พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,092 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การกระทำผิดวินัยทั่วไปไม่ถึงขั้นร้ายแรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยได้ด่า ส. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์ว่า "ตอแหล" ต่อหน้าพนักงานอื่นในสถานที่ทำงานขณะที่ ส.สั่งห้ามพนักงานพูดเสียงดังการที่โจทก์ด่าส.โดยใช้ถ้อยคำว่า "ตอแหล" ซึ่งมีความหมายว่าเป็นคนพูดเท็จอันเป็นการแสดงกิริยากระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาด้วยการใช้วาจาดูหมิ่น เหยียดหยามและก้าวร้าว เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่งจำเลยได้จัดไว้ในหัวข้อเรื่องวินัยและความประพฤติทั่วไปของพนักงาน แยกต่างหากจากหัวข้อเรื่องความผิดร้ายแรงซึ่งได้ระบุการกระทำที่เป็นความผิดร้ายแรงไว้โดยเฉพาะ ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ได้ถือว่าการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเป็นความผิดกรณีร้ายแรงแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อปรับการกระทำของโจทก์กับระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยดังกล่าวแล้ว การกระทำของโจทก์เป็นเพียงฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีทั่วไป หาเป็นความผิดกรณีร้ายแรงไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยเตือนโจทก์เป็นหนังสือมาก่อน จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การด่าผู้บังคับบัญชาด้วยคำหยาบคาย มิใช่ความผิดร้ายแรง ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยได้ด่าส. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์ว่า"ตอแหล"ต่อหน้าพนักงานอื่นในสถานที่ทำงานขณะที่ส. สั่งห้ามพนักงานพูดเสียงดังการที่โจทก์ด่าส.โดยใช้ถ้อยคำว่า"ตอแหล"ซึ่งมีความหมายว่าเป็นคนพูดเท็จอันเป็นการแสดงกิริยากระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาด้วยการใช้วาจาดูหมิ่นเหยียดหยามและก้าวร้าวเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่งจำเลยได้จัดไว้ในหัวข้อเรื่องวินัยและความประพฤติทั่วไปของพนักงานแยกต่างหากจากหัวข้อเรื่องความผิดร้ายแรงซึ่งได้ระบุการกระทำที่เป็นความผิดร้ายแรงไว้โดยเฉพาะซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ได้ถือว่าการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเป็นความผิดกรณีร้ายแรงแต่อย่างใดดังนั้นเมื่อปรับการกระทำของโจทก์กับระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยดังกล่าวแล้วการกระทำของโจทก์เป็นเพียงฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีทั่วไปหาเป็นความผิดกรณีร้ายแรงไม่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยเตือนโจทก์เป็นหนังสือมาก่อนจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ46แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยการทำร้ายร่างกาย ถือเป็นเหตุเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุไว้ว่าห้ามเล่นการพนัน ก่อการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย ลักทรัพย์หรือก่อกวนความสงบสุขหรือก้าวก่ายการปฏิบัติงานของพนักงานอื่นซึ่งหากคนงานกระทำผิดข้อบังคับดังกล่าว จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้การที่โจทก์มิได้เป็นผู้บังคับบัญชาของ อ. ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบงานของ อ.และอ. จะตอบคำถามของโจทก์หรือไม่ก็ได้ เมื่อ อ.ไม่ยอมพูดด้วยโจทก์ก็น่าจะรู้ว่าอ.ไม่ต้องการให้โจทก์ไปรบกวนเวลาที่กำลังทำงานระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็ระบุห้ามไว้ซึ่งโจทก์ต้องปฏิบัติตาม แต่โจทก์กลับหาเรื่องชกต่อย อ.ถึง 2 ที เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายไปก่อเหตุขึ้นก่อน จะอ้างว่าได้กระทำไปเพราะบันดาลโทสะเนื่องจาก อ. แสดงอาการยียวนหาได้ไม่ การกระทำของโจทก์เป็นการจงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย และเป็นความผิดทางอาญาด้วย จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) และเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ด้วยจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2011/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การประมาทเลินเล่อทางหน้าที่ vs. ความเสียหายร้ายแรง และสิทธิค่าชดเชย
