คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้าราชการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดต้องแสดงเจตนา/ประมาทเลินเล่อ และคำขอศาลสั่งการข้าราชการเป็นอธิปไตย
ฟ้องเรื่องละเมิด ต้องกล่าวแสดงว่า จำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
เมื่อฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวว่าจำเลยได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์ประการใดเลย เป็นแต่กล่าวลอยๆ ว่า จำเลยทำเช่นนั้นทำเช่นนี้ ซึ่งล้วนแต่เป็นการกระทำในหน้าที่ราชการของจำเลยทั้งสิ้นคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไม่สมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา172
ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาทำลายคำสั่งของรัฐมนตรีสั่งราชการแทนนายกรัฐมนตรีแต่มิได้ฟ้องสำนักนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้เกี่ยวข้องกับคำสั่งให้รับผิดด้วย ย่อมบังคับไม่ได้ตามคำขอนี้
คำขอท้ายฟ้องที่ขอให้ศาลบังคับจำเลยให้สั่งโจทก์ไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลศาลบังคับให้ไม่ได้เพราะการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเป็นอำนาจของทางการจะสั่งโดยพิเคราะห์ถึงความเหมาะสมไม่ใช่เรื่องของศาลจะสั่ง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5 และที่ 8/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขรก.ใช้อำนาจข่มขู่ประชาชนเพื่อโน้มน้าวให้เลือกตั้งพรรคการเมืองเฉพาะ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เลือกตั้ง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นจ่านายสิบตำรวจมีหน้าที่เป็นรองหัวหน้าสถานีตรวจในท้องที่นั้น แม้จำเลยจะไม่ได้แต่งเครื่องแบบ ราษฎรในท้องที่นั้นย่อมรู้จักดีว่าเป็นตำรวจมีอำนาจหน้าที่ในการสืบสวนจับกุม ฉะนั้น การที่จำเลยพูดว่า ถ้าราษฎรคนใดไม่เชื่อฟังจำเลยและเลือกพรรคฝ่ายค้าน (พรรคโจทก์) ไม่เลือกพรรคเสรีมนังคศิลาแล้ว ให้ผู้ใหญ่บ้านจดชื่อส่งอำเภอ อาจถูกจับหาว่าเป็นคอมมูนิสต์นั้น คำพูดเช่นนี้ย่อมเป็นการขู่ให้ราษฎรเกิดความเกรงกลัวได้ เป็นการอุปการะแก่การเลือกตั้งของผู้สมัครอีกฝ่ายโดยใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2499 มาตรา 65.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณา 'ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง' เพื่อการจ่ายบำนาญตกทอดกรณีวิวาท การกระทำที่เกิดจากบันดาลโทสะไม่ถือเป็นความผิดร้ายแรง
ต่างฝ่ายต่างสมัครใจทำร้ายกัน ซึ่งปรากฏว่าฝ่ายนายทหารเรือถูกนายเงินกับพวกยิงมีบาดเจ็บหลายแห่งถึงแก่ความตาย ฝ่ายนายเงินกับพวกไม่มีบาดเจ็บอย่างไรเลย ที่เกิดเหตุเป็นที่สาธารณะ ตามพฤติการณ์เช่นนี้ยังไม่ถือว่านายทหารเรือผู้นั้นประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามความในมาตรา 48 พ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญฯ พ.ศ. 2494 เพราะรูปเรื่องเหตุที่จะเกิดเนื่องจากการโต้เถียงท้าทายกันอันไม่ปรากฏว่าเป็นความผิดของฝ่ายนายทหารเรือ ทำให้เกิดบันดาลโทสะขึ้นโดยปัจจุบัน ไม่ทันยั้งคิด ซึ่งย่อมอาจจะมีได้ แก่สามัญชนทั่ว ๆ ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมฝ่ายเมืองสมบูรณ์ แม้พยานเป็นข้าราชการระดับปฏิบัติงาน สติผู้ทำพินัยกรรมสำคัญ
