คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สามีภริยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 325/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกอยู่เนื่องจากโรคประจำตัวและการขาดการหย่า ไม่ถือว่าขาดจากสามีภริยา
ภริยามีโรคประจำตัวไม่สามารถนอนร่วมกับสามีได้จึงต่างคนต่างอยู่มาประมาณ 30 ปีเพียงเท่านี้ ไม่ถือว่าขาดจากสามีภริยากัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 325/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอยู่แยกกันเนื่องจากเหตุผลทางการแพทย์ ไม่ถือเป็นการขาดจากกัน
ภริยามีโรคประจำตัวไม่สามารถนอนร่วมกับสามีได้ จึงต่างคนต่างอยู่มาประมาณ 30 ปีเพียงเท่านี้ ไม่ถือว่าขาดจากสามีภริยากัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2483

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้สินสามีภริยาหลังหย่า: เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ภริยาไม่ได้
หนี้สินที่เกิดขึ้นในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ถ้าเจ้าหนี้ฟ้องเรียกจากสามีแต่ผู้เดียว เมื่อสามีภริยาได้หย่าขาดจากกันแล้วเจ้าหนี้จะยึดทรัพย์ของภริยาด้วยไม่ได้ อ้างฎีกาที่ 503 - 504 / 2466 และฎีกาที่ 97/

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการยึดสินบริคณห์ของเจ้าหนี้เมื่อสามีภริยาทำหนี้ร่วมกัน หรือแยกกัน
บุตร์ชนะความมารดาเลี้ยงแล้วยึดสินบริคณห์ส่วนของมารดาเลี้ยงแล้ว บิดาร้องขัดทรัพย์นั้นไม่เป็นคดีอุทลุม หนี้ที่ภริยาทำนิติกรรมในระหว่างเป็นภริยาแล้วโดยสามีรู้เห็นยินยอม เจ้าหนี้ก็มีสิทธิ์ยึดสินบริคณห์ส่วนของภริยาได้เช่นเดียวกันทั้งสองกรณี โจทก์ยื่นคำร้องยึดทรัพย์และยื่นคำร้องขอแยกสินบริคณห์ส่วนของภริยาสามีร้องขัดทรัพย์ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิ์ยึดสินบริคณห์ ศาลสั่งให้ดำเนินคดีเรื่องขัดทรัพย์ก่อนเรื่องแยกสินบริคณห์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมร่วม สินสมรส และผลของการที่พินัยกรรมของฝ่ายหนึ่งไม่สมบูรณ์
สามีภริยาต่างทำพินัยกรรม์กันคนละฉะบับมีข้อความตรง+ยกทรัพย์ 2 อย่างอันเป็นสินสมรสระหว่างกันให้แก่บุคคล 3 แต่พินัยกรรม์ฉะบับของสามีไม่สมบูรณ์เพราะเหตุ+พะยานผู้ลุกนั่งตามกฎหมายดังนี้ เมื่อสามีตาย+ภริยา ภริยาย่อมได้รับมฤดกของสามีตามกฎหมายและเมื่อภริยาตายทรัพย์ทั้งหมดตกทอดไปตามพินัยกรรม์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลักใช้ทุนในสินสมรสเมื่อขาดไป โดยไม่ต้องฟ้องแย้ง
เมื่อทนของคู่สมรสขาดไป ต้องนำสินสมรสมาผลักใช้ทุนจะเป็นสินสมรสที่เกิดขึ้นเพราะนำทุนมาจำหน่ายหรือโดยทางอื่นได้ใดก็ดี และในกรณีเช่นนี้ผู้ขอให้หักสินสมรสเช่นนี้ไม่ต้องฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: สัญญาประนีประนอมระหว่างสามีภริยา ต้องให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องอำนาจศาล
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าบันทึกข้อตกลงสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดเป็นสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างที่โจทก์และจำเลยเป็นสามีภริยากัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 ซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้น จึงไม่รับฟ้อง เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด คำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาให้เป็นที่สุด ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาหามีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4404/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าต้องพิสูจน์เจตนาละทิ้งร้างอย่างชัดเจน การกลับมาพักอาศัยชั่วคราวแสดงเจตนาที่จะอยู่กินต่อไป
