คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2477

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนของเครื่องหมายการค้า ต้องดูความคล้ายคลึงในภาพรวมและการใช้จริง รวมถึงประเภทสินค้าและสภาพตลาด
หลักวินิจฉัย คดีพิพาทเรื่องเครื่องหมาย+ขอจดทะเบียนไม่ใช่วินิจฉัยแต่เพียงว่าเครื่องหมายทั้งสองจะต้องเหมือนกันทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ต้องวินิจฉัย+เครื่องหมายนั้นชวนให้เห็นเป็นลักษณทำนองเดียวกัน และเมื่อเทียบเคียงแล้วมีลักษณแตกต่างกันบ้างจะชี้ขาด+ไม่เหมือนกันไม่ได้ ต้องเทียบให้เห็นลักษณในเวลาใช้ตามปกติโดยสุจริตประกอบกับประเภทสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้น+สภาพแห่งท้องตลาด พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ + บังคับยี่ปุ่นเป็นคู่ความฎีกาได้ฉะเพาะปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าสินค้าเป็นของผู้อื่น
เลี่ยนเครื่องหมายการค้าขายซึ่งทำให้คนหลงเชื่อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้ามีลักษณะบ่งเฉพาะ แม้มีคำทั่วไป หากรูปภาพโดดเด่นและสื่อถึงความแตกต่างของสินค้า
เครื่องหมายการค้า ของโจทก์ประกอบด้วย 2 ภาคส่วน คือ ส่วนรูปประดิษฐ์ซึ่งตรงกลางมีอักษรประดิษฐ์คำว่า Rasasi และส่วนอักษรโรมันคำว่า Rasasi การพิจารณาลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้าต้องพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมของทั้งเครื่องหมาย เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ประกอบด้วย 2 ภาคส่วน จึงต้องพิจารณาทั้งสองภาคส่วน แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่า Rasasi อยู่ 2 ตำแหน่ง ก็หาได้หมายความว่า Rasasi จะสำคัญกว่าภาคส่วนที่เป็นรูปประดิษฐ์ การพิจารณาลักษณะบ่งเฉพาะโดยมุ่งเน้นแต่คำว่า Rasasi เพียงส่วนเดียวจึงยังไม่ครบถ้วน เมื่อเครื่องหมายการค้าดังกล่าวประกอบด้วยรูปประดิษฐ์ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นแตกต่างจากรูปประดิษฐ์ของบุคคลอื่น และมีคำว่า Rasasi ซึ่งมีความหมายว่า สีเทาหรือสีตะกั่วอันไม่ใช่คำหรือข้อความที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าน้ำหอมหรือเครื่องสำอางตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ 768528 โดยตรง ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้าดังกล่าวของโจทก์ย่อมทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าของโจทก์ดังกล่าวแตกต่างจากของบุคคลอื่น เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง (2)
การที่โจทก์เคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามาครั้งหนึ่งแล้วและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่รับจดทะเบียน โจทก์มิได้ฟ้องคดีต่อศาลแต่นำเครื่องหมายการค้าเดิมมายื่นขอจดทะเบียนต่อจำเลยอีก โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เพราะนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในการขอจดทะเบียนครั้งหลัง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเพราะโจทก์ยังไม่เคยเสนอคดีต่อศาลเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าตามคำฟ้องคดีนี้มาก่อน
เมื่อคำว่า Rasasi เป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) ทั้งคำดังกล่าวมิใช่สิ่งที่ใช้กันสามัญในการขายสินค้าน้ำหอมหรือเครื่องสำอางในอันที่โจทก์จะต้องแสดงปฏิเสธไม่ขอถือสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้คำดังกล่าวในการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 17 นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจึงไม่อาจสั่งให้โจทก์ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ 768528 แสดงปฏิเสธไม่ขอถือสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมันคำว่า Rasasi ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาองค์ประกอบรวม โดยเน้นลักษณะเด่นและเสียงเรียกขาน รวมถึงสินค้าและช่องทางการจำหน่าย
แม้การพิจารณาความเหมือนหรือคล้ายกันของเครื่องหมายการค้านั้นต้องพิจารณาภาคส่วนทั้งหมดอันเป็นองค์ประกอบรวมของเครื่องหมายการค้าก็ตาม แต่ก็ต้องให้ความสำคัญกับภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญหรือลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้ายิ่งกว่าภาคส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ ให้ความสำคัญในส่วนของเสียงเรียกขานว่าคล้ายคลึงกันเพียงใด ต้องพิจารณาถึงสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นว่าเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันแต่มีลักษณะอย่างเดียวกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันนั้นหรือไม่ รวมทั้งต้องพิจารณาถึงสาธารณชนผู้ใช้สินค้าว่าเป็นกลุ่มเดียวกันและสินค้าดังกล่าวมีช่องทางการจำหน่ายเดียวกันหรือไม่ประกอบกันด้วย
