คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,361 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุปกรณ์ติดรถเช่าซื้อ: ไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์เจ้าของหากไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรถ
จำเลยนำวิทยุ เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นซีดี ลำโพงและอุปกรณ์เครื่องเสียงมาสู่รถที่เช่าซื้อก็เพื่อประโยชน์ ของจำเลย หาใช่เพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอย หรือรักษาทรัพย์สินที่เป็นประธานคือรถที่เช่าซื้อไม่ ทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่อุปกรณ์อันจะตกติดไปกับทรัพย์ประธานตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 147 วรรคท้าย
สัญญาเช่าซื้อระบุว่า "?หากผู้เช่าซื้อนำสิ่งของเข้ามาดัดแปลง ต่อเติม ติดหรือตั้งอยู่ในตัวทรัพย์สินที่เช่าซื้อ สิ่งนั้นจะตกเป็นส่วนหนึ่งของตัวทรัพย์สินที่เช่าซื้อและเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของทันที?" เห็นได้ว่า สัญญาเช่าซื้อ เป็นแบบฟอร์มที่โจทก์จัดทำขึ้นเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งมาจากปัญหาที่ผู้เช่าซื้อนำสิ่งของเข้ามาดัดแปลง ต่อเติม ติดหรือ ตั้งกับทรัพย์ที่เช่าซื้อและจะเอาสิ่งของดังกล่าวคืนเมื่อต้องคืนทรัพย์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ แต่การรื้อสิ่งของที่ว่านั้นออกไปจะทำให้ทรัพย์ที่เช่าซื้อเสียหายได้ ในคดีนี้ลำพังการที่จำเลยนำทรัพย์ดังกล่าวมาสู่ตัวรถที่เช่าซื้อ ย่อมไม่ถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความเสียหาย หากจะต้องรื้อออกไปจากตัวรถที่เช่าซื้อ จึงไม่อยู่ในขอบแห่งข้อสัญญาดังกล่าว โจทก์จะยก ข้อสัญญาที่ปรากฏมาเป็นเหตุไม่คืนทรัพย์ดังกล่าวให้แก่จำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองระงับเมื่อหนี้กู้ยืมเงินประธานสิ้นสุด แม้มีข้อตกลงจำนองเป็นประกันหนี้ในอนาคต หากสัญญาสิ่งอุปกรณ์ไม่ได้ระบุชัดเจน
แม้ในสัญญาจำนองที่ดินจะระบุข้อความว่า จำนองเป็นประกันหนี้ซึ่งจำเลยผู้จำนองมีต่อธนาคารโจทก์ผู้รับจำนองในเวลานี้หรือที่จะมีขึ้นใหม่ในภายหน้าก็ตามแต่เมื่อหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นหนี้ประธานที่มีการจำนองเป็นประกันได้ระงับสิ้นไปโดยจำเลยชำระเงินกู้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว สัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมระงับไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744(1) ทั้งในการทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยก็มิได้ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าวว่ามีการจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี การตีความถึงเจตนาของคู่สัญญาในกรณีมีข้อสงสัยเช่นนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 ให้ตีความในทางที่เป็นคุณแก่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น กรณีต้องฟังว่าโจทก์และจำเลยมิได้ตกลงให้นำสัญญาจำนองที่ดินมาเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับจำนองที่ดินเพื่อชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อต่างประเทศ: การตีความขอบเขตการใช้ทุนและการโอนย้ายสังกัด
