คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แบ่งมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 350 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกและการครอบครองปรปักษ์: ศาลวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงและสิทธิที่ปรากฏในชั้นพิจารณา
โจทย์ฟ้องว่า นาพิพาทมารดายกให้ และโจทก์ได้ครอบครองโดยปรปักษ์มากว่า 10 ปีขอให้ศาลแสดงว่าเป็นกรรมสิทธิของโจทก์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า นาพิพาทตกเป็นมรดกได้แก่โจทก์จำเลย และโจทก์มิได้ ได้สิทธิในทางครอบครองปรปักษ์ ดังนี้ศาลย่อมวินิจฉัยให้แบ่งกันได้ตามส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยการครอบครองร่วมกันและหลักฐานการตกลงแบ่งมรดกที่ต้องมีผลผูกพัน
อ้างว่ามีการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันแล้ว ต้องพิศูจน์ให้ได้อย่างใดอย่างหนึ่งว่า ต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นสัดส่วนหรือโดยการขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือตกลงกันอย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือต้องแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ
เมื่อฟังว่าโจทก์จำเลยเป็นทายาทและปกครองทรัพย์มรดกร่วมกันมาก็ต้องปรับด้วยมาตรา 1748 ดังนี้แม้โจทก์จะฟ้องขอแบ่งมรดก เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายแล้วก็ตาม คดีโจทก์ก็หาขาดอายุตาม ม.1754 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยการครอบครองร่วมกันและอายุความ การพิสูจน์การแบ่งมรดกต้องมีหลักฐานชัดเจน
อ้างว่ามีการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันแล้ว ต้องพิสูจน์ให้ได้อย่างใดอย่างหนึ่งว่า ต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นสัดส่วน หรือโดยการขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกัน หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือตกลงกันอย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ
เมื่อฟังว่าโจทก์จำเลยเป็นทายาทและปกครองทรัพย์มรดกร่วมกันมาก็ต้องปรับด้วยมาตรา 1748 ดังนี้แม้โจทก์จะฟ้องขอแบ่งมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายแล้วก็ตาม คดีโจทก์ก็หาขาดอายุตาม มาตรา 1754 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก: ทรัพย์สินที่จำเลยอ้างเป็นของตน หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นมรดก จะแบ่งเฉพาะผู้ที่อุทธรณ์เท่านั้น
ในคดีที่โจทก์หลายคนฟ้องจำเลย ขอให้แบ่งมรดก จำเลยต่อสู้ว่าเป็นทรัพย์ของจำเลย ไม่ใช่มรดก เมื่อศาลชั้นต้น ฟังว่าทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยไม่ใช่มรดก จึงพิพากษาไม่ใช่แบ่งนั้น ถ้าโจทก์บางคนอุทธรณ์ขอให้แบ่งส่วนโจทก์บางคนไม่อุทธรณ์ ยินยอมตามคำพิพากษา ดังนี้ถ้าศาลอุทธรรณ์เห็นว่า ทรัพย์พิพาทตกเป็นมรดก อันจะต้องแบ่งให้ทายาทแล้วศาลอุทธรณ์ก็จะพิพากษาให้แบ่งเฉพาะโจทก์ที่อุทธรณ์ขึ้นมา เท่านั้นจะพิพากษาให้โจทก์ที่มิได้อุทธรณืขึ้นมาได้รับส่วนแบ่งด้วย ไม่ได้./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกเฉพาะส่วน ทายาทที่ไม่อุทธรณ์ไม่ได้รับส่วนแบ่ง
