พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,327 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6991/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่ติดอากรแสตมป์แต่เสียเงินเพิ่มแล้ว ถือใช้เป็นหลักฐานได้
โจทก์นำหนังสือมอบอำนาจที่มิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ไปยื่นขอเสียเงินอากรและเงินเพิ่มอากรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้ต่อจากนั้นย่อมเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะพิจารณาวินิจฉัย เมื่อโจทก์ได้เสียเงินอากรและเงินเพิ่มอากรตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ก็ถือได้ว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์เป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 117 จึงใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ และถือได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6881/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินมีผลผูกพันเมื่อมีเจตนาชัดเจน แม้ใช้แบบพิมพ์สัญญากู้ยืมก็ไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
แม้เอกสารหมาย จ.3 จะใช้แบบพิมพ์สัญญากู้ยืมและในข้อ 1มีข้อความว่า ผู้กู้ (จำเลย) ได้กู้ยืมเงินของผู้ให้กู้ (โจทก์)ไปเป็นจำนวนเงิน 230,000 บาท ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้กล่าวถึงการชำระดอกเบี้ยและกำหนดเวลาที่จะชำระเงินต้นคืนไว้ดังสัญญากู้ยืมเงินทั่วไป แต่ในสัญญาข้อ 4 กลับมีข้อความระบุไว้ว่า ผู้กู้ได้นำ น.ส.3(ที่สวนมะพร้าว) หมู่ที่ 8 ตำบลท่าชนะ เนื้อที่ 60 ไร่เศษโดยนายสำราญ ศรียาภัยขายที่ดิน2แปลงนี้ให้นายไพรัชแสงฉวางในราคา 750,000 บาท ตกลงจ่ายเงินงวดแรกเป็นเงิน 350,000 บาทและจ่ายเงินในวันทำสัญญานี้เท่ากับเงินกู้คือ 230,000 บาทส่วนที่เหลือจะจ่ายให้เมื่อมีการทำสัญญาซื้อขายกันต่อไปโดยจะทำการโอนที่ดินทั้งสองแปลงนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปีนับจากวันทำสัญญา หากฝ่ายใดผิดสัญญาให้ปรับหนึ่งเท่าของราคาที่ดิน นอกจากโจทก์จะมีพยานบุคคลมาเบิกความยืนยันว่าเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้งสองแปลงแล้วยังได้ความว่า หลังจากจำเลยรับเงินจำนวน 230,000 บาท ในวันทำเอกสารหมาย จ.3 แล้วจำเลยยังรับเงินจากโจทก์อีกหลายครั้งจนครบจำนวน 350,000 บาทจำเลยก็ได้โอนที่ดินตามสัญญาหนึ่งแปลงให้แก่โจทก์ ดังนี้สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดิน เอกสารหมาย จ.4 เป็นแบบพิมพ์สัญญากู้ยืมระบุจำเลยรับเงินจากโจทก์อีก 2 ครั้ง เอกสารหมาย จ.4 นี้มีความเกี่ยวเนื่องกับเอกสารหมาย จ.3 ดังนั้นการที่โจทก์นำสืบว่า เอกสารหมาย จ.4เป็นการชำระเงินให้จำเลยเพื่อซื้อที่ดิน มิใช่การให้จำเลยกู้ยืมเงินย่อมไม่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร เพราะเป็นการนำสืบถึงมูลเหตุที่จะทำเอกสารหมาย จ.4 ชอบที่จะนำสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6722/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหลักฐานนอกคำฟ้องและคำให้การในคดีหนี้ค่าแชร์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นนายวงแชร์แล้วผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ค่าแชร์ ขอให้จำเลยชำระหนี้ค่าแชร์ จำเลยให้การว่า ไม่เคยเป็นนายวงแชร์และไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การจึงมีเพียงว่า จำเลยเป็นนายวงแชร์และเป็นหนี้ค่าแชร์โจทก์หรือไม่ แม้โจทก์จำเลยจะนำสืบว่าเกี่ยวกับหนี้ค่าแชร์นี้ จำเลยได้นำ พ.มาทำสัญญากู้เงินให้ไว้แก่โจทก์ก็ตาม ก็เป็นการนำสืบนอกคำฟ้องและคำให้การ คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยว่าหนี้ค่าแชร์ระหว่างโจทก์จำเลยระงับไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่แล้วหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6345/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราสำเร็จ แม้ไม่พบร่องรอยบาดเจ็บ หากมีหลักฐานยืนยันการสอดใส่
การที่อวัยวะเพศของจำเลยเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายประมาณ 1 นิ้ว ถือว่ากระทำชำเราสำเร็จแล้ว มิใช่เพียงพยายามกระทำชำเราหรือกระทำอนาจารเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ที่ไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ (ไม่ขีดฆ่า) ใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ แม้จำเลยยอมรับลายมือชื่อ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้รับเงินกู้ไปแล้วจำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์ ลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อปลอม โจทก์จะต้องอ้างสัญญากู้เป็นพยานหลักฐานในคดีเมื่อหนังสือสัญญากู้เงินที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลมิได้ขีดฆ่าแสตมป์ จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ดังนี้ ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานที่จะรับฟังว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6085/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันที่ปิดอากรแสตมป์ถูกต้องตามกฎหมายเดิม ยังใช้เป็นหลักฐานได้ แม้กฎหมายแก้ไขใหม่
