คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,449 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำพิพากษาในคดีล้มละลาย การบังคับคดีไม่ทำให้ระยะเวลาอายุความสะดุดหยุดลง
เจ้าหนี้ยึดทรัพย์จำนองที่จำเลยจำนองไว้เป็นประกันหนี้ออกขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา แต่ได้เงินไม่พอชำระหนี้ เมื่อหักยอดหนี้ที่ค้างชำระและคิดดอกเบี้ยจนถึงวันที่ขายทอดตลาดแล้ว จำเลยยังคงเป็นหนี้เจ้าหนี้รวมเป็นเงิน 96,551,833.69 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเจ้าหนี้จึงนำหนี้ที่ค้างชำระดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย เมื่อปรากฏว่าหนี้ดังกล่าว เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาในคดีแพ่งถึงที่สุดแล้วจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 แม้โจทก์จะได้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยโดยมีการยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดจนครบกำหนดสิบปีและได้เงินมาไม่พอชำระหนี้ก็ตาม แต่กำหนดเวลาให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271มิใช่อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องอันจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าหนี้มิได้บังคับคดีในหนี้ส่วนที่เหลือภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีแพ่งได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด เจ้าหนี้ย่อมหมดสิทธิบังคับในหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้อีกดังนั้นหนี้ของเจ้าหนี้จึงเป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ชำระบัญชีละเว้นการชำระภาษีอากรหลังเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีต้องรับผิดในหนี้ภาษี
จำเลยที่ 2 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2538 หลังจากที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินซึ่งจะต้องชำระภาษีอากรตามฟ้องเพียง 9 วัน จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 ควรจะต้องรู้ว่าการขายที่ดินดังกล่าวเป็นการขายเพื่อการค้าหรือหากำไร เพราะจำเลยที่ 1ซื้อที่ดินทั้งหมดมาในราคาประมาณ 7,000,000 บาท แต่ขายต่อไปในระยะเวลาประมาณ 6 เดือน เป็นเงินถึง 124 ล้านบาทเศษ ซึ่งการขายในลักษณะดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ภายหลังจากการขายที่ดินดังกล่าวในวันที่ 5 กันยายน 2538แล้วก็ได้มีการแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชีเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2538 และหลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็รีบไปจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ในวันที่ 20 กันยายน 2538 และไปจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2538 กรณีจึงน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2ได้รู้ว่าในการขายที่ดินดังกล่าวนี้ บริษัทจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชี และบริษัทจำเลยที่ 1 จึงได้ร่วมกับบริษัทจำเลยที่ 1 รีบจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1และรีบจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการชำระบัญชีของจำเลยที่ 2 ยังปรากฏว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ยังมีเงินสดเหลืออยู่อีกจำนวน 1,480,108.75บาท การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีได้แบ่งเงินที่เหลือดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกคนเฉลี่ยตามสัดส่วนของการถือหุ้น จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ.มาตรา 1269เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่นำเงินที่เหลือจำนวน 1,480,108.75 บาท ไปชำระหนี้ภาษีตามฟ้องให้แก่กรมสรรพากรโจทก์ก่อน จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 นับตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีในวงเงินไม่เกิน1,480,108.75 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7570/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็คหลายฉบับเพื่อชำระหนี้เดียวกัน ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้
แม้จำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมรวม 7 ฉบับ ในคราวเดียวกันและเช็คพิพาทลงวันที่เดียวกันเพื่อชำระหนี้ในมูลหนี้เดียวกันก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาออกเช็คเพื่อให้มีการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับแยกจากกันเป็นคนละส่วนคนละจำนวน เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช็คพิพาทแต่ละฉบับก็เป็นความผิดที่เกิดขึ้นต่างหากแยกจากกันได้โดยชัดเจนเป็นการเฉพาะของเช็คแต่ละฉบับ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7243/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คและการเป็นเจ้าของเงินในเช็ค กรณีผู้กู้เป็นหนี้ผู้ให้กู้
