พบผลลัพธ์ทั้งหมด 346 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายหุ้นส่วนโรงสีไม่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ จึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ
การโอนขายหุ้นส่วนโรงสีไม่ใช่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์จึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนและการเลิกห้างหุ้นส่วน ความยินยอมในการโอนหุ้น และการพิพากษาไม่เกินคำขอ
เมื่อหุ้นส่วนบางคนตาย ผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่ได้รับโอนหุ้นและยินยอมให้ผู้ถือหุ้นใหม่รับโอนหุ้นสืบต่อ ๆ กันมาโดยความยินยอมจนถึงโจทก์จำเลย ดังนี้ หุ้นส่วนนั้นยังคงมีอยู่ต่อไปมิได้เลิกจากกัน
โจทก์บรรยายในฟ้องว่า เมื่อทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนแล้ว หุ้นส่วนได้สร้างโรงมหรสพขึ้นบนที่พิพาท และได้ประกอบกิจการมหรสพติดต่อตลอดมาจนบัดนี้ และในคำขอท้ายฟ้องเขียนว่า ที่พิพาทดังกล่าวในฟ้องเป็นของหุ้นส่วน มิใช่ของจำเลยผู้เดียว ดังนี้คำขอท้ายฟ้องดังกล่าวย่อมหมายถึงโรงมหรสพดังกล่าวในฟ้องด้วย ที่ศาลพิพากษารวมถึงโรงมหรสพด้วยจึงไม่ใช่พิพากษาเกินคำขอ
โจทก์บรรยายในฟ้องว่า เมื่อทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนแล้ว หุ้นส่วนได้สร้างโรงมหรสพขึ้นบนที่พิพาท และได้ประกอบกิจการมหรสพติดต่อตลอดมาจนบัดนี้ และในคำขอท้ายฟ้องเขียนว่า ที่พิพาทดังกล่าวในฟ้องเป็นของหุ้นส่วน มิใช่ของจำเลยผู้เดียว ดังนี้คำขอท้ายฟ้องดังกล่าวย่อมหมายถึงโรงมหรสพดังกล่าวในฟ้องด้วย ที่ศาลพิพากษารวมถึงโรงมหรสพด้วยจึงไม่ใช่พิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นส่วนและผลกระทบต่อความเป็นหุ้นส่วน รวมถึงขอบเขตคำขอในฟ้อง
เมื่อหุ้นส่วนบางคนตายผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่ได้รับโอนหุ้นและยินยอมให้ผู้ถือหุ้นใหม่รับโอนหุ้นสืบต่อๆ กันมาโดยความยินยอมจนถึงโจทก์จำเลยดังนี้ หุ้นส่วนนั้นยังคงมีอยู่ต่อไปมิได้เลิกจากกัน
โจทก์บรรยายในฟ้องว่า เมื่อทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนแล้วหุ้นส่วนได้สร้างโรงมหรสพขึ้นบนที่พิพาทและได้ประกอบกิจการมหรสพติดต่อตลอดมาจนบัดนี้ และในคำขอท้ายฟ้องเขียนว่า ที่พิพาทดังกล่าวในฟ้องเป็นของหุ้นส่วน มิใช่ของจำเลยผู้เดียว ดังนี้คำขอท้ายฟ้องดังกล่าวย่อมหมายถึงโรงมหรสพดังกล่าวในฟ้องด้วยที่ศาลพิพากษารวมถึงโรงมหรสพด้วยจึงไม่ใช่พิพากษาเกินคำขอ
โจทก์บรรยายในฟ้องว่า เมื่อทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนแล้วหุ้นส่วนได้สร้างโรงมหรสพขึ้นบนที่พิพาทและได้ประกอบกิจการมหรสพติดต่อตลอดมาจนบัดนี้ และในคำขอท้ายฟ้องเขียนว่า ที่พิพาทดังกล่าวในฟ้องเป็นของหุ้นส่วน มิใช่ของจำเลยผู้เดียว ดังนี้คำขอท้ายฟ้องดังกล่าวย่อมหมายถึงโรงมหรสพดังกล่าวในฟ้องด้วยที่ศาลพิพากษารวมถึงโรงมหรสพด้วยจึงไม่ใช่พิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนและการชำระบัญชีเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่กรรม ผู้รับมรดกไม่ต้องเป็นหุ้นส่วนแทน
