คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,515 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1669/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของกองทุนรวม, สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยหลังการระงับกิจการ, และผลกระทบของ พรบ. การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการจัดการกองทุนรวม โดยได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้จัดตั้งกองทุนรวมอันเป็นกองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อโจทก์ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมในโครงการใดแล้ว โจทก์จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและวิธีการจัดการกองทุนรวมตามที่บัญญัติไว้ในเรื่องจัดการกองทุนรวมตั้งแต่มาตรา 117 ถึงมาตรา 132 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) เช่น ตามมาตรา 122 ก่อนโจทก์จะเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชน โจทก์จะต้องจัดให้มีผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 121 แต่ผู้ดูแลผลประโยชน์ดังกล่าวมีหน้าที่เพียงเข้ามาดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเป็นประชาชนเท่านั้น มิได้มีอำนาจในการจัดการกองทุนแต่ประการใดดังที่มาตรา 127(1) และ (5)บัญญัติให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ดูแลให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนหรือฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจากบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง หรือเมื่อได้รับคำสั่งจากสำนักงาน ก.ล.ต. มาตรา 124 วรรคสองบัญญัติให้กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคล ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์นำทรัพย์สินของกองทุนรวมไปลงทุนตามโครงการจัดการกองทุนรวมตามที่ได้รับอนุมัติโดยให้บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของกองทุนรวมทั้ง มาตรา 125(1) และ (6) ยังบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า ในการจัดการกองทุนรวมบริษัทหลักทรัพย์ต้องดำเนินการจัดการให้เป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติตลอดจนข้อผูกพันที่ทำไว้กับผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างเคร่งครัด ส่วนมาตรา 124 บัญญัติให้กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคลนั้น ก็โดยมีวัตถุประสงค์ให้กองทุนรวมนั้นเป็นเจ้าของทรัพย์สินในนามของตนเองได้และเป็นการแยกทรัพย์สินของกองทุนรวมออกจากทรัพย์สินของบริษัทหลักทรัพย์โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุน มาตรา 124 วรรคสองก็บัญญัติให้บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของกองทุนรวม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การบังคับให้เป็นไปตามสิทธิเรียกร้องกับการจะได้รับชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องก่อนเจ้าหนี้อื่นหรือไม่เพียงใด เป็นคนละเรื่องคนละตอน เมื่อบริษัทจำเลยถูกกระทรวงการคลังมีคำสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการชั่วคราว และแผนฟื้นฟูกิจการของจำเลยมิได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.)จำเลยจึงต้องเลิกกิจการและชำระบัญชีตามพระราชกฤษฎีกาการปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิที่จะให้จำเลยไถ่ถอนหุ้นกู้ได้ตามเงื่อนไขในหนังสือชี้ชวน เมื่อโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยไถ่ถอนหุ้นกู้ตามสิทธิของโจทก์ จำเลยได้รับหนังสือแล้วกลับเพิกเฉย การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166-167/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งย้ายงานที่ไม่เป็นธรรมและการเลิกจ้างโดยปริยาย: อำนาจฟ้องและการพิจารณาข้อเท็จจริง
แม้สิทธิในการย้ายตำแหน่งหน้าที่การงานของลูกจ้าง บริษัทจำเลยในฐานะนายจ้างสามารถกระทำได้ตามความเหมาะสมเพราะเป็นอำนาจในการบริหารจัดการภายในองค์กรของจำเลยก็ตาม แต่การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ทั้งสองซึ่งมีรายได้น้อยให้ไปทำงานในโรงงานที่ห่างจากสถานที่ทำงานเดิมถึง 120 กิโลเมตร โดยไม่จัดที่พักหรือหารถรับส่งในการไปทำงานให้ อีกทั้งโจทก์ทั้งสองไม่สามารถเบิกค่าเช่าบ้านได้คำสั่งของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายและก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่โจทก์ทั้งสองอย่างยิ่ง ยากที่โจทก์ทั้งสองจะปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยได้ จึงมีลักษณะเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสอง คำสั่งของจำเลยดังกล่าวแม้จะชอบด้วยกฎหมายแต่ก็เป็นคำสั่งที่ไม่เป็นธรรม ฉะนั้น