เครื่องหมายการค้าของโจทก์แม้จะมีภาคส่วนที่เป็นรูปบางส่วนของโลกที่มีแผนที่ประกอบและมีภาพบางส่วนของดวงอาทิตย์ส่องแสงกับคำว่า EARTH & SUN แต่ภาพดังกล่าวไม่ใช่ลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าเพราะภาพโลกและดวงอาทิตย์มีลักษณะเป็นพื้นรองรับตัวอักษรขนาดใหญ่คำว่า ES ซึ่งเป็นลักษณะโดดเด่นของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ส่วนคำว่า EARTH & SUN ที่ปรากฏในเครื่องหมายมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับตัวอักษรคำว่า ES และวางอยู่ที่มุมด้านล่างข้างซ้าย จึงไม่ใช่สิ่งที่ทำให้สาธารณชนจดจำได้ ดังนั้นภาคส่วนที่เป็นภาพโลก ดวงอาทิตย์ และคำว่า EARTH & SUN จึงไม่ใช่ภาคส่วนที่เป็นลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้า แม้ภาคส่วนดังกล่าวจะแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านแต่เมื่อไม่ใช่ภาคส่วนที่เป็นลักษณะเด่นจึงไม่ถึงกับทำให้รับฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่คล้ายกับของผู้คัดค้าน และเมื่อพิจารณาในส่วนที่เป็นอักษรคำว่า ES ซึ่งอยู่กึ่งกลางของเครื่องหมายจึงเป็นส่วนที่เด่นที่สุดทั้งมีขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาใช้คำดังกล่าวเป็นภาคส่วนที่เป็นลักษณะเด่นของเครื่องหมายเพื่อให้สาธารณชนจดจำได้ ส่วนเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านมีอักษรคำว่า GS ขนาดใหญ่อยู่กึ่งกลางของเครื่องหมาย จึงเป็นภาคส่วนที่เป็นลักษณะเด่นของเครื่องหมายเช่นเดียวกับคำว่า ES ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว เห็นได้ว่ามีอักษรที่แตกต่างกันเพียงอักษรเดียว ทั้งรูปลักษณะการเขียนอักษรตัว E ในเครื่องหมายของโจทก์ก็เขียนในลักษณะเดียวกันและมีความคล้ายกับการเขียนอักษรตัว G ในเครื่องหมายของผู้คัดค้านอย่างมาก นอกจากนี้เสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์คล้ายกับของผู้คัดค้านด้วย เมื่อพิจารณาถึงจำพวกสินค้าและรายการสินค้าที่โจทก์นำมาจดทะเบียนซึ่งเป็นแบตเตอรี่เช่นเดียวกับสินค้าตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้าน สาธารณชนผู้ใช้สินค้าเป็นผู้ใช้รถยนต์เช่นเดียวกัน ช่องทางจำหน่ายสินค้าเป็นสถานที่เดียวกัน ย่อมทำให้สาธารณชนผู้ใช้สินค้าแบตเตอรี่รถยนต์สับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าว่าเป็นของโจทก์หรือผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6610/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของผู้ขนส่งสินค้าเมื่อเกิดความเสียหายต่อสินค้าที่ขนส่ง โดยไม่มีสัญญารับประกันภัย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าของผู้เอาประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 และที่ 4 มอบหมายให้จำเลยที่ 5 ขับรถบรรทุกขนส่งสินค้าให้ผู้เอาประกันภัยและด้วยความประมาทของจำเลยที่ 5 เป็นเหตุให้สินค้าของผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียหายความรับผิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงเป็นความรับผิดในเหตุแห่งละเมิด เมื่อโจทก์รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องเรียกร้อง จึงต้องพิจารณาจากสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 แม้จำเลยที่ 1 จะมีสัญญารับส่งสินค้าตามเอกสารหมาย จ. 9 ที่มีข้อจำกัดความรับผิดระหว่างผู้เอาประกันภัยกับจำเลยที่ 1 แต่ระหว่างผู้เอาประกันภัยกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ได้มีข้อสัญญารับส่งสินค้าต่อกัน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่อาจยกเอาสัญญาดังกล่าวขึ้นต่อสู้กับผู้เอาประกันภัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18407/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายสินค้าและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 มาตรา 44 และมาตรา 45 นั้น ผู้ขนส่งและผู้ขนส่งอื่นต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันเป็นผลจากการที่ของซึ่งได้รับมอบจากผู้ส่งของเสียหายโดยเหตุแห่งความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างที่ของนั้นอยู่ในความดูแลของตน จึงไม่ใช่ต้องรับผิดเพียงเฉพาะมูลค่าสินค้าที่เสียหาย แต่ยังต้องรับผิดถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ผู้รับตราส่งได้รับจากผลแห่งความเสียหายของสินค้าด้วย