อเท็จจริงที่จดแจ้งไว้ในบันทึกของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้พบเห็นข้อนี้เป็นข้อสันนิษฐานข้อแรก ส่วนข้อสันนิษฐานว่าผู้มีสิ่งนั้นไว้ในความครอบครองเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบ นั้น เป็นเพียงผลที่สืบเนื่องจากข้อสันนิษฐานข้อแรกนั้น
ข้อเท็จจริงที่จะจดแจ้งไว้ในบันทึกตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติที่กล่าวนั้น อย่างน้อยจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ประกอบกันเป็นพยาน พฤติเหตุแวดล้อมพอจะแสดงเค้ามูลว่าผู้มีไว้ในครอบครองนั้นเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากร
บันทึกของเจ้าหน้าที่ตำรวจจดแจ้งไว้แต่ว่าตำรวจได้ตรวจค้นบ้านจำเลยค้นพบสิ่งของบรรจุอยู่ในกระสอบ ได้สอบถามจำเลยจำเลยว่ารับฝากไว้จากชายไม่ทราบชื่อบรรทุกรถมา 3 คัน ตอนเช้าวันนั้นเอง ตำรวจสงสัยว่าเป็นสินค้าที่หลบหนีศุลกากร จึงยึดสินค้าและคุมตัวจำเลยมาดำเนินคดีเพียงเท่านี้ย่อมไม่มีลักษณะเป็นบันทึกอันจะก่อให้เกิดข้อสันนิษฐานตามมาตรา 10 ที่กล่าวนั้น และเมื่อเป็นดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยร่วมกับผู้อื่นนำสินค้าเหล่านั้นเข้ามาในราชอาณาจักร โจทก์ก็ต้องมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลย และจะลงโทษจำเลยได้ก็ต่อเมื่อพยานหลักฐานของโจทก์เพียงพอให้ฟังว่าจำเลยกระทำผิดตามข้อหา
ถ้าศาลชั้นต้นถือว่าโจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมาย จึงมิได้พิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์ คงวินิจฉัยแต่ของจำเลย แล้วฟังว่าจำเลยมีความผิดลงโทษจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่าย แต่ก็นำเอาข้อสันนิษฐานนั้นมาประกอบด้วย แล้วจึงฟังว่าจำเลยมีความผิดและพิพากษายืน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ากรณีแห่งคดีนี้ไม่มีข้อสันนิษฐานของกฎหมาย และเห็นว่าศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยโดยชอบด้วยวิธีพิจารณา ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลล่าง แต่พึงวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ตามพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยได้นำสืบมาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216-1223/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าสินค้าหลีกเลี่ยงภาษี ไม่เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ศุลกากร ม.38 หากไม่ผ่านท่าอนุมัติ
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 38 เป็นเรื่องที่ใช้บังคับกับนายเรือที่บรรทุกสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตามช่องทาง+อนุมัติซึ่งไปถึงที่เป็นเขตศุลกากรโดยชอบ ในกรณีดังกล่าว นายเรือจึงจะมีหน้าที่ต้องทำรายงานยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เรือมาถึงท่า และกฎหมายมาตรานี้บังคับด้วยว่า นายเรือจะต้องแถลงรายละเอียดว่าด้วยสินค้านั้น ๆ ลงไว้ในรายงานด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีการควบคุมสินค้าที่นำเข้าโดยชอบให้รัดกุมและเพื่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะได้ทำการตรวจสินค้า และเรียกเก็บภาษีได้โดยสะดวกและรวดเร็วนั่นเอง
จำเลยผู้เป็นนายเรือได้นำกะปิของกลางบรรทุกหรือเข้ามาในราชอาณาจักรตามช่องทางซึ่งมิใช่ท่าอนุมัติโดยเจตนาหลีกเลี่ยงอากร และจะฉ้อค่าภาษีรัฐบาล กรณีจึงมิใช่เรื่องที่จำเลยได้นำเรือมาถึงท่าโดยชอบแล้วละเว้นไม่ทำรายงานอันถูกต้องยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 38

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาศุลกากร: เจตนาหลีกเลี่ยงภาษีเป็นที่เข้าใจได้ในตัว
ฟ้องว่านำของต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรและหลบหนีภาษีศุลกากรนั้น แม้ในฟ้องจะมิได้บรรยายว่า จำเลยมีเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากรก็ตาม ถ้าตามฟ้องเป็นที่เข้าใจได้ในตัวเช่นนั้นแล้ว ย่อมเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ศาลฟังลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจยึดของเจ้าพนักงานและสิทธิเรียกร้องคืนทรัพย์สินที่ถูกยึดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 24 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 มาตรา 3 นั้น ประสงค์แต่เพียงแก้ไขเพื่อกำหนดว่าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยทั่วไปก็มีอำนาจทำการยึดได้เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่วิเคราะห์ศัพท์ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินจากการกระทำผิดศุลกากร หากเจ้าของไม่ร้องขอคืนภายในกำหนด จะตกเป็นของแผ่นดิน
การขอคืนทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดศุลกากรนั้น ตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ต้องแปลว่า เมื่อเจ้าของไม่มาติดตามและร้องขอคืนภายในกำหนดก็หมดสิทธิเพราะกฎหมายให้ถือว่าพ้นกำหนดแล้วเท่ากับเป็นของไม่มีเจ้าของ ให้ตกเป็นของแผ่นดินไป
เรือยนต์ที่ให้เช่าไปแล้วผู้เช่าเอาไปใช้หลบหนีภาษีจนศาลสั่งริบ แม้เจ้าของผู้ให้เช่าจะไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด ก็ต้องมายื่นคำร้องขอคืนภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ยึด
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดศุลกากร หากไม่ยื่นคำร้องภายในกำหนดจะถือเป็นของไม่มีเจ้าของและตกเป็นของแผ่นดิน
การขอคืนทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดศุลกากร ตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 ต้องแปลว่าเมื่อเจ้าของไม่มาติดตามและร้องขอคืนภายในกำหนดก็หมดสิทธิเพราะกฎหมายให้ถือว่าพ้นกำหนดแล้วเท่ากับเป็นของไม่มีเจ้าของ ให้ตกเป็นของแผ่นดินไป
เรือยนต์ที่ให้เช่าไปแล้วผู้เช่าเอาไปใช้หลบหนีภาษีจนศาลสั่งริบ แม้เจ้าของผู้ให้เช่าจะไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด ก็ต้องมายื่นคำร้องขอคืนภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ยึด(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2504)
of 32