พินัยกรรมที่ทำเป็นเอกสารฝ่ายเมืองนั้นเมื่อมีปลัดอำเภอเป็นผู้บันทึกในฐานะเป็นกรมการอำเภอ และมีพยานลงชื่อเป็นพยานอีก2 คนแล้ว ก็เป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658 แล้วแม้พยานทั้งสองคนจะเป็นเสมียนอำเภอก็ตาม ก็หาทำให้พินัยกรรมนั้นเสียไปอย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358-359/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะจำเลยไม่ใช่ข้าราชการ จึงไม่ผิดฐานยักยอกทรัพย์ในฐานะเจ้าพนักงาน
จำเลยได้รับการแต่งตั้งเป็นเสมียนเจ้าพนักงานประจำแผนกกลางของสำนักงานท่องเที่ยวกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ฝ่ายการเงินของสำนักงานท่องเที่ยว กรมประชาสัมพันธ์ คือการรับเงินจ่ายเงิน ปกครองรักษาและนำเงินผลประโยชน์ รายได้ต่าง ๆ ของสำนักงานท่องเที่ยวกรมประชาสัมพันธ์ส่งต่อเจ้าหน้าที่ แผนกคลังกรมประชาสัมพันธ์เป็นรายได้ของรัฐบาล จำเลยได้ยักยอกเงินที่ได้รับไว้ในหน้าที่ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของสำนักงานท่องเที่ยวนี้ได้รับเงินเดือนประเภทการจรมีฐานะเป็นลูกจ้างรายเดือนของสำนักงานและในคำให้การของจำเลยชั้นสอบสวนปรากฏว่า จำเลยรับราชการเป็นลูกจ้างได้ค่าจ้างเป็นรายเดือน จำเลยจึงไม่เป็นข้าราชการตาม พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน ถือไม่ได้ว่าเป็นเจ้าพนักงานอันจะเป็นผิดตาม ม.131
ในคดียักยอกทรัพย์ถึงที่สุดในศาลอุทธรณ์โดยศาลพิพากษาว่าจำเลยผิด ก.ม.อาญา 319 (3) คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมาก็ตามแต่เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา ม.3 บัญญัติให้ใช้ ก.ม. ในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดและตามประมวล ก.ม.อาญามิได้บัญญัติการกระทำของจำเลยอันความผิดตรงกับ ม.319 ดังนั้นความผิดของจำเลยจึงเข้า ม.352 ฐานยักยอกทรัพย์ธรรมดาซึ่งมีโทษเบากว่าโทษตาม ก.ม.อาญา ม.319 จึงต้องใช้ประมวล ก.ม.อาญา ม.352 บังคับ ลงโทษจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 818/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งบรรจุ/ไล่ออกข้าราชการเป็นอำนาจบริหาร มติคณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์ไม่ผูกพันนายกฯ สิทธิฟ้องไม่มี
การขอเข้ารับหรือออกจากราชการตลอดจนการขอเข้าใหม่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบข้าราชการฝ่ายพลเรือนอันอยู่ในอำนาจหน้าที่องฝ่ายบริหารโดยเฉพาะจะมาฟ้องขอให้ศาลบังคับหาได้ไม่
พระราชบัญญัติเรื่องราวร้องทุกข์ไม่มีบัญญัติไว้เด็ดขาดว่านายกรัฐมนตรีจำต้องปฏิบัติตามมติคณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์แม้ใน มาตรา 20 ก็ไม่มีผลบังคับเด็ดขาดอยู่เพียงคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์ๆ พึงเสนอความเห็นอีกทางหนึ่งเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งการของนายกรัฐมนตรีเท่านั้น
คำในวรรคสองซึ่งว่า 'เมื่อนายกรัฐมนตรีได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการแล้วจัดการไปเป็นการใด ฯลฯ' ย่อมแสดงว่าอยู่ในความวินิจฉัยของนายกรัฐมนตรีที่จะจัดการไปประการใดก็ได้แล้วแจ้งคณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์ทราบเพื่อแจ้งแก่ผู้ร้องต่อไป เรื่องระยะเวลา 60 วันก็เพื่อเร่งให้ดำเนินการพิจารณาและสั่งการไปโดยเร็วนั่นเองจึงไม่ทำให้เกิดสิทธิฟ้องคดีเช่นนี้ได้
