พบผลลัพธ์ทั้งหมด 231 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20106/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความคิดเห็นโต้ตอบเพื่อปกป้องชื่อเสียงและส่วนได้เสียของตนเอง ไม่เข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด โจทก์เคยเป็นประธานทอดกฐิน โจทก์ จำเลย บุคคลที่เกี่ยวข้องกับวัดและกรรมการของวัดขัดแย้งกันเกี่ยวกับเรื่องการเงินของวัดแยกออกเป็นหลายฝ่าย และกล่าวหาอีกฝ่ายยักยอกเงินของวัดจนมีการฟ้องคดีต่อศาล โจทก์เขียนข้อความกล่าวหาจำเลยว่าเคยบวชพระและมีประวัติเป็นอลัชชียักยอกเงินของวัด ไม่มีความละอายต่อบาป และเขียนป้ายประกาศติดไว้ที่หน้าวัดห้ามจำเลยเข้าบริเวณวัดและจำเลยยักยอกเงินของวัด ซึ่งเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยเป็นคนโกง เป็นคนไม่ดี การที่จำเลยเขียนหนังสือ และแจกจ่ายหนังสือถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวัดเป็นทำนองตอบโต้โจทก์ เนื่องจากจำเลยเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด และได้รับผลกระทบทำให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง การแสดงข้อความของจำเลยเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมที่จะป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมตาม ป.อ. มาตรา 329 (1) จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18297-18298/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนสิทธิบัตร: ผู้มีส่วนได้เสียต้องใช้สิทธิขอตรวจสอบก่อนฟ้อง และต้องแสดงให้เห็นถึงการถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง
กระบวนการใช้สิทธิขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรเป็นกระบวนการทางเลือก หากบุคคลผู้มีส่วนได้เสียเลือกที่จะใช้สิทธิยื่นขอให้มีการตรวจสอบความสมบูรณ์ของอนุสิทธิบัตรตามมาตรา 65 ฉ แล้ว ย่อมต้องผูกพันในกระบวนการที่ตนเลือกใช้สิทธิและไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องศาลจนกว่ากระบวนการดังกล่าวจะสิ้นสุดและนำคดีขึ้นสู่ศาลตามมาตรา 72 และ 74 และไม่อาจนำเรื่องเดียวกันมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรดังกล่าวได้อีก เพราะหากนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องร้องได้อีกก็จะมีผลเท่ากับเป็นการอนุญาตให้มีการพิสูจน์สิทธิในเรื่องเดียวกันซ้ำซ้อน
โจทก์ที่ 1 ยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ของจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 2 ก็ยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์โจทก์ที่ 1 แสดงว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 อาจเป็นการประดิษฐ์ที่มีข้อถือสิทธิและรูปลักษณะของสิ่งประดิษฐ์ที่เหมือนกันหรือคล้ายกันที่อาจทำให้แต่ละฝ่ายเสื่อมเสียสิทธิในการแสวงหาประโยชน์อันเนื่องมาจากอีกบุคคลหนึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรโดยตรง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ที่มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 65 ทวิ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 ฉ โจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ได้ โจทก์ที่ 1 ต้องรอให้กระบวนการตรวจสอบพิสูจน์การประดิษฐ์ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรว่ามีลักษณะตามที่กำหนดไว้ตามมาตรา 65 ทวิ หรือไม่ ตามที่โจทก์ที่ 1 ใช้สิทธิเลือกให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงจะนำคดีฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้พิจารณาคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการสิทธิบัตรตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 72 และ 74 เมื่อปรากฏว่าในขณะยื่นฟ้องยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบของจำเลยที่ 1 เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 แจ้งผลการตรวจสอบของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้โจทก์ที่ 1 ทราบ และโจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาต่อคณะกรรมการสิทธิบัตร คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่ 1 ที่จะนำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ได้อีก โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 2 บรรยายฟ้องโดยไม่ปรากฏรายละเอียดพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องเสื่อมเสียสิทธิในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์ที่โจทก์ที่ 2 มีอยู่โดยตรง และเป็นการโต้แย้งสิทธิในการใช้ประโยชน์จากการประดิษฐ์ที่โจทก์ที่ 2 อ้างในคำฟ้อง หากจะฟังว่าคำฟ้องของโจทก์ที่ 2 เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรก็ย่อมไม่เพียงพอที่จะถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 แม้โจทก์ที่ 2 จะอ้างความไม่สมบูรณ์ของอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 