คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าธรรมเนียม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 515 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2118/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีโดยคนอนาถา ต้องมีเหตุผลสมควรในการอุทธรณ์ มิใช่เพียงยากจน และศาลมีอำนาจกำหนดเวลาชำระค่าธรรมเนียม
การขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์นั้น นอกจากโจทก์จะเป็นคนยากจนแล้ว คดีของโจทก์ต้องมีเหตุผลสมควรที่จะอุทธรณ์ด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์ เนื่องจากคดีของโจทก์ไม่มีเหตุผลสมควรที่จะอุทธรณ์ โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลภายใน 7 วัน ประเด็นที่ว่าคดีโจทก์มีเหตุผลสมควรที่จะอุทธรณ์หรือไม่ย่อมยุติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสุดท้ายเมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขออนาถาใหม่ โจทก์คงมีสิทธิเพียงนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าโจทก์เป็นคนยากจนเท่านั้น แต่เมื่อคดีฟังยุติว่าคดีโจทก์ไม่มีเหตุผลสมควรที่จะอุทธรณ์แล้วศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกคำร้องขอของโจทก์ที่ขอให้พิจารณาคำขออนาถาใหม่เสียได้โดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน
การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่ให้โจทก์อุทธรณ์อย่างคนอนาถาโดยกำหนดเวลาให้โจทก์นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคำพิพากษา คำสั่งดังกล่าวเป็นการกำหนดเวลาโดยอาศัยอำนาจของศาลที่มีอยู่ทั่วไปในการที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะหรือห้ามไว้ไปในทางที่เห็นว่ายุติธรรมและสมควรและคำสั่งดังกล่าวมิใช่เป็นการขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755-4757/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมการอายัดเงิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้คิดค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดในตาราง 5 โดยไม่แยกประเภททรัพย์สิน
โจทก์ขออายัดเงินของจำเลยและผู้ร้องเพื่อนำมาชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาต่อมาได้มีการจ่ายเงินที่อายัดบางส่วนชำระหนี้ให้โจทก์เงินอายัดที่จ่ายให้โจทก์นั้นต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ3ครึ่งตามตาราง5ข้อ2ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเพราะได้มีการจ่ายเงินที่อายัดนั้นแก่เจ้าหนี้แล้วทั้งไม่ได้กำหนดว่าการอายัดตัวเงินคิดค่าธรรมเนียมการบังคับคดีแตกต่างจากการอายัดทรัพย์สินอย่างใดกรณีไม่เข้าตาราง5ข้อ4ที่คิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ1ซึ่งเป็นกรณีมีการถอนอายัดเงินหรือไม่มีการจ่ายเงินที่อายัดแก่เจ้าหนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4531/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเกินจำนวนหนี้ เจ้าหนี้ต้องรับผิดค่าธรรมเนียมถอนการยึด
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษา เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้ศาลบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 มาขายทอดตลาดชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้เสมอ
จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าทรัพย์สินของจำเลย ที่ 1 ที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้มีราคาเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษากว่าสิบเท่าเศษ โจทก์นำยึดทรัพย์สิน ของจำเลยที่ 1 มากเกินความจำเป็นจำเลยที่ 1 จึงย่อมมีอำนาจ ร้องขอให้ยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 แต่พอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 284 วรรคแรก
โจทก์นำยึดทรัพย์สินเกินกว่าที่จำเป็นแก่การบังคับคดี ซึ่งมิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติเรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 284 วรรคสอง ชดใช้ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขาย หรือจำหน่ายในอัตราร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4531/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: ยึดทรัพย์เกินจำเป็น เจ้าหนี้ต้องรับผิดค่าธรรมเนียม
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษา เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้ศาลบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 มาขายทอดตลาดชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้เสมอ
จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าทรัพย์สินของจำเลยที่1ที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้มีราคาเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ ให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษากว่าสิบเท่าเศษ โจทก์นำยึดทรัพย์สิน ของจำเลยที่ 1 มากเกินความจำเป็นจำเลยที่ 1 จึงย่อมมีอำนาจ ร้องขอให้ ยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 แต่พอสมควรได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 284วรรคแรก
โจทก์นำยึดทรัพย์สินเกินกว่าที่จำเป็นแก่การบังคับคดี ซึ่งมิใช่กรณี ที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติเรื่องการบังคับคดี ตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 284 วรรคสอง ชดใช้ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขาย หรือจำหน่ายในอัตราร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4531/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเกินจำเป็น เจ้าหนี้ต้องรับผิดค่าธรรมเนียม
