คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โมฆะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายงานการประชุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้การเปลี่ยนแปลงกรรมการเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1024 จะบัญญัติว่าในระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกันก็ดี ในระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัทก็ดี ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บรรดาสมุดบัญชีของบริษัทย่อมเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้นั้นทุกประการก็ตาม แต่เมื่อพยานหลักฐานของจำเลยที่นำสืบมานั้นมีน้ำหนักรับฟังได้ว่าไม่มีการประชุมกรรมการและผู้ถือหุ้นบริษัทโจทก์ ตามรายงานการประชุมของบริษัท ดังนั้นการที่รายงานการประชุมของบริษัทระบุว่าที่ประชุมลงมติให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ส. และ ป.ลาออกจากตำแหน่งกรรมการและแต่งตั้งกรรมการใหม่ 4 คนคือ ฮ.น.จ.และช. จึงไม่ถูกต้อง แม้จะมีการนำรายงานการประชุมดังกล่าวไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและนายทะเบียนรับจดทะเบียนให้ก็เป็นการไม่ชอบ หาทำให้กรรมการใหม่ทั้งสี่คนดังกล่าวเป็นกรรมการโจทก์ไม่ กรรมการใหม่ดังกล่าวจึงไม่มีอำนาจบริหารงานของบริษัทโจทก์และกระทำการแทนบริษัทโจทก์ได้การที่ ฮ. และ จ. กรรมการใหม่ร่วมกันลงนามและประทับตราบริษัทโจทก์แต่งตั้ง ร.เป็นทนายความดำเนินการฟ้องร้องคดีนี้จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจ ไม่มีผลทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยโมฆะจากเจตนาลวงและข้อตกลงพิเศษที่ขัดแย้งกับกรมธรรม์
จำเลยให้การต่อสู้ว่า ไม่ได้ค้างชำระเบี้ยประกัน เพราะโจทก์ตกลงรับชำระเบี้ยประกันภัยจากจำเลยเพียงอัตราร้อยละ 30 ของเบี้ยประกันทั้งหมดซึ่งผู้เอาประกันต้องจ่ายตามกรมธรรม์โดยจำเลยซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยจะเป็นผู้รับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้น ฉะนั้น จำเลยจึงนำสืบตามคำให้การ และศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวได้
คู่ความซึ่งมีหน้าที่นำพยานมาสืบภายหลังต้องถามค้านพยานของคู่ความฝ่ายที่นำสืบก่อนในเวลาที่พยานเบิกความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 89 จะต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำสืบภายหลังประสงค์จะสืบพยานของตนเพื่อหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำพยานฝ่ายที่นำสืบก่อนในข้อความทั้งหลายซึ่งพยานเช่นว่านั้นเป็นผู้รู้เห็นหรือเพื่อพิสูจน์ข้อความอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเกี่ยวด้วยการกระทำหรือถ้อยคำหรือหนังสือซึ่งพยานเช่นว่านั้นได้กระทำขึ้นโดยเฉพาะ ดังนั้นการที่จำเลยนำสืบหักล้างพยานโจทก์โดยตรง ย่อมไม่ใช่เป็นจู่โจมทางพยานหลักฐานหรือเอาเปรียบโจทก์ ศาลรับฟังได้ เพราะกรณีไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 89
ก่อนตกลงทำสัญญาประกันภัย โจทก์กับจำเลยได้ตกลงกันว่าโจทก์ยอมรับเบี้ยประกันอัตราร้อยละ 30 ของเบี้ยประกันภัยทั้งหมดและให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเองนับแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2536 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2536แต่ตามกรมธรรม์ประกันภัย ระบุให้จำเลยชำระเบี้ยประกันทั้งหมดและให้โจทก์เป็นผู้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตลอดอายุสัญญา การแสดงเจตนาในการทำสัญญาประกันภัยดังกล่าว จึงเป็นการแสดงเจตนาลวง โดยโจทก์กับจำเลยสมรู้กันทำขึ้นเพื่อลวงบุคคลอื่นว่าจำเลยเป็นผู้เอาประกันภัย และโจทก์เป็นผู้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บุคคลภายนอก สัญญาประกันภัยจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 155 วรรคหนึ่งจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณียกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ เมื่อจำเลยได้ชำระเบี้ยประกันให้โจทก์ไปแล้วร้อยละ 30 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเบี้ยประกันที่เหลือจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดติดจำนอง: ความสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมไม่ทำให้โมฆะ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 วรรคสอง ความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมอันจะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะ จะต้องเป็นความสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม และในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม การที่ผู้ร้องอ้างว่าไม่เข้าใจถึงสาระสำคัญของการขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยติดจำนองจึงมิใช่ความสำคัญผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว เพราะการขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยติดจำนองหรือไม่ เป็นรายละเอียดในการขายทอดตลาดซึ่งผู้ร้องทราบอยู่แล้ว ตามประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี นิติกรรมการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดของผู้ร้อง จึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8498/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันที่ไม่เป็นโมฆะ แม้ทำภายใต้สถานการณ์ถูกกดดันจากคดีอาญา เพราะเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องมูลหนี้โดยชอบ
เดิมจำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยที่ 1ให้โจทก์ โจทก์ได้วางเงินมัดจำและเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาเป็นของโจทก์ แต่มีเหตุขัดข้องเนื่องจากจำเลยที่ 1ไม่สามารถจดทะเบียนโอนขายที่ดินให้โจทก์ได้ โจทก์จึงไปแจ้งความกล่าวหาจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันฉ้อโกง แล้วโจทก์กับจำเลยทั้งสองไปเจรจากันที่สถานีตำรวจ โดยจำเลยที่ 1ได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ การที่โจทก์และเจ้าพนักงานตำรวจให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกัน หากไม่ทำก็จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 2 นั้น จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยสุจริตเพราะตนมีสิทธิในมูลหนี้นั้น อันถือได้ว่าเป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165สัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาจ่ายที่ไม่ระบุค่าจ้างปกติและค่าล่วงเวลา เป็นโมฆะตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ตามสัญญาจ้างข้อ 1 ระบุว่า โจทก์ตกลงทำงานให้แก่จำเลยและบริษัทในเครือ โดยจะทำงานนอกหรือเกินเวลาทำงานปกติ และข้อ 2 ระบุให้โจทก์รับค่าจ้างเดือนละ 8,160 บาท เป็นการเหมาจ่ายและเงินพิเศษอื่น ๆ(ค่าครองชีพ ค่าพาหนะ และค่าอาหาร) อีกเดือนละ 440 บาท ครั้งสุดท้ายโจทก์ได้รับการปรับค่าจ้างเป็นเดือนละ 9,350 บาท แม้สัญญาจ้างดังกล่าวจะระบุว่าเป็นการเหมาจ่าย แต่ก็มิได้ระบุให้เหมาจ่ายรวมค่าล่วงเวลาเข้าด้วยกับค่าจ้างหากมีการรวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายเข้ากับค่าจ้าง ผลจะเป็นว่าไม่อาจทราบได้ว่าค่าจ้างปกติที่จะนำไปเป็นฐานคำนวณค่าล่วงเวลานั้นต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรือไม่และค่าล่วงเวลาที่ตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพราะการกำหนดค่าล่วงเวลาต้องคำนวณจากค่าจ้างในเวลาทำงานปกติตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 3, 11, 29,34 และ 42 เมื่อสัญญาจ้างมิได้กำหนดอัตราค่าจ้างปกติไว้ย่อมทำให้ไม่อาจคำนวณค่าล่วงเวลาได้ การรวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายไปกับค่าจ้างจึงเป็นการเอาเปรียบลูกจ้าง สัญญาจ้างดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 150
นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาวันละ 5 ชั่วโมง นับแต่แรกเข้าทำงานจนถึงวันฟ้อง และนายจ้างประกอบกิจการผลิตสายไฟฟ้า ซึ่งเป็นงานอุตสาหกรรม ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 3วรรคสอง (1) (ข) ลูกจ้างย่อมมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาจากการทำงานล่วงเวลาดังกล่าวอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าจ้าง พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีตามข้อ 31 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นโมฆะ หากไม่ระบุอัตราค่าจ้างปกติชัดเจน และเป็นการเอาเปรียบลูกจ้าง
การกำหนดค่าล่วงเวลาต้องคำนวณจากค่าจ้างในเวลาทำงานปกติตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ3,11,29,34และ42เมื่อสัญญาจ้างมิได้กำหนดอัตราค่าจ้างปกติไว้ย่อมทำให้ไม่อาจคำนวณค่าล่วงเวลาได้การรวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายไปกับค่าจ้างจึงเป็นการเอาเปรียบลูกจ้างสัญญาจ้างดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150ดังนั้นเมื่อจำเลยให้โจทก์ทำงานล่วงเวลาวันละ5ชั่วโมงนับแต่แรกเข้าทำงานจนถึงวันฟ้องและจำเลยประกอบกิจการผลิตสายไฟฟ้าซึ่งเป็นงานอุตสาหกรรมตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ3วรรคสอง(1)(ข)โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาจากการทำงานล่วงเวลาจำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์อีกส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาจ่ายต้องไม่คลุมเครือ หากรวมค่าล่วงเวลา ต้องคำนวณฐานค่าจ้างปกติได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะและลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
ตามสัญญาจ้างข้อ1ระบุว่าโจทก์ตกลงทำงานให้แก่จำเลยและบริษัทในเครือโดยจะทำงานนอกหรือเกินเวลาทำงานปกติและข้อ2ระบุให้โจทก์รับค่าจ้างเดือนละ8,160บาทเป็นการเหมาจ่ายและเงินพิเศษอื่นๆ(ค่าครองชีพค่าพาหนะและค่าอาหาร)อีกเดือนละ440บาทครั้งสุดท้ายโจทก์ได้รับการปรับค่าจ้างเป็นเดือนละ9,350บาทแม้สัญญาจ้างดังกล่าวจะระบุว่าเป็นการเหมาจ่ายแต่ก็มิได้ระบุให้เหมาจ่ายรวมค่าล่วงเวลาเข้าด้วยกับค่าจ้างหากมีการรวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายเข้ากับค่าจ้างผลจะเป็นว่าไม่อาจทราบได้ว่าค่าจ้างปกติที่จะนำไปเป็นฐานคำนวณค่าล่วงเวลานั้นต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขึ้นต่ำหรือไม่และค่าล่วงเวลาที่ตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่เพราะการกำหนดค่าล่วงเวลาต้องคำนวณจากค่าจ้างในเวลาทำงานปกติตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ3,11,29,34และ42เมื่อสัญญาจ้างมิได้กำหนดอัตราค่าจ้างปกติไว้ย่อมทำให้ไม่อาจคำนวณค่าล่วงเวลาได้การรวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายไปกับค่าจ้างจึงเป็นการเอาเปรียบลูกจ้างสัญญาจ้างดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150 นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาวันละ5ชั่วโมงนับแต่แรกเข้าทำงานจนถึงวันฟ้องและนายจ้างประกอบกิจการผลิตสายไฟฟ้าซึ่งเป็นงานอุตสาหกรรมตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ3วรรคสอง(1)(ข)ลูกจ้างย่อมมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาจากการทำงานล่วงเวลาดังกล่าวอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าจ้างพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีตามข้อ31วรรคหนึ่งแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8229/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของมรณะก่อนมีคำพิพากษา: คำพิพากษาเรื่องความสามารถของบุคคลเป็นโมฆะเมื่อผู้ถูกพิจารณาเสียชีวิตก่อน
เมื่อ ถึง วันนัด ฟัง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ผู้ร้อง และ ผู้คัดค้าน ไม่ไป ศาล ศาลชั้นต้น จึง งด อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ซึ่ง พิพากษา ให้ ผู้คัดค้าน เป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ และ ให้ อยู่ ใน ความ พิทักษ์ ของ ผู้ร้อง และ ถือว่า ผู้ร้อง และ ผู้คัดค้าน ทราบ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ แล้ว ต่อมา ผู้คัดค้าน โดย นาย ผู้คัดค้าน ยื่นฎีกา พร้อม กับ คำร้องขอ ให้ ไต่สวน และ มี คำสั่ง ว่า ผู้คัดค้าน ถึงแก่กรรม ไป แล้ว และ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง รับ ฎีกา แล้ว ดังนี้ เมื่อ ปรากฎ แล้ว ดังนี้ เมื่อ ปรากฎ ข้อเท็จจริง ว่า ผู้คัดค้าน ถึงแก่กรรม ก่อน ที่ ศาลชั้นต้น อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และ คดี เป็น เรื่อง เฉพาะตัว ของ ผู้คัดค้าน จะ รับมรดก ความ กัน ไม่ได้ เช่นนี้ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ ผู้คัดค้าน เป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ และ อยู่ ใน ความ พิทักษ์ ของ ผู้ร้อง จึง ไม่ชอบ ศาลฎีกา พิพากษายก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และ ให้ยก คำร้องขอ ของ ผู้ร้อง ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8229/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาคนเสมือนไร้ความสามารถเป็นโมฆะเมื่อผู้ถูกพิพากษาถึงแก่กรรมก่อนอ่านคำพิพากษา
เมื่อถึงวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ไปศาล ศาลชั้นต้นจึงงดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาให้ผู้คัดค้านเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้อง และถือว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ต่อมาผู้คัดค้านโดยทนายผู้คัดค้านยื่นฎีกาพร้อมกับคำร้องขอให้ไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้คัดค้านถึงแก่กรรมไปแล้ว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาแล้ว ดังนี้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้คัดค้านถึงแก่กรรมก่อนที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และคดีเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้คัดค้านจะรับมรดกความกันไม่ได้เช่นนี้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้ผู้คัดค้านเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและอยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้อง จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7833/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งโอนหุ้นเป็นโมฆะ ไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาแจ้งความเท็จ ศาลพิจารณาตามข้อเท็จจริงเฉพาะคดีแพ่ง
คดีอาญาที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นเรื่องแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ส่วนคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่านิติกรรมการโอนหุ้นของบริษัท ย.โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับโอนเป็นโมฆะ เพราะจำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมลายมือชื่อโจทก์ผู้โอนหุ้นในหนังสือสัญญาโอนหุ้นในบริษัทจำกัด โอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอม สิทธิฟ้องคดีในคดีนี้จึงไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานแจ้งความเท็จแต่อย่างใด ทั้งคู่ความในคดีส่วนอาญากับคู่ความในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่งมิได้เป็นคู่ความรายเดียวกัน เพราะ จำเลยที่ 2ในคดีนี้มิได้เป็นคู่ความในคดีส่วนอาญา และประเด็นแห่งคดีในคดีส่วนอาญามีประเด็นว่า จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครหรือไม่ ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยร่วมกันปลอมหนังสือสัญญาโอนหุ้นในบริษัทจำกัดโดยปลอมลายมือชื่อโจทก์โอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 หรือไม่ อันเป็นคนละประเด็นกัน กรณีจึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิพากษาคดีนี้จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของ ป.วิ.อ.มาตรา 46 ที่ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญา
of 132