พบผลลัพธ์ทั้งหมด 846 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6668/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและการรับของโจร ศาลพิจารณาเป็นกรรมเดียวได้หากมีเจตนาเดียวกัน
จำเลยทั้งสามได้นำรถยนต์ของกลางออกใช้ขับไปในที่ต่างๆโดยมีแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอมและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ปลอมติดอยู่ที่รถยนต์คันเดียวกันโดยมีเจตนาแสดงเอกสารดังกล่าวต่อผู้อื่นหรือเจ้าพนักงานตำรวจในเวลาเดียวกันจนกระทั้งถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสามดังกล่าวย่อมเห็นได้ว่าจำเลยทั้งสามมีเจตนาอย่างเดียวคือเพื่อให้ผู้อื่นหรือเจ้าพนักงานตำรวจเห็นว่ารถยนต์คันที่จำเลยทั้งสามใช้ขับเป็นรถยนต์ถูกต้องตามกฎหมายเพียงอย่างเดียวเท่านั้นการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงมีความผิดกรรมเดียว ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดฐานรับของโจรจำคุกคนละ4ปีและลงโทษจำเลยทั้งสามในข้อหาใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอมกับใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ปลอมโดยจำคุกกระทงละคนละ3ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะในความผิดฐานใช้เอกสารปลอมที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นความผิดสองกรรมว่าเป็นความผิดกรรมเดียวโดยพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามในข้อหานี้จำคุกคนละ3ปีโดยมิได้เปลี่ยนบทและโทษที่ได้รับก็ต่ำกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดซึ่งเป็นผลดีแก่จำเลยทั้งสามถือได้ว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำเลยทั้งสามในแต่ละกระทงไม่เกิน5ปีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงโดยผู้พิพากษาที่รับประเด็น และการพิจารณาว่าการกระทำหลายอย่างเป็นกรรมเดียว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11, 69 วรรคสอง (2), 73 วรรคสอง (2) รวม2 กระทง จำคุกกระทงละ 3 ปี รวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 4 ปี เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อยซึ่งโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157, 160, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) (ข) และ (ค) ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดรวม 3 กระทง จำคุกกระทงละ2 ปี รวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ข) และมาตรา 157, 160ตามฟ้องข้อ 2 (ค) เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 157อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 2 ปี ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) ดังนั้นเฉพาะความผิดตามฟ้องข้อ 2 (ข) และ (ค) เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อย คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 230 ที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีส่งประเด็นให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนนั้น แม้ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะมีข้อความระบุให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดั่งศาลเดิม และศาลที่รับประเด็นมีอำนาจส่งประเด็นไปยังศาลอื่นอีกต่อหนึ่งได้ก็ตาม ความหมายก็คงจำกัดอยู่ในขอบอำนาจของการสืบพยานหลักฐานแทนตามที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วงไปเท่านั้น และตามป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้น ก็โดยมุ่งหมายให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาในศาลที่พิจารณาคดีนั้นเอง เพราะเป็นผู้ทราบดีว่าควรจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ส่วนผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นนั้นเป็นเพียงสืบแทนเฉพาะพยานหลักฐานที่ศาลที่พิจารณาคดีส่งมา หาได้ทราบถึงข้อเท็จจริงทั้งสำนวนไม่ ตลอดทั้งการวินิจฉัยคดีก็มิได้เกี่ยวข้องด้วย การที่จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นอนุญาตให้ฎีกานั้น จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามระเบียบปฏิบัติของกรมป่าไม้ การตรวจสอบการทำไม้ซึ่งรวมทั้งการใช้ตราประจำตัวประทับที่ตอไม้และหน้าตัดไม้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกับการนำไม้เคลื่อนที่ออกจากป่า ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ใช้ตราประจำตัวประทับที่หน้าตัดไม้ซุงหน้าที่ว่าการอำเภอท้องที่โดยละเว้นการตรวจสอบไม้ของกลางตามระเบียบปฏิบัติดังกล่าวกับการที่จำเลยที่ 2 กรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่ซึ่งทำขึ้นในวันเดียวกันก็เพื่ออำพรางให้ถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบปฏิบัติที่ทางราชการวางไว้และเพื่อให้มีการนำไม้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางได้สำเร็จลุล่วงไป การกระทำของจำเลยที่ 2 ตามฟ้องข้อ 2 (ข)และ (ค) จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นสองกรรมต่างกันไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157, 160, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) (ข) และ (ค) ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดรวม 3 กระทง จำคุกกระทงละ2 ปี รวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ข) และมาตรา 157, 160ตามฟ้องข้อ 2 (ค) เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 157อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 2 ปี ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) ดังนั้นเฉพาะความผิดตามฟ้องข้อ 2 (ข) และ (ค) เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อย คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 230 ที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีส่งประเด็นให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนนั้น แม้ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะมีข้อความระบุให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดั่งศาลเดิม และศาลที่รับประเด็นมีอำนาจส่งประเด็นไปยังศาลอื่นอีกต่อหนึ่งได้ก็ตาม ความหมายก็คงจำกัดอยู่ในขอบอำนาจของการสืบพยานหลักฐานแทนตามที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วงไปเท่านั้น และตามป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้น ก็โดยมุ่งหมายให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาในศาลที่พิจารณาคดีนั้นเอง เพราะเป็นผู้ทราบดีว่าควรจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ส่วนผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นนั้นเป็นเพียงสืบแทนเฉพาะพยานหลักฐานที่ศาลที่พิจารณาคดีส่งมา หาได้ทราบถึงข้อเท็จจริงทั้งสำนวนไม่ ตลอดทั้งการวินิจฉัยคดีก็มิได้เกี่ยวข้องด้วย การที่จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นอนุญาตให้ฎีกานั้น จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามระเบียบปฏิบัติของกรมป่าไม้ การตรวจสอบการทำไม้ซึ่งรวมทั้งการใช้ตราประจำตัวประทับที่ตอไม้และหน้าตัดไม้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกับการนำไม้เคลื่อนที่ออกจากป่า ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ใช้ตราประจำตัวประทับที่หน้าตัดไม้ซุงหน้าที่ว่าการอำเภอท้องที่โดยละเว้นการตรวจสอบไม้ของกลางตามระเบียบปฏิบัติดังกล่าวกับการที่จำเลยที่ 2 กรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่ซึ่งทำขึ้นในวันเดียวกันก็เพื่ออำพรางให้ถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบปฏิบัติที่ทางราชการวางไว้และเพื่อให้มีการนำไม้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางได้สำเร็จลุล่วงไป การกระทำของจำเลยที่ 2 ตามฟ้องข้อ 2 (ข)และ (ค) จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นสองกรรมต่างกันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาข้อเท็จจริงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด และการกระทำความผิดหลายบทเป็นกรรมเดียว
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา230จะให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดังศาลเดิมแต่ก็จำกัดอยู่ในขอบอำนาจของการสืบพยานหลักฐานแทนตามที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วงไปเท่านั้นส่วนมาตรา221ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ก็เฉพาะแก่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่จะรับประเด็นอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงจึงไม่ชอบ การตรวจสอบการทำไม้ซึ่งรวมทั้งตราประจำตัวประทับที่ตอไม้และหน้าตัดไม้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกับการนำไม้เคลื่อนที่ออกจากป่าการที่จำเลยที่2ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ป่าไม้ใช้ตราประจำตัวประทับที่หน้าตัดไม้ซุงโดยละเว้นการตรวจสอบไม้ดังกล่าวตามระเบียบของทางราชการกับกรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่ในวันเดียวกันเพื่ออำพรางให้ถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบเพื่อให้มีการนำไม้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางได้สำเร็จจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3266/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขบวนการหลอกลวงส่งไปค้าประเวณีต่างประเทศ: การกระทำผิดกรรมเดียวและความชอบด้วยกฎหมายในการสอบสวน
จำเลยทั้งสองใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ร่วมทั้งสองว่า สามารถติดต่อส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น และสามารถเรียนหนังสือต่อได้ เมื่อโจทก์ร่วมทั้งสองไปถึงประเทศญี่ปุ่นแล้วมีคนมารับโจทก์ร่วมทั้งสองไปควบคุมตัวไม่ให้หลบหนี เพื่อให้โจทก์ร่วมทั้งสองทำการค้าประเวณีสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่แท้จริงในการจัดส่งโจทก์ร่วมทั้งสองออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นประการเดียวการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
ร้อยตำรวจโท อ. และพันตำรวจโท พ.เป็นพนักงานสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคสอง และเป็นพนักงานสอบสวนของหน่วยเฉพาะกิจเมื่อได้รับอนุมัติให้ทำการสอบสวนจากผู้บังคับบัญชาแล้ว ร้อยตำรวจโท อ. และพันตำรวจโท พ. จึงมีอำนาจทำการสอบสวน และเป็นการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องได้
การจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจตามคำสั่งกรมตำรวจเป็นเพียงการปฏิบัติงานภายในกรมตำรวจ มิใช่เป็นการแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ จึงไม่จำต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกที่หลบหนีเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่น ได้ร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป ชักพาไปเพื่อการอนาจารโจทก์ร่วมทั้งสอง โดยหลอกลวงว่าจะส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น และสามารถเรียนหนังสือได้ด้วย ซึ่งไม่เป็นความจริง ความจริงจำเลยทั้งสองมิได้เจตนาจะส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปทำงานและเรียนหนังสือ หากแต่มีเจตนาจะส่งไปเพื่อทำการค้าประเวณี โจทก์ร่วมทั้งสองหลงเชื่อจึงสมัครไปทำงานแล้วจำเลยทั้งสองกับพวกที่หลบหนีได้ร่วมกันส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปประเทศ-ญี่ปุ่น ให้พวกของจำเลยทั้งสองนำไปขายให้แก่ร้านมีชื่อแห่งหนึ่งเพื่อทำการค้าประเวณีสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น คำฟ้องดังกล่าวโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดเพียงพอที่จะทำให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยทั้งสองฎีกานอกจากที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังนี้ ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ร้อยตำรวจโท อ. และพันตำรวจโท พ.เป็นพนักงานสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคสอง และเป็นพนักงานสอบสวนของหน่วยเฉพาะกิจเมื่อได้รับอนุมัติให้ทำการสอบสวนจากผู้บังคับบัญชาแล้ว ร้อยตำรวจโท อ. และพันตำรวจโท พ. จึงมีอำนาจทำการสอบสวน และเป็นการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องได้
การจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจตามคำสั่งกรมตำรวจเป็นเพียงการปฏิบัติงานภายในกรมตำรวจ มิใช่เป็นการแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ จึงไม่จำต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกที่หลบหนีเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่น ได้ร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป ชักพาไปเพื่อการอนาจารโจทก์ร่วมทั้งสอง โดยหลอกลวงว่าจะส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น และสามารถเรียนหนังสือได้ด้วย ซึ่งไม่เป็นความจริง ความจริงจำเลยทั้งสองมิได้เจตนาจะส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปทำงานและเรียนหนังสือ หากแต่มีเจตนาจะส่งไปเพื่อทำการค้าประเวณี โจทก์ร่วมทั้งสองหลงเชื่อจึงสมัครไปทำงานแล้วจำเลยทั้งสองกับพวกที่หลบหนีได้ร่วมกันส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปประเทศ-ญี่ปุ่น ให้พวกของจำเลยทั้งสองนำไปขายให้แก่ร้านมีชื่อแห่งหนึ่งเพื่อทำการค้าประเวณีสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น คำฟ้องดังกล่าวโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดเพียงพอที่จะทำให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยทั้งสองฎีกานอกจากที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังนี้ ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1865/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: การหลอกลวงด้วยเช็คปลอมเพื่อเอาสินค้า
การออกเช็คทั้งสามฉบับของจำเลยที่2เป็นเพียงการกระทำส่วนหนึ่งของการหลอกลวงโดยมีเจตนาเป็นอย่างเดียวคือเพื่อให้ได้ไปซึ่งสินค้าจากโจทก์ โดยทุจริตไม่ต้องการให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้นมาแต่ต้น จึงเป็นการกระทำ กรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนโทรมหญิง-หน่วงเหนี่ยวกักขัง: การพิจารณาความผิดกรรมเดียวความผิดหลายบท
จำเลยพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารแล้วข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายและได้หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้การกระทำทั้งสามตอนต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียวกันพฤติการณ์ของจำเลยมีเจตนาเพียงต้องการข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพยายามข่มขืนในเคหสถาน: การพิจารณาเจตนาและกรรมเดียว
เมื่อจำเลยบุกรุกเข้าไปในห้องพักอันเป็นเคหสถานของผู้เสียหายแล้วจำเลยได้พยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายต่อเนื่องกันโดยมีเจตนาอันแท้จริงเพื่อข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายเป็นสำคัญการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อันตรายสาหัส – การพิสูจน์ความทุกขเวทนาและผลกระทบต่อการใช้ชีวิต, กรรมเดียวผิดหลายบท
แม้หลังเกิดเหตุแล้ว 2 เดือน นิ้วก้อยซ้ายของผู้เสียหายยังไม่สามารถยืดออกได้ตามปกติก็ตาม แต่โจทก์มิได้นำสืบว่าอาการป่วยเจ็บเช่นว่านั้นทำให้ผู้เสียหายได้รับทุกขเวทนาหรือไม่สามารถประกอบกรณียกิจได้ตลอดระยะเวลาดังกล่าว จึงฟังไม่ได้ว่า บาดแผลดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา หรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน อันจะเข้าลักษณะเป็นอันตรายสาหัส
การที่จำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้เสียหายที่ปากซอย แล้วไล่ตามเข้าไปทำร้ายผู้เสียหายในบริเวณบ้านของ พ.อีกนั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำต่อเนื่องกันโดยจำเลยมีเจตนาอันเดียวมุ่งหมายที่จะทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้เสียหายที่ปากซอย แล้วไล่ตามเข้าไปทำร้ายผู้เสียหายในบริเวณบ้านของ พ.อีกนั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำต่อเนื่องกันโดยจำเลยมีเจตนาอันเดียวมุ่งหมายที่จะทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อันตรายสาหัส การทำร้ายต่อเนื่อง และความผิดกรรมเดียว
แม้หลังเกิดเหตุแล้ว 2 เดือน นิ้วก้อยซ้ายของผู้เสียหายยังไม่สามารถยืดออกได้ตามปกติก็ตาม แต่โจทก์มิได้นำสืบว่าอาการป่วยเจ็บเช่นว่านั้นทำให้ผู้เสียหายได้รับทุกขเวทนาหรือไม่สามารถประกอบกรณียกิจได้ตลอดระยะเวลาดังกล่าว จึงฟังไม่ได้ว่า บาดแผลดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา หรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน อันจะเข้าลักษณะเป็นอันตรายสาหัส การที่จำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้เสียหายที่ปากซอย แล้วไล่ตามเข้าไปทำร้ายผู้เสียหายในบริเวณบ้านของ พ. อีกนั้น ถือได้ว่า เป็นการกระทำต่อเนื่องกันโดยจำเลยมีเจตนาอันเดียวมุ่งหมายที่จะทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6759/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาเดียวกันในการทำร้ายร่างกาย ผู้ตายและผู้เสียหาย ถือเป็นกรรมเดียว
เมื่อจำเลยกับพวกเห็นผู้ตายกับผู้เสียหายก็วิ่งเข้าทำร้ายทันทีการที่จะทำร้ายใครก่อนหลังเป็นเรื่องธรรมดา แต่เห็นเจตนาของจำเลยกับพวกได้ว่าเจตนาร่วมกันที่จะทำร้ายผู้เสียหายกับผู้ตาย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกมีเจตนาจะทำร้ายเฉพาะผู้ตายและเพิ่มเจตนาทำร้ายผู้เสียหายอีกคนหนึ่งในภายหลัง ลักษณะของเจตนาในการกระทำผิดเป็นอันเดียวกัน แม้จะมีการกระทำหลายหนแต่บุคคลหลายคนก็ตาม ก็ถือว่าเป็นความผิดกรรมเดียว