คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ครอบครองปรปักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,380 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355-1357/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องเป็นการครอบครองในที่ดินของผู้อื่น หากอ้างสิทธิเดิมแล้ว ไม่ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์
คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นที่ดินมรดกตกทอดจากปู่ย่าตายายมาเป็นของจำเลยแม้จะให้การว่าได้ครอบครองที่ดินด้วยความสงบเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของแต่ก็เป็นการครอบครองที่ดินที่อ้างว่าจำเลยมีสิทธิอยู่แล้วกรณีหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่ปัญหาเรื่องการครอบครองที่ดินปรปักษ์ของผู้อื่นจึงเป็นเรื่องนอกคำให้การไม่ก่อให้เกิดประเด็นถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นกันมาในศาลชั้นต้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดเลขที่3917ของโจทก์อันเป็นหลักฐานแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ส่วนแบบแจ้งการครอบครอง(ส.ค.1)ที่จำเลยอ้างเป็นหลักฐานว่าจำเลยที่1เป็นเจ้าของที่ดินมิใช่หลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10259/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องเปิดเผยและมีเจตนาเป็นเจ้าของ การดูแลที่ดินเป็นครั้งคราวไม่ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์
ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์มาดูแลที่ดินทุกปี มิได้ทอดทิ้งส่วนผู้ร้องเมื่อเห็นว่าเจ้าของที่ดินมาดูแลที่ดินนาน ๆ ครั้งเนื่องจากอยู่ห่างไกลจึงถือโอกาสเข้าไปทำประโยชน์เป็นครั้งคราว ที่ดินที่ผู้ร้องครอบครองรวมทั้งที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่นอื่นอีกหลายคน ผู้ร้องไม่ได้ร้องขอครอบครองปรปักษ์ทั้งหมด เมื่อเจ้าของที่ดินรายใดแสดงกรรมสิทธิ์ ผู้ร้องก็ยอมคืนที่ดินส่วนนั้นให้ไปโดยไม่ได้โต้แย้ง แสดงว่าผู้ร้องไม่ได้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยครอบครองปรปักษ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10259/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องเปิดเผย แสดงเจตนาเป็นเจ้าของ และต่อเนื่อง หากเจ้าของที่ดินแสดงกรรมสิทธิ์แล้วยอมคืน ย่อมไม่ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์
ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์มาดูแลที่ดินทุกปีมิได้ทอดทิ้งส่วนผู้ร้องเมื่อเห็นว่าเจ้าของที่ดินมาดูแลที่ดินนานๆครั้งเนื่องจากอยู่ห่างไกลจึงถือโอกาสเข้าไปทำประโยชน์เป็นครั้งคราวที่ดินที่ผู้ร้องครอบครองรวมทั้งที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่นอื่นอีกหลายคนผู้ร้องไม่ได้ร้องขอครอบครองปรปักษ์ทั้งหมดเมื่อเจ้าของที่ดินรายใดแสดงกรรมสิทธิ์ผู้ร้องก็ยอมคืนที่ดินส่วนนั้นให้ไปโดยไม่ได้โต้แย้งแสดงว่าผู้ร้องไม่ได้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยครอบครองปรปักษ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน: ครอบครองปรปักษ์, การซื้อขายที่ดิน, และความสุจริตของผู้ซื้อ
การที่โจทก์ฟ้องคดีโดยยังไม่มีหลักฐานให้ความยินยอมจากภริยาเป็นเพียงข้อบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถซึ่งศาลจะพึงสั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขเสียก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 ได้ แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้โจทก์แก้ไข ก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาได้มี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 ใช้บังคับซึ่งมาตรา 1476 ประกอบด้วยมาตรา 1477 ที่แก้ไขเพิ่มเติมได้บัญญัติให้มีผลว่า สำหรับการจัดการทรัพย์สินดังเช่นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ สามีหรือภริยามีอำนาจจัดการหรือฟ้องคดีได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นเท่ากับมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถของโจทก์แล้ว โจทก์จึงฟ้องคดีได้เองโดยหาจำต้องได้รับความยินยอมของภริยาเสียก่อนไม่
การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับ พ. แม้จะยอมให้มีการผ่อนชำระราคาที่ดินกันก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏมีข้อสัญญาว่าหากชำระราคาครบถ้วนแล้วจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกันภายหลัง จึงเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดมิใช่เป็นสัญญาจะซื้อขาย เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 หลังจากจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก พ. แล้วได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาโดยการสร้างรั้วมีลักษณะเป็นการถาวรล้อมรอบที่พิพาทและปลูกสร้างโรงเก็บของและโรงเก็บรถ ซึ่ง พ. ก็รู้เห็นตลอดมา แต่มิได้แสดงเจตนาหวงแหนที่ดินพิพาทหรือห้ามปรามจำเลยแต่อย่างใด กลับยอมให้จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบตลอดมาติดต่อกันเป็นเวลากว่า 10 ปี จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
ก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทโจทก์เห็นอยู่ก่อนแล้วว่า ที่ดินพิพาทมีการล้อมรั้วและมีบ้านหลังเล็ก ๆ ปลูกอยู่ ซึ่ง พ. บอกโจทก์ว่าเป็นบ้านของจำเลยลูกพี่ลูกน้องโจทก์ ถ้าโจทก์ต้องการก็จะให้รื้อไป แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้สอบถามจำเลยให้แน่ชัดเสียก่อนที่จะซื้อที่ดินพิพาทจาก พ. ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะอะไร อาศัย พ. อยู่ในที่ดินพิพาทหรือไม่ ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้ขอโฉนดที่ดินพิพาทจาก พ. มาดูเพื่อตรวจสอบว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่มากน้อยเพียงใด การที่โจทก์ตัดสินใจซื้อที่ดินพิพาทซึ่งมีราคาถึง 770,000 บาทโดยอาศัยการมองจากหน้าต่างบ้าน พ. เพียงอย่างเดียวมิได้เข้าไปดูที่ดินพิพาทด้วยตนเองผิดวิสัยวิญญูชนโดยทั่วไปที่จะพึงกระทำจึงเป็นพิรุธอย่างยิ่ง ถือได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต จำเลยย่อมยกการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ จำเลยจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ และผลของการซื้อขายที่ตกเป็นโมฆะ
การที่โจทก์ฟ้องคดีโดยยังไม่มีหลักฐานให้ความยินยอมจากภริยาเป็นเพียงข้อบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถซึ่งศาลจะพึงสั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขเสียก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา56ได้แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้โจทก์แก้ไขก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่10)พ.ศ.2533ใช้บังคับซึ่งมาตรา1476ประกอบด้วยมาตรา1477ที่แก้ไขเพิ่มเติมได้บัญญัติให้มีผลว่าสำหรับการจัดการทรัพย์สินดังเช่นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีนี้สามีหรือภริยามีอำนาจจัดการหรือฟ้องคดีได้โดยมิได้ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งดังนั้นเท่ากับมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถของโจทก์แล้วโจทก์จึงฟ้องคดีได้เองโดยหาจำต้องได้รับความยินยอมของภริยาเสียก่อนไม่ การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับพ. แม้จะยอมให้มีการผ่อนชำระราคาที่ดินกันก็ตามแต่เมื่อไม่ปรากฏมีข้อสัญญาว่าหากชำระราคาครบถ้วนแล้วจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกันภายหลังจึงเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดมิใช่เป็นสัญญาจะซื้อขายเมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456หลังจากจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากพ. แล้วได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาโดยการสร้างรั้วมีลักษณะเป็นการถาวรล้อมรอบที่พิพาทและปลูกสร้างโรงเก็บของและโรงเก็บรถซึ่งพ. ก็รู้เห็นตลอดมาแต่มิได้แสดงเจตนาหวงแหนที่ดินพิพาทหรือห้ามปรามจำเลยแต่อย่างใดกลับยอมให้จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบตลอดมาติดต่อกันเป็นเวลากว่า10ปีจำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382 