พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,035 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินสินสมรสก่อนล้มละลายและการเพิกถอนการโอน
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ร.ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 และ ร.จากชื่อ ร.มาเป็นของจำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดก และจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ร.ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นการโอนทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 รวมอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง และเมื่อเป็นการโอนภายใน 3 ปี ก่อนจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องให้ล้มละลายต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 114 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการโอนรายนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการโอนหุ้นกระทบสิทธิบุคคลภายนอก: ข้อจำกัดการบังคับคดี
โจทก์มีคำขอให้เพิกถอนการโอนหุ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และให้ดำเนินการโอนหุ้นกลับให้จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของหุ้นตามเดิม แม้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 คบคิดกันโอนหุ้นตามคำฟ้องโดยฉ้อฉล อันทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา237 ก็ตาม แต่การให้เพิกถอนการโอนหุ้นรายนี้ย่อมกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งได้รับโอนหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ อันเป็นการบังคับคดีต่อบุคคลภายนอกซึ่งมิได้ถูกฟ้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ด้วย ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2006/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนโฉนดที่ดินต้องมีเหตุโฉนดคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุด และผู้ฟ้องต้องมีสิทธิในที่ดิน
การที่จะสั่งเพิกถอน แก้ไข หรือออกใบแทนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน หรือเพิกถอน แก้ไข เอกสารที่ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหรือเอกสารที่ได้จดแจ้งรายการทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 ได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่เป็นการออกโฉนดคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือแก้ไข ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์เคยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ส. กับพวกรวม 4 คนยื่นคำคัดค้าน ศาลชั้นต้นจึงดำเนินคดีอย่างคดีอันมีข้อพิพาทและในคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยมีใจความว่า ค. กับพวกได้เข้าครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 เป็นการชั่วคราวและถือวิสาสะ ไม่ใช่เข้าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ค. กับพวกผู้ครอบครองจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้และเป็นผู้รับโอนที่ดินดังกล่าวย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน พิพากษาให้ยกคำร้องขอดังนี้ผลแห่งคำพิพากษาคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และ ส. กับพวกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งเมื่อศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดดังกล่าวแล้วว่าโฉนดที่ดินออกโดยชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 โดยการครอบครอง ดังนี้โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้มีสิทธิหรือประโยชน์ได้เสียในที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 และไม่อาจมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นแก่โจทก์เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 81 ตามฟ้องและโฉนดที่ดินเลขที่ 2867 ซึ่งออกตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินมรดก: อายุความและลำดับชั้นศาล
ตามฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินของ บ.ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการฟ้องขอแบ่งมรดกของเจ้ามรดกจากจำเลย ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ.สามารถฟ้องเพื่อติดตามทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกให้กลับมาเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือไว้ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 และกรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความในการติดตามเอาทรัพย์สินคืนไว้ จึงนำอายุความมรดก 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา1754 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับไม่ได้ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ชั้นอุทธรณ์คดียังคงมีประเด็นข้อพิพาทว่า ว.รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยชอบหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิฟ้องขอเพิกถอนการโอนหรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีในประเด็นข้อพิพาททั้งสองข้อดังกล่าว และจำเลยก็ได้ยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านไว้ ทั้งโจทก์ก็ได้ยื่นแก้อุทธรณ์เป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ไว้แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ แต่ในชั้นฎีกาแม้ประเด็นข้อพิพาททั้งสองข้อนี้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นกระแสความแล้วก็ตามแต่ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อให้การวินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทอันเป็นเนื้อหาหลักของคดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล
ชั้นอุทธรณ์คดียังคงมีประเด็นข้อพิพาทว่า ว.รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยชอบหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิฟ้องขอเพิกถอนการโอนหรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีในประเด็นข้อพิพาททั้งสองข้อดังกล่าว และจำเลยก็ได้ยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านไว้ ทั้งโจทก์ก็ได้ยื่นแก้อุทธรณ์เป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ไว้แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ แต่ในชั้นฎีกาแม้ประเด็นข้อพิพาททั้งสองข้อนี้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นกระแสความแล้วก็ตามแต่ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อให้การวินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทอันเป็นเนื้อหาหลักของคดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1461/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนผู้จัดการมรดกและการร้องขอจัดการมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ ง.และศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนแล้ว หาได้มีการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. แต่ประการใดไม่ จำเลยจึงร้องขอกันส่วนในคดีร้องขอจัดการมรดกนี้ไม่ได้ หากจำเลยมีสิทธิประการใดก็ชอบที่จะดำเนินคดีต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อมีการครอบครองโดยเจ้าของ
จำเลยร่วมที่ 2 ได้ทำหนังสือร้องเรียนต่อนายอำเภอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ เจ้าพนักงานที่ดินได้เรียกโจทก์ไปสอบปากคำไว้โดยโจทก์ให้ถ้อยคำว่า โจทก์ขอรับรองว่าได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่ดินของจำเลยร่วมที่ 2 จริง เพราะโจทก์เข้าใจว่าที่ดินที่โจทก์ทำประโยชน์อยู่นั้นโจทก์มีสิทธิอยู่ด้วย เพราะตามบันทึกของนายอำเภอระบุว่าบุตรโจทก์มีส่วนแบ่งในที่ดินรายนี้ด้วย แต่บุตรยังเยาว์อยู่ โจทก์จึงได้ปกครองแทนและขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าว โจทก์ขอยอมรับผิดว่าได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่ดินของจำเลยร่วมที่ 2 และนำไปจำนองไว้แก่ธนาคาร หากจะมีการเพิกถอนโจทก์ก็ยินยอม แต่ต้องช่วยไถ่ถอนใช้หนี้ธนาคารด้วย ส่วนที่ดินรายนี้โจทก์ขอมีสิทธิครึ่งหนึ่งเพราะเมื่อครั้งประนีประนอมยอมความโจทก์มีส่วนเพียง 1 ส่วน เท่านั้น ตามข้อความดังกล่าวโจทก์รับว่าที่พิพาทบางส่วนเป็นของจำเลยที่ 2 และยอมให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)แต่โจทก์ยังสงวนสิทธิที่จะให้จำเลยร่วมที่ 2 ช่วยชำระหนี้แก่ธนาคาร ไม่ได้ยอมรับว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยร่วมที่ 2 ทั้งหมดโดยไม่ได้โต้แย้ง เมื่อปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์แต่อย่างใด และโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาททั้งแปลงตลอดมาจนพิพาทกันเป็นคดีนี้ การครอบครองที่พิพาทของโจทก์จึงเป็นการครอบครองอย่างเจ้าของ และเป็นการแย่งการครอบครองที่พิพาทจากจำเลยร่วมที่ 2 การที่จำเลยร่วมที่ 2 ทราบดีว่า โจทก์ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่ของจำเลยร่วมที่ 2 และจำเลยร่วมที่ 2ไปร้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ แต่จำเลยร่วมที่ 2ก็มิได้ดำเนินการอย่างใดเพื่อให้ได้คืนมาซึ่งการครอบครอง เมื่อเกิน 1 ปีจำเลยร่วมที่ 2 จึงสิ้นสิทธิที่จะเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสอง จำเลยร่วมที่ 2 จึงไม่มีสิทธินำไปขายให้แก่จำเลยร่วมที่ 1 และจำเลยร่วมที่ 1 ไม่มีสิทธินำไปขายให้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งให้โจทก์ออกไปจากที่พิพาท