แม้ขณะโจทก์นำหนังสือสัญญาค้ำประกันมาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีบัญชีอัตราอากรแสตมป์ลักษณะแห่งตราสาร ข้อ 17 (ก) ซึ่งแก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 มาตรา 13 บัญญัติให้ผู้ค้ำประกันต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาทในสัญญาค้ำประกันสำหรับกรณีที่มิได้จำกัดจำนวนเงินไว้ แต่ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12)พ.ศ.2526 มาตรา 16 ก็บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรที่ถูกยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ดังนั้นสัญญาค้ำประกันที่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนถูกต้องตามประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา จึงยังคงใช้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6085/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่ปิดอากรแสตมป์ถูกต้องตามกฎหมายเดิม ยังใช้เป็นหลักฐานได้ แม้กฎหมายใหม่กำหนดอัตราอากรแสตมป์ที่สูงขึ้น
แม้ขณะโจทก์นำหนังสือสัญญาค้ำประกันมาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีบัญชีอัตราอากรแสตมป์ลักษณะแห่งตราสารข้อ 17(ก) ซึ่งแก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2526 มาตรา 13 บัญญัติให้ผู้ค้ำประกันต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาทในสัญญาค้ำประกันสำหรับกรณีที่มิได้จำกัดจำนวนเงินไว้ แต่ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2526มาตรา 16 ก็บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรที่ถูกยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ดังนั้นสัญญาค้ำประกันที่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนถูกต้องตามประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา จึงยังคงใช้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5834/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญชาติไทยโดยการเกิด แม้ไม่มีเอกสารหลักฐานทะเบียนราษฎร์ครบถ้วน ศาลพิจารณาจากพยานบุคคลและพยานแวดล้อมได้
โจทก์เดินทางจากประเทศจีนมาประเทศไทย และยื่นคำร้องขอพิสูจน์สัญชาติต่อเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองยกคำร้อง โจทก์จึงฟ้องศาล เมื่อโจทก์พิสูจน์ได้ว่า โจทก์เกิดในประเทศไทยโจทก์จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดเป็นบุคคลสัญชาติไทย ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2456 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5503/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี: หลักฐานใบขนสินค้าขาออกของศุลกากรฮ่องกงมีน้ำหนักเพียงพอ แม้เป็นสำเนา
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 หาใช่บทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรไม่ แต่เป็นระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนในเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการที่ยื่นนั้นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์ภายในกำหนด 5 ปี พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนหรือนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้เท่านั้นแต่สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีและเงินเพิ่มมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เดิม การที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ออกหมายเรียกจำเลยมาไต่สวนหรือหมายเรียกพยานหรือให้จำเลยหรือพยานนำบัญชีพยานหลักฐานมาแสดง ภายในกำหนด 5 ปี ก็หาทำให้การประเมินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ชอบไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง เอกสารสำเนาใบขนสินค้าขาออกที่ผู้ส่งออกยื่นต่อศุลกากรเมืองฮ่องกงเป็นสำเนาเอกสารที่ถ่ายจากต้นฉบับ เป็นเอกสารของทางราชการเมืองฮ่องกงซึ่งผู้ส่งสินค้าออกยื่นเอกสารดังกล่าวแจ้งการส่งออกต่อทางราชการเมืองฮ่องกง ว. รองกงสุลใหญ่ฝ่ายศุลกากรประจำเมืองฮ่องกงเป็นผู้ติดต่อขอรับเอกสารมาจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรเมืองฮ่องกง ส่งมาให้กองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร ซึ่งต้นฉบับอยู่ที่ศุลกากรเมืองฮ่องกงแม้จะเป็นเอกสารลับของทางราชการเมืองฮ่องกงก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟัง ทั้งเป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นและเท่ากับศาลภาษีอากรกลางได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) แม้จะเป็นภาพถ่ายสำเนาเอกสารที่ไม่มีผู้ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องก็ตามก็รับฟังเอกสารดังกล่าวประกอบพยานบุคคลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหลักฐานสัญญาซื้อขายที่ดินที่ไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง บ.กับ อ.ที่จำเลยนำมาสืบเป็นหลักฐานประกอบพยานจำเลย เอกสารฉบับนี้โจทก์มิได้เป็นผู้เก็บรักษาและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับการซื้อที่พิพาทระหว่าง บ.กับ อ. กรณีเช่นนี้จำเลยจึงชอบที่จะนำสืบได้โดยไม่จำต้องถามค้านโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนไว้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 89