ผู้เสียหายเป็นหนี้เงินยืมจำเลยอยู่ประมาณ 390,000 บาทต่อมาผู้เสียหายกับจำเลยได้ตกลงแลกเปลี่ยนเครื่องพิมพ์กันครั้นถึงวันกำหนดส่งเครื่องพิมพ์จำเลยได้ให้พนักงานของจำเลยนำเครื่องพิมพ์ไปส่งให้แก่ผู้เสียหายที่โรงพิมพ์แต่ผู้เสียหายไม่ยอมรับเครื่องพิมพ์ของจำเลย เนื่องจากในวันเดียวกันนั้นผู้เสียหายได้ขายเครื่องพิมพ์ของผู้เสียหายที่จะแลกเปลี่ยนกับจำเลยให้แก่ ป. ในราคา 1,200,000 บาทต่อมาในวันเดียวกันจำเลยจึงไปที่โรงพิมพ์ของผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายและจำเลยเจรจาตกลงกันแล้ว ป. ได้สั่งจ่ายเช็คจำนวนเงิน 600,000 บาท ในนามจำเลยเป็นผู้รับเงินเพื่อเป็นค่าซื้อเครื่องพิมพ์ของผู้เสียหาย โดยมอบเช็คให้แก่จำเลย ส่วนเงินที่เหลืออีก 600,000 บาท ป.จะชำระให้แก่ผู้เสียหายในวันส่งมอบเครื่องพิมพ์พร้อมเอกสารสิทธิจำเลยได้นำเช็คที่ ป.สั่งจ่ายให้ไปเรียกเก็บเงินและได้รับเงินตามเช็คแล้ว เมื่อปรากฏว่าในการชำระค่าซื้อเครื่องพิมพ์ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายเป็นผู้สั่งให้ ป.สั่งจ่ายเช็คชำระค่าซื้อเครื่องพิมพ์มอบให้จำเลย เป็นการชำระหนี้เงินที่ผู้เสียหายได้ยืมจำเลยไป การมอบเช็คให้แก่จำเลยรับไปดังกล่าวจึงเป็นการชำระหนี้เงินยืมจำเลยผู้รับมอบเช็คจึงเป็นเจ้าของเช็คและเป็นผู้ทรงเช็คในฐานะผู้รับชำระหนี้โดยชอบ มิใช่ในฐานะผู้รับมอบเช็คแทนผู้เสียหายหรือผู้เสียหายเป็นเจ้าของร่วมในเช็คนั้นด้วยเมื่อจำเลยนำเช็คไปเรียกเก็บเงินและได้รับเงินตามเช็คแล้วเงินตามเช็คที่เรียกเก็บได้ย่อมเป็นของจำเลย ผู้เสียหายไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในเงินตามเช็คดังกล่าว และผู้เสียหายก็ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ฝากเงินตามเช็คที่จำเลยได้รับจากการเบิก เพราะผู้เสียหายมิได้ส่งมอบเงินให้แก่จำเลยเพียงแต่มีข้อตกลง ให้จำเลยมีหน้าที่จะต้องคืนเงินส่วนที่เหลือตามที่ผู้เสียหาย กล่าวอ้างให้แก่ผู้เสียหายเมื่อได้หักหนี้ยืมที่ผู้เสียหาย เป็นหนี้จำเลยแล้วเท่านั้น แม้จำเลยไม่คืนเงินส่วนที่เหลือ ตามที่ผู้เสียหายกล่าวอ้างและนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย ก็อาจเป็นเพียงเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6748/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าปรับและค่าจ้างเพิ่มหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การลดหนี้จากหนังสือค้ำประกัน
เจ้าหนี้ตกลงว่าจ้างให้ลูกหนี้ทำการก่อสร้างคลองส่งน้ำดาดคอนกรีต ท่อส่งน้ำถึงบ่อพักน้ำ บ้านพักพนักงานสูบน้ำ1 หลัง อาคารควบคุมระบบไฟฟ้าและโรงเก็บพัสดุ 1 หลังรั้วลวดหนามพร้อมประตูตาข่ายและป้ายชื่อสถานีฐานรองรับและท่อส่งน้ำ ณ สถานีสูบน้ำ กำหนดแล้วเสร็จภายใน250 วัน ลูกหนี้ได้รับการต่ออายุสัญญา 3 ครั้ง เป็นเวลา510 วัน ครบกำหนดส่งมอบงานในวันที่ 28 ตุลาคม 2532แต่ลูกหนี้ทำการก่อสร้างตามสัญญาไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์และไม่สามารถส่งมอบงานในวันที่ครบกำหนดดังกล่าว ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา ต่อมาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2536ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และเจ้าหนี้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาเข้าทำการก่อสร้างคลองส่งน้ำให้แล้วเสร็จตามสัญญาภายใน 15 วัน แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิเสธ ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาก่อสร้างตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122จนกระทั่งวันที่ 31 มกราคม 2537 เจ้าหนี้จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาก่อสร้างแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และในการที่ลูกหนี้ผิดนัดผิดสัญญา เจ้าหนี้มีสิทธิปรับลูกหนี้เป็นรายวันตามสัญญาวันละ 3,627 บาท นับแต่วันที่ 29ตุลาคม 2532 เป็นต้นไป แม้เหตุผิดนัดผิดสัญญาทำให้เจ้าหนี้ มีสิทธิรับชำระเงินค่าปรับเป็นรายวันจากลูกหนี้ซึ่งมีมาก่อน วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดก็ตาม แต่ตามสัญญาได้กำหนดให้ลูกหนี้ผู้ผิดนัดผิดสัญญาต้องเสียค่าปรับ แก่เจ้าหนี้เป็นรายวันทุกวันที่ยังผิดนัดผิดสัญญาอยู่ มูลหนี้ในเงินค่าปรับจึงเกิดขึ้นเป็นรายวัน ดังนี้ มูลหนี้ ในเงินค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาส่วนที่เกิดขึ้นภายหลัง วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สิน ของลูกหนี้ได้ เพราะฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 ตามสัญญาก่อสร้างฉบับพิพาทระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่าการที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น เพราะจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างได้เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก่อน