การทิ้งร้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4) นั้น จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าคู่ความนั้นจงใจทิ้งร้างไปในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง โดยไม่ประสงค์ที่จะอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาอีกต่อไป เป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่า 1 ปี จำเลยออกไปจากบ้านตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2555 แต่จำเลยกลับมาพักอยู่กับโจทก์ระหว่างวันที่ 11 ถึง 15 กันยายน 2555 อีก จึงยังไม่เกินกว่ากำหนดเวลา 1 ปี และย่อมแสดงว่า จำเลยยังประสงค์จะอยู่กินกับโจทก์ต่อไป แต่โจทก์เป็นฝ่ายเปลี่ยนกุญแจบ้านไม่ให้จำเลยเข้าไปอยู่ในบ้าน และไม่ยอมพูดคุยกับจำเลยเพื่อปรับความเข้าใจ ในขณะที่จำเลยยอมโทรศัพท์ขอโทษมารดาโจทก์และยอมรับผิดกับมารดาโจทก์ มารดาจำเลยก็ไม่ต้องการให้โจทก์จำเลยหย่ากัน โดยนัดโจทก์และมารดาโจทก์มาพูดคุย แต่มารดาโจทก์ก็ไม่ยอมช่วย และบอกว่าโจทก์กับจำเลยต้องแยกกันอยู่ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยยังมีเยื่อใยต่อโจทก์ ต้องการอยู่กับโจทก์ต่อไป จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ หรือกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง อันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4) และ (6)
การที่จำเลยแสดงอาการไม่ต้อนรับ ไม่พูดคุยกับมารดาโจทก์ ทั้งไม่แสดงความคิดเห็นใด ๆ ในการที่มารดาโจทก์มาพักอาศัยอยู่กับโจทก์นั้น เป็นเพียงพฤติการณ์หรือการกระทำที่ไม่เหมาะสมของจำเลยเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการทรมานจิตใจโจทก์อย่างร้ายแรงอันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13600/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในเช็ค: ผู้ลงลายมือชื่อเท่านั้นที่ต้องรับผิด แม้เป็นสามีภริยาหรือมีหนี้ร่วมกัน
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย จึงต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ย นับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900, 914 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง และมาตรา 224 วรรคหนึ่ง แต่ในส่วนของจำเลยที่ 2 นั้น เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกให้ชำระเงินตามเช็ค แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็ค ในอันที่จะต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่องตั๋วเงิน จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค ไม่ว่าจำเลยที่ 2 เป็นสามีภริยากันตามกฎหมายและจะเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาหรือไม่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2731/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นผู้จัดการมรดก ความสัมพันธ์ฉันสามีภริยา และสิทธิในทรัพย์สินที่ทำมาหากัน
