พบผลลัพธ์ทั้งหมด 746 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7262/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีผิดสัญญาเช่าซื้อเดิมถึงที่สุดแล้ว การเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมจากการประมูลรถยนต์ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีนี้กับคดีก่อนคู่ความทั้งสองคดีเป็นคู่ความรายเดียวกันและเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายอันมีมูลมาจากการผิดสัญญาเช่าซื้อฉบับเดียวกันโดยคดีก่อนโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าขาดประโยชน์และส่งมอบรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อคืนหรือใช้ราคาแทนส่วนคดีนี้โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายในส่วนที่ยังขาดอยู่หลังจากการประมูลขายรถยนต์ที่ยึดคืนมาได้กับค่าใช้จ่ายในการประมูลขายรถยนต์ซึ่งโจทก์สามารถประเมินความเสียหายได้ตั้งแต่ขณะยึดรถยนต์คืนจากจำเลยที่1และชอบที่จะขอแก้ไขคำฟ้องเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้เพิ่มเข้ามาในคดีก่อนดังนั้นทั้งสองคดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาเช่าซื้อหรือไม่และจะต้องรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์เพียงใดเมื่อคดีก่อนถึงที่สุดไปแล้วฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6172/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนรถยนต์เช่าซื้อที่ถูกยึดหลังเกิดอุบัติเหตุ: ศาลไม่อำนาจพิจารณาคดีไม่มีข้อพิพาท
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ซึ่งได้ให้ว.เช่าซื้อไปแล้วว. ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกันทันทีตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาและว. ต้องส่งมอบรถยนต์คืนให้แก่ผู้ร้องแต่ว. ไม่ส่งคืนต่อมารถยนต์ได้เกิดอุบัติเหตุถูกพนักงานสอบสวนยึดไว้เพื่อประกอบคดีผู้ร้องได้ไปติดต่อขอรับรถยนต์คืนแต่พนักงานสอบสวนไม่คืนให้ขอให้ศาลมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนคืนรถยนต์ให้แก่ผู้ร้องการยื่นคำร้องดังกล่าวไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ยื่นคำร้องขอฝ่ายเดียวเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้หากผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่เกี่ยวกับรถยนต์ก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลได้โดยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55เมื่อผู้ร้องไม่อาจใช้สิทธิทางศาลได้ตามกฎหมายผู้ร้องย่อมไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอฉะนั้นแม้ผู้คัดค้านจะยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดีก็ตามก็ไม่สามารถดำเนินคดีต่อไปอย่างคดีที่มีข้อพิพาทได้และไม่อาจปรับเข้ากับมาตรา188(4)ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญาเช่าซื้อเลิกสัญญา: ค่าเสียหาย, ค่าขาดประโยชน์, ค่าเสื่อมสภาพ, และดอกเบี้ย
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ย่อมมีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กัน ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 391 และมาตรา 392 บัญญัติว่า การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้น ให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา369 กล่าวคือ ให้นำมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ได้ แม้ตามคำฟ้องโจทก์เรียกร้องมาเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ แต่เมื่อคำฟ้องบรรยายมาว่า การที่จำเลยผิดนัดผิดสัญญาต่อโจทก์จนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาดังกล่าว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายกล่าวคือตลอดเวลาตั้งแต่ทำสัญญาเช่าซื้อจนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์คืนมานั้นจำเลยเป็นผู้ครอบครองใช้รถยนต์ที่เช่าซื้ออันเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดแรกวันที่ 4 ตุลาคม 2533 ถึงงวดที่ 12 วันที่ 4 กันยายน 2534 ซึ่งคำนวณแล้วจำเลยค้างชำระค่าเช่าซื้อเป็นเงิน 652,584 บาท ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเป็นค่าขาด-ประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์มาตลอดเวลาที่จำเลยยังครอบครองทรัพย์ของโจทก์อยู่ด้วย ดังนี้ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้และค่าเสียหายเช่นนี้ศาลอาจกำหนดตามที่เห็นสมควรได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
เมื่อกรณีเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยมีส่วนนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้โดยมิชอบ ไม่สงวนทรัพย์สินเสมอกับวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเองเป็นเหตุให้รถยนต์ชำรุดเสียหาย จำเลยจึงต้องรับผิดในส่วนที่รถยนต์ขายได้ราคาต่ำลงมาเนื่องจากความชำรุดเสียหายดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 562ทั้งข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อตามสำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ก็ระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลง ถ้าปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อตกอยู่ในสภาพเสื่อมเหลือมูลค่าเป็นเงินไม่คุ้มกับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระทั้งหมดตามสัญญารวมกับหนี้สินอื่น ๆ ที่จำเลยยังคงค้างชำระอยู่ จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินที่ยังขาดอยู่เป็นค่าเสียหายให้แก่โจทก์จนครบถ้วนด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์
ตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระบุว่า "ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามจำนวนและเวลาและสถานที่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญานี้หรือไม่ชำระค่าเสียหาย และหรือหนี้สินอื่นใดที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบต่อบริษัท...ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบเสียดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระให้แก่บริษัทในอัตราร้อยละสิบเจ็ดต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จอีกด้วย" ดังนี้ข้อสัญญาดังกล่าวไม่รวมถึงหนี้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ค่าเสียหายดังกล่าวนี้โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 เท่านั้น ส่วนค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นเป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระตามข้อตกลงในสัญญา แต่ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวนี้ เป็นวิธีกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าวิธีหนึ่ง มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ถ้ากำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้
เมื่อกรณีเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยมีส่วนนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้โดยมิชอบ ไม่สงวนทรัพย์สินเสมอกับวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเองเป็นเหตุให้รถยนต์ชำรุดเสียหาย จำเลยจึงต้องรับผิดในส่วนที่รถยนต์ขายได้ราคาต่ำลงมาเนื่องจากความชำรุดเสียหายดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 562ทั้งข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อตามสำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ก็ระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลง ถ้าปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อตกอยู่ในสภาพเสื่อมเหลือมูลค่าเป็นเงินไม่คุ้มกับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระทั้งหมดตามสัญญารวมกับหนี้สินอื่น ๆ ที่จำเลยยังคงค้างชำระอยู่ จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินที่ยังขาดอยู่เป็นค่าเสียหายให้แก่โจทก์จนครบถ้วนด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์
ตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระบุว่า "ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามจำนวนและเวลาและสถานที่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญานี้หรือไม่ชำระค่าเสียหาย และหรือหนี้สินอื่นใดที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบต่อบริษัท...ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบเสียดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระให้แก่บริษัทในอัตราร้อยละสิบเจ็ดต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จอีกด้วย" ดังนี้ข้อสัญญาดังกล่าวไม่รวมถึงหนี้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ค่าเสียหายดังกล่าวนี้โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 เท่านั้น ส่วนค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นเป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระตามข้อตกลงในสัญญา แต่ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวนี้ เป็นวิธีกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าวิธีหนึ่ง มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ถ้ากำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์และค่าเสื่อมสภาพรถยนต์ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิด
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วย่อมมีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมแต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391และมาตรา392บัญญัติว่าการชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา369กล่าวคือให้นำมาตรา369ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับโจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ได้แม้ตามคำฟ้องโจทก์เรียกร้องมาเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระแต่เมื่อคำฟ้องบรรยายมาว่าการที่จำเลยผิดนัดผิดสัญญาต่อโจทก์จนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาดังกล่าวทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายกล่าวคือตลอดเวลาตั้งแต่ทำสัญญาเช่าซื้อจนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์คืนมานั้นจำเลยเป็นผู้ครอบครองใช้รถยนต์ที่เช่าซื้ออันเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดแรกวันที่4ตุลาคม2533ถึงงวดที่12วันที่4กันยายน2534ซึ่งคำนวณแล้วจำเลยค้างชำระค่าเช่าซื้อเป็นเงิน652,584บาทถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์มาตลอดเวลาที่จำเลยยังครอบครองทรัพย์ของโจทก์อยู่ด้วยดังนี้ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้และค่าเสียหายเช่นนี้ศาลอาจกำหนดตามที่เห็นสมควรได้ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142 เมื่อกรณีเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยมีส่วนนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้โดยมิชอบไม่สงวนทรัพย์สินเสมอกับวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเองเป็นเหตุให้รถยนต์ชำรุดเสียหายจำเลยจึงต้องรับผิดในส่วนที่รถยนต์ขายได้ราคาต่ำลงมาเนื่องจากความชำรุดเสียหายดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา562ทั้งข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อตามสำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ก็ระบุว่าเมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงถ้าปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อตกอยู่ในสภาพเสื่อมเหลือมูลค่าเป็นเงินไม่คุ้มกับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้หมดตามสัญญารวมกับหนี้สินอื่นๆที่จำเลยยังคงค้างชำระอยู่จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินที่ยังขาดอยู่เป็นค่าเสียหายให้แก่โจทก์จนครบถ้วนด้วยจำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ ตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระบุว่า"ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามจำนวนและสถานที่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญานี้หรือไม่ชำระค่าเสียหายและหรือหนี้สินอื่นใดที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบต่อบริษัทผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบเสียดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระให้แก่บริษัทในอัตราร้อยละสิบเจ็ดต่อปีนับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จอีกด้วย"ดังนี้ข้อสัญญาดังกล่าวไม่รวมถึงหนี้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ค่าเสียหายดังกล่าวนี้โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224เท่านั้นส่วนค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นเป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระตามข้อตกลงในสัญญาแต่ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวนี้เป็นวิธีกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับถ้ากำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6072/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่หลังขายช่วงสิทธิเช่าซื้อ: อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้อาศัยออกจากอาคารพิพาทซึ่งโจทก์เช่าซื้อมาจากการเคหะแห่งชาติในราคา63,000บาทหากโจทก์นำอาคารพิพาทไปให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ1,000บาทจำเลยให้การว่าโจทก์ได้ขายช่วงสิทธิการเช่าซื้ออาคารพิพาทให้จำเลยแล้วโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจึงเป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้อาศัยออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาทต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสองซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ขายช่วงสิทธิการเช่าซื้ออาคารพิพาทให้แก่จำเลยไปแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยโจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้มีหลักฐานการขายช่วงสิทธิอาคารพิพาทกับหลักฐานการรับเงินเป็นพยานและโจทก์ไม่ได้หลอกลวงเอาใบเสร็จรับเงินจากจำเลยข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ขายช่วงสิทธิการเช่าอาคารพิพาทแก่จำเลยแล้วเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามอุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าวที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์มานั้นจึงเป็นการไม่ชอบและถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ทั้งฎีกาโจทก์ล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5464/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อ: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันแม้ชื่อโจทก์ไม่ปรากฏ
ป.พ.พ. มาตรา 680ป.วิ.พ. มราตรา 172 วรรคสอง
สัญญาค้ำประกันระบุชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันมีข้อความครบถ้วน แสดงว่าเป็นการค้ำประกันการเช่าซื้อโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมแม้จะมิได้เติมชื่อบริษัทโจทก์และจำเลยที่ 1 ลงในช่องว่างที่เว้นไว้ แต่สัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นแบบพิมพ์อยู่ในกระดาษแผ่นเดียวกับสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อเพียงแต่อยู่ด้านหลังของสัญญาเช่าซื้อและจำเลยที่ 2 ก็เบิกความยอมรับว่าได้ลงชื่อในสัญญาค้ำประกันดังกล่าว แสดงว่าจำเลยที่ 2 ตกลงเข้าค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์โจทก์จึงมีฐานะเป็นูคู่สัญญาและเจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายเกี่ยวกับตัวจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้อง ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อต้องรับผิดชำระค่าเสียหาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วยคำฟ้องโจทก์จึงแจ้งชัดพอที่จำเลยที่ 2 จะเข้าใจและต่อสู้คดีได้ แม้สัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องจะมิได้ระบุชื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ก็หาทำให้เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุมไม่
สัญญาค้ำประกันระบุชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันมีข้อความครบถ้วน แสดงว่าเป็นการค้ำประกันการเช่าซื้อโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมแม้จะมิได้เติมชื่อบริษัทโจทก์และจำเลยที่ 1 ลงในช่องว่างที่เว้นไว้ แต่สัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นแบบพิมพ์อยู่ในกระดาษแผ่นเดียวกับสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อเพียงแต่อยู่ด้านหลังของสัญญาเช่าซื้อและจำเลยที่ 2 ก็เบิกความยอมรับว่าได้ลงชื่อในสัญญาค้ำประกันดังกล่าว แสดงว่าจำเลยที่ 2 ตกลงเข้าค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์โจทก์จึงมีฐานะเป็นูคู่สัญญาและเจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายเกี่ยวกับตัวจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้อง ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อต้องรับผิดชำระค่าเสียหาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วยคำฟ้องโจทก์จึงแจ้งชัดพอที่จำเลยที่ 2 จะเข้าใจและต่อสู้คดีได้ แม้สัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องจะมิได้ระบุชื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ก็หาทำให้เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5464/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อ แม้ไม่ได้ระบุชื่อคู่สัญญาครบถ้วน แต่หากผู้ค้ำประกันยอมรับ ก็มีผลผูกพัน
สัญญาค้ำประกันระบุชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันมีข้อความครบถ้วน แสดงว่าเป็นการค้ำประกันการเช่าซื้อโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมแม้จะมิได้เติมชื่อบริษัทโจทก์และจำเลยที่ 1 ลงในช่องว่างที่เว้นไว้ แต่สัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นแบบพิมพ์อยู่ในกระดาษแผ่นเดียวกับสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์ผู้เช่าซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อเพียงแต่อยู่ด้านหลังของสัญญาเช่าซื้อและจำเลยที่ 2 ก็เบิกความยอมรับว่าได้ลงชื่อในสัญญาค้ำประกันดังกล่าว แสดงว่าจำเลยที่ 2 ตกลงเข้าค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์ โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่สัญญาและเจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายเกี่ยวกับตัวจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้อง ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อต้องรับผิดชำระค่าเสียหาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วยคำฟ้องโจทก์จึงแจ้งชัดพอที่จำเลยที่ 2 จะเข้าใจและต่อสู้คดีได้ แม้สัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องจะมิได้ระบุชื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ก็หาทำให้เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5464/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อ แม้ไม่ได้ระบุชื่อครบถ้วน แต่หากผู้ค้ำประกันยอมรับ ก็มีผลผูกพัน
