พบผลลัพธ์ทั้งหมด 598 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายรถยนต์: การชำระหนี้ด้วยการส่งมอบเครนไม่ใช่การมัดจำ, เลิกสัญญากันโดยปริยาย
โจทก์ทำสัญญาซื้อรถยนต์บรรทุกจากจำเลยโดยโจทก์ต้องจัดหาเครนและปั๊มฉีดน้ำมันไฮดรอลิกมามอบให้จำเลยเพื่อนำไปติดตั้งบนรถยนต์บรรทุกเครนและปั๊มฉีดน้ำมันดังกล่าวไม่เป็นมัดจำหรือเป็นการชำระหนี้บางส่วนแล้วเมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยโจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาได้ สัญญาซื้อขายรถยนต์บรรทุกอีกคันหนึ่งระบุให้โจทก์นำเครนมามอบให้จำเลยเพื่อนำไปติดตั้งบนรถยนต์บรรทุกเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์มีหน้าที่ต้องทำการอย่างหนึ่งเมื่อโจทก์มิได้นำเครนมามอบให้แม้จำเลยมิได้ส่งมอบรถยนต์บรรทุกตามกำหนดถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาและหลังจากนั้นโจทก์ก็มิได้นำเครนไปมอบแต่มีหนังสือทวงถามให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ให้แล้วมีหนังสือเลิกสัญญาไปยังจำเลยในเวลาต่อมาถือว่าโจทก์จำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการเลิกสัญญาและการคืนสู่สภาพเดิม ความรับผิดของผู้เริ่มก่อการบริษัท และดอกเบี้ยจากการใช้สิทธิเลิกสัญญา
โจทก์บอกเลิกสัญญาโดยระบุเหตุชัดแจ้งทั้งในเรื่องจำเลยมิได้จัดให้มีไฟฟ้าและประปาตามแบบแปลนท้ายสัญญาและยังอ้าง งื่อนไขตามสัญญาข้อ6เรื่องการสร้างโรงภาพยนต์ชัดแจ้งทั้งเหตุที่โจทก์อ้างดังกล่าวชี้ระบุไว้ชัดแจ้งในสัญญาซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนแล้ว ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1ไม่ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตอบแทนแก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 1ย่อมตกเป็นผู้ผิดสัญญา ชอบที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาได้โดยไม่จำต้องชำระเงินค่างวดแก่จำเลยตามที่จำเลยเรียกร้องและมิพักต้องคำนึงว่าข้อกำหนดแห่งการชำระเงินค่างวดตามสัญญา เป็นข้อสำคัญหรือไม่ ขณะที่จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาฉบับพิพาทกับโจทก์นั้นยังอยู่ในระยะเวลาดำเนินการก่อตั้งและขอจดทะเบียนจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้เริ่มก่อการบริษัทจึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ตนได้ทำขึ้นจนกว่าที่ประชุมตั้งบริษัทได้อนุมัติและได้จดทะเบียนบริษัทแล้ว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1113 แต่เมื่อยังไม่มีการอนุมัติสัญญาฉบับพิพาทในการประชุมตั้งบริษัท แม้จะมีการจดทะเบียนบริษัทจำเลยที่ 1และภายหลังจำเลยที่ 1 ได้เข้าถือสิทธิตามสัญญาฉบับพิพาทแล้วก็ตาม ก็ยังไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากความรับผิดดังกล่าวได้ และความรับผิดของจำเลยที่ 2ดังกล่าวนี้ เป็นผลเกิดจากเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามมาตรา 391 กล่าวคือเมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาฉบับพิพาทต่อจำเลยที่ 1 ในฐานะคู่สัญญาแล้ว ผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งจำเลยที่ 2 ที่จำต้องให้โจทก์ได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ความรับผิดดังกล่าวเกิดขึ้นทันทีโดยมิพักต้องอาศัยการบอกกล่าวอีก ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ซึ่งจำเลยที่ 2 จำต้องให้โจทก์ได้กลับคืนฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมด้วยการใช้เงินคืนแก่โจทก์โดยให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391ซึ่งเป็นการทดแทนความเสียหายอย่างหนึ่งเพื่อให้ได้กลับคืนฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมหาใช่หนี้ดอกเบี้ยค้างส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166(เดิม) ไม่ โจทก์มีพยานเอกสารคือบันทึกการรับเช็คท้ายสัญญาฉบับพิพาทซึ่งปรากฏเหตุการณ์รับเช็คเป็นลำดับต่อเนื่องตั้งแต่แรกรับเช็คและการเปลี่ยนเช็คสำหรับค่างวดแรกต่อท้ายด้วยบันทึกการรับเช็คสำหรับเงินค่างวดที่สอง