เอกสารสำคัญประจำตัวเด็กชาย ว. ทั้งตามสูติบัตรและสำเนาทะเบียนบ้าน อันเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นอันต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 กับทะเบียนนักเรียนและหนังสือรับรองของโรงเรียนสาธิตอุดมศึกษา ล้วนระบุว่าเด็กชาย ว.เป็นบุตรของผู้ตาย เช่นนี้ เชื่อว่าผู้ตายได้มอบหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ตายประกอบการขอออกสูติบัตรของเด็กชาย ว. พนักงานเจ้าหน้าที่จึงได้ระบุชื่อผู้ตายเป็นบิดา อันเท่ากับเป็นการยอมรับว่าเด็กชาย ว. เป็นบุตรและยินยอมให้ใช้ชื่อสกุลแล้วนั่นเอง แม้ไม่มีหนังสือยินยอมแยกต่างหากก็ตาม พฤติการณ์ของผู้ตายที่เลี้ยงดูผู้คัดค้านที่ 1 กับเด็กชาย ว.และยินยอมให้เด็กชาย ว. ใช้ชื่อสกุลของผู้ตายอย่างเปิดเผยแก่บุคคลทั่วไปย่อมเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าเป็นการรับรองว่าเด็กชาย ว. เป็นบุตรของผู้ตายแล้ว ส่วนหลักฐานที่แสดงว่าเด็กหญิง ม. และเด็กหญิง ฐ.เป็นบุตรของผู้ตายก็ปรากฏชัดตามสูติบัตรอันเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 ทั้งในการแจ้งเกิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีเอกสารประกอบคำขอทั้งสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้คัดค้านที่ 2 และผู้ตายกับหนังสือยินยอมให้ใช้ชื่อสกุลของผู้ตาย อันเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าผู้ตายรับว่าเด็กหญิง ม. และเด็กหญิง ฐ.เป็นบุตรของตนและยินยอมให้ใช้ชื่อสกุลด้วยความเต็มใจและอย่างเปิดเผย ถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่รับรองว่าเด็กหญิง ม. และเด็กหญิง ฐ. เป็นบุตรผู้ตาย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเด็กชาย ว. เด็กหญิง ม. และเด็กหญิง ฐ.เป็นบุตรนอกกฎหมายที่ผู้ตายได้รับรองแล้ว จึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627, 1629 (1) ดังนั้น ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชาย ว. และผู้คัดค้านที่ 2 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง ม. และเด็กหญิง ฐ. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในอันที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713
หลังจากผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 4 จดทะเบียนหย่า ผู้ตายและผู้คัดค้านที่ 4 ยังคงอยู่กินกันฉันสามีภริยาและมีบุตรด้วยกันอีก 6 คน โดยผู้คัดค้านที่ 8 ซึ่งเป็นบุตรคนสุดท้องนั้น ย่อมเป็นข้อสนับสนุนว่า ผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 4 มิได้ถือเอาทะเบียนสมรสเป็นสาระสำคัญของความผูกพันเป็นสามีภริยากัน ทั้งความสัมพันธ์ของบุคคลในการอยู่กินกันและทำมาหาได้ร่วมกันซึ่งทรัพย์สินนั้น หาใช่ว่าบุคคลทั้งสองจะต้องอยู่ร่วมกันในบ้านเดียวกันตลอดเวลาและต้องกระทำสิ่งต่างๆ ร่วมกันในทุกเรื่องทุกราวเสมอไป แม้หากฝ่ายหนึ่งต้องออกไปทำงานนอกบ้านแสวงหาทรัพย์สินเพื่อสร้างฐานะความเป็นอยู่ให้แก่ครอบครัวตามความรู้ความสามารถ ส่วนอีกฝ่ายเพียงทำหน้าที่คอยดูแลบ้านให้มีระเบียบเรียบร้อยและเลี้ยงดูบุตรอย่างไม่บกพร่อง รวมทั้งการให้คำปรึกษาหารือ ส่งเสริมสนับสนุนให้กำลังใจเป็นห่วงเป็นใยและแบ่งปันความทุกข์สุขซึ่งกันและกัน ย่อมเรียกได้ว่าเป็นการอยู่ร่วมกันและช่วยกันทำมาหาได้ซึ่งทรัพย์สินแล้ว ภายหลังผู้คัดค้านที่ 4 ให้กำเนิดผู้คัดค้านที่ 8 ทั้งผู้ตายและผู้คัดค้านที่ 4 ต่างมิได้มีคู่สมรสใหม่ หากแต่ยังคงร่วมกันเลี้ยงดูบุตรทั้ง 7 คน อย่างไม่มีข้อบกพร่องตลอดมา ย่อมบ่งชี้ว่าผู้ตายและผู้คัดค้านที่ 4 ยังคงมีความสัมพันธ์กันฉันสามีภริยาเช่นเดิม ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่ 4 อยู่กินกับผู้ตายจนถึงวันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านที่ 4 จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธ์รวมในทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกับผู้ตายและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
of 24