คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เด็ก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3577/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษความผิดฐานกระทำอนาจารเด็กและการพิจารณาโทษสถานเบา
โจทก์บรรยายฟ้องระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ขณะเกิดเหตุ จำเลยกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี โดยจำเลยเอาอวัยวะเพศของจำเลยถูไถบริเวณอวัยะเพศของผู้เสียหาย และใช้มือลูบคลำอวัยะเพศของผู้เสียหายหลายครั้งอันเป็นการกระทำอนาจารโดยผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องจึงต้องรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี โดยผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราเด็ก - การลงโทษตามมาตรา 279 วรรคสอง ชอบด้วยกฎหมาย แม้ฟ้องตามมาตรา 277
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้กำลังประทุษร้ายกอดปล้ำแล้วกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งมิใช่ภริยาจำเลยโดยผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้จนสำเร็จความใคร่หลายครั้ง ซึ่งตามบทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 279 และคำฟ้องใช้ข้อความเหมือนกันว่า โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดย... อยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ส่วนการกระทำอนาจารนั้นหมายความเป็นการกระทำโดยไม่ชอบทางเพศต่อบุคคลอื่น การที่จำเลยนำเอาอวัยวะเพศของจำเลยสอดใส่เข้าในอวัยวะเพศของผู้เสียหายซึ่งเป็นองค์ประกอบในการกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรานั้น ถือเป็นการกระทำอนาจารตามบัญญัติของมาตรา 279 ด้วย ทำให้เห็นว่าการกระทำความผิดตามบทบัญญัติของมาตรา 279 รวมอยู่ในการกระทำความผิดตามบทบัญญัติของมาตรา 277 แต่มีโทษเบากว่า การพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 279 วรรคสอง จึงเป็นการชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย หาใช่เป็นการลงโทษในความผิดที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษและต้องห้ามตามกฎหมายแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามกระทำชำเราเด็ก: การกระทำที่ไม่สำเร็จเพราะอวัยวะเพศเล็กไม่ใช่เหตุตามมาตรา 81
การกระทำที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตาม ป.อ. มาตรา 81 ต้องเป็นกรณีที่เกี่ยวกับปัจจัยหรือวัตถุซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถจะกระทำให้บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เช่น หญิงไม่มีช่องคลอดอันเป็นการผิดปกติมาแต่กำเนิด ซึ่งอย่างไรๆ อวัยวะเพศชายก็ไม่สามารถจะสอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศหญิงดังกล่าวได้ อวัยวะเพศชายสามารถเข้าไปในช่องคลอดของผู้เสียหายได้แต่ช่องคลอดจะฉีกขาดและจะต้องมีการบังคับขู่เข็ญหรือใช้สารหล่อลื่น ซึ่งไม่ใช่กรณีที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถจะสอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายได้ การกระทำของจำเลยที่กระทำต่อผู้เสียหายจึงไม่ใช่กรณีที่ปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามความหมายในมาตรา 81

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14683/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กเพื่ออนาจารและการสนับสนุนการกระทำชำเราเด็ก
จำเลยที่ 2 พาผู้เสียหายที่ 2 ไปขนำที่เกิดเหตุโดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่เต็มใจไปด้วย และผู้เสียหายที่ 2 ถูกจำเลยที่ 1 กระทำชำเรา เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 2 เป็นบุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้เสียหายที่ 1 มารดาผู้ปกครองดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรและผู้เสียหายที่ 2 ไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
การที่จำเลยที่ 2 พาผู้เสียหายที่ 2 ไปพบจำเลยที่ 1 ที่ขนำที่เกิดเหตุในยามวิกาล ซุบซิบปรึกษากับจำเลยที่ 1 แล้วออกอุบายหลอกลวงเพื่อปลีกตัวหนีออกมาโดยปล่อยทิ้งผู้เสียหายที่ 2 อยู่กับจำเลยที่ 1 ตามลำพังจนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ในการกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานสนับสนุนจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานกระทำชำเราอีกกรรมหนึ่งหาใช่กรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการสืบพยานเด็ก: การพิจารณาคดีลับชอบด้วยกฎหมาย
ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี บัญญัติว่า "ในการสืบพยานในคดีที่พยานเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ถ้าศาลเห็นสมควรและจัดให้พยานนั้นอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็กแล้ว ศาลอาจปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้..." จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่บทบัญญัติบังคับศาล แต่ให้เป็นดุลพินิจของศาลในการกำหนดวิธีการสำหรับสืบพยานเด็ก เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจในการสืบพยานเด็กโดยให้พิจารณาลับ การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีดังกล่าว จึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และคำเบิกความของผู้เสียหายย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ร่วมในคดีกระทำชำเราเด็ก และการพิจารณาความผิดฐานพรากผู้เยาว์
ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก บัญญัติให้ผู้กระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนนั้น มีความผิดโดยไม่คำนึงถึงว่าเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม แต่หากเด็กหญิงนั้นยินยอมก็มิได้หมายความว่า เด็กหญิงนั้นมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย เมื่อเด็กหญิง ด. เด็กหญิง ส. และเด็กหญิง อ. ถูกกระทำชำเรา แม้เด็กหญิงทั้งสามจะยินยอมก็เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดข้อหานี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมมีอำนาจจัดการแทนเด็กหญิง ด. เด็กหญิง ส. และเด็กหญิง อ. ตามลำดับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) และมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดข้อหานี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2)
จำเลยโทรศัพท์นัดหมายให้ ย. พาเพื่อนไปขายบริการทางเพศแก่จำเลย ย. จึงชักชวนเด็กหญิง ด. เด็กหญิง อ. และเด็กหญิง ส. ไปกระทำการดังกล่าว แล้วจำเลยรับตัวเด็กหญิงทั้งสามไว้กระทำชำเราโดยเด็กหญิงทั้งสามยินยอมที่โรงแรม ผ. เป็นการล่วงอำนาจปกครองของโจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 5 และที่ 3 ตามลำดับ โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำชำเราเด็กหญิง ด. อายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน และพรากเด็กหญิง ด. โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร กระทำชำเราเด็กหญิง อ. อายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน และพรากเด็กหญิง อ. โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร และกระทำชำเราเด็กหญิง อ. โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร และกระทำชำเราเด็กหญิง ส. อายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน และพรากเด็กหญิง ส. โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการรับไว้หรือล่อไปซึ่งเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี โดยทุจริตเพราะจำเลยหาได้รับเด็กหญิงทั้งสามไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นไม่ เนื่องจากจำเลยมีเจตนาประสงค์จะกระทำชำเราเด็กหญิงทั้งสามเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 312 ตรี วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541-3542/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี: การรับฟังพยานหลักฐานและแก้ไขโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 ไว้ในข้อ 1 ว่า "เมื่อระหว่างตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2544 เวลากลางวัน จนถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2544 เวลากลางคืนหลังเที่ยง วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยได้บังอาจกระทำชำเราเด็กหญิง ส. อายุ 12 ปีเศษ (เกิดวันที่ 27 ตุลาคม 2532) ซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปี และมิใช่ภริยาของจำเลย โดยเด็กหญิง ส. ยินยอม เหตุเกิดที่แขวงใดเขตใดไม่ปรากฏชัด ในกรุงเทพมหานคร" คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ พอที่จะทำให้จำเลยที่ 2 เข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยที่ 