ตราบใดที่เจ้าหนี้ยังไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเจ้าหนี้จะเรียกเอาเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะว่าจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างไม่ได้ การที่เจ้าหนี้เพิ่งบอกเลิกสัญญาเมื่อเวลาภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว มูลหนี้ในเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจึงเกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 94 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ เงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ในการที่ลูกหนี้ทำสัญญาก่อสร้างคลองส่งน้ำกับเจ้าหนี้ ลูกหนี้ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารจำนวนเงิน 362,610 บาท มอบให้เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาของลูกหนี้ เมื่อเจ้าหนี้บอกเลิกสัญญาแก่ลูกหนี้และในวันเดียวกันนั้นเจ้าหนี้ได้เรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันและธนาคารดังกล่าวได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันแก่เจ้าหนี้แล้วเป็นจำนวนเงิน362,610 บาท ดังนั้น สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าปรับเป็นรายวันจึงต้องลดลงตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้เงินค่าปรับรายวันโดยไม่หักจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน362,610 บาท จึงไม่ชอบปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 มาตรา 247 และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6602/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง: ศาลอุทธรณ์ตัดสินถูกต้องตามกฎหมาย แม้โจทก์อ้างยอดหนี้ไม่ตรงตามคำพิพากษาชั้นต้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองค้างชำระหนี้แก่โจทก์ นับถึงวันฟ้องคิดเป็นต้นเงิน 960,000 บาท และดอกเบี้ย 49,106.32 บาท รวมเป็นเงิน 1,009,106.32 บาทโจทก์อุทธรณ์ว่า นับถึงวันฟ้องจำเลยทั้งสองค้างชำระดอกเบี้ย 54,826.87 บาท เมื่อรวมกับต้นเงิน 960,000 บาท แล้ว เป็นเงินทั้งสิ้น 1,014,826.87 บาท ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าอุทธรณ์ของโจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าวให้ยกคำร้อง ดังนี้ คำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงหามีสิทธิฎีกาโต้แย้งปัญหาดังกล่าวอีกได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6525/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้บัตรเครดิต: สิทธิเรียกร้องเกิดจากการรับทำการงานต่าง ๆ มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันบอกกล่าวทวงถาม
โจทก์ประกอบธุรกิจมีวัตถุประสงค์ให้บริการแก่ลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์ในรูปของบัตรเครดิต โดยลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกสามารถนำบัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปใช้บริการ เบิกถอนเงินสดล่วงหน้าจากธนาคารโจทก์ได้ ซึ่งการให้บริการ ดังกล่าวโจทก์ได้เรียกเก็บเงินค่าบริการหรือค่าธรรมเนียม รายปีด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของ สมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลัง เป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป แม้จำเลย จะมีข้อตกลงให้โจทก์หักเงินที่โจทก์ได้จ่ายแทนจำเลยจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน โดยให้ถือว่ายอดหนี้ตามบัญชีเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ด้วย ก็เป็นเพียงข้อตกลงในการชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวเมื่อหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ตามสัญญาที่เกิดจากบัตรเครดิตมิใช่หนี้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันหรือบัญชีเดินสะพัด การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ถือได้ว่าโจทก์ เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้แก่โจทก์และบอกเลิกสัญญาการใช้บัตรเครดิตเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม2536 และพ้นกำหนดเวลาชำระหนี้ตามหนังสือบอกกล่าวเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2536 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2539 พ้นกำหนด 2 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6432/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการซื้อขายสินค้าสีระหว่างผู้ประกอบการค้า ลักษณะพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เจ้าหนี้เป็นผู้ประกอบการค้าขายสินค้าสี ลูกหนี้เปิดร้านประกอบกิจการขายสินค้าสีและวัสดุก่อสร้าง ลูกหนี้ซื้อสินค้าสีจากเจ้าหนี้นำไปขายให้แก่ลูกค้าของลูกหนี้อีกต่อหนึ่ง