โจทก์อนุมัติให้จ่ายเงินสดแก่ลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตที่มาขอเบิกเงินโดยโจทก์มิได้รับประโยชน์หรือเรียกร้องเอาผลประโยชน์จากการอนุมัติจึงเป็นการอนุมัติไปตามอำนาจหน้าที่ตามที่เห็นสมควรการที่โจทก์ไม่ควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ให้ส่งใบเบิกไปให้ส่วนบัตรเครดิตสำนักงานใหญ่ในวันรุ่งขึ้นตามระเบียบของจำเลยถือได้แต่เพียงว่าเป็นการปฎิบัติหน้าที่บกพร่องและประมาทเลินเล่อเท่านั้นหาใช่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่อย่างใดไม่ จำนวนเงินที่โจทก์อนุมัติให้จ่ายแก่ลูกค้าผู้นำบัตรเครดิตมาขอเบิกนั้นแม้จำเลยจะเรียกเก็บจากธนาคารที่ลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตมาขอเบิกไม่ได้เนื่องจากล่วงเลยเวลากว่า120วันแล้วก็ตามแต่จำเลยก็ยังมีสิทธิที่จะทวงถามหรือฟ้องบังคับเอาแก่ลูกค้าผู้มาขอเบิกได้การปฎิบัติหน้าที่บกพร่องและประมาทเลินเล่อของโจทก์ดังกล่าวจึงยังไม่พอที่จะถือว่าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงและฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรง ขณะเกิดเหตุโจทก์ทำงานตำแหน่งสมุห์บัญชีมีหน้าที่ดูแลการเงินในสาขาของจำเลยการที่โจทก์ปฎิบัติหน้าที่บกพร่องประมาทเลินเล่อย่อมทำให้จำเลยเสียหายแม้ความเสียหายดังกล่าวจะยังไม่พอที่จะถือว่าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงแต่ก็ถือได้ว่าการกระทำของโจทก์มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเมื่อการเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ส่วนค่าชดเชยนั้นเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้เตือนเป็นหนังสือก่อนทั้งไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้กระทำผิดในประการอื่นอีกจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยเลิกจ้าง: งานก่อสร้างเกิน 2 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย แม้สัญญาจ้างระบุเวลาสั้นกว่า
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสี่ ข้อความที่ว่า "การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสาม ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน2 ปี" ข้อความที่ว่า งานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี ย่อมหมายความว่า เป็นงานทั้งหมดที่นายจ้างต้องกระทำให้แล้วเสร็จใน 2 ปี หาใช่หมายถึงเฉพาะระยะเวลาการจ้างที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างสำหรับลูกจ้างแต่ละคนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยเลิกจ้าง: งานก่อสร้างเกิน 2 ปี แม้สัญญาจ้างระบุไม่เกิน 2 ปี ก็ต้องจ่ายค่าชดเชย
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคสี่ข้อความที่ว่า"การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน2ปี"ข้อความที่ว่างานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน2ปีย่อมหมายความว่าเป็นงานทั้งหมดที่นายจ้างต้องกระทำให้แล้วเสร็จใน2ปีหาใช่หมายถึงเฉพาะระยะเวลาการจ้างที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างสำหรับลูกจ้างแต่ละคนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างรายเดือนที่ไม่เข้าข่ายทุจริตต่อหน้าที่ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ได้รับค่าจ้างเป็นอัตราเดือนละตามจำนวนที่กำหนดไว้แน่นอน การคิดค่าจ้างเป็นรายเดือนนี้ย่อมไม่มีการนำจำนวนวันและเวลาที่มาปฏิบัติงานมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าจ้างในการมาปฏิบัติงานของโจทก์ ดังนี้ หากโจทก์จะขาดงานไปบ้างก็ถือเป็นเพียงการปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฐานละทิ้งหน้าที่เท่านั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรายเดือนลงเวลามาปฏิบัติงานกะกลางคืนตั้งแต่เวลา 19.57 นาฬิกา ถึงเวลา 4 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นอันเป็นเท็จ ย่อมมีผลเป็นการขาดงานไปหนึ่งกะเท่านั้น กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ในค่าจ้างโดยไม่ชอบและประสงค์ให้จำเลยได้รับความเสียหายแก่การผลิต จึงไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (1) และ (3) การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างรายเดือนลงเวลาทำงานเท็จ ไม่ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย จึงต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ได้รับค่าจ้างเป็นอัตราเดือนละตามจำนวนที่กำหนดไว้แน่นอน การคิดค่าจ้างเป็นรายเดือนนี้ย่อมไม่มีการนำจำนวนวันละเวลาที่มาปฏิบัติงานมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าจ้างในการมาปฏิบัติงานของโจทก์ ดังนี้ หากโจทก์จะขาดงานไปบ้างก็ถือเป็นเพียงการปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฐานละทิ้งหน้าที่เท่านั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรายเดือนลงเวลามาปฏิบัติงานกะกลางคืนตั้งแต่เวลา 19.57นาฬิกา