พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วม การโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วน และผลกระทบต่อสิทธิของเจ้าของร่วม
บ้านพิพาทเป็นของจำเลยกับ ช. ร่วมกัน แม้หลักฐานทางทะเบียนจะปรากฏชื่อ ช.เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวและช. จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทให้ผู้ร้อง ก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยโอนมาเป็นของผู้ร้องด้วย เพราะจำเลยมิได้แสดงเจตนายกให้ผู้ร้องทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้เห็นการที่ ช. จดทะเบียนยกบ้านพิพาทให้ผู้ร้อง จะถือว่าจำเลยยอมให้กรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยโอนไปเป็นของผู้ร้องด้วยไม่ได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยบ้านพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างเป็นส่วนควบของที่ดิน การโอนกรรมสิทธิ์และครอบครอง
โรงเรือนซึ่งปลูกสร้างลงในที่ดินเป็นส่วนควบของที่ดิน ผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินย่อมมีกรรมสิทธิ์ในโรงเรือนนั้น เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 109 หรือ 1312 โจทก์ซื้อที่ดินซึ่งมีบ้านพิพาทปลูกอยู่ บ้านพิพาทจึงเป็นส่วนควบของที่ดินและตก เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 107 วรรคสอง โดยไม่จำต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้โจทก์อีกเมื่อโจทก์ครอบครองบ้านพิพาทซึ่งเป็นของตนเอง กรณีไม่เป็นการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิในบ้านพิพาทของโจทก์ ดังนี้โจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 95/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทน: ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์เป็นภาระของจำเลย แม้มีเหตุขัดข้อง
เหตุขัดข้องที่ทำให้ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์กันได้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง เนื่องมาจากการ ค้าง ชำระค่าภาษีรถยนต์ประจำปี เมื่อตามสัญญาประนีประนอมยอมความกำหนดให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียม ค่าอากรแสตมป์ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อันเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ทั้งหมด ค่าภาษีรถยนต์ประจำปีที่ค้างชำระดังกล่าวจึงเป็นค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ตามที่ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชอบ จำเลยทั้งสองจะถือเป็นเหตุไม่ชำระหนี้แก่โจทก์และขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดีหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 937/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับเมื่อกรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้รับโอนจริง การครอบครองก่อนโอนกรรมสิทธิ์ยังไม่เกิดสิทธิ
จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับเจ้าของที่ดินซึ่งนำที่ดินมาจัดสรรขาย ต่อมาเจ้าของที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้สลับกันโดยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้กับ ส. ผู้ซื้อที่ดินอีกแปลงหนึ่งและจดทะเบียนโอนที่ดินแปลงที่ ส.ได้ทำสัญญาจะซื้อขายไว้โอนให้แก่จำเลย เช่นนี้ การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินเดิม จำเลยจะอ้างการครอบครองปรปักษ์เหนือที่ดินพิพาทในช่วงเวลาก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาใช้ยันแก่เจ้าของที่ดินเดิมผู้จัดสรรหาได้ไม่ และไม่อาจจะแยกการครอบครองที่ดินพิพาทในช่วงระยะเวลาดังกล่าวขึ้นใช้ยันต่อ ส. ได้ตราบใดที่ ส. ยังไม่ได้รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เพราะกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังมิได้ตกเป็นของ ส. ระยะเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ ส. รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ นับถึงวันโจทก์ฟ้องยังไม่ครบ 10 ปี จำเลยยังไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์เหนือที่ดินพิพาท โจทก์ผู้ซึ่งจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจาก ส. โดยไม่สุจริตคือรู้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอยู่หรือไม่ ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์เริ่มต้นเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ การครอบครองระหว่างผ่อนชำระถือเป็นการครอบครองตามสัญญาเช่าซื้อ
การที่จำเลยเข้าครอบครองที่ดินมีโฉนดแปลงพิพาทและแปลงที่จำเลยเช่าซื้อจาก ค. ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกันในระหว่างที่จำเลยชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบถ้วนตามสัญญาและ ค. ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลยนั้น ถือได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ การครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของของจำเลยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ ค. จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เช่าซื้อให้แก่จำเลยเมื่อยังไม่ครบ 10 ปี จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์เริ่มต้นเมื่อใด? กรณีผู้เช่าซื้อยังไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์
การที่จำเลยเข้าครอบครองที่ดินมีโฉนดแปลงพิพาทและแปลงที่จำเลยเช่าซื้อจาก ค. ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกันในระหว่างที่จำเลยชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบถ้วนตามสัญญา และ ค. ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลยนั้น ถือได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ การครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของของจำเลยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ ค. จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เช่าซื้อให้แก่จำเลย เมื่อยังไม่ครบ 10 ปี จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่สิ้นสุดแม้มีการโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริต หากยังมีการใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง
ภารจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิประเภทที่จำกัดตัดทอนกรรมสิทธิ์ผูกพันอยู่กับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นอันเป็นสามยทรัพย์ ไม่ใช่ทรัพยสิทธิส่วนตัวบุคคล แม้เจ้าของภารยทรัพย์จะเปลี่ยนตัวไปก็หาเป็นข้อสำคัญไม่ส่วนมาตรา 1299 ที่บัญญัติว่า "สิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนนั้น มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก ผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว" นั้น หมายความถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพยสิทธิอันเดียวกันกับทรัพยสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนั้น จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาเป็นการได้สิทธิประเภทกรรมสิทธิ์ในที่ดินภารยทรัพย์แล้วสร้างกำแพงปิดล้อมที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทางภารจำยอมที่โจทก์ใช้รถยนต์แล่นเข้าออกที่ดินของโจทก์ กรณีจึงมิใช่การโต้เถียงกันในเรื่องการได้สิทธิในทรัพยสิทธิอันเดียวกัน จำเลยจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยเสียค่าตอบแทนและสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินพิพาทต้องสิ้นไปหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรส การโอนกรรมสิทธิ์ และการเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนตัวหลังการเสียชีวิต
การที่คู่สมรสยกกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งเป็นสินสมรสเฉพาะส่วนของตนให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ถือได้ว่าคู่สมรสนั้นได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่าย ย่อมทำให้ที่ดินในส่วนที่เหลือหมดสภาพจากการเป็นสินสมรส และตกเป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง การให้อสังหาริมทรัพย์แก่ผู้รับนั้นจะสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. ก็ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่บ้านพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อทางพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติกรรม การให้ดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายกรรมสิทธิ์ในบ้านยังคงเป็นของผู้ให้ เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องเพชร และเครื่องประดับอื่น ๆ คือสร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวน เข็มขัดนาก ซึ่งเป็นของภรรยามีราคาไม่มากนักเป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะแม้จะได้มาโดยสามีเป็นผู้หามาให้ หรือภรรยาหามาเองในระหว่างสมรสก็ยังคงเป็นสินส่วนตัวของภรรยา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรส การโอนกรรมสิทธิ์ และอำนาจการฟ้องเพิกถอนนิติกรรม
บิดาโจทก์ยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสของบิดาโจทก์กับผู้ตายเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ไปแล้ว ถือได้ว่าบิดาโจทก์กับผู้ตายได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่ายย่อมทำให้ที่ดินในส่วนที่เหลือหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย ส่วนบ้านนั้นบิดาโจทก์ได้ทำพินัยกรรมยกส่วนของตนครึ่งหนึ่งให้โจทก์แล้วเช่นกัน ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจึงตกเป็นของผู้ตายแต่ผู้เดียว ผู้ตายไปยื่นคำขอจดทะเบียนนิติกรรมให้บ้านพิพาทในส่วนของตนให้แก่โจทก์ แต่การให้บ้านพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้รับนั้นจะสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525ก็ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติกรรม การให้ดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย กรรมสิทธิ์ในบ้านส่วนที่เป็นของผู้ตายยังคงเป็นของผู้ตายเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300 โจทก์ไม่ได้เป็นทายาท ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดก ย่อมไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์สินที่ดินพิพาทและครึ่งหนึ่งของบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายให้บุคคลอื่นได้ เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องเพชร แหวน เข็มขัดนาก และเครื่องประดับอื่น ๆ ตามฟ้องเป็นเครื่องประดับกายซึ่งรวมกันแล้วมีราคาไม่มาก เมื่อพิจารณาตามฐานะและรายได้ของบิดาโจทก์และผู้ตายแล้ว เป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะของผู้ตายแม้ผู้ตายได้มาโดยบิดาโจทก์เป็นผู้หามาให้หรือผู้ตายหาเองในระหว่างสมรสก็ตาม ก็เป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5866/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้จำเลยไม่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
จำเลยตกลงขายและสละการครอบครองที่พิพาทให้แก่โจทก์แล้วทั้งโจทก์ครอบครองที่พิพาทมาด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่า10 ปี โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท แต่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนแก้ไขหลักฐานทางทะเบียนในที่ดินดังกล่าวเป็นชื่อโจทก์หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนามิได้ เนื่องจากจำเลยไม่มีหน้าที่อย่างใดในทางนิติกรรมที่จะต้องโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ เป็นหน้าที่โจทก์ที่จะต้องดำเนินการให้มีชื่อของตนในโฉนดต่อไป.