ดังนี้การซื้อขายสินค้าระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้จึงมีลักษณะเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ตอนท้ายและมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33(5) การที่เจ้าหนี้นำสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ค่าสินค้าสีมาฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 4เมษายน 2539 แม้จะเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน2535 อันเป็นวันครบกำหนด 90 วัน ที่ลูกหนี้ต้องชำระเงินค่าสินค้าสีที่ลูกหนี้สั่งซื้อครั้งแรกถึงวันฟ้องก็ยังไม่ล่วงพ้นอายุความห้าปี และการที่เจ้าหนี้นำสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ค่าขายสินค้าสีมาฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายย่อมมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้บางหนึ่งตามวิธีการที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บัญญัติไว้โดยเฉพาะทำให้อายุความสะดุดหยุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(2) ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเมื่อ วันที่ 25 กรกฎาคม 2539 คดีถึงที่สุด จึงเริ่มนับอายุความใหม่ ตั้งแต่เวลานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/15 ฉะนั้น สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ในมูลหนี้ค่าขายสินค้าสี ตามคำขอรับชำระหนี้จึงไม่ขาดอายุความ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิ ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้นับแต่วันที่หนี้ ค่าขายสินค้าสีถึงกำหนดชำระครั้งสุดท้ายจนถึงวันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6340/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการบริษัทต่อหนี้จากการซื้อขายวัสดุก่อสร้าง ทั้งในนามบริษัทและส่วนตัว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซื้อสินค้าจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 รับรองต่อโจทก์ว่ายินยอมรับผิดชอบทั้งหมดในการสั่งซื้อสินค้าของโจทก์ จำเลยที่ 2ให้การว่า ได้ลงนามสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์จริง แต่มีเงื่อนไขและวงเงินในการสั่งซื้อ จำเลยที่ 2 จะรับผิดเฉพาะรายการสินค้า ที่สั่งซื้อเท่านั้น อีกทั้งโจทก์ไม่เคยแจ้งยอดหนี้หรือบอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง คดีจึงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ซื้อสินค้าในนามของจำเลยที่ 1 และยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวด้วย คดีจึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ในนามจำเลยที่ 1 หรือในฐานะส่วนตัวอีก ศาลล่างวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 สั่งซื้อสินค้าในนามของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นการไม่ชอบ ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 สั่งซื้อสินค้าในนามของจำเลยที่ 1 หรือในฐานะส่วนตัว จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อจำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายวัสดุและอุปกรณ์การก่อสร้างในฐานะกระทำแทนจำเลยที่ 1 และในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 1และที่ 2 ย่อมต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ และแม้ตามสัญญาซื้อขายวัสดุการก่อสร้างระบุจำนวนเงินไว้ 200,000 บาทแต่ในทางปฏิบัติระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 คู่สัญญาได้ซื้อขายวัสดุก่อสร้างเกินจำนวนเงินดังกล่าวตลอดมาแสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ถือว่าจำนวนเงินดังกล่าวเป็นเงื่อนไขสาระสำคัญในการจำกัดความรับผิด จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในเงินค่าสินค้าจำนวน376,479 บาท ตามที่รับสินค้าไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5925/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาบังคับคดีหลังผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษา
ศาลมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2529 ให้จำเลยผ่อนชำระตามจำนวนเงินที่ระบุและภายในระยะเวลาที่กำหนดเป็นคราว ๆโดยชำระครั้งแรกวันที่ 27 พฤษภาคม 2529 เป็นเงิน 50,000 บาท และส่วนที่เหลือผ่อนชำระเป็นรายเดือน เดือนละ 8,000 บาท ทุก ๆ วันที่ 27 ของเดือนเริ่มนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2529 จนกว่าจะชำระเสร็จ เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้ให้ผู้ร้องเพียง 3 งวด จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้ผู้ร้องตั้งแต่งวดที่ 4 ประจำวันที่27 สิงหาคม 2529 ดังนั้น ระยะเวลาในการบังคับคดีภายใน 10 ปี ของผู้ร้องจึงจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2529 เป็นต้นไป เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในวันที่ 25 มิถุนายน 2539 ถือว่าได้ขอบังคับคดีภายใน 10 ปี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271
of 145