ตามสัญญาของข้าราชการไปศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศของจำเลยข้อ 3ระบุว่า เมื่อจำเลยสำเร็จการศึกษาหรือไม่ จำเลยจะรับราชการต่อไปในสังกัดกรมอาชีวศึกษาโจทก์ กระทรวงศึกษาธิการหรือในกระทรวง ทบวง กรมอื่นตามที่ทางราชการเห็นสมควรและข้อ 4 ระบุว่า หากจำเลยผิดสัญญาในข้อ 3 หรือไม่กลับมารับราชการด้วยเหตุใด ๆจำเลยยินยอมชดใช้เงินเดือนหรือเงินอื่นใดที่ได้รับในระหว่างไปศึกษาพร้อมเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ สัญญาดังกล่าวมิใช่ว่าจำเลยต้องรับราชการในสังกัดโจทก์เท่านั้น ทั้งตามหนังสือขอโอนข้าราชการโจทก์เป็นผู้เห็นสมควรให้จำเลยโอนไปรับราชการที่สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำเลยจึงมิได้ปฏิบัติผิดสัญญา จึงไม่ผิดนัดและไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระเงินตามสัญญาข้อ 4 แก่โจทก์ หนังสือรับสภาพหนี้แม้จะทำขึ้นเพื่อให้โจทก์ยอมอนุมัติให้จำเลยโอนไปรับราชการอื่นได้ ก็ไม่มีภาระผูกพันหรือทำให้มีหนี้ที่จะต้องชำระเงินตามที่รับสภาพไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน และประเด็นนอกคำฟ้อง
สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่ระบุว่า ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างต่อผู้รับจ้างได้โดยการแจ้งบอกเลิกสัญญาล่วงหน้า 3 เดือน ไปยังผู้รับจ้างมีความหมายว่าจำเลยจะบอกเลิกสัญญาเพื่อให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยพลันไม่ได้ ต้องให้เวลาโจทก์เตรียมตัวไม่น้อยกว่า 3 เดือน เพื่อหยุดการก่อสร้าง หยุดการจัดหาสัมภาระในการก่อสร้าง เตรียมรื้อถอนโรงเรือนและวัสดุอุปกรณ์และเลิกจ้างคนงานตลอดจนคำนวณค่าจ้างและค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้น มิใช่ว่าโจทก์จำเลยยังคงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งสัญญากันโดยโจทก์ต้องก่อสร้างและจำเลยต้องชำระเงินตามกำหนดกันอีกถึง 3 เดือน ทั้ง ๆ ที่สัญญาต้องเลิกกันอยู่แล้ว จึงต้องถือว่าสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างเลิกกันตั้งแต่วันที่แจ้งบอกเลิกสัญญา
สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้วโดยจำเลยเป็นผู้บอกเลิกสัญญาอาศัยสิทธิในฐานะผู้ว่าจ้างและโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญากรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 605 ที่จำเลยจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นสำหรับเงินค่าเตรียมการก่อสร้าง เมื่อสัญญาเลิกกันแล้วก็ไม่ต้องเตรียมการก่อสร้างต่อไปอีก ส่วนเงินค่าก่อสร้างทาวน์เฮาส์ 3 หลังโจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยชำระเงินตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างโดยถือว่าสัญญายังไม่เลิกกันจึงไม่มีประเด็นเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายของโจทก์อันเกิดแต่การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 605 และโจทก์ย่อมไม่อาจนำสืบถึงความเสียหายของโจทก์ดังกล่าวได้เนื่องจากเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อ สัญญาทางศาสนสมบัติ และผลของการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
โจทก์ให้ ส. เป็นผู้ลงชื่อทำสัญญาก่อสร้างตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ.2 มี ศ. ซึ่งเป็นไวยาวัจกรของจำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นคู่สัญญา โจทก์เคยรู้จักกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1 มาก่อน เคยเจรจาตกลงกับจำเลยที่ 2 เรื่องโจทก์ปรับปรุงที่ดินของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เขียนข้อความว่า "อาตมารับทราบแล้ว" และลงชื่อไว้ท้ายสัญญาเอกสารหมาย จ.2 เป็นการยืนยันได้ว่า จำเลยที่ 2 ให้สัตยาบันหนังสือดังกล่าวให้มีผลสมบูรณ์ผูกพันจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญา อีกทั้งหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.1 ระบุให้ ศ. มีอำนาจดูแลรักษาและจัดการศาส์นสมบัติของวัด การที่ ศ. ไปลงชื่อตามสัญญาเอกสารหมาย จ.2 โดยมีจำเลยที่ 2 ลงชื่อรับทราบไว้ท้ายสัญญาเพื่อให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นการจัดการศาสนสมบัติของวัดแล้ว กรณีไม่จำต้องทำหนังสือมอบอำนาจเป็นการเฉพาะเรื่องอีก จึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อของ ส.