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกจำเลยร่วมทั้งสองเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) (ก) เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยต่อไปในภายหลัง ถ้าหากศาลพิจารณาให้ตนเป็นฝ่ายแพ้คดี การเรียกจำเลยร่วมเข้ามาก็เพื่อผูกพันในผลแห่งคดีเท่านั้น สำหรับในคดีนี้ไม่มีประเด็นโต้แย้งระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมทั้งสอง จึงไม่อาจขอให้บังคับให้จำเลยร่วมทั้งสองชำระเงินค่าที่ดินพร้อมดอกเบี้ยคืนให้แก่จำเลยได้
เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์และโจทก์ได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) สำหรับที่พิพาทแล้วหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ของจำเลย ย่อมไม่มีผลตามกฎหมายต่อไป จึงเป็นการสมควรที่จะสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) ของจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกจำเลยร่วมทั้งสองเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) (ก) เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยต่อไปในภายหลัง ถ้าหากศาลพิจารณาให้ตนเป็นฝ่ายแพ้คดี การเรียกจำเลยร่วมเข้ามาก็เพื่อผูกพันในผลแห่งคดีเท่านั้น สำหรับในคดีนี้ไม่มีประเด็นโต้แย้งระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมทั้งสอง จึงไม่อาจขอให้บังคับให้จำเลยร่วมทั้งสองชำระเงินค่าที่ดินพร้อมดอกเบี้ยคืนให้แก่จำเลยได้
เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์และโจทก์ได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) สำหรับที่พิพาทแล้วหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ของจำเลย ย่อมไม่มีผลตามกฎหมายต่อไป จึงเป็นการสมควรที่จะสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) ของจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนใบแทน น.ส.3ก. และสิทธิของผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดโดยสุจริต
ขณะที่จำเลยที่1ยื่นคำขอออกใบแทนน.ส.3ก.อ้างว่าน.ส.3ก.สูญหายเจ้าพนักงานที่ดินประกาศการขอรับใบแทนแล้วไม่มีผู้ใดคัดค้านจึงได้ออกใบแทนให้แก่ผู้ขอแต่เมื่อปรากฏว่าน.ส.3ก.อยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้สูญหายไปไหนกรณีต้องถือว่าการออกใบแทนน.ส.3ก.ไม่ชอบด้วยกฎหมายเจ้าพนักงานที่ดินต้องเพิกถอนใบแทนน.ส.3ก.ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา61 โจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยเมื่อโจทก์ทราบว่าส. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่1โจทก์ฟ้องเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและอายัดที่ดินและเมื่อส. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระเงินให้โจทก์แต่ต่อมาส. ผิดนัดโจทก์ก็นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทและขายทอดตลาดและโจทก์เป็นผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดได้การกระทำของโจทก์เป็นการใช้สิทธิทางศาลและแสดงให้เห็นว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริตตลอดมาหากจำเลยที่1เห็นว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของส. แล้วจำเลยที่1ชอบที่จะร้องขัดทรัพย์แต่จำเลยที่1ก็มิได้ร้องขัดทรัพย์หรือโต้แย้งประการใดจนเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศและขายทอดตลาดไปตามคำสั่งศาลซึ่งโจทก์เป็นผู้ให้ราคาสูงสุดโจทก์จึงเป็นผู้ซื้อทรัพย์รายนี้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1330โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิเป็นของตนได้ก่อนและที่จำเลยที่1จดทะเบียนการโอนภายหลังโจทก์นำยึดที่ดินพิพาทแล้วก็ไม่อาจนำมาใช้ยันโจทก์ได้โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนใบแทนน.ส.3ก.ที่ดินพิพาทและเพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างส. กับจำเลยที่1ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการเพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก. กรณีพิพาทที่ดิน โจทก์ต้องฟ้องเพิกถอนก่อนจึงมีสิทธิฟ้องบังคับได้
คดีนี้โจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดที่วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิซื้อที่นาพิพาท โจทก์จึงต้องฟ้อง คชก.จังหวัดเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ คชก.จังหวัดได้มีโอกาสเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้อง คชก.จังหวัดเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัย และมิได้มีการเรียก คชก.จังหวัดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้จนล่วงเลยมาถึงชั้นฎีกา โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองเพื่อขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองขายที่นาพิพาทแก่โจทก์อันแตกต่างไปจากคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัด และปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองโดยที่คู่ความไม่ต้องร้องขอ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9503/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหลังทำพินัยกรรมไม่สมบูรณ์ ไม่ทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ ทรัพย์สินยังตกเป็นมรดก
