พบผลลัพธ์ทั้งหมด 971 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1998/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยสาธารณสมบัติของแผ่นดินนอกประเด็น หากไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย
ปัญหาที่ว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องพิสูจน์กันในทางพิจารณา และไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้หาได้ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ทั้งที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคดีและเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นส่วนและกิจการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจจดทะเบียนแต่งตั้งผู้จัดการใหม่
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายทำสัญญาซื้อขายกิจการและหุ้นส่วนของผู้ตายให้แก่จำเลย โดยในสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อตกลงให้โจทก์ต้องไปจดทะเบียนโอนส่วนของผู้ตายให้กับจำเลยและแต่งตั้งจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทนผู้ตาย จำเลยจึงจะหยิบยกข้ออ้างดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาไม่ได้ เพราะเมื่อหุ้นส่วนผู้จัดการตาย ห้างหุ้นส่วนจำกัดอาจจะเลิกกันหรือหุ้นส่วนอาจตกลงกันให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดดำเนินต่อไปโดยให้ผู้อื่นเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการหรือให้ผู้อื่นเข้าเป็นหุ้นส่วนแทนผู้ตายก็ได้ มิใช่เป็นเรื่องที่ผู้จัดการมรดกจะจดทะเบียนให้จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยรับโอนกิจการและหุ้นส่วนของผู้ตายไปแล้ว จำเลยจึงต้องชำระเงินตามสัญญาซื้อขายกิจการที่ค้างชำระให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง: หลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 และอำนาจศาล
ป.วิ.พ. มาตรา 180 วรรคสอง ที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง บัญญัติไว้ว่า ถ้าศาลเห็นว่า ฯลฯ (2) คู่ความที่ขแก้ไขคำฟ้อง หรือคำให้การ อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานแล้วแต่กรณีและคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสีย บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องไว้ 2 ประการ คือ ประการแรก กรณีที่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน และคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หากยื่นคำร้องหลังวันดังกล่าวให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องแต่ถ้าเป็นคดีเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็อาจยื่นคำร้องหลังวันดังกล่าวได้ ประการที่สอง กรณีที่ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน ย่อมจะยื่นคำร้องหลังวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานได้ไม่ว่าจะเป็นคดีที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ มาใช้แก่คดีนี้ได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะวินิจฉัยในชั้นพิจารณากำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ในชั้นนี้เป็นเรื่องการพิจารณาว่าการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 180 หรือไม่ จึงไม่ต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องหนี้สัญญา กู้ยืม และการรับฟังพยานหลักฐาน ศาลมีอำนาจรับฟังได้หากมีเหตุผลความจำเป็น
โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ตามสัญญากู้เงิน2 ฉบับ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2518 ไม่มีกำหนดเวลาชำระเงินคืนมีจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันตามสำเนาสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้อง จำเลยทั้งห้ายื่นคำให้การแล้ว ต่อมาเมื่อวันที่2 มีนาคม 2532 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันชี้สองสถาน จำเลยทั้งห้าได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพิ่มข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องภายใน 10 ปี ดังนี้เห็นได้ว่าวันที่โจทก์ยื่นฟ้องและวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1กู้เงินโจทก์ปรากฏอยู่ในฟ้องแล้ว และจำเลยทั้งห้าทราบมาแต่แรกที่ได้รับสำเนาฟ้องแล้วว่าการกู้เงินตามที่กล่าวในฟ้องเป็นการกู้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระเงินคืน ซึ่งอายุความฟ้องร้องย่อมเริ่มนับทันทีที่โจทก์ให้กู้ไป จึงเป็นกรณีที่จำเลยทั้งห้าอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพื่อเพิ่มเติมข้อต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความได้ก่อนวันชี้สองสถาน แม้จำเลยทั้งห้าจะยังไม่ได้รับสำเนาสัญญากู้เงินจากโจทก์ก็ตาม ข้อเท็จจริงที่จำเลยอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความก็ปรากฏอยู่ในคำฟ้องก่อนวันชี้สองสถานแล้ว