การเป็นหุ้นส่วนกันนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนนั้น ๆ เอง ห้างหุ้นส่วนย่อมเลิกกันเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตาย ผู้รับมรดกก็ดีหรือผู้จัดการมรดกของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ตายจะยืนยันถือสิทธิ์โดยลำพังเข้าไปเป็นหุ้นส่วนแทนที่ผู้ตายต่อไปนั้นไม่ได้ และนัยที่ตรงข้ามผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นจะฟ้องขอให้บังคับให้ผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกเช่นว่านั้นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนที่ผู้ตายต่อไปก็ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ตั้งผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน ผู้จัดการมรดกและผู้รับมรดกจะต้องเข้ามาแทนที่ของหุ้นส่วนผู้ตายเพื่อการชำระบัญชี หลักกฎหมายในเรื่องการที่ต้องเข้ามาแทนที่เพื่อการชำระบัญชีเป็นคนละเรื่องกับการเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนที่ผู้ตาย
โจทก์เป็นหุ้นส่วนกับผู้ตาย จำเลยซึ่งเป็นผู้รับมรดกและผู้จัดการมรดกของผู้ตายปฏิเสธไม่ยอมคิดบัญชี โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยได้
โจทก์ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีจัดการชำระบัญชีของหุ้นส่วนตามกฎหมายลอย ๆ เช่นนี้เป็นการเพียงพอแล้ว คำขอท้ายฟ้องของโจทก์เช่นว่านี้ ไม่ขัดต่อ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 172 และการที่ศาลแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชี ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องเกินคำขอแต่ประการใด
โจทก์ฟ้องขอให้ตั้งผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน ผู้จัดการมรดกและผู้รับมรดกจะต้องเข้ามาแทนที่ของหุ้นส่วนผู้ตายเพื่อการชำระบัญชี หลักกฎหมายในเรื่องการที่ต้องเข้ามาแทนที่เพื่อการชำระบัญชีเป็นคนละเรื่องกับการเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนที่ผู้ตาย
โจทก์เป็นหุ้นส่วนกับผู้ตาย จำเลยซึ่งเป็นผู้รับมรดกและผู้จัดการมรดกของผู้ตายปฏิเสธไม่ยอมคิดบัญชี โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยได้
โจทก์ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีจัดการชำระบัญชีของหุ้นส่วนตามกฎหมายลอย ๆ เช่นนี้เป็นการเพียงพอแล้ว คำขอท้ายฟ้องของโจทก์เช่นว่านี้ ไม่ขัดต่อ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 172 และการที่ศาลแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชี ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องเกินคำขอแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 374/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระบัญชีหุ้นส่วน: การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีโดยไม่ชอบ และการเรียกทุนคืนก่อนชำระบัญชีเสร็จ
การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีโดยผู้เป็นหุ้นส่วนแต่บางคนนั้นไม่ชอบผู้เป็นหุ้นส่วนฟ้องให้ชำระบัญชีใหม่ได้ แต่จะเรียกทุนคืนทีเดียวไม่ได้เป็นเรื่องที่ต้องว่ากล่าวกันในชั้นชำระบัญชี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่การนำสืบเมื่อฟ้องหุ้นส่วน: โจทก์ต้องพิสูจน์ความเป็นหุ้นส่วนก่อน หากไม่สมเหตุผล ศาลไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยพยานจำเลย
โจทก์ฟ้องตั้งรูปคดีมาเป็นเรื่องหุ้นส่วน ซึ่งจำเลยต่อสู้ว่าไม่ได้เข้าหุ้นส่วนกับโจทก์และอ้างว่าการที่จำเลยเข้าอยู่ในตึกแถวรายพิพาทก็โดยเช่าจากโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนของบุคคลภายนอก เช่นนี้เป็นหน้าที่โจทก์จะต้องนำสืบก่อน เพราะโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงสนับสนุนคำฟ้องของตน เมื่อโจทก์นำสืบไม่สมว่าเป็นหุ้นส่วนกัน ก็เป็นการเพียงพอที่จะยกฟ้องเสียได้ ไม่จำเป็นจะต้องวินิจฉัยไปถึงพยานหลักฐานของจำเลย เพราะข้อที่จำเลยจะได้เช่าตึกรายพิพาทจากโจทก์หรือไม่นั้น ไม่ใช่ประเด็นในคดีนี้ ข้อต่อสู้ของจำเลยดังกล่าวเป็นแต่เพียงเหตุแห่งการปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นหุ้นส่วนกับโจทก์เท่านั้น ประเด็นในคดีนี้มีเพียงว่า การที่จำเลยเข้ามาทำการค้าในสถานที่รายพิพาท โดยจำเลยเข้ามาในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนกับโจทก์หรือมิใช่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่การนำสืบของโจทก์ในคดีหุ้นส่วน: เมื่อโจทก์กล่าวอ้างและจำเลยปฏิเสธ โจทก์ต้องพิสูจน์ก่อน
โจทก์ฟ้องตั้งรูปคดีมาเป็นเรื่องหุ้นส่วน ซึ่งจำเลยต่อสู้ว่าไม่ได้เข้าหุ้นส่วนกับโจทก์ และอ้างว่าการที่จำเลยเข้าอยู่ในตึกแถวรายพิพาทก็โดยเช่าจากโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนของบุคคลภายนอก เช่นนี้เป็นหน้าที่โจทก์จะต้องนำสืบก่อน เพราะโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงสนับสนุนคำฟ้องของตน เมื่อโจทก์นำสืบไม่สมว่าเป็นหุ้นส่วนกันก็เป็นการเพียงพอที่จะยกฟ้องเสียได้ ไม่จำเป็นจะต้องวินิจฉัยไปถึงพยานหลักฐานของจำเลย เพราะข้อที่จำเลยจะได้เช่าตึกรายพิพาทจากโจทก์หรือไม่นั้น ไม่ใช่ประเด็นในคดีนี้ ข้อต่อสู้ของจำเลยดังกล่าวเป็นแต่เพียงเหตุแห่งการปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นหุ้นส่วนกับโจทก์เท่านั้น ประเด็นในคดีนี้มีเพียงว่า การที่จำเลยเข้ามาทำการค้าในสถานที่รายพิพาท โดยจำเลยเข้ามาในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนกับโจทก์หรือมิใช่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน: การพิสูจน์ความเป็นหุ้นส่วนต้องด้วยการลงทุนโดยตรง แม้เงินลงทุนมาจากการร่วมกันหาได้ระหว่างสามีภรรยา ก็มิอาจถือเป็นหลักฐานความเป็นหุ้นส่วนได้
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในการละเมิดซึ่งลูกจ้างในห้างหุ้นส่วนที่จำเลยเป็นผู้ถือหุ้นได้ก่อขึ้น ข้อเท็จจริงได้ความว่าภรรยาจำเลยต่างหากเป็นผู้ถือหุ้น แม้จะได้ความว่าเงินที่เอามาลงหุ้นจะเป็นเงินที่ทำมาหาได้ระหว่างสามีภรรยาก็ดี เพียงเท่านี้จะถือว่าจำเลยเป็นหุ้นส่วนนั้นด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นหุ้นส่วนทางกฎหมาย: การถือหุ้นโดยภริยาไม่ทำให้สามีเป็นหุ้นส่วนโดยอัตโนมัติ
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในการละเมิดซึ่งลูกจ้างในห้างหุ้นส่วนที่จำเลยเป็นผู้ถือหุ้นได้ก่อขึ้น ข้อเท็จจริงได้ความว่าภรรยาจำเลยต่างหากเป็นผู้ถือหุ้น แม้จะได้ความว่าเงินที่เอามาลงหุ้นจะเป็นเงินที่ทำมาหาได้ระหว่างสามีภรรยาก็ดี เพียงเท่านี้จะถือว่าจำเลยเป็นหุ้นส่วนนั้นด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน: การพิสูจน์ความเป็นหุ้นส่วนต้องมีมากกว่าการลงทุนร่วมกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในการละเมิดซึ่งลูกจ้างในห้างหุ้นส่วนที่จำเลยเป็นผู้ถือหุ้นได้ก่อขึ้น ข้อเท็จจริงได้ความว่าภรรยาจำเลยต่างหากเป็นผู้ถือหุ้น แม้จะได้ความว่าเงินที่เอามาลงหุ้นจะเป็นเงินที่ทำมาหาได้ระหว่างสามีภรรยาก็ดี เพียงเท่านี้จะถือว่าจำเลยเป็นหุ้นส่วนนั้นด้วยหาได้ไม่