เนื่องจากขาดความใหม่ตามมาตรา 65 ทวิ และกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ร้องทุกข์กล่าวหาว่าโจทก์ที่ 2 ละเมิดอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ที่ 2 ถูกยึดและขัดขวางการจำหน่าย ผลิตซึ่งเครื่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลยที่ 2 มาด้วยก็ตาม หากเป็นจริงก็เป็นเพียงทำให้โจทก์ที่ 2 อยู่ในฐานะบุคคลใด ๆ ที่จะกล่าวอ้างความไม่สมบูรณ์ขึ้นอ้างในกรณีที่จะถูกบังคับใช้สิทธิจากผู้ทรงสิทธิในอนุสิทธิบัตรดังกล่าวเท่านั้น ไม่ถึงขนาดที่จะทำให้มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรได้ คำฟ้องของโจทก์ที่ 2 ไม่ใช่คำฟ้องของบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่ได้ใช้สิทธิยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 65 นว วรรคสอง แต่เป็นการที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสำคัญ โดยอ้างเหตุการจดทะเบียนและออกอนุสิทธิบัตรให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ชอบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้ยื่นคำขอให้มีการตรวจสอบการประดิษฐ์ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรตามมาตรา 65 ฉ คำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเช่นกัน
โจทก์ที่ 1 ยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ของจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 2 ก็ยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์โจทก์ที่ 1 แสดงว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 อาจเป็นการประดิษฐ์ที่มีข้อถือสิทธิและรูปลักษณะของสิ่งประดิษฐ์ที่เหมือนกันหรือคล้ายกันที่อาจทำให้แต่ละฝ่ายเสื่อมเสียสิทธิในการแสวงหาประโยชน์อันเนื่องมาจากอีกบุคคลหนึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรโดยตรง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ที่มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 65 ทวิ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 ฉ โจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ได้ โจทก์ที่ 1 ต้องรอให้กระบวนการตรวจสอบพิสูจน์การประดิษฐ์ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรว่ามีลักษณะตามที่กำหนดไว้ตามมาตรา 65 ทวิ หรือไม่ ตามที่โจทก์ที่ 1 ใช้สิทธิเลือกให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงจะนำคดีฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้พิจารณาคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการสิทธิบัตรตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 72 และ 74 เมื่อปรากฏว่าในขณะยื่นฟ้องยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบของจำเลยที่ 1 เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 แจ้งผลการตรวจสอบของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้โจทก์ที่ 1 ทราบ และโจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาต่อคณะกรรมการสิทธิบัตร คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่ 1 ที่จะนำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ได้อีก โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 2 บรรยายฟ้องโดยไม่ปรากฏรายละเอียดพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องเสื่อมเสียสิทธิในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์ที่โจทก์ที่ 2 มีอยู่โดยตรง และเป็นการโต้แย้งสิทธิในการใช้ประโยชน์จากการประดิษฐ์ที่โจทก์ที่ 2 อ้างในคำฟ้อง หากจะฟังว่าคำฟ้องของโจทก์ที่ 2 เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรก็ย่อมไม่เพียงพอที่จะถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 แม้โจทก์ที่ 2 จะอ้างความไม่สมบูรณ์ของอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 เนื่องจากขาดความใหม่ตามมาตรา 65 ทวิ และกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ร้องทุกข์กล่าวหาว่าโจทก์ที่ 2 ละเมิดอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ที่ 2 ถูกยึดและขัดขวางการจำหน่าย ผลิตซึ่งเครื่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลยที่ 2 มาด้วยก็ตาม หากเป็นจริงก็เป็นเพียงทำให้โจทก์ที่ 2 อยู่ในฐานะบุคคลใด ๆ ที่จะกล่าวอ้างความไม่สมบูรณ์ขึ้นอ้างในกรณีที่จะถูกบังคับใช้สิทธิจากผู้ทรงสิทธิในอนุสิทธิบัตรดังกล่าวเท่านั้น ไม่ถึงขนาดที่จะทำให้มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรได้ คำฟ้องของโจทก์ที่ 2 ไม่ใช่คำฟ้องของบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่ได้ใช้สิทธิยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 65 นว วรรคสอง แต่เป็นการที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสำคัญ โดยอ้างเหตุการจดทะเบียนและออกอนุสิทธิบัตรให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ชอบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้ยื่นคำขอให้มีการตรวจสอบการประดิษฐ์ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรตามมาตรา 65 ฉ คำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8061/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเป็นคู่ความฝ่ายที่สามต้องมีส่วนได้เสียในมูลแห่งคดี การครอบครองปรปักษ์ไม่เชื่อมโยงกับคดีขับไล่
