คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงื่อนไข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6145/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายจ้างกำหนดเงื่อนไขรางวัลพิเศษ: สิทธิลูกจ้างเมื่อพ้นสภาพการเป็นลูกจ้างก่อนประกาศ
นายจ้างมีอำนาจที่จะกำหนดเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ในการจ่ายรางวัลพิเศษให้แก่ลูกจ้าง เป็นอย่างไรก็ได้ จำเลยออกประกาศกำหนดการให้รางวัลพิเศษเพิ่มแก่พนักงานว่าเพื่อตอบแทนในความร่วมมือของพนักงานที่ทำ ให้ประสบความสำเร็จ บริษัทฯ จึงเพิ่มรางวัลพิเศษให้แก่พนักงานเท่ากับ 0.8 เท่าของเงินเดือน โดยจะจ่ายให้ด้วยการโอนเข้าบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ของพนักงานในวันที่ 31 พฤษภาคม 2531 มีความหมายว่า จำเลยจะจ่ายรางวัลพิเศษเพิ่มให้แก่ผู้ที่ยังเป็นพนักงานของจำเลยอยู่ในวันที่จำเลยใช้ประกาศดังกล่าวเท่านั้น และประกาศนี้ไม่ได้กำหนดให้มีผลถึงพนักงานที่ออกจากงานไปก่อนแล้วหรือใช้บังคับย้อนหลังไปถึงปี 2530 แม้จำเลยจะพิจารณาจ่ายรางวัลพิเศษเพิ่มจากผลงานในรอบปี 2530 ก็ไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเกษียณอายุพ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยไปก่อนที่จำเลยจะประกาศใช้ประกาศ ดังกล่าวมีสิทธิได้รับรางวัลพิเศษเพิ่มจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6145/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายจ้างกำหนดเงื่อนไขรางวัลพิเศษ: สิทธิลูกจ้างที่พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างแล้ว
นายจ้างมีอำนาจที่จะกำหนดเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ในการจ่ายรางวัลพิเศษให้แก่ลูกจ้างเป็นอย่างไรก็ได้ จำเลยออกประกาศกำหนดการให้รางวัลพิเศษเพิ่มแก่พนักงานเพื่อตอบสนองในความร่วมมือของพนักงานที่ทำให้ประสบความสำเร็จ บริษัทฯ จึงเพิ่มรางวัลพิเศษให้แก่พนักงานเท่ากับ 0.8 เท่าของเงินเดือน โดยจะจ่ายให้ด้วยการโอนเข้าบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ของพนักงานในวันที่ 31 พฤษภาคม 2531มีความหมายว่า จำเลยจะจ่ายรางวัลพิเศษเพิ่มให้แก่ผู้ที่ยังเป็นพนักงานของจำเลยอยู่ในวันที่จำเลยใช้ประกาศดังกล่าวเท่านั้นและประกาศนี้ไม่ได้กำหนดให้มีผลถึงพนักงานที่ออกจากงานไปก่อนแล้วหรือใช้บังคับย้อนหลังไปถึงปี 2530 แม้จำเลยจะพิจารณาจ่ายรางวัลพิเศษเพิ่มจากผลงานในรอบปี 2530 ก็ไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเกษียณอายุพ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยไปก่อนที่จำเลยจะประกาศใช้ประกาศดังกล่าวมีสิทธิได้รับรางวัลพิเศษเพิ่มจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3038/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความที่ไม่สมบูรณ์: เงื่อนไขการไม่ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด
จำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายแล้วพูดขอโทษอย่าให้ผู้เสียหายเอาเรื่อง ผู้เสียหายว่าแล้วกันไปแต่อย่าพูดให้เสียหายการที่ผู้เสียหายพูดกับจำเลยดังกล่าวเป็นการให้อภัยแก่จำเลยเมื่อจำเลยได้ขอโทษผู้เสียหายแล้ว โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะไม่ไปพูดให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหาย ยังไม่ถือว่าเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย เพราะผู้เสียหายมิได้พูดว่าจะไม่ดำเนินคดีกับจำเลยตลอดไปแต่ผู้เสียหายจะไม่ดำเนินคดีกับจำเลยต่อเมื่อจำเลยไม่ไปพูดให้เสียหาย ดังนั้นสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิประกันภัย และขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันภัยผิดเงื่อนไข