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ข้อ 2 ระบุว่า การกันที่ดินซึ่งเป็นที่วัดให้เป็นที่จัดประโยชน์จะกระทำได้ต่อเมื่อกรมการศาสนาเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคม และข้อ 4 ระบุว่า การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ ที่กัลปนาหรือที่วัดที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์ที่มีกำหนดระยะเวลาเช่าเกิน 3 ปี จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา แม้สัญญาก่อสร้างตึกแถวเอกสารหมาย จ. 2 จะไม่ใช่สัญญาเช่าโดยตรง แต่เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขในอนาคต เพราะขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่ได้ปลูกสร้างอาคารและอาคารเหล่านั้นก็ยังไม่มี แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 ก็มีผลให้เห็นได้ในอนาคตว่า หากโจทก์ปลูกสร้างอาคารแล้วเสร็จตามสัญญาย่อมจะมีผลให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตามสัญญา คือให้โจทก์มีสิทธิหาผู้เช่ามาจดทะเบียนการเช่ามีกำหนด 30 ปี กับจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเป็นจะต้องขอความเห็นชอบจากกรมการศาสนาก่อน เมื่อสัญญาก่อสร้างตึกแถวดังกล่าวยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนาตามกฎกระทรวงจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ยังไม่สามารถนำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่การที่จำเลยที่ 1 รับเงินค่าหน้าดินจากโจทก์และโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมเป็นเงินเจ็ดแสนกว่าบาท แล้วจำเลยที่ 1 ไม่ยอมให้โจทก์เข้าทำการก่อสร้างอาคารต่อไป ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจัดการศาสนสมบัติที่ยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย และความเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
วัดจำเลยที่ 1 ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ศ. มีหน้าที่ดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด การที่ ศ. ลงชื่อในสัญญาก่อสร้างตึกแถว โดยมีจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1 ลงชื่อรับทราบไว้ท้ายสัญญาเพื่อให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างตึกแถวนั้น จึงเป็นการจัดการศาสนสมบัติของวัดแล้ว กรณีไม่จำต้องทำหนังสือมอบอำนาจเป็นการเฉพาะเรื่องอีก
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2ฯ ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯข้อ 2 ระบุว่า การกันที่ดินซึ่งเป็นที่วัดให้เป็นที่จัดประโยชน์จะทำได้ต่อเมื่อกรมการศาสนาเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคม และข้อ 4 ระบุว่า การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ ที่กัลปนา หรือที่วัดที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์ที่มีกำหนดเช่าเกิน 3 ปีจะทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา ดังนี้ แม้สัญญาก่อสร้างตึกแถวจะไม่ใช่สัญญาเช่าโดยตรง แต่เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขในอนาคต เพราะขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่ได้ปลูกสร้างอาคาร แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 มีผลเห็นได้ในอนาคตว่าหากโจทก์ปลูกสร้างอาคารแล้วเสร็จ จำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยยอมให้โจทก์มีสิทธิหาผู้เช่ามาจดทะเบียนการเช่ามีกำหนด 30 ปีกับจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องขอความเห็นชอบจากกรมการศาสนาก่อน เมื่อสัญญาก่อสร้างตึกแถวยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนาตามกฎกระทรวงดังกล่าวสัญญาก่อสร้างตึกแถวจึงยังไม่สมบูรณ์ โจทก์ไม่สามารถนำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่การที่จำเลยที่ 1 รับเงินค่าหน้าดินจากโจทก์และโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิม แล้วจำเลยที่ 1 ไม่ยอมให้โจทก์เข้าทำการก่อสร้างอาคารต่อไป ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ระงับสิทธิเรียกร้องเดิม โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาเท่านั้น