ในคดีที่โจทก์หลายคนฟ้องจำเลย ขอให้แบ่งมรดก จำเลยต่อสู้ว่าเป็นทรัพย์ของจำเลย ไม่ใช่มรดก เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยไม่ใช่มรดกจึงพิพากษาไม่ให้แบ่งนั้นถ้าโจทก์บางคนอุทธรณ์ขอให้แบ่งส่วนโจทก์บางคนไม่อุทธรณ์ ยินยอมตามคำพิพากษาดังนี้ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าทรัพย์พิพาทตกเป็นมรดก อันจะต้องแบ่งให้ทายาทแล้วศาลอุทธรณ์ก็จะพิพากษาให้แบ่งเฉพาะโจทก์ที่อุทธรณ์ขึ้นมาเท่านั้นจะพิพากษาให้โจทก์ที่มิได้อุทธรณ์ขึ้นมาได้รับส่วนแบ่งด้วย ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแบ่งมรดกซ้ำ และผลผูกพันคำวินิจฉัยเดิมต่อโจทก์ใหม่
โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอแบ่งมรดกจนคดีถึงที่สุดแล้วโจทก์กลับมาฟ้องขอแบ่งมรดกจากจำเลยเป็นคดีใหม่อีก แต่มีทายาทคนอื่นมาเป็นโจทก์ร่วมด้วย ดังนี้ศาลย่อมรับฟ้องไว้พิจารณาคดีต่อไปได้ แต่คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์คนเดิมไม่ให้กลับมาโต้เถียงเป็นอย่างอื่นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแบ่งมรดกซ้ำ: คำพิพากษาก่อนผูกพันโจทก์เดิม แต่โจทก์ใหม่ต้องพิสูจน์สิทธิเหนือกว่า
โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอแบ่งมรดกจนคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์กลับมาฟ้องขอแบ่งมรดกจากจำเลยเป็นคดีใหม่อีกแต่มีทายาทคนอื่นมาเป็นโจทก์ร่วมด้วย ดังนี้ศาลย่อมรับฟ้องไว้พิจารณาคดีต่อไปได้ แต่คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์คนเดิมไม่ให้กลับมาโต้เถียงเป็นอย่างอื่นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกเมื่อไม่มีผู้ครอบครอง และอายุความไม่ขาด
เจ้ามรดกตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทตามกฎหมายมรดก และเมื่อไม่มีทายาทคนใดได้ครอบครองมรดก ก็ต้องถือว่าทายาททุกคนมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกร่วมกันตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1745 และมีสิทธิฟ้องขอแบ่งมรดกจากัน แม้จะเป็นเวลาภายหลัง เจ้ามรดกตายเกิน 1 ปี ก็ได้ คดีไม่ขาดอายุความมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการแบ่งมรดกของทายาทโดยไม่มีพินัยกรรม แม้เวลาผ่านพ้นไปกว่า 1 ปี ก็ยังมีสิทธิฟ้องร้องได้
เจ้ามรดกตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทตามกฎหมายมรดก และเมื่อไม่มีทายาทคนใดได้ครอบครองมรดก ก็ต้องถือว่าทายาททุกคนมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1745 และมีสิทธิฟ้องขอแบ่งมรดกจากกัน แม้จะเป็นเวลาภายหลังเจ้ามรดกตายเกิน 1 ปี ก็ได้ คดีไม่ขาดอายุความมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งมรดก: สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ชัดเจน ทำให้ต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับจากเจ้ามรดกเสียชีวิต
เจ้ามรดกตายลง ทายาท 2 คน เป็นความกัน ในที่สุดทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า ทายาทผู้ครอบครองที่ดินแปลงหนึ่ง จะจัดการแบ่งที่ดินแปลงนั้นให้แก่ทายาทคนอื่น ดังนี้ เมื่อไม่ได้ระบุตัวบุคคลว่า เป็นใครที่จะแบ่งมรดกให้ไว้ชัดแจ้ง แล้วก็ไม่ทำให้อายุความฟ้องร้องภายใน 1 ปี สดุดหยุดลง ฉะนั้นผู้ที่เป็นทายาทอื่นจะฟ้องทายาทผู้ครอบครองที่ดิน ให้แบ่งที่ดินให้แก่ตนจะต้องฟ้องภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันเจ้ามรดกถึงแก่กรรม มิฉะนั้นคดีย่อมขาอดอายุความ
of 35