การที่โจทก์ทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยจึงยังถือไม่ได้ว่าจงใจขัดคำสั่งของจำเลยและละทิ้งหน้าที่และแม้คำสั่งของจำเลยจะไม่เป็นธรรม แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ออกคำสั่งย้ายโดยเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ทั้งสองทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยปริยาย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ จำเลยยังไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง แต่เพิ่งมีคำสั่งเลิกจ้างหลังจากมีการฟ้องคดีนี้แล้ว ฉะนั้น ขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้จึงยังไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายในเรื่องที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์ แต่อำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของตัวแทนผู้ขนส่ง: ตัวแทนไม่มีอำนาจฟ้องแทนผู้ขนส่งหากไม่ได้รับมอบหมาย
โจทก์เป็นแต่เพียงผู้ประกอบธุรกิจตัวแทนของผู้ขนส่งในราชอาณาจักร เนื่องจากผู้ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ จึงมอบให้โจทก์เป็นผู้ดำเนินการต่าง ๆ ที่ท่าต้นทางแทน โดยโจทก์จะได้รับบำเหน็จตัวแทนจากจำนวนค่าระวางที่ผู้ส่งชำระให้ โจทก์จึงเป็นผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเล ให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเล โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 3 โจทก์เป็นตัวแทนสายการเดินเรือ ว. ซึ่งเป็นผู้ขนส่งเท่านั้น โจทก์จึงมิใช่คู่สัญญาตามสัญญารับขนของทางทะเลกับจำเลย ทั้งไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจตัวแทนผู้ขนส่งฟ้องคดีแทนผู้ขนส่งได้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยที่สายการเดินเรือ ว. มิได้มอบอำนาจให้ดำเนินการ จึงไม่มีอำนาจทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801(5) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชี้สองสถานโดยมิได้กำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้มีการกำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความตกไป: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
แม้คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิ่มชื่อโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดั่งเช่นคดีนี้ แล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว แต่ต่อมาภายหลังโจทก์ฟ้องจำเลยและคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข เมื่อโจทก์จำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ย่อมแสดงว่าเงื่อนไขตามสัญญาไม่สำเร็จผล สัญญาประนีประนอมยอมความย่อมตกไปไม่มีผลบังคับ เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอม คำพิพากษาตามยอมก็ย่อมไม่มีผลบังคับเช่นกัน ดังนั้น ถือไม่ได้ว่าคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีทางจำเป็น: เจ้าของรวมคนหนึ่งต่อสู้แทนเจ้าของรวมอื่นได้ แม้ไม่ได้ฟ้องร่วมกัน
จำเลยเป็นเจ้าของรวมในที่ดินมีโฉนดร่วมกับ จ. การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลยกับ จ. ไม่เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ด เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และถือเป็นการยกข้อต่อสู้แทน จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 แม้โจทก์ทั้งเจ็ดมิได้ฟ้อง จ. ด้วย ผลแห่งคดีย่อมต้องผูกพันถึง จ. โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยแต่ผู้เดียวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น-อำนาจฟ้อง: เจ้าของรวมใช้สิทธิแทนกันได้-ทางออกสู่สาธารณะ
จำเลยเป็นเจ้าของรวมในที่ดินร่วมกับ จ. การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าทางพิพาทไม่เป็นทางจำเป็น จึงเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและถือเป็นการยกข้อต่อสู้แทน จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินอีกคนหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 แล้ว ผลแห่งคดีแม้จำเลยเจ้าของรวมคนเดียวถูกฟ้อง ก็ย่อมต้องผูกพันถึง จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยแต่ผู้เดียวให้เปิดทางจำเป็นได้ โดยไม่จำเป็นต้องฟ้อง จ. ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็นในที่ดินร่วม: สิทธิผ่านทาง, ขนาดทาง, อำนาจฟ้องเจ้าของรวม
ทางซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ดที่ไปออกสู่ถนน เป็นทางที่โจทก์และประชาชนไม่สามารถใช้สัญจรไปมาได้ ทั้งไม่ใช่ทางสาธารณะ เพราะเป็นทางที่ต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่น เมื่อที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ดมีที่ดินของบุคคลอื่นรวมทั้งที่ดินของจำเลยล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกถึงถนนสาธารณประโยชน์ซึ่งเป็นทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งเจ็ดย่อมมีสิทธิผ่านทางพิพาทซึ่งอยู่ภายในเขตที่ดินของจำเลยไปออกสู่ทางสาธารณะดังกล่าวได้ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349วรรคแรก
