พบผลลัพธ์ทั้งหมด 231 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5258/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปลอมเอกสารโดยไม่มีอำนาจหน้าที่โดยตรง ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 161
การที่จำเลยกระทำการปลอมเอกสารใบรับฝากส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษของที่ทำการไปรษณีย์พิษณุโลก ด้วยการกรอกข้อความให้ปรากฏว่าเป็นการรับฝากส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษว่าได้ส่งไปตามหน่วยราชการต่าง ๆ แล้วอันเป็นเท็จ นั้น ตามใบรับฝากไปรษณีย์ในประเทศ รวม 7 ฉบับ ด้านบนมีข้อความระบุว่า ผู้ฝากส่งเป็นผู้กรอกข้อความ เมื่อผู้ฝากส่งกรอกข้อความแล้วได้นำส่งให้แก่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ เพื่อนำซองเอกสารนั้นชั่งน้ำหนักและดำเนินการต่อโดยกรอกข้อความในส่วนด้านล่างที่มีข้อความระบุว่า เจ้าหน้าที่เป็นผู้กรอกข้อความซึ่งหมายถึงเจ้าพนักงานไปรษณีย์ผู้มีหน้าที่โดยตรงในการจัดทำเอกสารดังกล่าวซึ่งเป็นเอกสารของที่ทำการไปรษณีย์พิษณุโลก ดังนั้น การที่จำเลยกระทำการปลอมเอกสารดังกล่าว โดยจำเลยมีหน้าที่ตามคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบล ผ. เพียงเป็นผู้ปลดและผู้นำส่งประกาศประกวดราคาจ้างเหมาของผู้เสียหาย จำเลยจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการจัดทำเอกสารใบรับฝากส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษดังกล่าว การที่จำเลยปลอมเอกสารดังกล่าว จึงไม่ถือว่ากระทำโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้น ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 161 ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยได้รับการแต่งตั้งจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผ. ให้เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ เป็นเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ปลดและนำส่งเอกสารประกาศประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างของผู้เสียหายซึ่งกำหนด ให้มีหน้าที่นำเอกสารประกาศประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างดังกล่าว เผยแพร่ไปยังสถานที่ราชการต่าง ๆ รวมเจ็ดแห่ง ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2538 ข้อ 31 ดังนั้น ข้อฎีกาของโจทก์ที่ว่าจำเลยมีหน้าที่กรอกข้อความในใบรับฝากไปรษณีย์ด่วนพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2542 และตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจึงเป็นการนอกฟ้องและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยได้รับการแต่งตั้งจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผ. ให้เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ เป็นเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ปลดและนำส่งเอกสารประกาศประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างของผู้เสียหายซึ่งกำหนด ให้มีหน้าที่นำเอกสารประกาศประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างดังกล่าว เผยแพร่ไปยังสถานที่ราชการต่าง ๆ รวมเจ็ดแห่ง ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2538 ข้อ 31 ดังนั้น ข้อฎีกาของโจทก์ที่ว่าจำเลยมีหน้าที่กรอกข้อความในใบรับฝากไปรษณีย์ด่วนพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2542 และตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจึงเป็นการนอกฟ้องและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้อำนาจหน้าที่โดยชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ การวินิจฉัยชี้มูลความผิดต้องไม่สุจริต จงใจ และฝ่าฝืนกฎหมาย
ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและฎีกาของโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งเก้ากระทำการชี้มูลความผิด โดยไม่สุจริต จงใจกระทำผิดและฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการละเมิดต่อโจทก์เพราะจำเลยทั้งเก้าไม่มีอำนาจชี้มูลความผิดเนื่องจากขณะนั้นโจทก์พ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหากยังเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐก็พ้นจากการเป็นคณะกรรมการคัดเลือกเกิน 2 ปีแล้ว และจำเลยทั้งเก้าต้องรับฟังข้อเท็จจริงรอบด้าน ไม่ใช่รับฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลปกครองกลางและศาลปกครองสูงสุด ทั้งต้องรับฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานใหม่ที่โจทก์เสนอให้พิจารณา ข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างดังกล่าวเป็นการโต้แย้งการที่จำเลยทั้งเก้าใช้ดุลพินิจในการทำคำวินิจฉัยตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งไม่เป็นไปตามความเห็นและความประสงค์ของโจทก์เท่านั้น ไม่พอฟังว่าเป็นข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งเก้าใช้ดุลพินิจชี้มูลความผิดไปโดยไม่สุจริต จงใจกระทำผิดและฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ นอกจากการใช้ดุลพินิจตามกรอบภาระหน้าที่ตามกฎหมายแล้วก็ไม่ปรากฏเหตุที่จำเลยทั้งเก้าจะกระทำการใดอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์
คดีนี้โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ตรวจคำฟ้องแล้ว พิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่า จำเลยทั้งเก้ามีอำนาจดำเนินการตามกฎหมายแก่โจทก์และไม่ปรากฏการกระทำของจำเลยทั้งเก้าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์โดยรวมแล้ววินิจฉัย เห็นพ้องกับศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องเพราะจำเลยทั้งเก้าใช้ดุลพินิจชอบธรรมตามกรอบภาระหน้าที่ของตนตามกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ เป็นการวินิจฉัยประเด็นตามอุทธรณ์ของโจทก์โดยชอบแล้ว ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
