คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความยินยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 569 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1685/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราและการบุกรุก: ความยินยอมจำกัดไม่ครอบคลุมการกระทำผิด
ผู้เสียหายยอมให้จำเลยพักนอนที่นอกชานเท่านั้น การที่จำเลยเข้าไปในห้องนอนของผู้เสียหายเพื่อข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจึงเป็นความผิดฐานบุกรุก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินและข้อตกลงรื้อถอนกำแพงวัด ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม หากได้รับความยินยอมจากวัด
ข้อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยว่าจำเลยจะทำการรื้อถอนกำแพงคอนกรีตของวัดที่อยู่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของที่ดินแปลงตามสัญญาตกลงร่วมหุ้นออกไปภายใน 40 วัน นับแต่วันทำหนังสือนั้น เมื่อตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 31 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 บัญญัติว่า วัดมีสองอย่าง (1) วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (2) สำนักสงฆ์ ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป มาตรา 37 บัญญัติว่า เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้ (1) บำรุงวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี และมาตรา 40 บัญญัติว่า ศาสนสมบัติแบ่งออกเป็นสองประเภท (1) ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ ทรัพย์สินของศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง (2) ศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง ดังนั้น เมื่อวัดเป็นนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกันบุคคลบุคคลธรรมดา กำแพงวัดเป็นเพียงศาสนสมบัติของวัด ซึ่งเจ้าอาวาสมีอำนาจจัดการก่อสร้างหรือรื้อถอนเพื่อประโยชน์ของวัดได้ หากจำเลยสามารถทำความตกลงกับเจ้าอาวาสเพื่อขอรื้อถอนกำแพงวัดและทางวัดยินยอม จำเลยย่อมสามารถรื้อถอนกำแพงวัดได้ การที่จำเลยได้ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์เนื่องจากจำเลยเห็นว่าตนสามารถทำความตกลงกับเจ้าอาวาสได้ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด จึงไม่เป็นโมฆะ ตามหนังสือสัญญาตกลงร่วมหุ้นมีข้อความว่า "เมื่อผู้ร่วมหุ้นที่ 2(จำเลย) ทำการรื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนดที่ดินที่จะซื้อขายภายใน 40 วัน นับตั้งแต่วันทำสัญญาฉบับนี้" แม้จะไม่มีข้อความใดระบุว่าให้จำเลยรื้อถอนจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่เมื่อถ้อยคำในสัญญาระบุชัดแจ้งแล้วว่าให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนด ย่อมแสดงว่าจำเลยต้องรื้อถอนกำแพงด้านทิศตะวันออกทั้งหมด จำเลยรื้อถอนกำแพงออกไป 6 ช่องแล้วถูกดำเนินคดี จึงก่อสร้างกำแพงกลับสู่สภาพเดิม 5 ช่อง คงเหลือส่วนที่จำเลยทุกออก 1 ช่อง และส่วนที่ผู้อื่นทุบออก 1 ช่อง ถือได้ว่าจำเลยไม่สามารถรื้อถอนกำแพงออกไปหมดตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินและข้อตกลงรื้อถอนกำแพงวัด ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรม หากได้รับความยินยอมจากวัด
ข้อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยว่าจำเลยจะทำการรื้อถอนกำแพงคอนกรีตของวัดที่อยู่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของที่ดินแปลงตามสัญญาตกลงร่วมหุ้นออกไปภายใน40วันนับแต่วันทำหนังสือนั้นเมื่อตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505มาตรา31ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์(ฉบับที่2)พ.ศ.2535บัญญัติว่าวัดมีสองอย่าง(1)วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา(2)สำนักสงฆ์ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไปมาตรา37บัญญัติว่าเจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้(1)บำรุงวัดจัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดีและมาตรา40บัญญัติว่าศาสนสมบัติแบ่งออกเป็นสองประเภท(1)ศาสนสมบัติกลางได้แก่ทรัพย์สินของศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง(2)ศาสนสมบัติของวัดได้แก่ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่งดังนั้นเมื่อวัดเป็นนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกันบุคคลบุคคลธรรมดากำแพงวัดเป็นเพียงศาสนสมบัติของวัดซึ่งเจ้าอาวาสมีอำนาจจัดการก่อสร้างหรือรื้อถอนเพื่อประโยชน์ของวัดได้หากจำเลยสามารถทำความตกลงกับเจ้าอาวาสเพื่อขอรื้อถอนกำแพงวัดและทางวัดยินยอมจำเลยย่อมสามารถรื้อถอนกำแพงวัดได้การที่จำเลยได้ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์เนื่องจากจำเลยเห็นว่าตนสามารถทำความตกลงกับเจ้าอาวาสได้ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใดจึงไม่เป็นโมฆะ ตามหนังสือสัญญาตกลงร่วมหุ้นมีข้อความว่า"เมื่อผู้ร่วมหุ้นที่2(จำเลย)ทำการรื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนดที่ดินที่จะซื้อขายภายใน40วันนับตั้งแต่วันทำสัญญาฉบับนี้"แม้จะไม่มีข้อความใดระบุว่าให้จำเลยรื้อถอนจำนวนเท่าใดก็ตามแต่เมื่อถ้อยคำในสัญญาระบุชัดแจ้งแล้วว่าให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนดย่อมแสดงว่าจำเลยต้องรื้อถอนกำแพงด้านทิศตะวันออกทั้งหมดจำเลยรื้อถอนกำแพงออกไป6ช่องแล้วถูกดำเนินคดีจึงก่อสร้างกำแพงกลับสู่สภาพเดิม5ช่องคงเหลือส่วนที่จำเลยทุกออก1ช่องและส่วนที่ผู้อื่นทุบออก1ช่องถือได้ว่าจำเลยไม่สามารถรื้อถอนกำแพงออกไปหมดตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายในการผ่อนผันสัญญาประนีประนอมยอมความต้องได้รับความยินยอมจากคู่ความ