จำเลยทั้งห้าหาจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องจากสำเนาสัญญากู้แต่อย่างใดไม่ทั้งเรื่องที่ขอแก้ไขคำให้การนี้ก็ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่จำเลยทั้งห้ายื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพื่อให้มีข้อต่อสู้เกี่ยวกับอายุความภายหลังวันชี้สองสถาน จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 วรรคสอง (เดิม) ตามฟ้องโจทก์ปรากฏอยู่แล้วว่า โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยทั้งห้าตามสัญญากู้เงิน 2 ฉบับ เป็นเงิน 544,600 บาท และสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้กู้ได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วคงค้างอยู่ในวันคิดบัญชีคือวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531เป็นต้นเงิน 164,000 บาท และดอกเบี้ย 150,564.09 บาทดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแจ้งชัดแล้วว่า หนี้ต้นเงินจำนวน164,600 บาท ที่ค้างชำระคิดมาจากยอดหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ทั้งสองฉบับดังกล่าว และการกล่าวถึงดอกเบี้ยก็เข้าใจได้อยู่แล้วว่าหมายถึงดอกเบี้ยของต้นเงินที่ค้างชำระอยู่ดังกล่าวโดยนับถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531 นั่นเองส่วนรายละเอียดในการคิดบัญชีนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้วจึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม โจทก์ได้แสดงความจำนงอ้างสัญญากู้เป็นพยานโดยยื่นบัญชีระบุพยานตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคแรกแล้ว แต่ในการสืบพยาน โจทก์มิได้ส่งสำเนาสัญญากู้ดังกล่าวให้จำเลยทั้งห้าก่อนวันสืบพยานอย่างน้อย 3 วันดังที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90(เดิม) อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของมาตราดังกล่าว ก็ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ ดังนี้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารสัญญากู้ดังกล่าวได้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งห้าแก้ไขคำให้การในข้อที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้วซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นเรื่องอายุความตามที่จำเลยทั้งห้าฎีกาขึ้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: การอ้างเหตุเปลี่ยนแปลงจากคำให้การเดิมในชั้นอุทธรณ์
จำเลยให้การว่า ว.กับพวกมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ เพราะได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุม ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมเสียงข้างมากมิใช่ผู้ถือหุ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่ ว.กับพวกลงลายมือชื่อฟ้องคดีนี้จึงไม่ใช่การกระทำของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ว.กับพวกไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นธนาคารโจทก์จึงขาดคุณสมบัติที่จะเป็นกรรมการตามข้อบังคับธนาคารโจทก์ ไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อแต่งทนายความให้ฟ้องคดีนั้น เป็นอุทธรณ์ที่อ้างเหตุเรื่องอำนาจฟ้องแตกต่างไปจากคำให้การจึงเป็นการการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจ คตส. ตามประกาศ รสช. ที่ 26 และผลบังคับใช้ทางกฎหมายหลังการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
(คำสั่งศาลฎีกาที่ 921/2536) ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 26 ข้อ 6 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2534 กำหนดวิธีพิจารณาพิเศษให้ศาลแพ่งดำเนินการพิจารณาคดีตามประกาศดังกล่าว โดยไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดด้วยตนเองได้ นอกจากทำความเห็นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย ดังนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินที่เกี่ยวกับผู้ร้องย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายในคดีดังกล่าวได้ เพราะตามความในข้อ 6ได้บัญญัติให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม และอำนาจของศาลในการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายก็มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายได้ ขณะที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติออกประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 26 เป็นช่วยเวลาที่ไม่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือธรรมนูญการปกครองฉบับใดใช้บังคับ ต่อมาระหว่างที่ประกาศฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่นั้น ไม่มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพ.ศ. 2534 ดังนั้น ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26 ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับพระราชบัญญัติจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534และจะขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพ.ศ. 2534 ไม่ได้ ตามหลักกฎหมายทั่วไป ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีจึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีได้หรือไม่เพียงใด ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ๆ ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย เว้นแต่จะมีบทกฎหมายใดโดยเฉพาะบัญญัติให้อำนาจ นี้ไปตกอยู่แก่องค์กรอื่น กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อที่ว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ใดขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534หรือไม่มิได้เกิดขึ้นในวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือเกิดขึ้นโดยคณะรัฐมนตรีขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติวินิจฉัยตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534มาตรา 30 และถ้อยคำที่ว่า "การกระทำหรือการปฏิบัติ"ตามมาตรา 31 ก็ไม่หมายความรวมถึงบทบัญญัติของกฎหมายด้วย ทั้งขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้สิ้นสภาพไปแล้ว และแม้ในขณะที่ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหานี้ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534แล้ว แต่บทบัญญัติมาตรา 5 และ 206 วรรคแรกของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 ก็แสดงว่าคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยเฉพาะในปัญหาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 หรือไม่ เท่านั้น อำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 หรือไม่จึงตกอยู่แก่ศาลตามหลักกฎหมายทั่วไป ดังนั้นศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคำร้องของผู้ร้องได้โดยไม่ต้องส่งไปให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญพิจารณา คำวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินหรือคตส. ตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 มีผลให้ทรัพย์สินที่ คตส.วินิจฉัยว่าได้มาโดยมิชอบหรือมีเพิ่มขึ้นผิดปกติตกเป็นของแผ่นดิน อันเป็นการลงโทษรับทรัพย์ในทางอาญาโดยที่มิได้ให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงนำคดีไปฟ้องร้องให้เป็นอย่างอื่นได้ อำนาจของคตส.ดังกล่าวเป็นอำนาจเด็ดขาด แม้ต่อมาจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศฉบับดังกล่าวโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 26ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2534 ก็ตามแต่บทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ก็มิได้แก้ไขให้มีทางเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของ คตส.ในข้อที่ว่านักการเมืองคนนั้น ๆมีทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิชอบหรือมีเพิ่มขึ้นผิดปกติและร่ำรวยผิดปกติ ผิดวิสัยของผู้ประกอบอาชีพโดยสุจริตเพราะตามข้อ 6 วรรคสาม (1)(2) เพียงแต่ให้ศาลฎีกามีอำนาจสั่งเพิกถอนคำวินิจฉัยของ คตส.ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่แสดงให้ศาลว่าตนได้มาโดยชอบเท่านั้น อำนาจของ คตส.ดังกล่าวจึงเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีซึ่งตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยเป็นอำนาจของศาลในอันที่จะดำเนินการตามกฎหมาย ประกาศฉบับดังกล่าวข้อ 2 และข้อ 6 จึงมีผลเป็นการตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลให้มีอำนาจทำการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเช่นเดียวกับศาล ย่อมขัดต่อประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ เพราะรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีบทบัญญัติให้การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลและการตั้งศาลขึ้นใหม่เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งโดยเฉพาะแทนศาลที่มีอยู่ตามกฎหมายจะกระทำมิได้ ทรัพย์สินของผู้ร้องที่ถูกยึด และตกเป็นของแผ่นดินตามคำวินิจฉัยของ คตส.เป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาหรือมีเพิ่มขึ้นก่อนที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26 ข้อ 6 ใช้บังคับ จึงเป็นการออกและใช้กฎหมาย ที่มีโทษในทางอาญาย้อนหลังไปลงโทษแก่ผู้ร้องซึ่งรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีบทบัญญัติห้ามออกกฎหมายที่มีโทษในทางอาญาให้มีผล ย้อนหลัง เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน อันถือได้เป็นประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยเมื่อประกาศฉบับดังกล่าว ข้อ 2 และข้อ 6 ขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 มาตรา 30จึงใช้บังคับมิได้เป็นเหตุให้คำวินิจฉัยของ คตส.