ก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทโจทก์เห็นอยู่ก่อนแล้วว่าที่ดินพิพาทมีการล้อมรั้วและมีบ้านหลังเล็กๆปลูกอยู่ซึ่งพง บอกโจทก์ว่าเป็นบ้านของจำเลยลูกพี่ลูกน้องโจทก์ถ้าโจทก์ต้องการก็จะให้รื้อไปแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้สอบถามจำเลยให้แน่ชัดเสียก่อนที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากพ.ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะอะไรอาศัยพ.อยู่ในที่ดินพิพาทหรือไม่ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้ขอโฉนดที่ดินพิพาทจากพ. มาดูเพื่อตรวจสอบว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่มากน้อยเพียงใดการที่โจทก์ตัดสินใจซื้อที่ดินพิพาทซึ่งมีราคาถึง770,000บาทโดยอาศัยการมองจากหน้าต่างบ้านพ.เพียงอย่างเดียวมิได้เข้าไปดูที่ดินพิพาทด้วยตนเองผิดวิสัยวิญญูชนโดยทั่วไปที่จะพึงกระทำจึงเป็นพิรุธอย่างยิ่งถือได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตจำเลยย่อมยกการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้จำเลยจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9389/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการยกให้และครอบครองปรปักษ์ โดยมีการโต้แย้งสิทธิเจ้าของตลอดเวลา
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยบิดามารดาโจทก์ยกให้ แต่มิได้จดทะเบียนการให้ จำเลยยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้ ไม่ยอมส่งมอบให้โจทก์ ในฐานะผู้จัดการมรดกตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทนั้น เป็นการบรรยายสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นโดยชัดแจ้งแล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โดยบิดามารดายกให้และในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินพิพาทด้วย แต่จำเลยยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้ โดยมิได้ส่งมอบคืนให้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดก เมื่อโจทก์ทวงถามการกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินและในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อ 3 ว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้องโดยการยกให้จากเจ้าของที่ดินหรือไม่ และประเด็นข้อ 4 ว่า จำเลยได้ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่นั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การยกให้ที่ดินพิพาทโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 โจทก์จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และจำเลยครอบครองที่ดินพิพาท โดยโจทก์โต้แย้งตลอดมา ถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองโดยสงบ จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองในประเด็นข้อ 3 โจทก์มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ ประเด็นจึงยุติ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของต่อจากบิดาจำเลยเกินสิบปี จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง แต่ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นเพื่อวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย จึงไม่ตรงกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในชั้นชี้สองสถานและที่จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เท่ากับศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นมา