ศาลไทยยังไม่มีศาลปกครองจึงต้องพิจารณาตามกฎหมายและอำนาจของศาลไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม – การระบุเหตุแห่งความรับผิดชัดเจน – ความรับผิดของข้าราชการต่อการยักยอกเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า'จำเลยมิได้ตั้งใจปฏิบัติราชการให้เป็นไปด้วยดี เว้นการอันควรปฏิบัติตามหน้าที่และมิได้ดำเนินการตามระเบียบแบบแผนของกรมไปรษณีย์ผู้ซึ่งเป็นนายจ้างได้วางไว้ เพื่อปฏิบัติเกี่ยวกับการเก็บและรักษาเงินรายได้ของรัฐบาลดังกล่าวแล้วเป็นเหตุให้นายนัดนายไปรษณีย์จังหวัดระนองทำการทุจริตยักยอกเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสียเพราะการกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวแล้วข้างต้น ฯลฯ 'ทั้งคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายไว้ในตอนใดเลยว่าจำเลยได้กระทำอย่างไรอันเป็นการบกพร่องต่อหน้าที่จึงเป็นเหตุให้นายไปรษณีย์ยักยอกเอาเงินไปได้ถือว่าฟ้องโจทก์ไม่มีประเด็นที่จำเลยจะต่อสู้คดีให้ถูกต้องได้ เป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขรก.ไม่มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สิน จึงไม่ต้องรับผิดตาม ม.132 แม้รับเงินค่าแสตมป์แล้วนำแสตมป์ใช้แล้วมาปิด
บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีหน้าที่แต่เพียงเชิญชวนแนะนำให้ผู้ร้องปิดแสตมป์ ก.ศ.ส.ในคำร้องเท่านั้นแม้จะได้ความจริงก็หาลงโทษจำเลยได้ไม่ เพราะจำเลยไม่มีหน้าที่จัดซื้อหรือทำหรือปกครองรักษาทรัพย์สิ่งใด ๆ ตามความหมายใน ม.132.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2499)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่จำกัดของข้าราชการ: การกระทำผิดมาตรา 132 ต้องมีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินโดยตรง
บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีหน้าที่แต่เพียงเชิญชวนแนะนำให้ผู้ร้องปิดแสตมป์ ก.ศ.ส. ในคำร้องเท่านั้น แม้จะได้ความจริงก็หาลงโทษจำเลยได้ไม่ เพราะจำเลยไม่มีหน้าที่จัดซื้อหรือทำหรือปกครองรักษาทรัพย์สิ่งใดๆ ตามความหมายในมาตรา 132 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2499)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะเจ้าพนักงาน: การพิจารณาจากกฎหมายข้าราชการ และกฎหมายเฉพาะของมหาวิทยาลัย
ฟ้องขอให้ลงโทษตามกฎหมายอาญา มาตรา 145 จะต้องได้ความว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงาน โดยปกติผู้ที่จะเป็นเจ้าพนักงานจะต้องเป็นข้าราชการตามกฎหมายเว้นแต่จะมีกฎหมาย บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เป็นเจ้าพนักงาน จำเลยเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งแต่ พ.ศ.2494 ในปัจจุบันเป็นเลขาธิการก็ตามตามตำแหน่งนี้ก็ไม่อยู่ในความหมายของ พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนมาตรา 23 ส่วนในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2495มาตรา 50 ถึง 54 บัญญัติให้สิทธิต่างๆ แก่เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยบางประการเหมือนกับข้าราชการพลเรือนสามัญทุกประการก็ตาม แต่ก็มิได้มีบทบัญญัติใดให้ผู้ที่ทำงานในมหาวิทยาลัยเป็นเจ้าพนักงาน
of 28