ถึงเวลา 4 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นอันเป็นเท็จ ย่อมมีผลเป็นการขาดงานไปหนึ่งกะเท่านั้น กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ในค่าจ้างโดยไม่ชอบและประสงค์ให้จำเลยได้รับความเสียหายแก่การผลิต จึงไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(1) และ (3) การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างรายเดือนลงเวลาเท็จไม่ถือทุจริตหากมิได้มีเจตนาแสวงหาประโยชน์ในค่าจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือนได้รับค่าจ้างเป็นอัตราเดือนละตามจำนวนที่กำหนดไว้แน่นอนการคิดค่าจ้างเป็นรายเดือนนี้ย่อมไม่มีการนำจำนวนวันละเวลาที่มาปฏิบัติงานมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าจ้างในการมาปฏิบัติงานของโจทก์ดังนี้หากโจทก์จะขาดงานไปบ้างก็ถือเป็นเพียงการปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฐานละทิ้งหน้าที่เท่านั้นการที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรายเดือนลงเวลามาปฏิบัติงานกะกลางคืนตั้งแต่เวลา19.57นาฬิกาถึงเวลา4นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นอันเป็นเท็จย่อมมีผลเป็นการขาดงานไปหนึ่งกะเท่านั้นกรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ในค่าจ้างโดยไม่ชอบและประสงค์ให้จำเลยได้รับความเสียหายแก่การผลิตจึงไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(1)และ(3)การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดดังกล่าวจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1804/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องค่าจ้างและสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา การต่ออายุสัญญาจ้าง และข้อยกเว้นค่าชดเชย
จำเลยอุทธรณ์ว่า ที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับค่าจ้างเป็นรายชั่วโมงอัตราวันละ 1,883.08 บาท ขัดกับเอกสารและคำรับของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้ กรณีต้องฟังว่าโจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ได้รับค่าจ้างเดือนละ40,800 บาท อันเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสาม หมายถึงสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตั้งแต่แรกเมื่อเข้าทำสัญญากันว่าตกลงจ้างมีกำหนดระยะเวลานานเท่าใด เมื่อครบกำหนดระยะเวลานั้นแล้วก็จะไม่มีการจ้างกันต่อไปอีก
นอกจากจำเลยทั้งสองตกลงจ้างโจทก์มีกำหนดระยะเวลา15 เดือนแล้ว ยังมีข้อความต่อไปอีกว่า "...และสามารถต่ออายุสัญญาได้โดยการตกลงร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของโครงการ" ดังนี้ เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 15 เดือนแล้ว หากงานตามโครงการของจำเลยทั้งสองยังมีความต้องการจ้างโจทก์ต่อไปอีก จำเลยทั้งสองและโจทก์สามารถตกลงต่ออายุสัญญาคือขยายระยะเวลาการจ้างต่อไปอีกได้ งานตามโครงการของจำเลยทั้งสองจะหมดความจำเป็นที่จะจ้างโจทก์เมื่อใดไม่อาจกำหนดระยะเวลาให้แน่นอนลงไปได้การจ้างจะมีกำหนดระยะเวลานานเท่าใดจึงขึ้นอยู่กับความต้องการของโครงการซึ่งอาจมีต่อไปได้เรื่อย ๆ จนกว่าจะหมดความจำเป็น การที่สัญญาดังกล่าวจะได้กำหนดระยะเวลาการจ้างช่วงแรกไว้เป็นเวลา 15 เดือน ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสาม อันจะทำให้จำเลยทั้งสองได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้าง
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสาม หมายถึงสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตั้งแต่แรกเมื่อเข้าทำสัญญากันว่าตกลงจ้างมีกำหนดระยะเวลานานเท่าใด เมื่อครบกำหนดระยะเวลานั้นแล้วก็จะไม่มีการจ้างกันต่อไปอีก
นอกจากจำเลยทั้งสองตกลงจ้างโจทก์มีกำหนดระยะเวลา15 เดือนแล้ว ยังมีข้อความต่อไปอีกว่า "...และสามารถต่ออายุสัญญาได้โดยการตกลงร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของโครงการ" ดังนี้ เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 15 เดือนแล้ว หากงานตามโครงการของจำเลยทั้งสองยังมีความต้องการจ้างโจทก์ต่อไปอีก จำเลยทั้งสองและโจทก์สามารถตกลงต่ออายุสัญญาคือขยายระยะเวลาการจ้างต่อไปอีกได้ งานตามโครงการของจำเลยทั้งสองจะหมดความจำเป็นที่จะจ้างโจทก์เมื่อใดไม่อาจกำหนดระยะเวลาให้แน่นอนลงไปได้การจ้างจะมีกำหนดระยะเวลานานเท่าใดจึงขึ้นอยู่กับความต้องการของโครงการซึ่งอาจมีต่อไปได้เรื่อย ๆ จนกว่าจะหมดความจำเป็น การที่สัญญาดังกล่าวจะได้กำหนดระยะเวลาการจ้างช่วงแรกไว้เป็นเวลา 15 เดือน ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสาม อันจะทำให้จำเลยทั้งสองได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้าง