โดยมีลายมือชื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปรากฏเป็นผู้รับทุกลำดับต่อเนื่องกันมา การบันทึกยอมรับเช็คสำหรับเงินค่างวดโดยไม่ปรากฏมีข้อทักท้วง สงวนหรืออิดเอื้อนเกี่ยวกับเงินงวดแรกดังที่ปรากฏ ย่อมเป็นข้อสันนิษฐานได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3ได้รับเงินงวดแรกไปเรียบร้อยแล้ว หนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินค่างวดที่ค้างมีข้อความชัดแจ้งว่าเป็นการทวงถามเงินค่างวดที่สองและต่อจากนั้นโดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงชื่อในเอกสารดังกล่าว แสดงว่าโจทก์มิได้ค้างชำระเงินงวดแรก คำให้การจำเลยที่ 1 และที่ 3 คงยืนยันปฏิเสธแต่เพียงว่าไม่ได้รับชำระเงินงวดที่สอง เป็นการยอมรับว่าได้รับเงินงวดแรกแล้วจริงตามฟ้องโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ให้การต่อสู้ในเรื่องรับเงินนี้แต่เพียงว่าไม่รับรองความถูกต้องเท่านั้น หาได้ปฏิเสธว่าไม่ได้รับเงินตามฟ้องโดยชัดแจ้งไม่และในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 2 ได้ยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบว่าเช็ค จ.10 และ จ.11 ตลอดจนเช็คชำระเงินงวดที่สองมีการเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 ได้แล้วจริงดังนี้แม้เช็คเอกสาร จ.10 และ จ.11 จะมีจำนวนเงินและวันเวลาไม่สอดคล้องกับที่ปรากฏในบันทึกการรับเช็คก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้ให้การและนำสืบรับดังกล่าวข้างต้น ข้อดังกล่าวจึงเป็นเพียงข้อปลีกย่อยในพลความที่มิได้เป็นข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นพิพาทในคดีมาตั้งแต่ต้น ไม่อาจมีผลเปลี่ยนคำรับของจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาจะซื้อจะขายโดยปริยาย – สัญญาใหม่ไม่สมบูรณ์ – คืนเงินมัดจำ
โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทตามเอกสารหมาย จ.4 แต่ตามเอกสารหมาย จ.7 มีข้อความว่า จำเลยขอรังวัดที่พิพาทในส่วนที่ถูกเขตชลประทาน แสดงว่าที่พิพาทที่จำเลยจะขายให้โจทก์จะต้องถูกทางราชการเวนคืนบางส่วน โจทก์จำเลยจึงตกลงทำสัญญาเพิ่มเติมสัญญาจะซื้อขายว่า คู่สัญญาขอเลื่อนการโอนกรรมสิทธิ์ไปเพื่อขยายเวลาไปเจรจาเปลี่ยนราคาลดลงจากที่ตกลงไว้ให้เหลือเป็นราคาที่พิพาทที่เหลือไว้จะโอนกรรมสิทธิ์ได้จริงโดยไม่ถูกเวนคืน แสดงว่าโจทก์ทราบแล้วว่าที่พิพาทที่จะซื้อขายต้องถูกเวนคืนให้กรมชลประทาน แต่โจทก์ไม่ได้ถือเป็นข้อสาระสำคัญที่จะอ้างว่าจำเลยผิดสัญญา จึงได้ทำบันทึกข้อตกลงกันใหม่โดยไม่ถือเอาจำนวนเนื้อที่พิพาทและราคาตามเอกสารหมาย จ.4 แต่จะต้องเจรจาเปลี่ยนราคาลดลงจากที่ตกลงไว้และเลื่อนกำหนดเวลาการโอนไป ถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจะซื้อจะขายตามเอกสารหมาย จ.4 โดยปริยาย และมุ่งประสงค์ที่จะซื้อขายที่พิพาทกันต่อไปตามจำนวนเนื้อที่ที่เหลือจากการถูกเวนคืน โดยให้เลื่อนการโอนไปเพื่อเจรจาเปลี่ยนราคาลดลงจากที่ตกลงกันไว้ อันเป็นสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่ เมื่อโจทก์จำเลยยังไม่ตกลงกันได้หมดทุกข้ออยู่ตราบใด ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคหนึ่ง สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทฉบับใหม่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อครบกำหนดการโอนแล้ว ปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายได้ไปที่สำนักงานที่ดิน แต่ก็ตกลงเรื่องราคากันไม่ได้ จึงไม่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทกันประกอบกับสัญญาจะซื้อจะขายตามเอกสารหมาย จ.4 ยกเลิกโดยปริยาย และสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่ยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จำเลยจึงไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญา และต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยอนุโลม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลยต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ และโจทก์จะกลับมาอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาเพื่อเรียกร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและการรับชำระเงินมัดจำคืน ถือเป็นการตกลงเลิกสัญญาโดยชอบ
