พบผลลัพธ์ทั้งหมด 405 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2723/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงข้อความโดยสุจริตด้วยความเป็นธรรมเป็นข้อยกเว้นความผิดฐานหมิ่นประมาท
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยลงข้อความโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของจำเลยโดยอาศัยบทความที่เขียนโดยชาวต่างประเทศที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ต่างประเทศฉบับหนึ่งซึ่งพิมพ์ออกจำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา มีข้อความโดยย่อว่า ซีไอเอ ได้จ่ายเงิน 250 ล้านบาทอุดหนุนหน่วย "นวพล" ที่ซีไอเอ ร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยบางคนตั้งขึ้นมาเพื่อกำราบประชาชนและนักศึกษาที่มีกิจกรรมต่อต้านสหรัฐฯโจทก์เป็นผู้เสนอโครงการ "นวพล" นี้โดยมีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของกระทรวงการต่างประเทศและกลาโหมของสหรัฐฯ มาก่อนเงินอุดหนุน "นวพล" นี้ เฉพาะตัวโจทก์ได้รับเงินเดือน ๆ ละ 8 หมื่นบาท ดังนี้ แม้หากจะฟังว่าข้อความตามที่จำเลยลงโฆษณานั้นมีความหมายเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ก็ตามแต่การกระทำของจำเลยเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริตด้วยความเป็นธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329(3) ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกฟ้องคดีอาญาและข้อยกเว้นการยื่นบัญชีพยานเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยหลายคนว่าร่วมกันกระทำผิด จำเลยบางคนรับสารภาพบางคนปฏิเสธ ศาลสั่งให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ปฏิเสธเป็นคดีใหม่ภายใน 7 วัน เป็นการสั่งจำหน่ายคดีที่เกี่ยวกับจำเลยที่ปฏิบัติ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคสอง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้มาใหม่ภายในกำหนด คดีนี้จึงเป็นคดีใหม่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงต้องดำเนินคดีใหม่นี้ให้ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาจะนำการดำเนินคดีที่โจทก์ได้ปฏิบัติไว้แล้วในคดีเดิมมาถือว่าเป็นการดำเนินคดีนี้ด้วยไม่ได้เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้กระทำได้ จึงนำบัญชีพยานที่โจทก์ยื่นไว้ในคดีเดิมมาถือเป็นบัญชีพยานในคดีนี้ด้วยไม่ได้
โจทก์และจำเลยเป็นคู่ความเดียวกันในคดีเดิมก่อนที่ศาลจะสั่งให้แยกฟ้องข้อความและข้อหาที่ฟ้องและขอให้ลงโทษเป็นทำนองเดียวกันกับคดีนี้ พยานโจทก์ทุกคนที่ศาลสืบมาในคดีนี้ก็เป็นพยานที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีพยานที่โจทก์ยื่นไว้ในคดีเดิม การที่โจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีพยานไว้ในคดีที่ฟ้องใหม่นี้จึงไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนกฎหมายจึงรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบในคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)
โจทก์และจำเลยเป็นคู่ความเดียวกันในคดีเดิมก่อนที่ศาลจะสั่งให้แยกฟ้องข้อความและข้อหาที่ฟ้องและขอให้ลงโทษเป็นทำนองเดียวกันกับคดีนี้ พยานโจทก์ทุกคนที่ศาลสืบมาในคดีนี้ก็เป็นพยานที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีพยานที่โจทก์ยื่นไว้ในคดีเดิม การที่โจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีพยานไว้ในคดีที่ฟ้องใหม่นี้จึงไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนกฎหมายจึงรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบในคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย: ความรับผิดต่อบุคคลที่นั่งมาในรถยนต์ของผู้เอาประกันที่ไม่ใช่ผู้ร่วมครัวเรือน
ตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยตกลงจะจ่ายเงินชดใช้เพื่อความรับผิดตามกฎหมายที่จะต้องชดใช้ค่าทดแทนเพื่อมรณกรรมหรือบาดเจ็บของบุคคลใด อันเกิดแต่รถยนต์คันที่เอาประกันภัย เว้นแต่มรณกรรมหรือบาดเจ็บนั้นเกิดแก่ลูกจ้างหรือบุคคลผู้อยู่ในครอบครัวของผู้เอาประกันภัย เมื่อ พ.เป็นผู้อาศัยนั่งมาในรถคันที่เอาประกันภัย แต่มิได้เป็นผู้ร่วมครัวเรือนหรือเป็นลูกจ้างของผู้เอาประกันภัย คงเป็นเพียงเพื่อนของบุตรผู้เอาประกันภัยเท่านั้น เมื่อรถคันที่จำเลยรับประกันภัยเกิดชนกับรถอื่นเป็นเหตุให้ พ.ถึงแก่ความตาย ผู้เสียหายจึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยโดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 887 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย: ผู้โดยสารในรถยนต์ที่ไม่ใช่บุคคลในครอบครัวหรือลูกจ้าง
ตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยตกลงจะจ่ายเงินชดใช้เพื่อความรับผิดตามกฎหมายที่จะต้องชดใช้ค่าทดแทนเพื่อมรณกรรมหรือบาดเจ็บของบุคคลใด อันเกิดแต่รถยนต์คันที่เอาประกันภัยเว้นแต่มรณกรรมหรือบาดเจ็บนั้นเกิดแก่ลูกจ้างหรือบุคคลผู้อยู่ในครอบครัวของผู้เอาประกันภัยเมื่อ พ. เป็นผู้อาศัยนั่งมาในรถคันที่เอาประกันภัยแต่มิได้เป็นผู้ร่วมครัวเรือนหรือเป็นลูกจ้างของผู้เอาประกันภัย คงเป็นเพียงเพื่อนของบุตรผู้เอาประกันภัยเท่านั้นเมื่อรถคันที่จำเลยรับประกันภัยเกิดชนกับรถอื่น.เป็นเหตุให้ พ. ถึงแก่ความตายผู้ต้องเสียหายจึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยโดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2059/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้แปรรูปในที่ดินเอกชน: จำเลยต้องพิสูจน์สิทธิเพื่ออ้างข้อยกเว้นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีไม้ประดู่และไม้มะค่าโมงแปรรูปเป็นไม้หวงห้ามเกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร โดยไม่เสียค่าภาคหลวงและโดยไม่รับอนุญาต จำเลยต่อสู้ว่าไม้แปรรูปของกลางเกิดในที่ดินของผู้มีชื่อจึงเป็นไม้ที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ มาตรา 48,50(4) แต่จำเลยนำสืบไม่ได้ความตามข้อต่อสู้ จำเลยจึงไม่พันผิด
ข้อเท็จจริงที่ว่าไม้ของกลางเกิดในที่ดินของผู้มีชื่อตามข้อต่อสู้ของจำเลยหรือไม่นั้น เมื่อคู่ความนำสืบไว้แล้วแต่ศาลล่างมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยเองได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยมาแต่อ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องได้
ข้อเท็จจริงที่ว่าไม้ของกลางเกิดในที่ดินของผู้มีชื่อตามข้อต่อสู้ของจำเลยหรือไม่นั้น เมื่อคู่ความนำสืบไว้แล้วแต่ศาลล่างมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยเองได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยมาแต่อ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีเกินและสิทธิการขอคืนเงิน รวมถึงข้อยกเว้นภาษีการค้านำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิต
โจทก์เป็นผู้ยื่นชำระภาษีการค้าและภาษีเงินได้เองโดยเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยไม่ได้ประเมินเรียกให้โจทก์ชำระ ดังนี้ เป็นกรณีที่ไม่มีการประเมินเรียกเก็บ โจทก์จึงไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 และเมื่อโจทก์มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในทางแพ่ง โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจนำคดีมาฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
ค่าภาษีเงินซึ่งลูกจ้างผู้มีเงินได้จะต้องชำระให้แก่จำเลยนั้นเป็นหนี้อันเกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมาย การที่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินค่าภาษีเงินได้แทนลูกจ้างไปนั้นถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยบุคคลภายนอกดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 314 เงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนลูกจ้างไปนั้นเป็นเงินของโจทก์ ดังนั้น ถ้าโจทก์ชำระเกินจำนวนที่ลูกจ้างเป็นหนี้อยู่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกคืนส่วนที่ชำระเกินไปนั้นได้
ประมวลรัษฎากรมาตรา 63 ที่บัญญัติว่า บุคคลผู้ใดถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษีตามส่วนนี้ บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืน แต่ต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไป นั้นใช้บังคับสำหรับบุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายในวันที่จะใช้สิทธิเรียกเงินของตนที่ถูกหักภาษีเกินไปคืน แม้โจทก์จะไม่ใช่บุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย แต่โจทก์เป็นผู้ออกเงินของโจทก์ชำระค่าภาษีแทนลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้และถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย มีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืน โดยต้องกยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้ชำระภาษีนั้นแทนโจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเท่าที่ลูกจ้างมีอยู่ คือต้องยื่นคำร้องขอรับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืนต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 63 เช่นเดียวกัน ส่วนเรื่องอายุความลาภมิควรได้นั้นจำเลยไม่ได้หยิบยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการชอบแล้ว
โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย มิได้นำมาเพื่อขายในขณะที่เป็นวัตถุดิบ ดังนี้ แม้โจทก์จดทะเบียนประกอบการค้าไว้ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ผลิตก็ตาม โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบดังกล่าวตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีที่ให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง และเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อขายโดยเฉพาะก็จะถือว่าการที่โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในฐานะผู้นำเข้าตามประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น (มิถุนายน 2505 ถึงตุลาคม 2513)
ค่าภาษีเงินซึ่งลูกจ้างผู้มีเงินได้จะต้องชำระให้แก่จำเลยนั้นเป็นหนี้อันเกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมาย การที่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินค่าภาษีเงินได้แทนลูกจ้างไปนั้นถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยบุคคลภายนอกดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 314 เงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนลูกจ้างไปนั้นเป็นเงินของโจทก์ ดังนั้น ถ้าโจทก์ชำระเกินจำนวนที่ลูกจ้างเป็นหนี้อยู่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกคืนส่วนที่ชำระเกินไปนั้นได้
ประมวลรัษฎากรมาตรา 63 ที่บัญญัติว่า บุคคลผู้ใดถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษีตามส่วนนี้ บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืน แต่ต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไป นั้นใช้บังคับสำหรับบุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายในวันที่จะใช้สิทธิเรียกเงินของตนที่ถูกหักภาษีเกินไปคืน แม้โจทก์จะไม่ใช่บุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย แต่โจทก์เป็นผู้ออกเงินของโจทก์ชำระค่าภาษีแทนลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้และถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย มีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืน โดยต้องกยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้ชำระภาษีนั้นแทนโจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเท่าที่ลูกจ้างมีอยู่ คือต้องยื่นคำร้องขอรับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืนต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 63 เช่นเดียวกัน ส่วนเรื่องอายุความลาภมิควรได้นั้นจำเลยไม่ได้หยิบยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการชอบแล้ว
โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย มิได้นำมาเพื่อขายในขณะที่เป็นวัตถุดิบ ดังนี้ แม้โจทก์จดทะเบียนประกอบการค้าไว้ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ผลิตก็ตาม โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบดังกล่าวตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีที่ให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง และเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อขายโดยเฉพาะก็จะถือว่าการที่โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในฐานะผู้นำเข้าตามประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น (มิถุนายน 2505 ถึงตุลาคม 2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลิตภัณฑ์ชงดื่มและข้อยกเว้นภาษีการค้า: การประเมินลักษณะผลิตภัณฑ์และวัตถุประสงค์ในการผลิต
ใบชาและชาผงที่บริษัทโจทก์ผลิตแล้วขายให้แก่องค์การคลังสินค้า จัดทำผ่านกรรมวิธีมาแล้วหลายขั้นตอนจนสามารถชงดื่มได้ ถือได้ว่าใบชาและชาผงดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ชงดื่มตามบัญชี 1 หมวด 1(3) ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 43) พ.ศ. 2516 แม้ใบชาและชาผงของบริษัทโจทก์จะไม่เป็นที่นิยม เพราะไม่ได้ปรุงแต่รสกลิ่นและความสะอาดไม่ดีนัก ก็ไม่ทำให้ใบชาและชาผงนั้นไม่เป็นปลิตภัณฑ์ชงดื่มส่วนที่พ่อค้าซื้อใบชาและชาผงของบริษัท โจทก์ไปจากองค์การคลังสินค้าแล้วนำไปผ่านกรรมวิธีอีกครั้งหนึ่ง ก็เป็นเรื่องที่ พ่อค้าประสงค์จะให้ใบชาและชาผงนั้นมีคุณภาพและรสดีเป็นที่นิยมของผู้บริโภคเท่านั้น
การขนส่งใบชาและชาผงจากโรงงานของบริษัทโจทก์ที่เชียงใหม่ ถึงองค์การ คลังสินค้าที่กรุงเทพใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน แต่ใบชาและชาผงที่บริษัทโจทก์ผลิตแล้วขายให้องค์การคลังสินค้าสามารถเก็บไว้ได้นานเป็นแรมปี เห็นได้ว่าบริษัทโจทก์ประสงค์จะให้ใบชาและชาผงที่บริษัทโจทก์ผลิตโดยผ่านกรรมวิธีดังกล่าวนั้นมีสภาพคงอยู่ถาวรเพื่อมิให้เสียง่าย มิใช่จัดทำเพียงเพื่อรักษามิให้ใบชาและชาผงเสียเป็นการชั่วคราวระหว่างขนส่งใบชาและชาผง ที่บริษัทโจทก์ผลิตแล้วขายให้องค์การคลังสินค้าจึงไม่ได้รับการยกเว้นภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 ทวิ(2)(ด)แก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 มาตรา 4 แต่ต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1(3) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า