ค่าภาษีศุลกากรและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์จำเป็นต้องจ่ายในการนำเข้าสินค้า เมื่อสินค้าเสียหายทำให้โจทก์เสียหายไม่อาจใช้ประโยชน์ได้ โจทก์ไม่อาจนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาคิดเป็นต้นทุนในการขายสินค้าเพื่อให้ได้ทุนคืน และโจทก์เสียโอกาสในการขายให้ได้กำไร ดังนั้น ค่าใช้จ่ายดังกล่าวรวมทั้งค่าขาดกำไรย่อมเป็นความเสียหายที่เป็นผลจากความเสียหายของสินค้าที่จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9797/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องกรณีสินค้ามีเครื่องหมายการค้าปลอม และการแสดงฉลากไม่ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
แม้ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มีบทบัญญัติในมาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 บัญญัติให้เฉพาะการเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเท่านั้นเป็นความผิดอาญา โดยมิได้คุ้มครองสิทธิของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรที่จะดำเนินคดีอาญาแก่ผู้เสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวปลอมดังเช่นบทบัญญัติใน ป.อ. มาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 ซึ่งออกมาใช้บังคับก่อน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ให้ความคุ้มครองไว้ กรณีก็ไม่อาจถือได้ว่าบทบัญญัติใน ป.อ. ดังกล่าวขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และเมื่อ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 3 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ยกเลิกเฉพาะ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 และ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2504 เท่านั้น ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 มิได้ถูกยกเลิกด้วย
สินค้าและภาชนะบรรจุสินค้าของกลางมีเครื่องหมายการค้าคำว่า ประกอบอยู่ด้วย ส่วนคำอื่นที่ประกอบเพิ่มเติมมีขนาดเล็กจนมองแทบไม่เห็นความแตกต่าง แสดงว่าสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้ามีคำว่า เช่นเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม และเครื่องหมายการค้าที่ตัวผลิตภัณฑ์ใช้เครื่องหมายการค้าแตกต่างจากที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ แม้ป้ายหุ้มห่อผลิตภัณฑ์ใช้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยกับพวกร่วมกันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ แต่ไม่มีฉลากสินค้าแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้ผลิตสินค้าที่จะเป็นองค์ประกอบเพิ่มเติมให้ประชาชนผู้บริโภคหรือผู้ซื้อสินค้าสามารถแยกความแตกต่าง จึงมีโอกาสที่จะทำให้ประชาชนผู้ซื้อสินค้าหลงเชื่อไปได้ว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมหรือโจทก์ร่วมมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย อันส่อให้เห็นเจตนาไม่สุจริตว่าประสงค์จะใช้หรือแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ถือได้ว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วนอกราชอาณาจักร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5257/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้รับประกันภัยในความเสียหายของสินค้า การคิดค่าเสียหายตามน้ำหนักและอัตราแลกเปลี่ยน
บริษัท ท. ผู้ส่งและผู้รับตราส่งมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยผู้ขนส่งตามสัญญารับขนได้ในเบื้องต้นคือ ค่าเสียหายตามจำนวนเงินค่าสินค้า 34,111.79 ยูโร และค่าเสียหายอื่นตามค่าใช้จ่ายอันจำเป็นและสมควร โจทก์ผู้รับประกันภัยได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องจากจำเลย ซึ่งย่อมไม่มีสิทธิเรียกมากไปกว่าสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อจำเลยอยู่แต่เดิม แม้โจทก์จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโดยคิดตามมูลค่าการประกันภัยที่ตกลงกันไว้กับผู้เอาประกันภัยเป็นจำนวนสูงกว่าราคาสินค้าด้วยการรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เข้าไว้ด้วยกันก็ตาม ก็เป็นความผูกพันกันเฉพาะระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัยเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันต่อจำเลยที่ต้องถือว่าค่าเสียหายเป็นไปตามจำนวนที่โจทก์รับประกันภัยเสมอไปแต่อย่างใด ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้เท่าที่ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลย จากพยานหลักฐานในสำนวนที่พอเห็นได้คือ ค่าขนส่งที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องออกค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้านี้นอกเหนือจากราคาสินค้าที่คิดราคาตาม Incoterms FOB แต่ตามพยานหลักฐานของโจทก์ไม่ได้นำสืบถึงจำนวนเงินค่าขนส่งไว้ให้เห็นได้แน่นอน ในกรณีเช่นนี้เมื่อเห็นว่าค่าขนส่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายด้วย จึงเห็นสมควรกำหนดให้เป็นเงิน 3,400 ยูโร ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นนอกจากนี้โจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏว่ามีอีกแต่อย่างใดจึงไม่กำหนดให้ โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโดยคิดคำนวณเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ระบุไว้ในสัญญาประกันภัย 1 ยูโร เท่ากับ 52.7575 บาท ย่อมต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนเดียวกันนี้ในการคิดคำนวณค่าเสียหายเป็นเงินบาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19144/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและการขายสินค้าหลีกเลี่ยงภาษีเป็นความผิดต่างกรรมกัน
การที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายเครื่องปรับอากาศของกลาง 250 เครื่อง ที่ยังมิได้เสียภาษีสรรพสามิต และจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันปลอมเครื่องหมาย (สติกเกอร์) แสดงการเสียภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องปรับอากาศอันเป็นเอกสารราชการและนำเอกสารราชการปลอมดังกล่าวไปใช้ติดกับเครื่องปรับอากาศของกลางเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ ซึ่งมีองค์ประกอบความผิดที่แตกต่างกัน และเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัว ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดสองฐานก่อให้เกิดผลที่ต่างกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9240/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ลักษณะบ่งเฉพาะ รูปร่าง/รูปทรงสินค้า ไม่สามารถคุ้มครองหากไม่โดดเด่นและแยกจากสินค้าทั่วไปได้
รูปร่างหรือรูปทรงของเครื่องยนต์ของโจทก์ที่ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุนั้น แม้โจทก์จะกล่าวอ้างและนำสืบว่าโจทก์ได้ประดิษฐ์โดยออกแบบให้มีเอกลักษณ์โดดเด่นในตัวแตกต่างจากเครื่องยนต์ประเภทเดียวกันของผู้อื่นมาก ทั้งอุปกรณ์แต่ละชิ้นใช้สีที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากสีเครื่องยนต์ของผู้อื่น ซึ่งโจทก์ใช้สีเช่นนี้ตั้งแต่ปี 2526 ตลอดมาจนปัจจุบัน แต่เมื่อพิจารณาภาพเครื่องยนต์ของโจทก์เปรียบเทียบกับภาพเครื่องยนต์ของผู้อื่นอีก 5 ราย เห็นว่า ลำพังรูปร่างหรือรูปทรงหรือลักษณะของเครื่องยนต์ของโจทก์และของผู้อื่นเหล่านี้ หากไม่ติดชื่อหรือเครื่องหมายการค้า หรือใช้สีแตกต่างกันย่อมไม่อาจทำให้ผู้ซื้อทั่วไปใช้เป็นที่สังเกตแยกได้ว่า เครื่องยนต์เครื่องใดเป็นของเจ้าของรายใด และชื่อก็ดี เครื่องหมายการค้าก็ดี รวมทั้งสี่ที่มีการใช้แตกต่างกันนั้นไม่อาจถือได้ว่าเป็นรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุและไม่ได้ใช้เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุที่โจทก์ขอจดทะเบียน จึงเห็นได้ว่าลำพังลักษณะรูปร่างเครื่องยนต์ของโจทก์ซึ่งมีลักษณะเหมือนเครื่องยนต์ของผู้อื่นทั่วไปไม่มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษ บุคคลทั่วไปเห็นแล้วก็มีแต่จะนึกถึงลักษณะของสินค้าเครื่องยนต์ประเภทนี้เท่านั้น การที่โจทก์ใช้สีที่อ้างว่ามีลักษณะเฉพาะและใช้มานานไม่เปลี่ยนแปลงก็อาจจะเป็นสิ่งที่บุคคลใช้เป็นที่สังเกตแยกแยะ ทั้งที่สีนี้ไม่ใช่ส่วนที่เป็นเครื่องหมายรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ นอกจากนี้ยังเห็นว่าเครื่องยนต์ของโจทก์ใช้เครื่องหมายคำว่า HONDA ติดอยู่ ไม่ปรากฏว่าโจทก์นำเครื่องยนต์รุ่นนี้ออกจำหน่ายโดยไม่ใช้เครื่องหมายคำว่า HONDA จึงน่าเชื่อว่า โจทก์ประสงค์จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปร่างหรือรูปทรงของเครื่องยนต์ดังกล่าวเพียงเพื่อใช้หวงกันไม่ให้ผู้อื่นผลิตเครื่องยนต์ที่มีลักษณะคล้ายของโจทก์ได้ตลอดไปในฐานะเป็นเครื่องหมายการค้าอันเป็นการจำกัดสิทธิของบุคคลอื่นมากเกินสมควร และเห็นได้ว่าเครื่องหมายที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 ส่วนที่บางประเทศรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ให้โจทก์ก็ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและรายละเอียดของกฎหมายของแต่ละประเทศ ไม่เป็นเหตุผลให้ควรรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้แก่โจทก์
of 25