จำเลยให้การว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยและขอเงินมัดจำคืนจำเลยก็ตกลงและได้คืนเงินมัดจำให้แล้วแต่ฎีกาว่าจำเลยเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาไปถึงโจทก์และโจทก์สนองรับแล้วเป็นการอ้างเหตุการเลิกสัญญาไม่ตรงกับคำให้การถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฉะนั้นฎีกาของจำเลยที่ว่าสัญญาเลิกกันโดยโจทก์มิได้สงวนสิทธิเรียกค่าเสียหายโจทก์จะมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาไม่ได้จึงไม่เป็นสาระที่ต้องวินิจฉัย โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเพราะจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเบี้ยปรับได้หาทำให้สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับตามสัญญาระงับไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญา และการเลิกสัญญาโดยไม่มีฝ่ายผิดสัญญา ไม่กระทบความสมบูรณ์ของสัญญา
การที่จำเลยทั้งสองตกลงจะคืนเงินมัดจำให้โจทก์เมื่อจำเลยทั้งสองขายที่ดินได้นั้น จำเลยทั้งสองจะขายที่ดินได้หรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ความพอใจหรือสมัครใจของจำเลยทั้งสองแต่ฝ่ายเดียว แต่ขึ้นอยู่กับบุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้จะซื้อด้วยว่ามีความพอใจหรือไม่พอใจจะซื้อตามข้อเสนอของจำเลยทั้งสองหรือไม่เงื่อนไขบังคับก่อนดังกล่าวจึงไม่ใช่เงื่อนไขอันจะสำเร็จได้หรือไม่สุดแล้วแต่ใจของฝ่ายลูกหนี้ จึงไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 190
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามสัญญารับสภาพหนี้ชั้นชี้สองสถาน ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 เป็นบันทึกการรับสภาพหนี้หรือไม่ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามบันทึกดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองหรือไม่ ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า แม้ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นโฆมะ จำเลยทั้งสองก็จะต้องคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์เพราะคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาโดยไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญา คู่สัญญาย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมนั้น จึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามสัญญารับสภาพหนี้ชั้นชี้สองสถาน ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 เป็นบันทึกการรับสภาพหนี้หรือไม่ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามบันทึกดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองหรือไม่ ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า แม้ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นโฆมะ จำเลยทั้งสองก็จะต้องคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์เพราะคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาโดยไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญา คู่สัญญาย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมนั้น จึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ, สัญญาเช่าซื้อ, การเลิกสัญญา, ค่าเสียหายจากรถยนต์ชำรุด, สิทธิฟ้อง
บริษัทโจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ จ. และอ.ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อในฐานะผู้ให้เช่าซื้อแทนโจทก์จ. และ อ.กระทำการแทนโจทก์ได้โดยไม่ต้องระบุในสัญญาเช่าซื้ออีกว่าโจทก์มอบอำนาจให้ จ. และ อ. กระทำการแทน เมื่อรถยนต์ที่จำเลยเช่าซื้อได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อม มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าซ่อมรถยนต์จากจำเลยได้โดยไม่จำต้องมีการซ่อมรถยนต์ดังกล่าวเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6009/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและดอกเบี้ยที่คิดได้หลังเลิกสัญญา