คดีนี้โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ตรวจคำฟ้องแล้ว พิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่า จำเลยทั้งเก้ามีอำนาจดำเนินการตามกฎหมายแก่โจทก์และไม่ปรากฏการกระทำของจำเลยทั้งเก้าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์โดยรวมแล้ววินิจฉัย เห็นพ้องกับศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องเพราะจำเลยทั้งเก้าใช้ดุลพินิจชอบธรรมตามกรอบภาระหน้าที่ของตนตามกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ เป็นการวินิจฉัยประเด็นตามอุทธรณ์ของโจทก์โดยชอบแล้ว ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15201/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่ชัดเจนระบุผู้รับผลประโยชน์ไม่แน่นอน ทำให้ข้อกำหนดเป็นโมฆะ แต่ผู้จัดการมรดกยังคงมีอำนาจหน้าที่
ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่มิได้กำหนดให้บุคคลใดได้รับทรัพย์มรดก เพียงแต่ให้ผู้จัดการมรดกจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้มีชื่อตามความจำเป็น นับว่าเป็นการไม่กำหนดตัวบุคคลแน่นอนให้เป็นผู้รับพินัยกรรม ทั้งระบุไว้ไม่ชัดแจ้งจนไม่อาจที่จะทราบแน่นอนได้ว่าให้ทรัพย์สินแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดจำนวนมากน้อยเพียงใดตามแต่ใจของผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดก จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1706 (2) และ (3) และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 246 ยกขึ้นวินิจฉัยตามมาตรา 142 (5)
แม้ข้อกำหนดในพินัยกรรมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1706 (2) และ (3) แต่พินัยกรรมในส่วนที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาตั้งผู้จัดการมรดกยังคงสมบูรณ์ หาตกเป็นโมฆะไปด้วยไม่
แม้ข้อกำหนดในพินัยกรรมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1706 (2) และ (3) แต่พินัยกรรมในส่วนที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาตั้งผู้จัดการมรดกยังคงสมบูรณ์ หาตกเป็นโมฆะไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่โดยตรง การลงมติไม่มีอำนาจหน้าที่ ไม่เป็นความผิด ม.157
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 จะต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งอยู่ในหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นเองโดยมิชอบด้วยเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือโดยทุจริต ถ้าไม่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตราดังกล่าว ขณะเกิดเหตุอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชลบุรี เป็นอำนาจหน้าที่ของเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 30 จำเลยทั้งหกมีอำนาจตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมายตามมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมิได้กำหนดให้จำเลยทั้งหกในฐานะคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งโยกย้ายพนักงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง การที่จำเลยทั้งหกมีการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชลบุรีแล้วมีมติว่า ให้ส่งตัวโจทก์คืนสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งและให้แต่งตั้งหัวหน้างานสืบสวนสอบสวนคนใหม่แทนโจทก์ จำเลยทั้งหกกระทำไปโดยไม่มีอำนาจหน้าที่ ทั้งไม่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยที่ 1 ทำหนังสือขอส่งตัวโจทก์คืนไปยังเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง เลขาธิการมีคำสั่งเกี่ยวกับหนังสือดังกล่าวอย่างไร การที่โจทก์ได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ก็เป็นเวลาตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2548 ก่อนที่จะมีมติดังกล่าว ส่วนที่โจทก์ได้รับคำสั่งให้ช่วยราชการต่อเนื่องกันมาจนถึงวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 ตามคำสั่งของเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยไม่ปรากฏว่าการมีคำสั่งดังกล่าวสืบเนื่องมาจากการลงมติของจำเลยทั้งหกที่ให้ส่งตัวโจทก์คืน การกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จึงหาใช่เป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ หรือเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ป.อ. มาตรา 157 แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10079/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังปลดล้มละลาย: การติดตามทรัพย์สินก่อนปลดล้มละลายและการเพิกถอนการชำระหนี้
คำสั่งปลดจำเลยจากล้มละลายมีผลเพียงให้จำเลยพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย มีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินหรือกิจการของตนซึ่งได้มานับแต่วันที่ได้รับการปลดจากล้มละลายแล้วเท่านั้น ส่วนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังคงมีอำนาจในการจัดการและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นทรัพย์สินอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 ทั้งจำเลยซึ่งได้ถูกปลดจากล้มละลายนั้นยังมีหน้าที่ช่วยในการจำหน่ายและแบ่งทรัพย์สินของตนซึ่งตกอยู่กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องการ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 79 เมื่อผู้ร้องอ้างในคำร้องว่าหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด จำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์โดยไม่มีอำนาจ เป็นการให้เปรียบเจ้าหนี้รายอื่น ขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ดังกล่าว ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ชอบที่จะไต่สวนให้ได้ความเสียก่อนว่า จำเลยได้กระทำการดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้างหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการที่ผู้ร้องจักได้จัดการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18161/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงาน ป.อ.มาตรา 157: สถานะหน่วยงานของรัฐและอำนาจหน้าที่ของกรรมการสถาบัน
การกระทำอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ผู้กระทำต้องเป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งหมายถึงผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐที่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา หรือผู้ที่มีกฎหมายบัญญัติว่าหากได้รับแต่งตั้งจากผู้มีอำนาจหน้าที่ให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่เมื่อพิจารณา พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 มาตรา 39 ที่ว่าด้วยส่วนราชการของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ไม่ปรากฏว่าสถาบันแห่งนี้เป็นส่วนราชการในสังกัดของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วย จำเลยจึงมิใช่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐที่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน และไม่ปรากฏว่ามีบทมาตราใดบัญญัติว่าการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถาบันแห่งนี้เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญาด้วย การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยในฐานะประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยในการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ตามฟ้องจึงไม่อาจเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ได้
แม้การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยดังกล่าวอาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดทางอาญาของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา แต่ก็เป็นกฎหมายคนละฉบับกัน และโจทก์มิได้กล่าวมาในคำฟ้อง จะลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวย่อมมิได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอ ทั้งไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่
ขณะเกิดเหตุจำเลยมีตำแหน่งเป็นรองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นข้าราชการพลเรือนและรับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดิน ทำหน้าที่ประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยตามฟ้องเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย มิได้เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของรองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน จะถือว่าการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยของจำเลยเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะรองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วยมิได้
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่เมื่อพิจารณา พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 มาตรา 39 ที่ว่าด้วยส่วนราชการของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ไม่ปรากฏว่าสถาบันแห่งนี้เป็นส่วนราชการในสังกัดของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วย จำเลยจึงมิใช่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐที่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน และไม่ปรากฏว่ามีบทมาตราใดบัญญัติว่าการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถาบันแห่งนี้เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญาด้วย การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยในฐานะประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยในการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ตามฟ้องจึงไม่อาจเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ได้
แม้การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยดังกล่าวอาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดทางอาญาของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา แต่ก็เป็นกฎหมายคนละฉบับกัน และโจทก์มิได้กล่าวมาในคำฟ้อง จะลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวย่อมมิได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอ ทั้งไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่
ขณะเกิดเหตุจำเลยมีตำแหน่งเป็นรองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นข้าราชการพลเรือนและรับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดิน ทำหน้าที่ประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยตามฟ้องเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย มิได้เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของรองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน จะถือว่าการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยของจำเลยเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะรองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วยมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15794/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเงินเพิ่มเติมจากผู้ซื้อทอดตลาดหลังมีคำร้องเพิกถอน และอำนาจริบเงินมัดจำที่ไม่ชอบ