รถยนต์เป็นพาหนะจำเป็นที่ประชาชนใช้ในการเดินทาง การที่จำเลยปิดกั้นทางพิพาทให้เหลือขนาดความกว้างประมาณ 1 เมตร ย่อมทำให้รถยนต์ไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ เป็นการไม่เหมาะสมแก่สภาพการณ์ความเจริญของบ้านเมืองในปัจจุบันและในอนาคต การกำหนดให้จำเลยเปิดทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็นมีขนาดกว้าง 2.30เมตร เพื่อให้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้จึงเหมาะสมแล้ว
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งในที่ดินให้การต่อสู้คดีว่าทางพิพาทไม่เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ด เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้โจทก์ทั้งเจ็ด ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นการยกข้อต่อสู้แทน จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินอีกคนหนึ่ง ผลแห่งคดีที่จำเลยเจ้าของรวมคนเดียวถูกฟ้อง ย่อมต้องผูกพัน จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งโจทก์ทั้งเจ็ดไม่จำต้องฟ้อง จ. ด้วย แต่สามารถฟ้องจำเลยแต่ผู้เดียวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่รับฟ้องคดีเลือกตั้งเนื่องจากฟ้องพ้นกำหนดและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลฎีกายกคำร้อง
ศาลชั้นต้นเห็นว่า โจทก์ยื่นฟ้องเกินกำหนดเวลา ตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลฯ จึงไม่รับฟ้อง ส่วนศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลย พิพากษายืน จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10561/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีศุลกากร: ตำรวจมีอำนาจสอบสวนและดำเนินคดีได้ แม้ไม่มีการร้องทุกข์จากกรมศุลกากร
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 3 ให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรผู้ทำการแทนกรมศุลกากรออกข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินการของกรมศุลกากรเป็นไปโดยเรียบร้อยตามหน้าที่ รวมทั้งอำนาจยึดทรัพย์สินอันพึงริบตามมาตรา 24 แต่บทกฎหมายดังกล่าวก็ไม่ได้บัญญัติว่าการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้เฉพาะกรมศุลกากรโดยอธิบดีกรมศุลกากรเท่านั้น ที่มีอำนาจดำเนินการแก่ผู้กระทำผิดหรือมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด โดยหากไม่มีการร้องทุกข์แล้วเจ้าพนักงานตำรวจจะไม่มีอำนาจดำเนินการสอบสวนในความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนคดีในความผิดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าวได้เช่นเดียวกับคดีอาญาแผ่นดินทั่วไป เมื่อความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม หรือข้อจำกัดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ดังนั้น เมื่อมีการกระทำผิดเกิดขึ้นและเกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ ย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของเจ้าพนักงานตำรวจที่จะสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิด และพนักงานสอบสวนย่อมทำการสอบสวนเอาความผิดแก่ผู้กระทำผิดอาญาทั้งปวง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 17 และมาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 121 ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าอธิบดีกรมศุลกากรจะได้มอบหมายให้ผู้ใดแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อดำเนินการเอาผิดแก่จำเลยหรือไม่ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนกระทำโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การวินิจฉัยประเด็น, ค่าขึ้นศาล: ศาลฎีกาชี้ว่าเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีเสร็จสิ้น ไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นอื่น และค่าขึ้นศาลต้องเป็นไปตามประเภทคดี
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยไม่วินิจฉัยประเด็นขึ้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยอุทธรณ์และฎีกาขอให้วินิจฉัยในประเด็นข้ออื่นด้วย โดยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องทั้ง ๆ ที่จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีในศาลชั้นต้นอันเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะประเด็นตามอุทธรณ์และฎีกาของจำเลยมิได้มีผลเกี่ยวกับทุนทรัพย์ในคดี จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ชั้นศาลละ 200 บาท
of 452