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้กำหนดเวลาสิ้นสุดไว้ จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2528 แต่หลังจากนั้นก็ยังไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญา สัญญาดังกล่าวจึงยังคงมีอยู่ต่อมา เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้นำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ โจทก์จึงนำเงินตามใบรับเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 และตามสมุดเงินฝากประจำของ ต. ที่โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันมาหักชำระหนี้เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2529 เป็นการบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ถือได้ว่า โจทก์ได้เลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันดังกล่าวแล้วโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ได้จนถึงวันที่14 มีนาคม 2529 อันเป็นวันเลิกสัญญาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5516/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายทรายกรอง: การเลิกสัญญา, ค่าปรับ, การหักหนี้ และสถานที่ส่งมอบ
ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้ผิดสัญญาอ้างเหตุว่าไม่สามารถส่งมอบทรายกรองได้เพราะมีเหตุสุดวิสัยเนื่องจากฝนตกชุกไม่มีแดดที่จะตากทรายให้แห้งได้นั้น ปรากฏว่าจำเลยมิได้กำหนดให้โจทก์ขายทรายกรองจากแหล่งใดหรือบริษัทใด โจทก์จึงสามารถจัดหาจากผู้ผลิตรายอื่นซึ่งอยู่ในพื้นที่ฝนไม่ตกเพื่อจัดส่งแก่จำเลยได้กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่สามารถส่งทรายกรองได้ทันตามกำหนดในสัญญาเพราะเหตุสุดวิสัย ตามสัญญาซื้อขายทรายกรองรายพิพาทข้อ 8 วรรคแรก กำหนดว่าเมื่อครบกำหนดส่งมอบแล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบหรือส่งมอบทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิเลิกสัญญาได้ ข้อ 9วรรคแรก กำหนดว่าในกรณีผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายนำสิ่งของมาส่งมอบให้จนครบถ้วน และวรรคสามกำหนดว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ก็ได้ การที่จำเลยยอมรับมอบทรายกรองบางส่วนที่โจทก์ส่งมอบหลังจากครบกำหนดในสัญญาแล้ว เป็นการใช้สิทธิตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 9 มิใช่กรณีที่จำเลยยอมรับมอบทรายกรองไม่อิดเอื้อนหรือไม่ถือเอาระยะเวลาการส่งมอบเป็นข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยยังได้มีหนังสือกำหนดเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้โจทก์ส่งทรายกรองส่วนที่ส่งมอบไว้บกพร่องและส่วนที่ยังไม่ส่งในระยะเวลานั้น โดยแจ้งไปด้วยว่าโจทก์จะต้องรับผิดชอบตามเงื่อนไขในสัญญาเท่ากับจำเลยใช้สิทธิปรับโจทก์ตามสัญญาแล้ว แต่โจทก์ไม่ส่งมอบทรายกรองให้จำเลย จำเลยจึงมีสิทธิเลิกสัญญาและเรียกค่าปรับตามสัญญาข้อ 9 ตามสัญญาซื้อขายรายพิพาทในงวดที่ 4 กำหนดให้โจทก์ส่งมอบทรายกรอง ณ สำนักงานของจำเลยเขต 13 ชุมพร เขต 14 นครศรีธรรมราชแต่จำเลยย้ายที่ตั้งสำนักงานเขต 13 จากจังหวัดชุมพรไปอยู่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและได้ให้โจทก์นำทรายกรองที่จะต้องส่งมอบให้สำนักงานเขต 14 ไปส่งที่อำเภอห้วยยอดอำเภอย่านตาขาวและอำเภอทุ่งสงจึงเป็นกรณีที่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายไปยังที่แห่งอื่นนอกจากสถานที่อันจะพึงชำระหนี้ จำเลยผู้ซื้อจึงต้องออกใช้ค่าขนส่งทรัพย์สินซึ่งได้ซื้อขายกันไปยังที่แห่งอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 464 โจทก์ส่งมอบทรายกรองบางส่วนแล้วโดยส่งมอบครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนพฤษภาคม 2530 แต่จำเลยมิได้บอกเลิกสัญญาในระยะเวลาอันสมควรเพิ่งจะบอกเลิกสัญญาโดยให้มีผลในวันที่ 31 ตุลาคม 2530และตามสัญญากำหนดให้ปรับเป็นรายวัน จำนวนเบี้ยปรับจึงสูงขึ้นเพราะเหตุที่จำเลยบอกเลิกสัญญาล่าช้าด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคแรก โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ส่งมอบทรายกรองไปที่สำนักงานของจำเลยเขต 12 เป็นเงิน 216,642 บาท จำเลยให้การว่าโจทก์ส่งทรายกรองที่สำนักงานเขต 12 ครบถ้วนตามสัญญาโดยมิได้ปฏิเสธค่าทรายกรองตามฟ้อง ดังนั้นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับราคาทรายกรองซึ่งโจทก์ส่งมอบที่สำนักงานเขต 12 จึงฟังได้ยุติตามฟ้องแล้ว ไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัยราคาทรายกรองรายนี้อีก และจำเลยคงต้องชำระค่าทรายกรองรายนี้เป็นเงิน 216,642 บาท ตามที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าเมื่อจำเลยต้องชำระค่าทรายกรองและค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นจำนวน 1,053,779.52 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ส่วนโจทก์ต้องชำระค่าปรับและค่าทดสอบทรายกรองแก่จำเลย512,950 บาท พร้อมดอกเบี้ย เพื่อความสะดวกในการบังคับตามคำพิพากษา ศาลฎีกาจึงหักหนี้กันเสียโดยให้มีผลนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยยื่นฟ้องแย้งก่อนครบกำหนดเวลาในหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้โจทก์ชำระค่าปรับและค่าทดสอบ จำเลยไม่มีอำนาจฟ้องแย้งนั้น แม้โจทก์จะให้การต่อสู้ไว้ แต่ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและคู่ความมิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือได้ว่าคู่ความสละประเด็นดังกล่าวแล้วจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา และที่โจทก์ฎีกาว่าธนาคารกรุงเทพจำกัด ยึดเงินค้ำประกันไว้แทนจำเลย จำเลยอาจอ้างเหตุเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้วไปขอรับเงินจากธนาคารได้ทันทีนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5508/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญาซื้อขายและการเลิกสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและเบี้ยปรับได้
เมื่อพิจารณาข้อความสัญญาซื้อขายในส่วนหลังทั้งหมดแล้ว ถ้ามีการเลิกสัญญาก็ให้ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกค่าชดเชยราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นและเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากเบี้ยปรับ เท่ากับนอกจากเรียกร้องค่าเสียหายแล้ว ยังเรียกเบี้ยปรับที่นับจากวันหลังจากวันที่ส่งมอบของถึงวันบอกเลิกสัญญาได้ด้วย กรณีของโจทก์และจำเลยเป็นเรื่องเลิกสัญญา ต้องใช้ข้อความส่วนหลังในสัญญาบังคับ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยที่ 1 ได้
เบี้ยปรับคือค่าเสียหายซึ่งคู่ความตกลงกันล่วงหน้า เบี้ยปรับจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย ถ้ากำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียทุกอย่าง
เบี้ยปรับคือค่าเสียหายซึ่งคู่ความตกลงกันล่วงหน้า เบี้ยปรับจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย ถ้ากำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียทุกอย่าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5508/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับ, การเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย: สิทธิเรียกค่าปรับเมื่อเลิกสัญญาและผลกระทบต่อการลดเบี้ยปรับหากสูงเกินไป
เมื่อพิจารณาข้อความสัญญาซื้อขายในส่วนหลังทั้งหมดแล้วถ้ามีการเลิกสัญญาก็ให้ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกค่าชดเชยราคาสินค้าทีเพิ่มขึ้นและเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากเบี้ยปรับ เท่ากับนอกจากเรียกร้องค่าเสียหายแล้ว ยังเรียกเบี้ยปรับที่นับจากวันหลังจากวันที่ส่งมอบของถึงวันบอกเลิกสัญญาได้ด้วย กรณีของโจทก์และจำเลยเป็นเรื่องเลิกสัญญา ต้องใช้ข้อความส่วนหลังในสัญญาบังคับโจทก์จึงมีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยที่ 1 ได้ เบี้ยปรับคือค่าเสียหายซึ่งคู่ความตกลงกันล่วงหน้าเบี้ยปรับจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย ถ้ากำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียทุกอย่าง