ตามคำสั่งกรมบังคับคดีที่ 333/2551 เรื่องการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สิน เมื่อมีผู้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด ไม่มีข้อกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกให้ผู้ซื้อทรัพย์วางเงินให้ครบร้อยละ 5.5 ของราคาที่ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาด ส่วนในข้อ 14 ของคำสั่งดังกล่าวที่ว่า "ในกรณีมีการขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สิน หากผู้ซื้อประสงค์จะได้รับเงินคืน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคืนเงินแก่ผู้ซื้อ โดยเหลือไว้ร้อยละ 5.5 ของราคาที่ซื้อขาย" เป็นเรื่องการขอคืนเงิน มิใช่เป็นการให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกเงินจากผู้ซื้อทรัพย์เพิ่มเติมให้ครบร้อยละ 5.5 ประกอบกับคู่มือการนำระเบียบ คำสั่ง กฎหมาย มาใช้กับการบังคับคดีแพ่งได้ให้คำอธิบายว่า "กรณีมีผู้ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้น ผู้ซื้อไม่ต้องวางเงิน หากมีการชำระราคาครบถ้วนหรือวางมัดจำเกินร้อยละ 5.5 ของราคาซื้อขาย ให้คืนเงินส่วนเกิน คงเหลือไว้ร้อยละ 5.5" ดังนั้น เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอชะลอการชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ เนื่องจากจำเลยทั้งสี่ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายตลาดที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายแก่ผู้ซื้อทรัพย์ แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีกลับมีคำสั่งให้ผู้ซื้อทรัพย์วางเงินให้ครบร้อยละ 5.5 ของราคาที่ดินที่ซื้อได้ จึงไม่ชอบ เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจเรียกให้ผู้ซื้อทรัพย์ชำระเงินให้ครบร้อยละ 5.5 ของราคาซื้อดังกล่าวได้ ส่วนการที่ผู้ซื้อทรัพย์ไม่ชำระเงินให้ครบร้อยละ 5.5 ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งริบเงินมัดจำ จำนวน 2,000,000 บาท แล้วประกาศให้ขายทอดตลาดใหม่นั้น ระเบียบกรมบังคับคดีข้อ 12 กำหนดว่า กรณีที่ผู้ซื้อทรัพย์ไม่ชำระราคาทรัพย์ส่วนที่เหลือภายในกำหนด เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจริบมัดจำ แต่กรณีนี้ไม่ใช่เป็นการชำระราคาทรัพย์ส่วนที่เหลือ แต่เป็นกรณีเรียกให้ผู้ซื้อทรัพย์วางเงินให้ครบร้อยละ 5.5 ของราคาซื้อ จึงหมายความว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจริบเงินมัดจำ หากเรียกให้ผู้ซื้อทรัพย์ชำระราคาส่วนที่เหลือ แล้วไม่ปฏิบัติตาม เมื่อกรณีนี้มีการร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด แล้วผู้ซื้อทรัพย์มีสิทธิขอคืนเงินได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ 14 ทั้งยังไม่แน่นอนว่า เมื่อมีผู้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดแล้ว ผู้ซื้อทรัพย์จะได้ซื้อทรัพย์ตามที่ประมูลหรือไม่ จึงไม่มีเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีริบเงินมัดจำของผู้ซื้อทรัพย์ดังกล่าว คำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ให้ริบเงินมัดจำและสั่งให้ขายทอดตลาดใหม่จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19969/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเปิดเผยข้อมูลข่าวสารลับของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ
ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นหัวหน้าหน่วยงานในสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินอันเป็นหน่วยงานของรัฐตามบทบัญญัติมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 ที่ระบุให้ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบการบริหารทั่วไปซึ่งงานตรวจเงินแผ่นดิน จึงเป็นหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจมีคำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารลับได้ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ.2544 ข้อ 49 ซึ่งออกตามความในมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1153/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้ใหญ่บ้านจำกัดเฉพาะการดูแลทุกข์สุขของราษฎร ไม่รวมถึงการตรวจสอบการใช้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 27 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2551 มาตรา 7 มิได้กำหนดให้ผู้ใหญ่บ้านมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการใช้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือการดำเนินการใดๆ โดยการใช้เงินที่ได้รับการอุดหนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การที่ผู้เสียหายจัดให้มีการประชุมราษฎรและคณะกรรมการหมู่บ้านและตรวจสอบกรณีสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์มีมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติให้จ่ายขาดเงินสะสมอุดหนุนกิจการเกษตรให้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำ หมู่ที่ 3 ตำบลดอนเจดีย์ โดยไม่ปรากฏว่ามีผู้ร้องเรียนต่อผู้เสียหายหรือมีราษฎรในหมู่บ้านของผู้เสียหายได้รับความเดือนร้อนจากมติของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์ดังกล่าว มิใช่เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในการดูแลทุกข์สุขของราษฎรในหมู่บ้านซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14556/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาที่ดินเวนคืน, สิทธิเรียกร้องค่าทดแทน, และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานราชการหลังการปรับปรุงกระทรวง
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติชัดเจนว่า เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จะต้องร้องขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือในระยะเวลาใด เมื่อปรากฏว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนมีหนังสือถึงโจทก์ให้ไปรับเงินค่าทดแทน โจทก์จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนได้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แม้ขณะที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์และมีหนังสือขอให้ซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนเป็นระยะเวลาที่เลยกำหนด พ.ร.ฎ.เวนคืนใช้บังคับแล้วก็ตาม ไม่ทำให้อุทธรณ์และหนังสือแจ้งร้องขอให้ซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนสิ้นสิทธิอุทธรณ์และสิ้นสิทธิร้องขอให้ซื้อที่ดินไปด้วย เพราะมิฉะนั้นก็อาจเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่เวนคืนมีหนังสือแจ้งให้ผู้ถูกเวนคืนไปรับเงินค่าทดแทนใกล้กับวันครบกำหนดใช้บังคับตาม พ.ร.ฎ.เวนคืน อันจะทำให้ความในมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ไม่มีผลบังคับไปในตัว ซึ่งไม่ชอบด้วยเหตุผลความถูกต้องและความยุติธรรม