บันทึกข้อตกลงมีข้อความว่า ผู้เอาประกันภัยรถยนต์ตกลงชดใช้ค่าทดแทนค่าเสียหายให้กับฝ่ายผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ตายและผู้บาดเจ็บโดยผู้เสียหายรับเงินแล้วไม่ประสงค์จะฟ้องร้องต่อไปอีก เป็นการตกลงชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องจากการบาดเจ็บและตายเท่านั้น ไม่รวมถึงความเสียหายอันเกิดกับรถยนต์อีกส่วนหนึ่งต่างหาก เมื่อผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของรถยนต์แล้วย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยได้ เงื่อนไขความรับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งกำหนดให้ผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยต้องเคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์และเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยที่จะต้องนำหลักฐานนั้นมาแสดงต่อผู้รับประกันภัยมิฉะนั้นผู้รับประกันภัยอาจจะไม่รับผิดชอบชดใช้ค่าทดแทนนั้น มิได้ระบุชัดแจ้งว่าให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญา การผิดเงื่อนไขหรือไม่เพียงใดเป็นเรื่องที่ผู้รับประกันภัยจะว่ากล่าวเอากับผู้เอาประกันภัยคู่สัญญา จะยกเหตุแห่งการผิดเงื่อนไขดังกล่าวเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีตาม พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 และข้อยกเว้นการประเมินภาษี หากปฏิบัติตามเงื่อนไข
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่14) พ.ศ.2529 เปิดโอกาสให้ผู้ที่ยังไม่ได้เสียภาษีหรือเสียไว้ไม่ถูกต้อง ยื่นคำขอเสียภาษีภายในระยะเวลาและตามแบบที่อธิบดีกำหนด เมื่อผู้ยื่นคำขอเสียภาษีได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ก็เป็นอันให้ผู้นั้นได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวนประเมิน ผู้ยื่นคำขอจะหมดสิทธิที่จะได้รับยกเว้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรคแรกคงมีเฉพาะเพียงกรณีตามมาตรา 30 วรรคห้าเท่านั้น ดังนี้ เมื่อ อ. ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบ อ.1 และได้ชำระภาษีอากรแล้วแม้ภายหลังจะปรากฏว่า อ. ได้แสดงรายการทรัพย์สินหนี้สินรายได้ไม่ถูกต้องในแบบ อ.1 ก็เป็นเพียงคำขอเสียภาษีมีข้อบกพร่องเท่านั้น หาทำให้ อ. ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกรอกเงื่อนไขในใบสมัครหลังอนุมัติ ไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร หากเป็นการตกลงกันและเป็นไปตามระเบียบบริษัท
โจทก์ยื่นใบสมัครเข้าทำงานโดยกรอกข้อความในใบสมัครเว้นว่างไว้แต่ในช่องเฉพาะเจ้าหน้าที่ด้านหลังใบสมัคร จำเลยซึ่งเป็นผู้อำนวยการบริษัทได้กรอกข้อความลงในช่องเฉพาะเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ภายหลังจากที่บริษัทได้มีคำสั่งอนุมัติให้โจทก์เข้าทำงานแล้ว แต่จำเลยกระทำไปตรงตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่ทำไว้กับโจทก์ก่อนยื่นใบสมัครทั้งเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการและระเบียบข้อบังคับของบริษัท เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยกระทำไปโดยได้รับความยินยอมจากโจทก์และเมื่อข้อความที่จำเลยกรอกนั้นตรงตามที่ได้ตกลงกับโจทก์ไว้ จำเลยก็มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกรอกเงื่อนไขในใบสมัครหลังอนุมัติเข้าทำงาน ไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร หากเป็นการตกลงและปฏิบัติตามระเบียบ
โจทก์ยื่นใบสมัครเข้าทำงานโดยกรอกข้อความในใบสมัครเว้นว่างไว้แต่ในช่องเฉพาะเจ้าหน้าที่ด้านหลังใบสมัคร จำเลยซึ่งเป็นผู้อำนวยการบริษัทได้กรอกข้อความลงในช่องเฉพาะเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ภายหลังจากที่บริษัทได้มีคำสั่งอนุมัติให้โจทก์เข้าทำงานแล้ว แต่จำเลยกระทำไปตรงตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่ทำไว้กับโจทก์ก่อนยื่นใบสมัครทั้งเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการและระเบียบข้อบังคับของบริษัท เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยกระทำไปโดยได้รับความยินยอมจากโจทก์และเมื่อข้อความที่จำเลยกรอกนั้นตรงตามที่ได้ตกลงกับโจทก์ไว้ จำเลยก็มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นยอมความในคดีอาญา สิทธิฟ้องย่อมระงับเมื่อเงื่อนไขครบถ้วน
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลว่า จำเลยยินยอมชำระเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งภายใน 6 เดือน โดยจำเลยจะผ่อนชำระเป็นรายเดือน หากจำเลยผิดนัดงวดใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด ยินยอมให้โจทก์บังคับคดีได้และให้คิดดอกเบี้ยในเงินที่ค้างชำระนับแต่วันผิดนัด เมื่อจำเลยชำระเงินครบถ้วนแล้วโจทก์จะถอนฟ้องจำเลยในคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ดังนี้ แม้จำเลยจะผิดนัดชำระเงิน 2 งวดไม่ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้บังคับคดีหรือคิดดอกเบี้ยจากจำเลยถือได้ว่าโจทก์จำเลยต่างมีเจตนาระงับข้อผูกพันเดิมโดยไม่ถือว่าการไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเป็นการผิดสัญญา และไม่ติดใจเรื่องดอกเบี้ยกันแล้ว เมื่อจำเลยชำระหนี้งวดสุดท้ายให้โจทก์โจทก์จะไม่รับโดยเกี่ยงจะคิดดอกเบี้ยด้วยหาได้ไม่ การที่จำเลยนำเงินนั้นไปวางที่กรมบังคับคดีภายในกำหนดตามสัญญาจึงเป็นการชำระหนี้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์ต้องถอนฟ้องคดีอาญาให้จำเลย และมีผลเป็นการยอมความในคดีอาญาสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5256/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจศาลแรงงาน & การพิพากษาแบบมีเงื่อนไข & การอุทธรณ์
จำเลยให้การว่าโจทก์รับเงินค่าระวางของจำนวน 600 บาทจากพนักงานของจำเลยแล้วทดเงินไว้เป็นเวลา 7 วัน เป็นการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบของบริษัทจำเลยอย่างร้ายแรงศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ทุจริตเงินค่าระวางของจำนวน 600 บาทหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิได้รับเงินตามฟ้องหรือไม่ ดังนี้ ปัญหาว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ จึงมิได้เป็นข้อพิพาทในคดี เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทุจริตเงินค่าระวางดังกล่าว อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงจึงมิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ประกอบด้วย มาตรา 31แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 นั้น ศาลแรงงานต้องพิจารณาว่าลูกจ้างกับนายจ้างอาจทำงานร่วมกันต่อไปได้หรือไม่เป็นประการแรกหากไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปจึงจะพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้ลูกจ้างเป็นประการที่สองศาลแรงงานพึงพิพากษาเพียงประการเดียว การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หากไม่สามารถรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้ก็ให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้าง อันเป็นการพิพากษาสองประการโดยมีเงื่อนไขนั้นย่อมเป็นการไม่ชอบ และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ แต่การพิจารณาถึงเหตุสองประการดังกล่าวเป็นดุลพินิจของศาลแรงงาน จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงศาลฎีกาต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4540/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินแคชเชียร์เช็ค: ธนาคารต้องดำเนินการตามข้อความบนเช็ค ไม่ใช่กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม
ธนาคารจำเลยออกแคชเชียร์เช็คสั่งให้ธนาคารโจทก์จ่ายเงินเข้าบัญชีของ ธ. ซึ่งมีบัญชีดังกล่าวกับธนาคารโจทก์ การที่ธนาคารโจทก์นำเงินเข้าบัญชีของ ธ.และธ. เบิกเงินไปจากธนาคารโจทก์แล้ว เมื่อไม่มีลักษณะใดที่แสดงว่าเป็นการจ่ายเงินโดยไม่สุจริต ธนาคารจำเลยจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามแคชเชียร์เช็คแก่โจทก์โดยอ้างว่าธนาคารโจทก์จะต้องนำแคชเชียร์เช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารจำเลยเสียก่อนจึงจะนำเงินเข้าบัญชีของ ธ. ได้นั้นไม่ได้ เพราะเป็นข้ออ้างที่ขัดกับข้อความที่ปรากฏในแคชเชียร์เช็ค.
of 48