การขนส่งใบชาและชาผงจากโรงงานของบริษัทโจทก์ที่เชียงใหม่ ถึงองค์การ คลังสินค้าที่กรุงเทพใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน แต่ใบชาและชาผงที่บริษัทโจทก์ผลิตแล้วขายให้องค์การคลังสินค้าสามารถเก็บไว้ได้นานเป็นแรมปี เห็นได้ว่าบริษัทโจทก์ประสงค์จะให้ใบชาและชาผงที่บริษัทโจทก์ผลิตโดยผ่านกรรมวิธีดังกล่าวนั้นมีสภาพคงอยู่ถาวรเพื่อมิให้เสียง่าย มิใช่จัดทำเพียงเพื่อรักษามิให้ใบชาและชาผงเสียเป็นการชั่วคราวระหว่างขนส่งใบชาและชาผง ที่บริษัทโจทก์ผลิตแล้วขายให้องค์การคลังสินค้าจึงไม่ได้รับการยกเว้นภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 ทวิ(2)(ด)แก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 มาตรา 4 แต่ต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1(3) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้น พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ไม่คุ้มครองราษฎรที่มีอาวุธของทางราชการ
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 มาตรา 5(1) ที่บัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (1) อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนของราชการทหารและตำรวจ ฯลฯ" นั้น มีความหมายถึง อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ฯลฯ ของทางราชการทหารหรือตำรวจ ที่เป็นไปตามระเบียบของทางราชการจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ มิได้มีความหมายเลยไปถึงราษฎรเช่นจำเลยซึ่งมีอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนของทางราชการตำรวจแล้วจะไม่เป็นความผิด จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองโดยบทบัญญัติมาตรานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้แปรรูป: การพิสูจน์สภาพเดิมของไม้เพื่ออ้างข้อยกเว้นตามกฎหมายป่าไม้
ไม้ที่มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูปตามมาตรา 4(4) วรรค 2 นั้น แยกได้เป็นสองอย่าง คือ ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้นอย่างหนึ่ง กับไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว คือ เคยเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเคยเป็นเครื่องใช้มาแล้ว และผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าได้เคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีสำหรับไม้อื่นที่ไม่ใช่ไม้สัก และห้าปีสำหรับไม้สักอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้น ตามความหมายในกฎหมายดังกล่าว ผู้ครอบครองจะต้องพิสูจน์แต่เฉพาะกรณีที่ไม้นั้นมิได้อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือมิได้อยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ แต่กล่าวอ้างว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วเท่านั้น ส่วนบานประตูและบานหน้าต่างไม้สักของกลางเป็นไม้ที่ทำขึ้นใหม่ อยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้อยู่แล้วในปัจจุบัน จึงมิใช่ไม้แปรรูป และผู้ครอบครองหาจำต้องพิสูจน์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 273/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถงการประเมินภาษี และข้อยกเว้นภาษีจากการซื้อขายที่ดินเพื่อลงทุน
ฟ้องกรมสรรพากรให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีเงินได้โดยไม่ฟ้องเจ้าพนักงานประเมินด้วยก็ได้
ซื้อที่ดินมาเพื่อตั้งโรงงาน โดยผู้ซื้อออกเงินแทนบริษัทไปก่อนแต่ต่อมาไม่ได้ใช้ตั้งโรงงานจึงขายไปได้กำไรมากตามราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่การค้าไม่ต้องเสียภาษีการค้า
ขายที่ดินโดยไม่ได้แสดงรายการข้อ 14 แห่ง ภ.ง.ด.9 ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด ซึ่งมีสภาพบังคับได้อย่างกฎหมายโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
ซื้อที่ดินมาเพื่อตั้งโรงงาน โดยผู้ซื้อออกเงินแทนบริษัทไปก่อนแต่ต่อมาไม่ได้ใช้ตั้งโรงงานจึงขายไปได้กำไรมากตามราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่การค้าไม่ต้องเสียภาษีการค้า
ขายที่ดินโดยไม่ได้แสดงรายการข้อ 14 แห่ง ภ.ง.ด.9 ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด ซึ่งมีสภาพบังคับได้อย่างกฎหมายโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้