ทนายความที่คู่ความแต่งตั้งมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความ แต่ถ้าดำเนินกระบวนพิจารณาใดเป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ จะต้องได้ระบุไว้ชัดเจนในใบแต่งทนายความของคู่ความนั้น เมื่อปรากฏว่าทนายโจทก์อนุญาตให้จำเลยออกจากห้องพิพาทหลังจากล่วงพ้นกำหนดตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความก็เป็นการกระทำกันนอกศาล มิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลทั้งโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย จึงนอกเหนืออำนาจที่ทนายโจทก์จะกระทำได้และไม่มีผลผูกพันโจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุมัติเบิกเงินเกินบัญชีโดยไม่ถูกต้อง และความยินยอมโดยปริยายของธนาคาร
จำเลยเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์อนุมัติให้ลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชีโดยผิดระเบียบหลายราย แต่โจทก์ก็ได้ติดตามทวงถามจนได้รับชำระหนี้ครบถ้วนคงเหลือเพียง 2 ราย ในการอนุมัติดังกล่าวจำเลยได้รายงานให้สำนักงานใหญ่ทราบทุกครั้งเป็นวัน ๆ ไป โจทก์หาได้ทักท้วงเป็นกิจจะลักษณะหรือดำเนินการลงโทษจำเลยทางวินัยไม่ กลับยอมรับเอาดอกเบี้ยอันเป็นผลประโยชน์ที่ได้จากการกระทำของจำเลยมาตลอด แสดงว่าโจทก์เต็มใจยอมรับเอาผลเสียหายอันอาจเกิดแก่โจทก์ในอนาคต ไม่ได้ถือเอาการที่จำเลยอนุมัติให้ลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชีโดยผิดระเบียบข้อบังคับของโจทก์ เป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างจริงจังจึงไม่อาจถือว่าจำเลยผิดสัญญาตัวแทนโดยการปฏิบัติหน้าที่ผิดระเบียบข้อบังคับของโจทก์โจทก์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการกระทำของจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมโดยปริยายของนายจ้างต่อการปฏิบัติหน้าที่ผิดระเบียบของตัวแทน ทำให้ไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
จำเลยเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์อนุมัติให้ลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชีโดยผิดระเบียบหลายราย แต่โจทก์ก็ได้ติดตามทวงถามจนได้รับชำระหนี้ครบถ้วนคงเหลือเพียง 2 ราย ในการอนุมัติดังกล่าวจำเลยได้รายงานให้สำนักงานใหญ่ทราบทุกครั้งเป็นวัน ๆ ไป โจทก์หาได้ทักท้วงเป็นกิจจะลักษณะหรือดำเนินการลงโทษจำเลยทางวินัยไม่ กลับยอมรับเอาดอกเบี้ยอันเป็นผลประโยชน์ที่ได้จากการกระทำของจำเลยมาตลอด แสดงว่าโจทก์เต็มใจยอมรับเอาผลเสียหายอันอาจเกิดแก่โจทก์ในอนาคต ไม่ได้ถือเอาการที่จำเลยอนุมัติให้ลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชีโดยผิดระเบียบข้อบังคับของโจทก์ เป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างจริงจังจึงไม่อาจถือว่าจำเลยผิดสัญญาตัวแทนโดยการปฏิบัติหน้าที่ผิดระเบียบข้อบังคับของโจทก์โจทก์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการกระทำของจำเลยไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิง: พยานหลักฐานเชื่อได้ถึงการกระทำผิด แม้มีพยานปากเดียว
แม้โจทก์มีผู้เสียหายเป็นพยานปากเดียวที่รู้เห็นว่าจำเลยกับพวกร่วมข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายโดยผู้เสียหายไม่ได้ยินยอมด้วยก็ตาม แต่เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุให้ควรเชื่อได้ว่าผู้เสียหายเบิกความไปตามความจริง กรณีก็ฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้ร่วมกระทำผิด(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671-675/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายงานข้ามบริษัทในเครือที่ไม่ได้รับความยินยอม ถือเป็นการเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย
บริษัทจำเลยและบริษัท บ. เป็นบริษัทในเครือเดียวกันและมีผู้บริหารชุดเดียวกัน แต่บริษัทดังกล่าวก็มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันการที่จำเลยเลิกกิจการแล้วมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปปฏิบัติงานที่บริษัท บ. โดยโจทก์ไม่ยินยอมด้วย จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 โจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5965/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมในการทำนิติกรรมของผู้เยาว์: รูปแบบไม่จำกัดกฎเกณฑ์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 21 มิได้บัญญัติถึงแบบหรือวิธีปฏิบัติในการที่ผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมของผู้เยาว์ไว้ดังนั้นการให้ความยินยอมดังกล่าวจึงกระทำด้วยวาจาลายลักษณ์อักษรหรือพฤติการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เมื่อบิดาและมารดาให้ความยินยอมแก่บุตรผู้เยาว์ในการทำนิติกรรมแล้ว นิติกรรมจึงสมบูรณ์มีผลใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5837/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำอนาจารโดยความยินยอมของผู้เสียหายที่เชื่อมั่นในวิธีการรักษาของแพทย์แผนโบราณ ไม่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278
ผู้เสียหายยอมให้จำเลยซึ่งเป็นแพทย์แผนโบราณกระทำอนาจารโดยโง่เขลาเบาปัญญาหลงเชื่ออย่างงมงายว่า จำเลยทำการรักษาโรคให้ได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการขู่เข็ญโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญจนผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ เมื่อจำเลยกระทำต่อผู้เสียหายซึ่งมีอายุเกินกว่า 13 ปี การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278
of 57