ที่อาศัยอำนาจตามประกาศฉบับนั้น ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2534มาตรา 3 ไม่มีผลบังคับไปด้วย ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 มาตรา 32เป็นเพียงการรับรองโดยทั่วไปว่า ประกาศหรือคำสั่งของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติมีผลให้ใช้บังคับได้เช่นกฎหมายเท่านั้นมิได้บัญญัติรับรองไปถึงว่าให้ใช้บังคับได้แม้เนื้อหาตามประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 เพราะปัญหาว่าประกาศหรือคำสั่งของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติใช้บังคับได้เพียงใด ต่างกรณีกันกับปัญหาที่ว่าประกาศหรือคำสั่งนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 ใช้บังคับมิได้ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 มาตรา 30 วรรคแรกแล้ว จึงมิใช่กฎหมายที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 จึงไม่อาจนำมาตรา 222 มาบังคับใช้แก่กรณีนี้เพื่อให้ประกาศฉบับดังกล่าวข้อ 2 และข้อ 6 ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2534 ไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการจ่ายค่าทดแทนเวนคืน: เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตาม พรบ.เวนคืน ไม่ใช่ผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกา
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 10 ได้กำหนดอำนาจของเจ้าหน้าที่หรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มีอำนาจตกลงซื้อขาย กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ และจ่ายค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเห็นได้ว่าผู้ที่ต้องจ่ายค่าทดแทน คือเจ้าหน้าที่หรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เมื่อการเวนคืนรายนี้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงจังหวัดสายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34-บางบ่อ พ.ศ. 2525 จึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ ส่วนจำเลยซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นเพียงผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาเท่านั้นไม่มีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกค่าทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปล่อยชั่วคราวและการควบคุมตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 113วรรคหนึ่ง มีความหมายว่า ในระหว่างการสอบสวน พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีมีอำนาจปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวมีระยะเวลาอย่างสูงไม่เกินหกเดือน นับแต่วันแรกที่มีการปล่อยชั่วคราวเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ไม่มีอำนาจควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีกเท่านั้น สำหรับการสอบสวนหากมีความจำเป็นต้องทำให้เสร็จก็คงดำเนินการต่อไปได้ เพราะไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามไว้ ส่วนการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 113 วรรคสองนั้น แม้ทำให้ผู้ต้องหาพ้นจากการควบคุม แต่ก็มิใช่บทบังคับให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจำต้องส่งผู้ต้องหามาศาล และยื่นคำร้องขอหมายขังผู้ต้องหาเสมอไป เว้นแต่มีความจำเป็นต้องควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีก กรณีหาได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าการสอบสวนชอบหรือมิชอบแต่ประการใด นอกจากนี้การไม่ปฏิบัติตามมาตรา 113 วรรคสองดังกล่าว ก็หาได้มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเรียกรับทรัพย์สิน: การกระทำนอกเหนือหน้าที่และอำนาจตามระเบียบราชการ
จำเลยเป็นข้าราชการตำแหน่งสหกรณ์อำเภอ สังกัดกรมส่งเสริมสหกรณ์คณะกรรมการสหกรณ์การเกษตร ส. จำกัด แต่งตั้งจำเลยเป็นกรรมการออกข้อสอบและตรวจข้อสอบเพื่อรับบรรจุพนักงาน เมื่อสหกรณ์ดังกล่าวเป็นนิติบุคคลต่างหากไม่ใช่หน่วยงานในกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่จำเลยจะต้องรับผิดชอบโดยตรง ทั้งมติคณะกรรมการสหกรณ์ดังกล่าวก็ไม่มีระเบียบของทางราชการว่าให้ทำได้และจำเลยจะต้องปฏิบัติตาม และการเป็นกรรมการสอบก็ไม่ใช่งานในหน้าที่รับผิดชอบของจำเลย การเป็นกรรมการของจำเลยจึงไม่ใช่เจ้าพนักงานกระทำการในตำแหน่งของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงาน เรียก รับทรัพย์สินโดยมิชอบหรือกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเรียกรับทรัพย์สิน: การกระทำนอกเหนือหน้าที่และขอบเขตอำนาจ
จำเลยรับราชการในตำแหน่งสหกรณ์อำเภอได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการสหกรณ์การเกษตร ส. ให้เป็นกรรมการออกข้อสอบและตรวจข้อสอบคัดเลือกพนักงานบัญชีเพื่อบรรจุเข้าทำงานในสหกรณ์การเกษตร ส.สหกรณ์การเกษตรส. เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากไม่ใช่หน่วยงานในกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่จำเลยจะต้องรับผิดชอบโดยตรงและมติของคณะกรรมการสหกรณ์ดังกล่าวก็ไม่มีระเบียบของทางราชการว่าให้ทำได้และจำเลยจะต้องปฏิบัติตาม ทั้งการเป็นกรรมการสอบก็ไม่ใช่หน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานสหกรณ์อำเภอตามระเบียบที่วางไว้ แม้จำเลยจะได้เรียกเอาเงินเพื่อช่วยเหลือให้นางสาวอ.สอบได้และได้รับการบรรจุแต่งตั้ง ก็มิใช่เป็นเจ้าพนักงานกระทำการในตำแหน่ง จำเลยไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับทรัพย์สินโดยมิชอบเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง