คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลิกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,045 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9380/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ – เอกสารไม่ใช่ข้อมูลสำคัญ – ไม่ถึงร้ายแรง – ต้องจ่ายค่าชดเชย
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยมีความมุ่งหมายเพื่อป้องกันข้อมูลที่บรรจุอยู่ในเอกสารรั่วไหลไปยังบุคคลภายนอก การที่โจทก์ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางธุรกิจของจำเลยนำเอกสารหลายร้อยแผ่นออกไปจากบริษัทจำเลยแต่ข้อความในเอกสารดังกล่าวไม่ใช่เอกสารสำคัญตามกฎหมายที่มีไว้สำหรับแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ แม้จะมีราคาทุนและราคาสินค้าอันเป็นข้อมูลทางธุรกิจการค้าของจำเลยที่ปกปิดมิให้บุคคลภายนอกล่วงรู้ แต่โจทก์เอาออกไปเพื่อประกอบการศึกษางานโดยมิได้นำไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่นที่จะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรงตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9021/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การกระทำอนาจารของกรรมการผู้จัดการไม่ถือเป็นการเลิกจ้างหากเป็นการกระทำส่วนตัว
จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ ไม่เป็นธรรมอ้างว่าถูก ช. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์กระทำอนาจารจนจำเลยไม่อาจทนอยู่ปฏิบัติงานตามหน้าที่โดยปกติสุขได้ ถือได้ว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลย โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ที่จำเลยอ้างว่า ช. กระทำอนาจารเป็นความเท็จ โจทก์ไม่เคยกระทำการอันไม่เป็นธรรมหรือกระทำตามที่จำเลยกล่าวอ้าง จำเลยออกจากงานโดยไม่บอกกล่าวให้โจทก์ทราบ คดีจึงมีประเด็นว่า ช. กระทำอนาจารจำเลยจริงหรือไม่ และการกระทำของ ช. มีผลทำให้ถือได้ว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าแม้คดีจะฟังได้ว่า ช. กระทำอนาจารจำเลยจริงก็เป็นเพียงการกระทำความผิดในทางอาญาและเป็นการกระทำโดยส่วนตัวของ ช. ไม่ใช่การกระทำในหน้าที่การงานแทนบริษัทโจทก์ ไม่เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน เป็นการวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวแล้ว
การเลิกจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสอง หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด ฯลฯ เมื่อ ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า การกระทำอนาจารของ ช. เป็นเรื่องความประพฤติส่วนตัว ไม่ใช่การกระทำในหน้าที่การงานในฐานะเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ ทั้งมิได้เป็นการกระทำเพื่อไม่ให้จำเลยทนทำงานได้อีกต่อไป จึงไม่เป็นการเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9021/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างโดยปริยายจากเหตุอนาจาร นายจ้างต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของกรรมการผู้จัดการหรือไม่
จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม อ้างว่าถูก ช. กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์กระทำอนาจารจนจำเลยไม่อาจทนอยู่ปฏิบัติงานได้ ถือได้ว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลย โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่าโจทก์ไม่เคยกระทำการอันไม่เป็นธรรม จำเลยออกจากงานโดยไม่บอกกล่าวให้โจทก์ทราบ คดีจึงมีประเด็นว่า ช. กระทำอนาจารจำเลยจริงหรือไม่ และการกระทำของ ช. ถือได้ว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าแม้จะฟังได้ว่า ช. กระทำอนาจารจำเลยจริงก็เป็นเพียงการกระทำความผิดในทางอาญาและเป็นการกระทำโดยส่วนตัวของ ช. ไม่ใช่กระทำในหน้าที่การงานแทนโจทก์ไม่เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวไม่นอกเหนือไปจากฟ้องแย้งและคำให้การแก้ฟ้องแย้ง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสองบัญญัติว่า การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด ดังนั้น เมื่อการกระทำอนาจารของ ช. ที่กระทำต่อโจทก์เป็นเรื่องความประพฤติส่วนตัว ไม่ใช่การกระทำในหน้าที่การงานในฐานะเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ ทั้งมิได้เป็นการกระทำเพื่อไม่ให้จำเลยทนทำงานได้อีกต่อไป จึงไม่เป็นการเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: เจตนาทำความเสียหาย vs. ละเลยหน้าที่ และข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย
กรณีที่ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอันจะเป็นเหตุให้นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119(2) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541นั้น หมายถึงลูกจ้างกระทำโดยตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างหรืออีกนัยหนึ่งลูกจ้างกระทำโดยรู้ถึงผลเสียหายที่จะเกิดแก่นายจ้าง
พนักงานแผนกซ่อมบำรุงของจำเลยรายงานโจทก์ซึ่งเป็นหัวหน้างานว่าเครื่องเติมอากาศบ่อบำบัดน้ำเสียมีเสียงดังผิดปกติแต่โจทก์ไม่พูดอะไรและไม่ได้ไปดู ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง จึงมิใช่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์แต่การกระทำดังกล่าวของโจทก์ซึ่งเป็นหัวหน้างานเป็นการละเลยต่อหน้าที่อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบโดยเคร่งครัด ถือว่าเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8962-8968/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: คดีสินจ้างแทนบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย แม้มีการฟ้องคดีอาญาควบคู่
คดีนี้ลูกจ้างฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยจากจำเลยผู้เป็นนายจ้างเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องเนื่องจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ดังนั้น แม้จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างในหนังสือเลิกจ้างแล้วว่าโจทก์กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (1) (4) และจำเลยเป็นโจทก์ฟ้องลูกจ้างเป็นจำเลยในคดีอาญาข้อหาลักทรัพย์ ก็ไม่มีผลให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ไปโดยไม่ต้องรอฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8792/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ปฏิบัติงานบกพร่องและฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
หนังสือกระทรวงการคลังที่ขอยกเว้นให้สถาบันการเงินที่เปลี่ยนเป็นรัฐวิสาหกิจไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง กฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจทั่วไปซึ่งคณะรัฐมนตรีลงมติเห็นชอบแล้ว ระบุให้สถาบันการเงินที่เป็นรัฐวิสาหกิจเนื่องจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าแทรกแซง คงได้รับเงินเดือน สวัสดิการ และผลประโยชน์ตอบแทนของพนักงานตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขการจ้างเดิมของสถาบันการเงินนั้น ไม่ต้องถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการที่รัฐวิสาหกิจอิงมาใช้ แต่ไม่ปรากฏว่าก่อนที่ธนาคารจำเลยที่ 1 จะเปลี่ยนไปเป็นรัฐวิสาหกิจ จำเลยที่ 1 ได้กำหนดให้มีการจ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานสูงกว่าสิทธิที่พนักงานรัฐวิสาหกิจพึงได้รับตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45 การที่จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้ายจำนวน 180 วัน ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำตาม พ.ร.บ. พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาตรา 11 (1) และมาตรา 11 วรรคสอง ประกอบระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45 (3) จึงเป็นการจ่ายที่ชอบแล้ว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคหนึ่ง หากเป็นสัญญาจ้างแรงงานที่มิได้มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้ด้วยการบอกกล่าวให้อีกฝ่ายทราบ การที่จำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยการเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย จึงมิใช่เป็นการผิดสัญญา เพียงแต่อาจต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคสอง และเมื่อจำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาด้วยการเลิกจ้างโจทก์ได้ตามกฎหมาย ย่อมมิใช่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยจึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ขาดการควบคุมดูแลและการปฏิบัติงานเรื่องการยืมและการคืนทะเบียนรถยนต์ที่ใช้เป็นหลักประกันของผู้ใต้บังคับบัญชาให้เป็นไปอย่างรอบคอบและรัดกุม จนทำให้จำเลยเสียหายแต่ไม่ร้ายแรง และโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่มิใช่กรณีร้ายแรง จำเลยมิได้กลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์ จึงมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
การให้สัตยาบันตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 หมายถึงตัวแทนได้กระทำการอันใดอันหนึ่งโดยปราศจากอำนาจก็ดี หรือทำนอกเหนือขอบอำนาจก็ดี ต่อมาตัวการรู้ถึงการกระทำที่ทำโดยปราศจากอำนาจหรือทำนอกอำนาจของตัวแทนแล้วตัวการได้ให้การรับรองการกระทำดังกล่าวของตัวแทน แม้จำเลยจะรับเอาผลประโยชน์จากการกู้เงินที่เกิดจากการกระจายหนี้ แต่ไม่ปรากฏว่าขณะที่จำเลยรับเอาผลประโยชน์ จำเลยได้รู้ถึงการกระทำนอกขอบอำนาจของโจทก์หรือไม่ เช่นนี้ไม่อาจถือว่าเป็นการให้สัตยาบันในการกระจายหนี้ของโจทก์
ที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แม้จำเลยไม่ทักท้วงก็ไม่อาจถือว่าการกระทำดังกล่าวกลายเป็นการกระทำที่ชอบขึ้นมาได้ การที่จำเลยไม่ทักท้วงหรือกล่าวหาลงโทษโจทก์ อาจเป็นเพราะยังไม่ทราบการกระทำผิดหรือยังไม่เกิดความเสียหายจากการกระทำผิดเท่านั้น เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์กระทำผิด จำเลยมิได้กลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์ จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
โจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องเกี่ยวกับการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยืมและการคืนทะเบียนรถยนต์ที่ใช้เป็นหลักประกันของผู้ใต้บังคับบัญชาให้เป็นไปอย่างรอบคอบและรัดกุมจนเป็นเหตุให้จำเลยเสียหาย ถือว่าเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยด้วยการกระจายหนี้เป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายอีกเช่นกัน จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุทั้งสองประการดังกล่าว จึงไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8734/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรง การระบุเหตุในหนังสือเลิกจ้างเพียงพอต่อการยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย
หนังสือเลิกจ้างระบุว่าโจทก์ปฏิบัติฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยข้อ5.1.1,?.,5.1.14 ซึ่งเป็นกรณีร้ายแรง เป็นการระบุเหตุผลแห่งการเลิกจ้างเลิกจ้างโจทก์แล้ว ส่วนพฤติการณ์การกระทำของโจทก์เป็นอย่างไร เป็นรายละเอียดที่จำเลยสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา จำเลยจึงยกเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเนื่องจากโจทก์ฝ่าฝืน ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงขึ้นอ้างในคำให้การเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยได้ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4) กรณีไม่ต้องห้ามตามมาตรา 17 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8717/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลความไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริตเป็นเหตุสมควรในการเลิกจ้าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ซึ่งหมายถึงการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดหรือ ลูกจ้างกระทำความผิดแต่เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย ยังไม่สมควรที่จะเลิกจ้างหรือไม่มีเหตุอันสมควรอื่นใดที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ ประเด็นแห่งคดีเรื่องนี้ ศาลต้องพิเคราะห์ข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ว่า กรณีมีเหตุสมควรที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างโจทก์จะเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้หรือไม่ ศาลแรงงานกลางได้พิเคราะห์พยาน หลักฐานต่าง ๆ ทั้งพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ปล่อยปละละเลยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยการนำรถเข้าไปในบริเวณอู่นำอะไหล่เก่าขึ้นรถบรรทุกก่อนผ่านการตรวจสอบอนุมัติ การกระทำของโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยขาดความไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต กรณีมีเหตุผลอันสมควรที่จำเลยจะ เลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จึงเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นแห่งคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8689/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่ชอบธรรม: การประเมินพฤติกรรมลูกจ้างที่ไม่ร้ายแรงเพียงพอต่อการเลิกจ้าง
ประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่า โจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะกระทำความผิดดังที่จำเลยกล่าวอ้างหรือไม่ ซึ่งไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างวันใด อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า ศาลแรงงานรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในวันที่คลาดเคลื่อนขัดต่อความเป็นจริง ขัดต่อพยานหลักฐานนั้น ไม่อาจก่อให้เกิดผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลแรงงาน อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
การที่ลูกจ้างไม่สนใจในการประชุม เข้าประชุมสาย ละทิ้งหน้าที่กลับก่อนเวลา และไม่ออกเยี่ยมเยือนลูกค้าทำให้ยอดขายสินค้าไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่นายจ้างกำหนดไว้ เป็นเพียงกรณีที่ลูกจ้างไม่ตั้งใจปฏิบัติงาน ไม่อุทิศเวลาให้แก่งานและไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานเท่านั้น ส่วนกรณีที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายงานให้แล้ว ลูกจ้างแสดงท่าทางไม่พอใจ แสดงกิริยาไม่สุภาพหรือมีความประพฤติกระด้างกระเดื่อง ก็เป็นเพียงความประพฤติที่ไม่เหมาะสมอันไม่ควรพึงปฏิบัติเท่านั้น การกระทำของลูกจ้างยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างในกรณีร้ายแรง และยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8324/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้างที่ลาออก และการจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนในกรณีเลิกจ้าง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 67 บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนเฉพาะกรณีที่ลูกจ้างมิได้มีความผิดตามมาตรา 119 การที่กฎหมายกำหนดให้นำความผิดตามมาตรา 119 มาประกอบการพิจารณาการได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง เพราะความผิดดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่จะชี้ว่านายจ้างเลิกจ้างด้วยเจตนากลั่นแกล้งไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปจนครบ 1 ปีหรือไม่ ถ้าลูกจ้างไม่มีความผิดตามมาตรา 119 แต่ถูกเลิกจ้าง ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรและเป็นการกลั่นแกล้งลูกจ้าง ทำให้ลูกจ้างไม่อาจทำงานต่อไปได้และต้องเสียสิทธิที่จะได้หยุดพักผ่อนประจำปีตามมาตรา 30 ดังนั้น ในปีที่เลิกจ้างแม้ลูกจ้างจะทำงานยังไม่ครบ 1 ปี นายจ้างจะต้องชดใช้สิทธิที่ลูกจ้างต้องเสียไปจากการกระทำโดยไม่ชอบของนายจ้างด้วยการจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ การจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนดังกล่าวจะพึงมีได้เฉพาะกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง และลูกจ้างไม่มีความผิดตามมาตรา 119เท่านั้น หาได้นำมาใช้บังคับแก่กรณีลูกจ้างลาออกจากงานโดยความสมัครใจด้วยไม่ เพราะการลาออกโดยความสมัครใจของลูกจ้างย่อมไม่เป็นการกลั่นแกล้งของนายจ้าง นายจ้างจึงไม่ต้องชดใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างต้องเสียไปจากการลาออกโดยการจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่ลาออกตามส่วนตามมาตรา 67
ลูกจ้างที่ลาออกจะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างรวมทั้งในปีก่อนและจะได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีหรือไม่เพียงใด ต้องเป็นไปตามมาตรา 30 และมาตรา 56 ในปีที่ จ. ลาออก โจทก์ในฐานะนายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้าง 13 วัน และก่อนลาออกโจทก์อนุญาตให้ จ. ลาหยุดพักผ่อนประจำปี 8 วัน การหยุดพักผ่อนประจำปีดังกล่าว เป็นการหยุดตามที่โจทก์และ จ. ตกลงกันโดยสุจริต จึงเป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีโดยชอบของลูกจ้าง แต่ถ้าขณะลาออก จ. ยังไม่ได้หยุดพักผ่อนประจำปีหรือหยุดแล้วแต่ยังไม่ครบ 13 วัน ซึ่งเป็นกรณีนายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีทั้ง 13 วันหรือบางส่วนไว้ล่วงหน้าและเป็นวันหลังจากที่ จ. ลาออก จ. ก็จะไม่ได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและไม่มีสิทธิให้นายจ้างนำวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังไม่ได้หยุดมาเฉลี่ยเพื่อจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่ลาออกได้ แต่เมื่อ จ. หยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิและตามวันที่ได้ตกลงกับโจทก์ไปแล้วก่อนลาออก โจทก์ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเต็มจำนวน 8 วันให้แก่ จ.
of 205