โจทก์จำเลยพิพาทกันเรื่องที่ดิน นายอำเภอเรียกโจทก์และจำเลยมาเจรจากันโดยมีการบันทึกคำเปรียบเทียบไว้ว่าจำเลยตกลงแบ่งที่ดินให้แก่โจทก์ตามส่วนที่ตกลงกัน บันทึกคำเปรียบเทียบดังกล่าวมีลักษณะเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่มีอยู่แล้วในขณะนั้นให้เสร็จไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 อันมีผลให้สิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์จำเลยที่มีอยู่ต่อกันระงับสิ้นไป โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวอีก คงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 852 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าซื้อรถยนต์: จำเลยไม่ต้องรับผิดค่าเสื่อมราคา หากมิได้ใช้รถโดยประมาทเลินเล่อ
ในทางพิจารณาไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ใช้รถยนต์คันที่เช่าซื้อโดยประมาทเลินเล่ออย่างไร และรถได้เสื่อมราคาลงไปเนื่องจากเกิดความเสียหาย เพราะจำเลยที่ 1 ใช้รถโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ แต่กลับได้ความว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลรักษารถดังกล่าวตามสมควรแล้วโดยนำไปตรวจเช็คและซ่อมแซมที่ศูนย์รถยนต์ของโจทก์เป็นประจำตลอดมา ดังนั้น เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยถือมิได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดเกี่ยวกับการเสื่อมราคาตามสภาพของการใช้รถตามปกติ ซึ่งประเด็นนี้เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาเห็นควรให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9873/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติบุคคลแยกต่างหาก สัญญาต่างหาก ความรับผิดชอบเฉพาะคู่สัญญา
ตามคำฟ้องโจทก์ระบุว่าบริษัทจำเลยที่ 1 และบริษัทจำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน และตามหนังสือรับรองเอกสารท้ายฟ้องก็ระบุไว้ชัดเจนว่าต่างเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน แม้ผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 และที่ 2 ส่วนใหญ่จะเป็นญาติพี่น้องกันมีนามสกุลเดียวกันและแม้จะเป็นบริษัทในเครือเดียวกันก็ตาม แต่ตามกฎหมายแล้ว ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างเป็นนิติบุคคลแยกกัน หาใช่เป็นบริษัทเดียวกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9747/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: การยกเว้นความรับผิดจากผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาต และสิทธิของผู้รับประกันภัยในการเรียกคืนค่าเสียหาย
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีเพียงมาตรา 15 ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยกำหนดเงื่อนไขความรับผิดในส่วนที่เกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าวที่ว่า "กรมธรรม์ประกันภัย? ซึ่งมีข้อความระบุถึงความรับผิดของบริษัทแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ใน บทแห่งพระราชบัญญัตินี้ บริษัทจะยกเป็นข้อต่อสู้เพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อผู้ประสบภัยในการชดใช้ค่าเสียหาย เบื้องต้นมิได้" เท่านั้น มิได้มีบทบัญญัติอื่นใดห้ามการตกลงกำหนดเงื่อนไขความรับผิดระหว่างผู้รับประกันภัยและ ผู้เอาประกันภัยในกรณีอื่น ๆ ไว้แต่ประการใด และตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 16 ข้อสัญญาพิเศษที่ระบุว่า โจทก์จะไม่ยกเอาข้อยกเว้นความรับผิดตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์เป็นข้อต่อสู้ผู้ประสบภัยเพื่อปฏิเสธความรับผิด ตามกรมธรรม์อันไม่เป็นการแตกต่างขัดกันกับบทบัญญัติมาตรา 15 ดังกล่าว ดังนั้น เงื่อนไขข้อยกเว้นความรับผิด ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 15.10 ที่ว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกินกว่า 180 วัน หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิ ตามกฎหมายในการขับรถในเวลาเกิดอุบัติเหตุ จึงไม่ขัดต่อเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของ พ.ร.บ.คุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 15.10 โดยยินยอมให้ ส. ซึ่ง ไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์เป็นผู้ขับรถในขณะเกิดเหตุ และโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ บ. ผู้ประสบภัยไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยจึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่โจทก์ตามเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ได้
of 337