สัญญาค้ำประกันระบุชื่อจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันมีข้อความครบถ้วนแสดงว่าเป็นการค้ำประกันการเช่าซื้อโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมแม้จะมิได้เติมชื่อบริษัทโจทก์และจำเลยที่1ลงในช่องว่างที่เว้นไว้แต่สัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นแบบพิมพ์อยู่ในกระดาษแผ่นเดียวกับสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและจำเลยที่1ผู้เช่าซื้อเพียงแต่อยู่ด้านหลังของสัญญาเช่าซื้อและจำเลยที่2ก็เบิกความยอมรับว่าได้ลงชื่อในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่2ตกลงเจ้าค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่1ทำไว้ต่อโจทก์โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่สัญญาและเจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายเกี่ยวกับตัวจำเลยที่2ว่าจำเลยที่2ได้ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อที่จำเลยที่1ทำไว้ต่อโจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องต่อมาจำเลยที่1ผิดสัญญาเช่าซื้อต้องรับผิดชำระค่าเสียหายจำเลยที่2จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลย 1ด้วยคำฟ้องโจทก์จึงแจ้งชัดพอที่จำเลยที่2จะเข้าใจและต่อสู้คดีได้แม้สัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องจะมิได้ระบุชื่อโจทก์และจำเลยที่1ก็หาทำให้เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5464/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อ แม้ไม่ได้ระบุชื่อคู่สัญญาครบถ้วน ศาลยังถือเป็นหลักฐานผูกพันได้ หากมีเจตนาเข้าค้ำประกันชัดเจน
สัญญาค้ำประกันระบุชื่อจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันมีข้อความครบถ้วนแสดงว่าเป็นการค้ำประกันการเช่าซื้อโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมแม้จะมิได้เติมชื่อบริษัทโจทก์และจำเลยที่1ลงในช่องว่างที่เว้นไว้ แต่สัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นแบบพิมพ์อยู่ในกระดาษแผ่นเดียวกับสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์ผู้เช่าซื้อและจำเลยที่1ผู้เช่าซื้อเพียงแต่อยู่ด้านหลังของสัญญาเช่าซื้อและจำเลยที่2ก็เบิกความยอมรับว่าได้ลงชื่อในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่2ตกลงเข้าค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่1ทำไว้ต่อโจทก์โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่สัญญาและเจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายเกี่ยวกับตัวจำเลยที่2ว่าจำเลยที่2ได้ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อที่จำเลยที่1ทำไว้ต่อโจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องต่อมาจำเลยที่1ผิดสัญญาเช่าซื้อต้องรับผิดชำระค่าเสียหายจำเลยที่2จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ด้วยคำฟ้องโจทก์จึงแจ้งชัดพอที่จำเลยที่2จะเข้าใจและต่อสู้คดีได้แม้สัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องจะมิได้ระบุชื่อโจทก์และจำเลยที่1ก็หาทำให้เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย: สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาในการกลับคืนสู่ฐานะเดิม
คดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238ประกอบด้วยมาตรา 247
โจทก์ผู้เช่าซื้อและจำเลยผู้ให้เช่าซื้อต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้ว ผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าว คู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อโจทก์มิได้ผิดสัญญาก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ ให้แก่จำเลยคงจะต้องรับผิดเฉพาะค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ของจำเลยผู้ให้เช่าซื้อในระหว่างที่โจทก์ยังคงครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์ดังกล่าวอยู่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม และกรณีที่มีการเลิกสัญญากันแล้วเช่นนี้ โจทก์มาฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยไม่เสนอชำระหนี้ค่าเสียหายตอบแทน เพื่อให้แต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม แม้จำเลยจะไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนเงินก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตอบแทนแก่จำเลยได้ด้วย
โจทก์ผู้เช่าซื้อและจำเลยผู้ให้เช่าซื้อต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้ว ผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าว คู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อโจทก์มิได้ผิดสัญญาก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ ให้แก่จำเลยคงจะต้องรับผิดเฉพาะค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ของจำเลยผู้ให้เช่าซื้อในระหว่างที่โจทก์ยังคงครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์ดังกล่าวอยู่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม และกรณีที่มีการเลิกสัญญากันแล้วเช่นนี้ โจทก์มาฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยไม่เสนอชำระหนี้ค่าเสียหายตอบแทน เพื่อให้แต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม แม้จำเลยจะไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนเงินก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตอบแทนแก่จำเลยได้ด้วย