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทและเรียกค่าเสียหาย จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดร้องเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม แต่คำร้องของผู้ร้องสอดอ้างเพียงว่าผู้ร้องสอดครอบครองที่ดินบางส่วนโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทบางส่วนโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้ร้องสอดมิได้กล่าวอ้างว่า ผู้ร้องสอดมีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับจำเลยแต่อย่างใดที่จะถือว่าเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ข้ออ้างของผู้ร้องสอดเป็นกรณีที่ผู้ร้องสอดตั้งข้อพิพาทโต้แย้งกรรมสิทธ์ในที่พิพาทกับโจทก์ทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ผู้ร้องสอดมีสิทธิในที่พิพาทอยู่เพียงใดคงมีอยู่อย่างนั้น หากศาลพิพากษาขับไล่จำเลยย่อมไม่มีผลกระทบถึงสิทธิของผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในมูลแห่งคดี จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่ คำร้องของผู้ร้องสอดไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ผู้ร้องสอดจึงไม่มีสิทธิร้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของคู่สัญญาประกันภัย: การมีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันภัย
พฤติการณ์ที่โจทก์ซื้อรถยนต์จากบริษัทผู้ขายรถยนต์ซึ่งได้ทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยผู้รับประกันภัยก่อนโจทก์ชำระราคารถยนต์ โดยมีตัวแทนจำหน่ายของบริษัทผู้ขายรถเป็นผู้ชำระค่าเบี้ยประกันภัย และระบุชื่อโจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยเพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงในการซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์กับบริษัทผู้ขายรถยนต์ จำเลยย่อมทราบดีว่าโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันภัย จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างทนายความที่มีส่วนได้เสียทางการเงินเป็นโมฆะ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี
ข้อตกลงในสัญญาว่าจ้างทนายความที่ระบุว่า จำเลยทั้งเก้าตกลงให้ค่าจ้างจำนวนร้อยละ 10 ของจำนวนเงินค่าเสียหาย ดอกเบี้ย และผลประโยชน์ที่ได้รับนอกเหนือจากต้นเงินที่ซื้อขายที่ดิน... มีลักษณะเป็นข้อตกลงที่ให้ทนายความเข้าไปมีส่วนได้เสียในทางการเงินโดยตรงในผลของคดีที่รับว่าความ จึงไม่ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความถือว่าเป็นสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้จะปรากฏว่าตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 27 (3) (จ) และมาตรา 51 มิได้กำหนดให้การเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความของทนายความเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความเช่นเดียวกับ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2477 และ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2508 ก็มีผลเพียงว่าการทำสัญญาระหว่างทนายความและลูกความทำนองนี้ไม่เป็นการผิดมรรยาททนายความอันเป็นมูลให้ลงโทษตามมาตรา 52 เท่านั้น หามีผลทำให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งเก้าดังกล่าวซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนกลับมีความสมบูรณ์แต่อย่างใดไม่ สัญญาว่าจ้างทนายความระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งเก้าจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องสอด: ศาลวินิจฉัยสถานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อพิจารณาการมีส่วนได้เสียในคดีมรดก
การพิจารณาว่าจะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดหรือไม่ มีประเด็นต้องวินิจฉัย 2 ประเด็น คือ ประเด็นว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องมีอำนาจร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความได้หรือไม่ และประเด็นว่ากรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้เข้ามาในคดีได้หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ร้องมีส่วนได้เสียในคดีนี้ จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจร้องสอดของผู้ร้อง คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกคำร้องสอดหรือนอกประเด็น แม้คำวินิจฉัยที่ว่า ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบ ของเจ้ามรดกมีผลกระทบต่อสิทธิ ของโจทก์ในฐานะทายาทของเจ้ามรดก ซึ่งทำให้โจทก์มีสิทธิฎีกา ขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่ใช่ภริยาโดยชอบก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาสำคัญที่สมควรนำไปวินิจฉัย ในคดีที่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาโดยตรงของคดีเมื่อคดีนี้ผู้ร้องไม่ได้ ฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ที่ยกคำร้องสอด เพราะไม่เห็นสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดี ปัญหาในเรื่องการร้องสอดของผู้ร้องจึงยุติไปแล้ว การที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาข้อนี้ของโจทก์ ไม่ว่าวินิจฉัยในทางใดย่อมไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลล่าง ฎีกาข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ในคดีนี้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 219 วรรคสอง และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7386/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประกาศขายทอดตลาดและการมีส่วนได้เสียในทรัพย์สินบังคับคดี กรณีสินสมรส
ที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ปรากฏจากหลักฐานทางทะเบียนว่ามีชื่อจำเลยที่ 2 เท่านั้นเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ไม่มีชื่อจำเลยที่ 1 ปรากฏอยู่ด้วย ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ด้วยกึ่งหนึ่ง เนื่องจากเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีที่จะต้องแจ้งประกาศขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 1 ทราบ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งประกาศขายทอดตลาดแต่เฉพาะจำเลยที่ 2 ซึ่งมีชื่อตามทะเบียนในโฉนดที่ดินเพียงผู้เดียว จึงถือว่าได้แจ้งประกาศขายทอดตลาดชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 306 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7386/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประกาศขายทอดตลาด: เจ้าของกรรมสิทธิ์ตามโฉนด และผู้มีส่วนได้เสียที่แจ้งให้ทราบ
ที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ปรากฏจากหลักฐานทางทะเบียนว่ามีชื่อจำเลยที่ 2 เท่านั้นเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ไม่มีชื่อจำเลยที่ 1 ปรากฏอยู่ด้วย ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ด้วยกึ่งหนึ่งเนื่องจากเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีที่จะต้องแจ้งประกาศขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 1 ทราบ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งประกาศขายทอดตลาดแต่เฉพาะจำเลยที่ 2 ซึ่งมีชื่อตามทะเบียนในโฉนดที่ดินเพียงผู้เดียว จึงถือว่าได้แจ้งประกาศขายทอดตลาดชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 306 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการคัดค้านคดี: ผู้มีส่วนได้เสียต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นแห่งคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188 (4) ที่ว่า บุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้ถือว่าบุคคลเช่นนั้นเป็นคู่ความ มิได้หมายความว่า ถ้าใครมาคัดค้านจะเป็นคู่ความไปเสียทั้งหมด แต่คงหมายเฉพาะผู้คัดค้านที่จะคัดค้านได้เท่านั้น การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครกลับจดชื่อบริษัท ก. คืนเข้าสู่ทะเบียนเพื่อผู้ร้องจะได้ดำเนินการฟ้องบังคับชำระหนี้กับบริษัทดังกล่าวแทนบรรดาผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิ ประเด็นแห่งคดีมีอยู่เพียงว่า มีเหตุผลสมควรที่จะสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครกลับจดชื่อบริษัทดังกล่าวคืนเข้าสู่ทะเบียนหรือไม่ ผู้คัดค้านเป็นเพียงผู้มีสิทธิการเช่าอาคารซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของบริษัทดังกล่าวเท่านั้น มิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในมูลความแห่งคดี จึงไม่มีสิทธิร้องคัดค้านเข้ามาในคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเพิกถอนการบังคับคดี: ผู้ร้องต้องมีส่วนได้เสียโดยตรงในทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี
ผู้ร้องเป็นมารดาของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดตามประกาศยึดทรัพย์ แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าเดิมที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดมาเป็นของผู้ร้องที่ได้ยกให้แก่จำเลย และผู้ร้องได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำเลยไปแล้ว โดยจำเลยยินยอมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ถูกยึดคืนให้แก่ผู้ร้องก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะไปว่ากล่าวกันต่างหาก ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 280 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนหมายบังคับคดีและประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296