เนื่องจากโจทก์จำเลยสืบพยานกันมาจนสิ้นกระบวนพิจารณาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ตลอดระยะเวลาที่จำเลยอ้างว่าบิดาจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทและจำเลยครอบครองต่อจากบิดาจำเลย โจทก์ได้โต้แย้งจำเลยตลอดมา การครอบครองดังกล่าวนั้นย่อมไม่ใช่การครอบครองโดยสงบ ประเด็นข้อนี้ ภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยพิสูจน์ไม่ได้จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9389/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ต้องสงบเปิดเผยและต่อเนื่อง โต้แย้งสิทธิเจ้าของเดิมไม่ได้
โจทก์ บรรยาย ฟ้อง กล่าว อ้าง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ ที่ดิน พิพาท โดย บิดา มารดา โจทก์ ยก ให้ แต่ มิได้ จด ทะเบียน การ ให้ จำเลย ยึด ถือโฉนด ที่ดิน พิพาท ไว้ ไม่ ยอม ส่ง มอบ ให้ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดกตาม คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ขอ ให้ บังคับ จำเลย ส่ง มอบ โฉนด ที่ดิน พิพาทนั้น เป็น การ บรรยาย สภาพ แห่ง ข้อหา ของ โจทก์ และ คำ ขอ บังคับ ทั้ง ข้ออ้าง ที่ อาศัย เป็น หลัก แห่ง ข้อหา เช่น ว่า นั้น โดย ชัด แจ้ง แล้วคำฟ้อง ของ โจทก์ จึง ไม่ เคลือบคลุม โจทก์ ฟ้อง อ้าง สิทธิ ใน การ เป็น เจ้าของ ที่ดิน พิพาท โดย บิดามารดา ยกให้ และ ใน ฐานะ เป็น ผู้จัดการมรดก ที่ดิน พิพาท ด้วย แต่ จำเลย ยึด ถือ โฉนด ที่ดิน พิพาท ไว้ โดย มิได้ ส่ง มอบ คืน ให้ โจทก์ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก เมื่อ โจทก์ ทวง ถาม การกระทำ ของ จำเลยจึง เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ ใน ฐานะ เจ้าของ ที่ดิน และ ใน ฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์ จึง มี อำนาจ ฟ้อง จำเลย ได้ ศาลชั้นต้น กำหนด ประเด็น ข้อ 3 ว่า โจทก์ ได้ กรรมสิทธิ์ ที่ดินตาม ฟ้อง โดย การ ยกให้ จาก เจ้าของ ที่ดิน หรือไม่ และ ประเด็น ข้อ 4ว่า จำเลย ได้ ที่ดิน พิพาท โดย การ ครอบครอง ปรปักษ์ หรือ ไม่ นั้นศาลชั้นต้น วินิจฉัยว่า การ ยกให้ ที่ดิน พิพาท โดย ไม่ได้ ทำ เป็น หนังสือและ จดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ย่อม ไม่ สมบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 525 โจทก์ จึง ไม่ ได้กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาท และ จำเลย ครอบครอง ที่ดิน พิพาทโดย โจทก์ โต้แย้ง ตลอดมา ถือ ไม่ ได้ ว่า เป็น การ ครอบครอง โดย สงบจำเลย จึง ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาท โดย การ ครอบครอง ใน ประเด็น ข้อ 3 โจทก์ มิได้ อุทธรณ์ หรือ แก้ อุทธรณ์ ประเด็น จึง ยุติศาลอุทธรณ์ ไม่มี อำนาจ ยกขึ้น วินิจฉัย จำเลย อุทธรณ์ ว่า จำเลย ครอบครอง ที่ดิน พิพาท โดย สงบ เปิด เผยด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ ต่อ จาก บิดา มารดา จำเลย เกิน สิบ ปี จำเลยย่อม ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาท โดย การ ครอบครอง แต่ ศาลอุทธรณ์กำหนด ประเด็น เพื่อ วินิจฉัย ว่า ที่ดิน พิพาท เป็น ของ โจทก์ หรือ จำเลยจึง ไม่ตรง ประเด็น ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ไว้ ใน ชั้นชี้สองสถาน และ ที่จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลอุทธรณ์ เท่ากับ ศาลอุทธรณ์ ยัง มิได้ วินิจฉัยประเด็น ที่ จำเลย อุทธรณ์ ขึ้น มา เนื่อง จาก โจทก์ จำเลย สืบพยาน กัน มาจน สิ้น กระบวน พิจารณา แล้ว ศาลฎีกา เห็น สมควร วินิจฉัย ให้ โดยไม่ ต้อง ย้อน สำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ใหม่ ข้อเท็จจริง ได้ ความ ว่า ตลอด ระยะ เวลา ที่ จำเลย อ้าง ว่า บิดาจำเลย ครอบครอง ที่ดิน พิพาท และ จำเลย ครอบครอง ต่อ จาก บิดา จำเลยโจทก์ ได้ โต้แย้ง จำเลย ตลอด มา การ ครอบครอง ดังกล่าว นั้น ย่อม ไม่ใช่การ ครอบครอง โดย สงบ ประเด็น ข้อ นี้ ภาระการพิสูจน์ ตก อยู่ แก่ จำเลยเมื่อ จำเลย พิสูจน์ ไม่ได้ จำเลย ย่อม ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาทโดย การ ครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ศาลไม่วินิจฉัยเรื่องกรรมสิทธิ์หากจำเลยขอเพียงยกฟ้อง
ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยเป็นผู้สร้างกันสาดรุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่กลับนำสืบว่า ว. เป็นผู้สร้างกันสาดนั้นในขณะที่ดินยังเป็นของ ส. และโจทก์เพิ่งมาซื้อที่ดินดังกล่าวในภายหลัง จึงฟังได้ว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้ก่อสร้างกันสาดรุกล้ำที่ดินของโจทก์ ทั้งจำเลยรับโอนอาคารในสภาพที่มีกันสาดรุกล้ำที่ดินอยู่ก่อนแล้ว จำเลยจึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
แม้ตามคำฟ้องฎีกาจำเลยจะยกเหตุผลกล่าวอ้างว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์โดยการครอบครองที่ดินส่วนที่กันสาดรุกล้ำเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว แต่คำขอของจำเลยในคำฟ้องฎีกาไม่ได้ขอให้พิพากษาว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่อาคารรุกล้ำโดยการครอบครองปรปักษ์ คงมีคำขอเพียงว่าให้พิพากษายกฟ้องโจทก์เท่านั้น ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้อนี้ของจำเลยเพราะหากพิพากษาว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวย่อมจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและการครอบครองปรปักษ์: จำเลยไม่ต้องรับผิดละเมิดหากไม่ได้เป็นผู้สร้างสิ่งรุกล้ำ และไม่ขอให้ศาลตัดสินเรื่องการครอบครองปรปักษ์
ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยเป็นผู้สร้างกันสาดรุกล้ำที่ดินของโจทก์แต่กลับนำสืบว่าว. เป็นผู้สร้างกันสาดนั้นในขณะที่ดินยังเป็นของส. และโจทก์เพิ่งซื้อที่ดินดังกล่าวในภายหลังจึงฟังได้ว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้ก่อสร้างกันสาดรุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งจำเลยรับโอนอาคารในสภาพที่มีกันสาดรุกล้ำที่ดินอยู่ก่อนแล้วจำเลยจึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ แม้ตามคำฟ้องฎีกาจำเลยจะยกเหตุผลกล่าวอ้างว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์โดยการครอบครองที่ดินส่วนที่กันสาดรุกล้ำเป็นเวลากว่าสิบปีแล้วแต่คำขอของจำเลยในคำฟ้องฎีกาไม่ได้ขอให้พิพากษาว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่อาคารรุกล้ำโดยการครอบครองปรปักษ์คงมีคำขอเพียงว่าให้พิพากษายกฟ้องโจทก์เท่านั้นศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้อนี้ของจำเลยเพราะหากพิพากษาว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวย่อมจะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142ประกอบมาตรา246และมาตรา247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดิน: การบรรยายฟ้องที่ชัดเจน และประเด็นสาธารณสมบัติที่ยกขึ้นใหม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่426จำเลยได้เข้ามาปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินแปลงดังกล่าวเนื้อที่107.51ตารางวาโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ดังนี้เมื่อตามภาพถ่ายแผนที่พิพาทท้ายฟ้องได้แสดงถึงที่ตั้งของที่ดินไว้แล้วส่วนจำเลยเข้ามาอยู่ในที่ดินพิพาทเมื่อใดทิศไหนกว้างยาวเท่าใดและติดกับที่ดินผู้ใดนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ฟ้องโจทก์จึงหาเคลือบคลุมไม่ จำเลยฎีกาว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินการจำหน่ายจ่ายโอนจะต้องทำตามกฎหมายจะทำโดยพลการไม่ได้นั้นเป็นคนละเรื่องกับหนังสือมอบอำนาจชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ทั้งจำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาและไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
of 138