พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6369/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการถือเอากำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญของสัญญา, การขยายเวลาสัญญา, และสิทธิเรียกร้องค่าปรับ
โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาจ้างเหมาทำและติดตั้งเฟอร์นิเจอร์และงานตกแต่งภายใน โดยกำหนดให้จำเลยทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 7 ตุลาคม2532 หากจำเลยไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหรือภายในกำหนดระยะเวลาที่ได้ตกลงย่นหรือขยายกันแล้ว จำเลยยอมเสียค่าปรับให้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์และจำเลยตกลงขยายกำหนดระยะเวลาทำงานให้จำเลยออกไปถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2532 แล้วจำเลยยังทำไม่เสร็จตามสัญญา แต่โจทก์มิได้ขอบังคับตามสัญญาหรือสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับแต่อย่างใด กลับตกลงเพิ่มเติมงานจากสัญญาเดิมขึ้นอีกโดยไม่อาจทราบได้ว่างานจะเสร็จเมื่อใดและไม่ประสงค์ที่จะปรับ และมีการจ่ายเงินให้จำเลยอีกในภายหลังวันที่ครบกำหนดตามสัญญาแล้วตามพฤติการณ์ถือได้ว่า โจทก์มิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างเหมาเป็นสาระสำคัญ จึงจะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่ ดังนี้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาค่าปรับจากจำเลยตามสัญญา
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นการจ้างเหมาให้จำเลยจัดทำและติดตั้งเฟอร์นิเจอร์และตกแต่งภายในบ้าน จึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ซึ่งมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อจำเลยมีอำนาจฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ไม่ยอมรับเฟอร์นิเจอร์ลอยโดยคิดค่าเสียหายเท่ากับราคาที่ค้างชำระอยู่ระหว่างพิจารณาโจทก์และจำเลยตกลงกันยอมรับเฟอร์นิเจอร์ลอยและจะชำระราคาที่ค้างอยู่ และเมื่อโจทก์ได้รับเฟอร์นิเจอร์ลอยไปแล้ว ดังนี้ ศาลชอบที่จะบังคับให้โจทก์ชำระราคาตามที่ตกลงนั้นได้ มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นการจ้างเหมาให้จำเลยจัดทำและติดตั้งเฟอร์นิเจอร์และตกแต่งภายในบ้าน จึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ซึ่งมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อจำเลยมีอำนาจฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ไม่ยอมรับเฟอร์นิเจอร์ลอยโดยคิดค่าเสียหายเท่ากับราคาที่ค้างชำระอยู่ระหว่างพิจารณาโจทก์และจำเลยตกลงกันยอมรับเฟอร์นิเจอร์ลอยและจะชำระราคาที่ค้างอยู่ และเมื่อโจทก์ได้รับเฟอร์นิเจอร์ลอยไปแล้ว ดังนี้ ศาลชอบที่จะบังคับให้โจทก์ชำระราคาตามที่ตกลงนั้นได้ มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6065/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมหลังพ้นกำหนด - ศาลต้องพิจารณาคำสั่งก่อนพิพากษา
เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้าน พร้อมกับยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะทรัพย์ตามพินัยกรรม ศาลอุทธรณ์จำต้องพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมก่อน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา239 แต่ศาลอุทธรณ์มิได้พิจารณาอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
ตามคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้านเพิ่งยื่นในวันนัดสืบพยาน ซึ่งสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสองแล้ว ทั้งคำร้องมิได้ระบุเหตุแห่งความล่าช้าหรือเหตุสมควรอื่นใดตามมาตรา 88 วรรคสี่ จึงไม่อาจพิจารณาสั่งรับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้านได้
ตามคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้านเพิ่งยื่นในวันนัดสืบพยาน ซึ่งสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสองแล้ว ทั้งคำร้องมิได้ระบุเหตุแห่งความล่าช้าหรือเหตุสมควรอื่นใดตามมาตรา 88 วรรคสี่ จึงไม่อาจพิจารณาสั่งรับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาเกินกำหนดเวลา: ศาลชั้นต้นต้องส่งคำร้องไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท หรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงเว้นแต่ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลอุทธรณ์ได้มีความเห็นแย้งหรือผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นก็ดีศาลอุทธรณ์ก็ดีได้รับรองไว้หรือรับรองในเวลาตรวจฎีกาว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคำรับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้ฎีกาเป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์นั้น เมื่อ ป.วิ.พ.ภาค 3 ลักษณะ 2 ว่าด้วยฎีกามิได้บัญญัติถึงวิธีปฏิบัติในการยื่นคำร้องเพื่อที่จะได้รับอนุญาตให้ฎีกาเป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงต้องนำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 247 ซึ่งได้แก่บทบัญญัติในมาตรา 230 วรรคสาม เมื่อนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลมแล้วจะได้วิธีปฏิบัติดังนี้คือ คดีที่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคำรับรอง ให้ศาลมีคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อเท็จจริงดังกล่าว ในกรณีเช่นนี้ผู้ฎีกาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อจะได้รับอนุญาตให้ฎีกาเป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำร้องเช่นว่านั้นแล้วให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมด้วยสำนวนความไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อมีคำสั่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย ในวันที่ 25 ธันวาคม2538 ดังนั้น จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องเพื่อจะได้รับอนุญาตให้ฎีกาเป็นหนังสือต่อศาลชั้นต้นถึงอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในวันที่ 1 มกราคม 2539 ซึ่งตรงกับวันหยุดราชการประจำปี จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องในวันที่ศาลชั้นต้นเปิดทำการเป็นวันแรกได้ ซึ่งโดยทั่วไปคือวันที่ 2 มกราคม 2539 แต่เฉพาะในปี 2539 นี้คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 2 มกราคม 2539 เป็นวันหยุดชดเชยของวันที่ 31ธันวาคม 2538 ที่ตรงกับวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ ตามหนังสือเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0215/ว 274 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2538วันที่ศาลชั้นต้นเปิดทำการเป็นวันแรกหลังจากวันสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 และที่ 3ถึงที่ 5 มีสิทธิยื่นคำร้องได้ซึ่งตรงกับวันหยุดราชการจึงเป็นวันที่ 3 มกราคม 2539และจำเลยได้ยื่นคำร้องดังกล่าวในวันที่ 3 มกราคม 2539 อันเป็นการยื่นคำร้องดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ศาลชั้นต้นจะต้องส่งคำร้องดังกล่าวของจำเลยพร้อมสำนวนไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อพิเคราะห์สั่งต่อไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ศาลชั้นต้นไม่มีสิทธิปฏิเสธไม่ส่งคำร้องดังกล่าวไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ตามที่จำเลยขอ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงจึงเป็นการไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย ในวันที่ 25 ธันวาคม2538 ดังนั้น จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องเพื่อจะได้รับอนุญาตให้ฎีกาเป็นหนังสือต่อศาลชั้นต้นถึงอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในวันที่ 1 มกราคม 2539 ซึ่งตรงกับวันหยุดราชการประจำปี จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องในวันที่ศาลชั้นต้นเปิดทำการเป็นวันแรกได้ ซึ่งโดยทั่วไปคือวันที่ 2 มกราคม 2539 แต่เฉพาะในปี 2539 นี้คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 2 มกราคม 2539 เป็นวันหยุดชดเชยของวันที่ 31ธันวาคม 2538 ที่ตรงกับวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ ตามหนังสือเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0215/ว 274 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2538วันที่ศาลชั้นต้นเปิดทำการเป็นวันแรกหลังจากวันสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 และที่ 3ถึงที่ 5 มีสิทธิยื่นคำร้องได้ซึ่งตรงกับวันหยุดราชการจึงเป็นวันที่ 3 มกราคม 2539และจำเลยได้ยื่นคำร้องดังกล่าวในวันที่ 3 มกราคม 2539 อันเป็นการยื่นคำร้องดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ศาลชั้นต้นจะต้องส่งคำร้องดังกล่าวของจำเลยพร้อมสำนวนไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อพิเคราะห์สั่งต่อไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ศาลชั้นต้นไม่มีสิทธิปฏิเสธไม่ส่งคำร้องดังกล่าวไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ตามที่จำเลยขอ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5676/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องการส่งหมาย และไม่แถลงภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นสั่งคำฟ้องของโจทก์ว่า "นัดไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์นำส่งหมายให้จำเลยภายใน 7 วัน ส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 5 วัน มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง" และสั่งคำร้องขอส่งหมายนัดแก่จำเลยข้ามเขตซึ่งโจทก์ได้ขออนุญาตให้ปิดหมายด้วยว่า "จัดการให้ ให้ส่งโดยวิธีธรรมดาก่อนเนื่องจากไม่ปรากฏต้นฉบับหนังสือรับรองของจำเลยที่ 1" ซึ่งเป็นคำสั่งที่ชัดแจ้งอยู่แล้ว เมื่อปรากฏว่าโจทก์ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ของศาลส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองโดยวิธีปิดหมายผิดไปจากคำสั่งของศาลอันเป็นการส่งที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นจึงสั่งในรายงานการส่งหมายเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2539 ว่า "ศาลยังไม่มีคำสั่งให้ปิดหมาย การส่งหมายไม่ชอบ รอโจทก์แถลง" และเจ้าหน้าที่ศาลได้มีหนังสือแจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้ทนายโจทก์ทราบในวันเดียวกันโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนและทนายโจทก์ได้รับหนังสือนั้นแล้ว ในหนังสือมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า"เป็นการส่งหมายไม่ชอบ เพราะศาลไม่ได้สั่งให้ปิดหมาย" ดังนั้น โจทก์ย่อมทราบและเข้าใจดีตั้งแต่วันรับหนังสือนั้นว่ายังส่งหมายให้จำเลยโดยชอบไม่ได้ จะต้องมีการส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยใหม่ และโจทก์ต้องแถลงให้ศาลทราบภายใน 5 วัน แม้ศาลจะไม่ได้กำหนดให้โจทก์แถลงภายในกี่วันก็มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวว่าให้แถลงภายใน 5 วัน ตามคำสั่งศาลที่ได้ให้ไว้ และโจทก์ได้ทราบแล้วตั้งแต่แรกตามที่ได้วินิจฉัยมาโดยศาลไม่จำต้องสั่งให้โจทก์แถลงภายในกี่วันซ้ำอีก แต่โจทก์กลับเพิกเฉยจนล่วงเลยกำหนดเวลามาหลายวันมิได้แถลงให้ศาลทราบ เหตุนี้เมื่อเจ้าหน้าที่รายงานเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2539 เรื่องที่โจทก์มิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นภายในเวลาที่กำหนด และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5565/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดส่งมอบงานและการใช้ดุลพินิจศาลในการลดเบี้ยปรับ
แม้หนังสือสัญญาว่าจ้างทำเฟอร์นิเจอร์ฉบับพิพาทจะได้กำหนดให้ทำเฟอร์นิเจอร์ส่งมอบแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2532 แต่ต่อมาโจทก์ในฐานะผู้รับจ้างกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างก็ได้ตกลงเลื่อนกำหนดวันส่งมอบงานออกไปเป็นให้ส่งมอบงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2533 แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเดิมเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป ดังนั้นจำเลยที่ 1 จะอ้างว่าโจทก์ส่งมอบงานล่าช้าโดยถือว่าโจทก์ผิดสัญญาก่อนวันที่ 5สิงหาคม 2533 หาได้ไม่
โจทก์ได้ตกลงทำสัญญากับจำเลยที่ 1 แล้วว่าหากทำไม่แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2533 ก็จะยอมให้ปรับ โดยจำเลยที่ 1 ยินยอมให้ผ่อนผันโดยไม่ทักท้วง พฤติการณ์แสดงว่าข้อสัญญาที่เกี่ยวกับการส่งมอบล่าช้าหรือไม่แล้วเสร็จตามสัญญาเดิมคู่สัญญาต่างมีเจตนาระงับกันไปโดยไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาอีกต่อไปจนกว่าจะล่วงพ้นวันที่ 5 สิงหาคม 2533 ดังนี้ เมื่อโจทก์ส่งมอบงานให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนทั้งหมดแล้วในวันที่ 10 กันยายน 2533 ล่าช้าไปจากวันที่ 5สิงหาคม 2533 เป็นระยะเวลา 35 วัน ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็มิได้โต้แย้ง เท่ากับว่าโจทก์ผิดสัญญาเพียง 35 วัน ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดปรับรายวันรวม 35 วันมาจึงชอบแล้ว
เบี้ยปรับถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาชดใช้แก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญา แต่ก็มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าจะต้องเป็นไปตามข้อตกลงศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงได้
โจทก์ได้ตกลงทำสัญญากับจำเลยที่ 1 แล้วว่าหากทำไม่แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2533 ก็จะยอมให้ปรับ โดยจำเลยที่ 1 ยินยอมให้ผ่อนผันโดยไม่ทักท้วง พฤติการณ์แสดงว่าข้อสัญญาที่เกี่ยวกับการส่งมอบล่าช้าหรือไม่แล้วเสร็จตามสัญญาเดิมคู่สัญญาต่างมีเจตนาระงับกันไปโดยไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาอีกต่อไปจนกว่าจะล่วงพ้นวันที่ 5 สิงหาคม 2533 ดังนี้ เมื่อโจทก์ส่งมอบงานให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนทั้งหมดแล้วในวันที่ 10 กันยายน 2533 ล่าช้าไปจากวันที่ 5สิงหาคม 2533 เป็นระยะเวลา 35 วัน ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็มิได้โต้แย้ง เท่ากับว่าโจทก์ผิดสัญญาเพียง 35 วัน ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดปรับรายวันรวม 35 วันมาจึงชอบแล้ว
เบี้ยปรับถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาชดใช้แก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญา แต่ก็มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าจะต้องเป็นไปตามข้อตกลงศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5546/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดยื่นคำให้การ-พิจารณาคดี: ผลของการทราบคดีหลังกลับจากต่างประเทศ และกำหนดเวลาการยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่
แม้ในขณะถูกฟ้องและถูกบังคับคดี จำเลยจะไม่ทราบว่าจำเลยถูกฟ้องและถูกบังคับคดีเพราะขณะนั้นจำเลยเดินทางจากประเทศไทยไปทำงานเป็นแม่บ้านอยู่ที่เกาะฮ่องกง และเพิ่งเดินทางกลับประเทศไทย ทั้งหลังจากนั้นจำเลยไปอยู่ที่ภูมิลำเนาของจำเลยที่จังหวัดระยองโดยที่จำเลยไม่เคยได้รับสำเนาคำฟ้องหมายเรียกให้ยื่นคำให้การและหมายบังคับคดีเลยก็ตาม แต่หลังจากจำเลยเดินทางกลับประเทศไทยแล้ว จำเลยทราบว่า จำเลยถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้และจำเลยต้องตกเป็นฝ่ายแพ้คดี ตามที่จำเลยและทนายความของจำเลยได้ยื่นคำแถลงขอตรวจสำนวน และขอคัดสำเนาคำฟ้องคำพิพากษาและคำสั่ง ของศาล ดังนั้น แม้เหตุที่จำเลยต้องขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา สืบเนื่องมาจากพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยเดินทางกลับมายังประเทศไทยและจำเลยทราบว่าจำเลยถูกโจทก์ฟ้องในวันที่27 มีนาคม 2538 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยขอตรวจสำนวนที่ศาลชั้นต้นนั้น ย่อมถือได้ว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว จำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เสียภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลงคือนับแต่วันที่ 28 มีนาคม 2538 เป็นต้นไป การที่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 30ตุลาคม 2538 ถือว่าจำเลยยื่นคำร้องดังกล่าวเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติบังคับไว้แล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขายทอดตลาดล่าช้าเกินกำหนด 8 วัน ผู้ร้องขาดสิทธิขอให้ยกเลิกการขาย
เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2538 และผู้ร้องก็ทราบว่ามีการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทในวันดังกล่าว แต่ไม่ได้มาคัดค้านเพราะป่วยเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ผู้ร้องได้ไปตรวจสอบที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจำศาล จึงทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ไปในราคาต่ำกว่าราคาที่ประเมินไว้ ดังนี้ ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งยกเลิกการบังคับคดีที่ผู้ร้องเห็นว่าไม่ถูกต้องได้ภายใน 8 วัน นับแต่วันที่ 19พฤษภาคม 2538 ซึ่งเป็นวันที่ผู้ร้องทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์โดยไม่ถูกต้อง แต่ปรากฏว่าผู้ร้องเพิ่งมายื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดีต่อศาล ขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อวันที่ 8มิถุนายน 2538 ซึ่งล่วงพ้นกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องทราบการฝ่าฝืนนั้นแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง
แม้ระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสองนั้น ศาลมีอำนาจขยายให้ได้ก็ตาม แต่จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ตามมาตรา 23 เมื่อผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวอีกทั้งกรณีตามคำร้องก็ไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัย จึงไม่อาจยื่นคำร้องเกินกำหนดระยะเวลา 8 วันได้ ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่าเชื่อตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ว่ายื่นคำร้องเกินกำหนดได้ก็เป็นข้ออ้างที่ปราศจากเหตุผลให้รับฟัง
แม้ระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสองนั้น ศาลมีอำนาจขยายให้ได้ก็ตาม แต่จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ตามมาตรา 23 เมื่อผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวอีกทั้งกรณีตามคำร้องก็ไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัย จึงไม่อาจยื่นคำร้องเกินกำหนดระยะเวลา 8 วันได้ ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่าเชื่อตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ว่ายื่นคำร้องเกินกำหนดได้ก็เป็นข้ออ้างที่ปราศจากเหตุผลให้รับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4717/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาใหม่คดีล้มละลายต้องยื่นภายในกำหนด หรือพิสูจน์เหตุสุดวิสัยที่ชัดเจน
จำเลยกล่าวอ้างมาในคำขอให้พิจารณาใหม่ว่า จำเลยเพิ่งทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีล้มละลาย การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องรวมตลอดถึงการแจ้งวันนัดพิจารณาและคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้แก่จำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยทั้งสองไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ตามสถานที่ดังที่โจทก์ระบุในฟ้อง จำเลยทั้งสองจึงไม่ได้รับหมายดังกล่าว และไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีจำเลยทั้งสองไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณาแม้กรณีตามข้อกล่าวอ้างของจำเลยจะเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าพฤติการณ์นั้นได้เริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด เพราะจำเลยทั้งสองเพียงกล่าวอ้างลอย ๆ ว่า เพิ่งจะทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นในคดีล้มละลายเท่านั้น การที่จำเลยทั้งสองไม่ได้ระบุให้แน่ชัดว่าทราบเรื่องดังกล่าวเมื่อใดและจำเลยทั้งสองได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบหรือไม่ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งสิทธิครอบครองที่ดิน: การฟ้องภายในกำหนดเวลาและการอ้างสิทธิระหว่างคดี
โจทก์ได้ฟ้องจ.และป.ภริยาเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาภายในระยะเวลา1ปีนับแต่บุกรุกเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จ. ให้การปฏิเสธและนำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนถือได้ว่าเป็นการฟ้องเอาคืนการครอบครองการที่จำเลยเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยในคดีก่อน(จ.และป.)ในระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดจำเลยย่อมไม่อาจยกการครอบครองที่ดินพิพาทขึ้นอ้างยันสิทธิครอบครองของโจทก์โจทก์จึงหาขาดสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4274/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: กำหนดเวลาการแจ้งรับเงินค่าทดแทน, การคำนวณดอกเบี้ย, และขอบเขตการเวนคืน
หนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 จะต้องเป็นการแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนซึ่งได้จัดเตรียมการจ่ายไว้แล้วโดยไม่ต้องกระทำการอย่างอื่นอีก หากหนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เป็นกรณีที่ยังสามารถดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งอีกโดยยังไม่ต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทน ก็ไม่ใช่หนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว
หนังสือที่จำเลยมีถึงโจทก์ผู้ถูกเวนคืนระบุเรื่องว่า ขอเชิญให้ไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนและสิ่งที่ส่งมากับหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือแสดงรายการเอกสารที่ต้องใช้ในการทำสัญญาเกี่ยวกับค่าทดแทน และมีข้อความในหมายเหตุอีกว่า ในกรณีที่โจทก์ไม่ตกลงทำสัญญา การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จะทำการวางเงินค่าทดแทน เอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือที่เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มาทำสัญญาซื้อขายตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้ว
สำหรับขั้นตอนในการดำเนินการจ่ายเงินค่าทดแทนของจำเลยทั้งสองนั้น หลังจากมีการทำสัญญาซื้อขายต่อกันแล้ว จำเลยที่ 1 จะมีหนังสือแจ้งโจทก์ผู้ถูกเวนคืนให้มารับเงินค่าทดแทนในภายหลังอีกครั้งหนึ่ง แต่โจทก์ไม่ได้มาทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยที่ 1 ต่อมาเมื่อครบกำหนด 60 วันจำเลยที่ 1 จึงได้นำเงินค่าทดแทนไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์และมีหนังสือถึงโจทก์เรื่องแจ้งการวางเงินค่าทดแทน ซึ่งมีข้อความให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนได้โดยไม่มีข้อที่จะดำเนินการอย่างอื่นอีก ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการแจ้งโจทก์ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าวเมื่อไร และหนังสือฉบับดังกล่าวลงวันที่ 15 มีนาคม2534 ดังนั้น โจทก์จะต้องได้รับหนังสือไม่เร็วกว่าวันที่ 15 มีนาคม 2534 โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย วันที่ 13 พฤษภาคม 2534ไม่เกินหกสิบวัน จึงเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้
อาคารโกดังคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียวของโจทก์มีเนื้อที่841.30 ตารางเมตร ตรงกับเนื้อที่ตามฟ้องของโจทก์ แม้อาคารหลังนี้อยู่ในแนวเขตที่จะเวนคืนเพียงบางส่วนเนื้อที่ 300 ตารางเมตรก็ตาม แต่โจทก์ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ขอให้เวนคืนส่วนที่เหลืออยู่ซึ่งใช้การไม่ได้แล้ว และไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีฯได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ซึ่งถือว่ารัฐมนตรีฯ วินิจฉัยให้เจ้าหน้าที่เวนคืนตามคำร้องขอของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา19 วรรคสอง แล้ว
เมื่อจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคสาม ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ ส่วนวันเริ่มต้นชำระดอกเบี้ยนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่าย และปรากฏตามหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ได้นำเงินค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจำนวน4,149,515.37 บาท ไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ เมื่อวันที่ 15มีนาคม 2534 ในนามของโจทก์ ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวจากเงินค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ศาลวินิจฉัยให้เพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดซึ่งรวมกันแล้วเป็นจำนวน13,403,084.63 บาท แต่ต่อมาคณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนได้แก้ไขราคาเบื้องต้นเฉพาะที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นอีก5,607,000 บาท และโจทก์ได้รับเงินจำนวนนี้ไปแล้วเมื่อวันที่ 26 เมษายน2536 นับแต่วันดังกล่าว ต้นเงินที่ใช้คำนวณดอกเบี้ยจึงต้องลดลงจำนวน5,607,000 บาท
หนังสือที่จำเลยมีถึงโจทก์ผู้ถูกเวนคืนระบุเรื่องว่า ขอเชิญให้ไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนและสิ่งที่ส่งมากับหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือแสดงรายการเอกสารที่ต้องใช้ในการทำสัญญาเกี่ยวกับค่าทดแทน และมีข้อความในหมายเหตุอีกว่า ในกรณีที่โจทก์ไม่ตกลงทำสัญญา การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จะทำการวางเงินค่าทดแทน เอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือที่เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มาทำสัญญาซื้อขายตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้ว
สำหรับขั้นตอนในการดำเนินการจ่ายเงินค่าทดแทนของจำเลยทั้งสองนั้น หลังจากมีการทำสัญญาซื้อขายต่อกันแล้ว จำเลยที่ 1 จะมีหนังสือแจ้งโจทก์ผู้ถูกเวนคืนให้มารับเงินค่าทดแทนในภายหลังอีกครั้งหนึ่ง แต่โจทก์ไม่ได้มาทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยที่ 1 ต่อมาเมื่อครบกำหนด 60 วันจำเลยที่ 1 จึงได้นำเงินค่าทดแทนไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์และมีหนังสือถึงโจทก์เรื่องแจ้งการวางเงินค่าทดแทน ซึ่งมีข้อความให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนได้โดยไม่มีข้อที่จะดำเนินการอย่างอื่นอีก ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการแจ้งโจทก์ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าวเมื่อไร และหนังสือฉบับดังกล่าวลงวันที่ 15 มีนาคม2534 ดังนั้น โจทก์จะต้องได้รับหนังสือไม่เร็วกว่าวันที่ 15 มีนาคม 2534 โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย วันที่ 13 พฤษภาคม 2534ไม่เกินหกสิบวัน จึงเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้
อาคารโกดังคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียวของโจทก์มีเนื้อที่841.30 ตารางเมตร ตรงกับเนื้อที่ตามฟ้องของโจทก์ แม้อาคารหลังนี้อยู่ในแนวเขตที่จะเวนคืนเพียงบางส่วนเนื้อที่ 300 ตารางเมตรก็ตาม แต่โจทก์ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ขอให้เวนคืนส่วนที่เหลืออยู่ซึ่งใช้การไม่ได้แล้ว และไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีฯได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ซึ่งถือว่ารัฐมนตรีฯ วินิจฉัยให้เจ้าหน้าที่เวนคืนตามคำร้องขอของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา19 วรรคสอง แล้ว
เมื่อจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคสาม ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ ส่วนวันเริ่มต้นชำระดอกเบี้ยนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่าย และปรากฏตามหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ได้นำเงินค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจำนวน4,149,515.37 บาท ไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ เมื่อวันที่ 15มีนาคม 2534 ในนามของโจทก์ ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวจากเงินค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ศาลวินิจฉัยให้เพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดซึ่งรวมกันแล้วเป็นจำนวน13,403,084.63 บาท แต่ต่อมาคณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนได้แก้ไขราคาเบื้องต้นเฉพาะที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นอีก5,607,000 บาท และโจทก์ได้รับเงินจำนวนนี้ไปแล้วเมื่อวันที่ 26 เมษายน2536 นับแต่วันดังกล่าว ต้นเงินที่ใช้คำนวณดอกเบี้ยจึงต้องลดลงจำนวน5,607,000 บาท