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1673 และมาตรา 1696 วรรคหนึ่งการโอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมอันจะทำให้ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นเป็นอันเพิกถอนไป หมายถึงการโอนทรัพย์สินที่ยังมีผลอยู่ในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย
หลังจาก ฟ.ทำพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 1 กันยายน 2520 ยกที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 182 ให้แก่ น. และเลขที่ 206ให้แก่ น.กับโจทก์แล้ว แม้ต่อมา ฟ.ได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่ น.โดยเสน่หา และหลังจากนั้น ฟ.ก็ได้ฟ้องขอถอนคืนการให้และขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกลับคืนมาเป็นของ ฟ.กรณีก็ถือไม่ได้ว่า ฟ.ได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมตามพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 1 กันยายน 2520 ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นจึงหาเป็นอันเพิกถอนไปไม่ เมื่อ ฟ.ถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่182 จึงเป็นทรัพย์มรดกของ ฟ.ตกได้แก่ น. และที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 206 เป็นทรัพย์มรดกของ ฟ.ตกได้แก่ น.กับโจทก์ตามพินัยกรรมดังกล่าวข้างต้น
โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมของ ฟ.ในที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 206 จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ น.ย่อมมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องแบ่งมรดกของ น.แก่โจทก์ เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 206 แก่โจทก์ได้
หลังจาก ฟ.ทำพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 1 กันยายน 2520 ยกที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 182 ให้แก่ น. และเลขที่ 206ให้แก่ น.กับโจทก์แล้ว แม้ต่อมา ฟ.ได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่ น.โดยเสน่หา และหลังจากนั้น ฟ.ก็ได้ฟ้องขอถอนคืนการให้และขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกลับคืนมาเป็นของ ฟ.กรณีก็ถือไม่ได้ว่า ฟ.ได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมตามพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 1 กันยายน 2520 ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นจึงหาเป็นอันเพิกถอนไปไม่ เมื่อ ฟ.ถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่182 จึงเป็นทรัพย์มรดกของ ฟ.ตกได้แก่ น. และที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 206 เป็นทรัพย์มรดกของ ฟ.ตกได้แก่ น.กับโจทก์ตามพินัยกรรมดังกล่าวข้างต้น
โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมของ ฟ.ในที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 206 จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ น.ย่อมมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องแบ่งมรดกของ น.แก่โจทก์ เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 206 แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการเพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จำเลยนำคดีมาฟ้องโจทก์ว่าผิดสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท โดยขณะที่จำเลยยื่นฟ้องนั้น โจทก์ไม่เคยมีภูมิลำเนาและไม่เคยอาศัยอยู่ในบ้านตามที่โจทก์ระบุในคำฟ้อง ในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่โจทก์ แม้บุคคลที่อยู่ในบ้านจะแจ้งว่าไม่มีคนชื่อเดียวกับโจทก์อยู่ในบ้านดังกล่าว จำเลยก็แถลงยืนยันว่าโจทก์มีภูมิลำเนาตามฟ้องโดยไม่ได้แสดงหลักฐานต่อศาล แสดงให้เห็นว่าได้มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าที่จะฟ้องโจทก์โดยไม่ให้โจทก์ทราบว่าถูกฟ้อง นอกจากนี้ชื่อโจทก์ที่ระบุในคำฟ้องก็ไม่ตรงกับชื่อโจทก์ที่แท้จริง ทำให้โจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา หลังจากศาลพิพากษาแล้ว จำเลยได้นำคำพิพากษาไปให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นของจำเลย ทั้ง ๆ ที่ชื่อโจทก์ในคดีที่จำเลยฟ้องไม่ตรงกับชื่อในโฉนดที่ดิน พฤติการณ์ของจำเลยในการดำเนินคดีและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามมาตรา 420 ดังนั้น การได้ที่ดินพิพาทของจำเลยเป็นการได้ไปโดยกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวได้