พบผลลัพธ์ทั้งหมด 440 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1290/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ไม่เป็นหนังสือและจดทะเบียน โมฆะ ผู้มีสิทธิบังคับโอนคือผู้ทำสัญญาจะซื้อจะขาย
การซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายกันก่อน โดยตกลงกันว่าชำระราคาแล้วจะนัดไปทำการจดทะเบียนโอนกันที่สำนักงานที่ดินเลย ครั้งถึงวันนัดโจทก์จำเลยไปยื่นคำขอจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินจัดหวัดอุบลราชธานี แต่ผู้ร้องสอดไปคัดค้านและขออายัดที่ดิน โจทก์จำเลยจึงขอถอนยกเลิกคำขอจดทะเบียน สัญญาซื้อขายดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดเมื่อทรัพย์สินที่ซื้อขายเป็นอสังหาริมทรัพย์ และไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 และจะถือว่าสมบูรณ์ในฐานะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายก็ไม่ได้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์ ผู้ร้องสอดซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทจากจำเลย จึงเป็นผู้ที่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้แก่ตนเพียงผู้เดียว
สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทระหว่างผู้ร้องสอดกับจำเลยระบุว่า จำเลยตกลงขายที่ดินแปลงหนึ่งโฉนดเลขที่ 125 เท่านั้น มิได้ระบุที่ดินอีกแปลงโฉนดเลขที่ 13305 ตามที่โจทก์ฟ้องมาหรือโฉนดเลขที่ 233205 ตามโฉนดที่ดินที่โจทก์ส่งศาลไว้ด้วย จึงบังคับให้โอนได้แต่เฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 125 เท่านั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยโอนที่พิพาทโดยมิได้ระบุเลขโฉนดที่ดินจึงไม่ชัดแจ้งพอศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้จำเลยไปจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 125 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ให้ผู้ร้องสอด
สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทระหว่างผู้ร้องสอดกับจำเลยระบุว่า จำเลยตกลงขายที่ดินแปลงหนึ่งโฉนดเลขที่ 125 เท่านั้น มิได้ระบุที่ดินอีกแปลงโฉนดเลขที่ 13305 ตามที่โจทก์ฟ้องมาหรือโฉนดเลขที่ 233205 ตามโฉนดที่ดินที่โจทก์ส่งศาลไว้ด้วย จึงบังคับให้โอนได้แต่เฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 125 เท่านั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยโอนที่พิพาทโดยมิได้ระบุเลขโฉนดที่ดินจึงไม่ชัดแจ้งพอศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้จำเลยไปจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 125 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ให้ผู้ร้องสอด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4189/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภาระจำยอม: ผู้เช่าไม่มีสิทธิอ้างขัดขวางการใช้สิทธิของเจ้าของที่ดิน
ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ และผู้ที่จะต้องรับภารจำยอมคือเจ้าของทรัพย์ ผู้ร้องสอดเป็นเพียงผู้เช่าจึงไม่มีสิทธิที่จะกล่าวอ้างว่าที่พิพาทไม่ตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโจทก์ หากโรงเรือนที่ผู้ร้องสอดอาศัยอยู่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ ผู้ร้องสอดชอบที่จะไปว่ากล่าวแก่โจทก์เป็นคดีอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2676/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัสต์, สัญญาเช่า, การบอกเลิกสัญญา, และการบังคับคดีสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี
ในคดีที่คู่ความอุทธรณ์และฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องฟังข้อเท็จจริง ที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
โจทก์เป็นทรัสตีผู้หนึ่ง ย่อมมีอำนาจจัดการรวมทั้งการ ฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินอันเป็นทรัสต์ได้ตามหนังสือก่อตั้งทรัสต์ซึ่งทรัสต์ดังกล่าวได้ก่อตั้งและ จดทะเบียนต่อสถานทูตอังกฤษเมื่อ 80 ปีมาแล้ว
จำเลยเช่าตึกแถวเพียงเดือนละ 100 บาท แต่จ่ายเงิน ล่วงหน้าให้ทรัสตีไปอีก 55,000 บาทจึงเป็นการ จ่ายเงินกินเปล่าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า โดยไม่ได้ใช้ ซ่อมแซมตึกที่เช่าแต่อย่างใดสัญญาเช่านี้จึงหามีลักษณะ เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่
จำเลยทำสัญญาเช่าขึ้นพร้อมกัน 2 ฉบับ ลงวันที่ในสัญญา และระยะเวลาที่เช่าติดต่อกันรวมได้กว่า 3 ปี เท่ากับ ทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ติดต่อกันเกิน 3 ปีถ้า ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อม ฟ้องร้องบังคับกันได้เพียง 3 ปีและการฟ้องร้องให้ บังคับคดีดังกล่าวหมายความรวมถึงการที่ยกขึ้นกล่าวอ้างต่อสู้ ให้บังคับคดีไปตามข้อกล่าวอ้างนั้นด้วย(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1985/2527)
โจทก์เป็นทรัสตีผู้หนึ่ง ย่อมมีอำนาจจัดการรวมทั้งการ ฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินอันเป็นทรัสต์ได้ตามหนังสือก่อตั้งทรัสต์ซึ่งทรัสต์ดังกล่าวได้ก่อตั้งและ จดทะเบียนต่อสถานทูตอังกฤษเมื่อ 80 ปีมาแล้ว
จำเลยเช่าตึกแถวเพียงเดือนละ 100 บาท แต่จ่ายเงิน ล่วงหน้าให้ทรัสตีไปอีก 55,000 บาทจึงเป็นการ จ่ายเงินกินเปล่าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า โดยไม่ได้ใช้ ซ่อมแซมตึกที่เช่าแต่อย่างใดสัญญาเช่านี้จึงหามีลักษณะ เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่
จำเลยทำสัญญาเช่าขึ้นพร้อมกัน 2 ฉบับ ลงวันที่ในสัญญา และระยะเวลาที่เช่าติดต่อกันรวมได้กว่า 3 ปี เท่ากับ ทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ติดต่อกันเกิน 3 ปีถ้า ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อม ฟ้องร้องบังคับกันได้เพียง 3 ปีและการฟ้องร้องให้ บังคับคดีดังกล่าวหมายความรวมถึงการที่ยกขึ้นกล่าวอ้างต่อสู้ ให้บังคับคดีไปตามข้อกล่าวอ้างนั้นด้วย(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1985/2527)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1928-1931/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, หนังสือมอบอำนาจ, การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์, และการตัดพยาน: หลักเกณฑ์ตามกฎหมาย
การเป็นนิติบุคคลประเภทหุ้นส่วนบริษัทและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลนั้น นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลงทะเบียนส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือว่าเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1021 และ 1022จำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์จะเป็นนิติบุคคลหรือไม่และบ.จะเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามฟ้องหรือไม่จำเลยไม่ทราบและไม่รับรองคำให้การของจำเลยเป็นการฝ่าฝืน ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดตามกฎหมายจึงไม่เป็นประเด็นที่โจทก์ จะต้องนำสืบ การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ทราบไม่รับรองมิใช่เป็นการปฏิเสธความแท้จริงของใบมอบอำนาจ การที่จำเลยไม่ทราบไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์เสียไป และที่จำเลยไม่รับรองก็ไม่ปรากฏเหตุผลจึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ศ.มีอำนาจบอกกล่าวฟ้องขับไล่เรียกค่าเสียหาย ผู้เช่าที่ดินผู้เช่าอาคารและผู้อยู่อาศัยในที่ดินโฉนดเลขที่ 3997เลขที่ดิน 72 เมื่อจำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวที่พิพาทซึ่ง ตั้งอยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าวศ.ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยแทน โจทก์โดยโจทก์หาจำต้องระบุชื่อผู้ที่จะถูกฟ้องในหนังสือมอบอำนาจด้วยไม่ เอกสารการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและตึกแถวเป็นเอกสารมหาชนซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่ของจำเลย ที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันจะต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารจำเลยไม่มีพยานหลักฐานอย่างใดดังนั้นเมื่อโจทก์นำสืบผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนประกอบ เอกสารการจดทะเบียนซื้อขายก็เป็นการเพียงพอแล้วไม่จำต้องนำสืบกรรมการของโจทก์หรือผู้ขาย หรือเจ้าพนักงานผู้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้นเมื่อศาลสืบพยานจำเลยในเรื่องค่าเสียหายไปบ้างแล้วจึงสั่งตัดพยาน จำเลยดังนี้ เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะ แม้มีเงื่อนไขรื้อถอน
จำเลยทำสัญญาขายฝากบ้านไว้แก่โจทก์โดยไม่ได้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มี เงื่อนไขว่าหากจำเลยไม่ไถ่คืนภายในกำหนดโจทก์มีสิทธิรื้อถอนเอาบ้านไปได้ ดังนี้ รูปเรื่องเป็นการขายฝากบ้าน ซึ่งบ้านยังคงสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์อยู่ตามเดิมจนกว่าจำเลยจะไม่ไถ่คืนและโจทก์ได้รื้อถอนเอาไป ถ้าจำเลยไถ่คืนแล้วก็ไม่มีทางบ้านนั้นจะแปรสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ไปได้ ดังนี้สัญญาที่ทำไว้จึงเป็นสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์หาใช่เป็นสัญญาซื้อขายไม้ที่ปลูกสร้างบ้านซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่ เมื่อทำสัญญากันเองและมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 โจทก์จะนำมาฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ (โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 788/2497 และ 923/2485)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะ แม้มีเงื่อนไขให้รื้อถอนได้