2 กระทำความผิดเป็นวันเวลาใด และจำเลยที่ 2 กระทำความผิดที่ใด โดยโจทก์หาต้องบรรยายระบุวัน เวลาที่แน่ชัดว่าจะต้องเป็นวันที่เท่าใด เดือนใด เวลาอะไรที่แน่นอน และหาต้องบรรยายระบุเหตุเกิดที่แขวงใด เขตใดที่แน่นอนในกรุงเทพมหานคร คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ เป็นบทบัญญัติในหมวด 2 พยานบุคคล ที่กำหนดให้ศาลชั้นต้นที่ได้รับคำร้องจากพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนให้สืบพยานไว้ก่อนฟ้องคดีต่อศาล เมื่อมีเหตุจำเป็นอื่นอันเป็นการยากแก่การนำพยานนั้นมาสืบในภายหน้า เช่น อาจจะมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นแก่ผู้เสียหาย หรือมีเหตุจูงใจบางอย่างที่จะทำให้ผู้เสียหายไม่สามารถมาเบิกความเป็นพยานในภายหน้าได้ เป็นต้น การสืบพยานดังกล่าวจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 172 วรรคสอง และคดีนี้ปรากฏว่าในวันนัดสืบพยานก่อนฟ้องคดีต่อศาล พนักงานอัยการได้แจ้งวันนัดสืบพยานให้จำเลยที่ 3 ทราบแล้ว แต่จำเลยที่ 3 ไม่มาศาลและไม่แต่งตั้งทนายความ แสดงว่าจำเลยที่ 3 ไม่ติดใจที่จะถามค้านผู้เสียหาย การสืบพยานผู้เสียหายก่อนฟ้องคดีต่อศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8699/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดทางเพศต่อเด็ก: การพิพากษาคดีและการพิจารณาความบกพร่องทางจิต
จำเลยเรียกผู้เสียหายซึ่งเล่นอยู่กับเพื่อนให้ไปพบจำเลยที่ห้องเรียนวิทยาศาสตร์และห้องน้ำชาย แสดงว่าจำเลยเป็นผู้เลือกที่จะกระทำกับผู้เสียหายและเลือกสถานที่กระทำความผิด ที่ล้วนแต่เป็นที่ลับตาคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากกระทำชำเราผู้เสียหายที่ห้องน้ำชายแล้ว จำเลยยังบอกผู้เสียหายว่า จำเลยจะออกจากห้องน้ำไปก่อนให้ผู้เสียหายนับ 1 ถึง 200 แล้วจึงออกจากห้องน้ำ บ่งชี้ว่าจำเลยรู้สำนึกในการกระทำความผิดของตน รู้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง จึงหาทางกลบเกลื่อนและหลบซ่อนจากการรู้เห็นของผู้อื่น อันเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยยังสามารถรู้ผิดชอบและยังสามารถบังคับตนเองได้ จึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยกระทำความผิดในขณะมีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือน แต่ยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ที่ศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดได้ตาม ป.อ. มาตรา 65

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาและการสอบสวนคดีอาญา: การเพิ่มเติมข้อหาและการพิสูจน์ความผิดฐานกระทำชำเราเด็ก
ป.วิ.อ. มาตรา 134 บัญญัติให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหานั้น มีเจตนารมณ์เพียงเพื่อให้ผู้ต้องหาทราบว่าจะถูกสอบสวนในเรื่องใดและทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิด โดยไม่จำต้องแจ้งทุกข้อหา ทุกตัวบทกฎหมาย และทุกกระทงความผิดเสมอไป เดิมพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยว่ากระทำความผิดในช่วงเวลาใดไว้ แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าจำเลยกระทำความผิดในช่วงเวลาอื่นด้วย ก็สามารถสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำในช่วงเวลาอื่นเพิ่มเติมได้ ถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดที่จำเลยกระทำในช่วงวันเวลาอื่นโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดที่จำเลยกระทำในช่วงเวลาที่การสอบสวนได้ความเพิ่มเติมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเรา, พรากผู้เยาว์, และการล่วงละเมิดอำนาจปกครองเด็ก การใช้ขนมล่อลวงเป็นกลอุบาย
จำเลยเรียกผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุ 14 ปีเศษ ให้เข้าไปเอาขนมในบ้าน จึงเป็นการกระทำโดยใช้ขนมมาล่อผู้เสียหายให้เข้าไปในบ้าน ถือเป็นกลอุบายส่วนหนึ่งเพื่อให้ได้ตัวผู้เสียหายมากระทำชำเรา และเมื่อผู้เสียหายเข้าไปแล้วจำเลยก็ได้ปิดประตู จึงนับได้ว่าเป็นการพาไปโดยแยกอำนาจปกครองจากบิดามารดา และการที่จำเลยพาผู้เสียหายไปกระทำชำเราที่ป่าละเมาะข้างทุ่งนา และพาผู้เสียหายจากบริเวณแท็งก์น้ำเข้าไปกระทำอนาจารในซอกแท็งก์น้ำ ล้วนเป็นการพาผู้เสียหายจากที่เปิดเผยเข้าไปในจุดลับตาผู้คน จึงเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาทั้งสิ้น เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร
of 27