จำเลยทำสัญญาขายฝากบ้านไว้แก่โจทก์โดยไม่ได้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีเงื่อนไขว่าหากจำเลยไม่ไถ่คืนภายในกำหนดโจทก์มีสิทธิรื้อถอนเอาบ้านไปได้ดังนี้รูปเรื่องเป็นการขายฝากบ้าน ซึ่งบ้านยังคงสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์อยู่ตามเดิมจนกว่าจำเลยจะไม่ไถ่คืน และโจทก์ได้รื้อถอนเอาไปถ้าจำเลยไถ่คืนแล้วก็ไม่มีทางที่บ้านนั้น จะแปรสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ไปได้ดังนี้ สัญญาที่ทำไว้จึงเป็นสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ หาใช่เป็นสัญญาซื้อขายไม้ที่ปลูกสร้างบ้าน ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่เมื่อทำสัญญากันเองและมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 โจทก์จะนำมาฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ (โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 788/2497 และ 923/2485)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์หลังประนีประนอมยอมความ ถือเป็นการค้าเพื่อหากำไร ต้องเสียภาษีการค้า
บริษัท ก. ซึ่งดำเนินกิจการจัดสรรที่ดินและบ้านขาย เป็นหนี้ธนาคารโจทก์จึงได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ โดยบริษัท ก. ตกลงโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวน 374 โฉนด พร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จัดสรรขายนั้นให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ และในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้มีข้อตกลงว่า เมื่อผู้ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายใดได้ชำระราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ตกลงซื้อให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อนั้น อาคารใดที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จเรียบร้อยโจทก์รับจะดำเนินการก่อสร้างให้เรียบร้อย เมื่อโจทก์จำหน่ายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปหมดแล้ว ถ้าได้เงินเกินกว่าจำนวนที่บริษัท ก. เป็นหนี้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยเท่าใด โจทก์ยอมแบ่งเงินส่วนที่เกินนั้นแก่บริษัท ก. ครึ่งหนึ่งต่อมาเมื่อโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากบริษัท ก. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว โจทก์ก็ได้ดำเนินการจัดการก่อสร้าง ปรับปรุง เพิ่มเติมอาคารจนแล้วเสร็จแล้วขายไป พฤติการณ์ดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรเข้าลักษณะเป็นรายรับตามประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร โจทก์ต้องนำรายรับนี้มาเสียภาษีการค้า
การประกอบกิจการค้าอสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่กิจการที่ผิดกฎหมาย เพียงแต่มีกฎหมายห้ามบุคคลบางประเภทไม่ให้กระทำเท่านั้นฉะนั้น การประกอบกิจการค้าอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์จะเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 หรือไม่ก็ตามก็หาทำให้โจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรไม่
การประกอบกิจการค้าอสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่กิจการที่ผิดกฎหมาย เพียงแต่มีกฎหมายห้ามบุคคลบางประเภทไม่ให้กระทำเท่านั้นฉะนั้น การประกอบกิจการค้าอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์จะเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 หรือไม่ก็ตามก็หาทำให้โจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขุดดินในที่ดินเช่า: สภาพทรัพย์เปลี่ยนจากอสังหาริมทรัพย์เป็นสังหาริมทรัพย์ ทำให้ผู้เช่ามีความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์ทำไร่ แล้วจำเลยขุดเอาดินจากที่ดินนั้นไปขายโดยทุจริต จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ผิดฐานยักยอก เพราะการเช่าที่ดินนั้น ผู้ให้เช่าให้เช่าทรัพย์สินในสภาพที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อที่ดินถูกขุดขึ้นมาแล้วย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เช่า ดินที่ถูกขุดขึ้นมาจึงคงอยู่ในความครอบครองของผู้ให้เช่า (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2527)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3497/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บ้านแม้ปลูกบนที่ดินผู้อื่น ก็เป็นอสังหาริมทรัพย์ ยึดขายทอดตลาดได้ ผู้มีสิทธิอุทธรณ์ได้
แม้บ้านพิพาทจะปลูกสร้างอยู่ในที่ดินของบุคคลอื่นและโจทก์ได้นำยึดขายทอดตลาดเพื่อให้ผู้ซื้อรื้อถอนเอาไป แต่สภาพของบ้านก่อนมีการรื้อถอนย่อมเป็นอสังหาริมทรัพย์เพราะได้ปลูกสร้างไว้ติดกับที่ดิน ผู้ร้องขัดทรัพย์ขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด จึงเป็นคดีเกี่ยวด้วย อสังหาริมทรัพย์ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3497/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บ้านปลูกสร้างติดที่ดินของผู้อื่น แม้ถูกยึดเพื่อขายทอดตลาด ก็ยังถือเป็นอสังหาริมทรัพย์ และเปิดให้มีการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้
แม้บ้านพิพาทจะปลูกสร้างอยู่ในที่ดินของบุคคลอื่นและโจทก์ได้นำยึดขายทอดตลาดเพื่อให้ผู้ซื้อรื้อถอนเอาไป แต่สภาพของบ้าน ก่อนมีการรื้อถอนย่อมเป็นอสังหาริมทรัพย์เพราะได้ปลูกสร้างไว้ ติดกับที่ดิน ผู้ร้องขัดทรัพย์ขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด จึงเป็นคดีเกี่ยวด้วย อสังหาริมทรัพย์ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224