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่1ตามคำพิพากษาเมื่อจำเลยที่1ยังไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้ศาลบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่1มาขายทอดตลาดชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้เสมอ จำเลยที่1เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าทรัพย์สินของจำเลยที่1ที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้มีราคาเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษากว่าสิบเท่าเศษโจทก์นำยึดทรัพย์สินของจำเลยที่1มากเกินความจำเป็นจำเลยที่1จึงย่อมมีอำนาจร้องขอให้ยึดทรัพย์สินของจำเลยที่1แต่พอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา284วรรคแรก โจทก์นำยึดทรัพย์สินเกินกว่าที่จำเป็นแก่การบังคับคดีซึ่งมิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติเรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยที่1ผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา284วรรคสองชดใช้ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายในอัตราร้อยละ3ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมฟ้องอุทธรณ์ จำเลยต้องดำเนินการภายในกำหนด หากพ้นกำหนดแล้ว เหตุผลความยากลำบากทางการเงิน หรือความไม่รู้กฎหมาย ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่ขอฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถาและมีคำสั่งว่าหากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระต่อศาลภายใน 7 วัน จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตวางเงินค่าธรรมเนียมภายหลังสิ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อ้างว่าไม่สามารถนำเงินมาวางศาลภายในกำหนดได้เพราะเป็นเงินจำนวนมาก จำเลยรู้เท่าไม่ถึงการณ์และไม่รู้กฎหมาย ดังนี้ไม่ใช่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ศาลไม่อาจขยายเวลาให้จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี: การอายัดเงินและการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้
เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินของจำเลยจากคดีอื่นมาจำนวนหนึ่งในเงินจำนวนนี้ได้จ่ายให้โจทก์เพียงบางส่วน เฉพาะส่วนที่จ่ายให้โจทก์นี้ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 3 ครึ่งตามตาราง 5 ข้อ 2 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
กรณีตามตาราง 5 ข้อ 2 ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการอายัดสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกส่งมอบสิ่งของ และเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำการจำหน่ายสิ่งของนั้นให้เป็นตัวเงิน แม้การอายัดเงินแล้วมีการจ่ายเงินให้ผู้ขออายัด โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องทำการจำหน่ายหรือทำอะไรกับเงินที่อายัดนั้นก็ตาม แต่การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัด เป็นการปฏิบัติตามความหมายของการอายัดแล้ว
กรณีตามตาราง 5 ข้อ 4 หมายถึง เมื่อมีการยึดหรืออายัดเงินหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย การขายหรือจำหน่ายรวมถึงการแลกเปลี่ยนหรือเอาออกหรือยังไม่มีการจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัด จึงเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี: การอายัดเงินและการจ่ายให้เจ้าหนี้ การตีความตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินของจำเลยจากคดีอื่นมาจำนวนหนึ่งในเงินจำนวนนี้ได้จ่ายให้โจทก์เพียงบางส่วน เฉพาะส่วนที่จ่ายให้โจทก์นี้ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 3 ครึ่งตามตาราง 5 ข้อ 2 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
กรณีตามตาราง 5 ข้อ 2 ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการอายัดสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกส่งมอบสิ่งของ และเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำการจำหน่ายสิ่งของนั้นให้เป็นตัวเงิน แม้การอายัดเงินแล้วมีการจ่ายเงินให้ผู้ขออายัด โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องทำการจำหน่ายหรือทำอะไรกับเงินที่อายัดนั้นก็ตามแต่การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัด เป็นการปฏิบัติตามความหมายของการอายัดแล้ว
กรณีตามตาราง 5 ข้อ 4 หมายถึง เมื่อมีการยึดหรืออายัดเงินหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย การขายหรือจำหน่ายรวมถึงการแลกเปลี่ยนหรือเอาออกหรือยังไม่มีการจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัด จึงเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่ออายัดและจ่ายเงิน: ตาราง 5 ข้อ 2 vs. ข้อ 4
เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินของจำเลยจากคดีอื่นมาจำนวนหนึ่งในเงินจำนวนนี้ได้จ่ายให้โจทก์เพียงบางส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายให้โจทก์นี้ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ3ครึ่งตามตาราง5ข้อ2ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กรณีตามตาราง5ข้อ2ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการอายัดสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกส่งมอบสิ่งของและเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำการจำหน่ายสิ่งของนั้นให้เป็นตัวเงินแม้การอายัดเงินแล้วมีการจ่ายเงินให้ผู้ขออายัดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องทำการจำหน่ายหรือทำอะไรกับเงินที่อายัดนั้นก็ตามแต่การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัดเป็นการปฏิบัติตามความหมายของการอายัดแล้ว กรณีตามตาราง5ข้อ4หมายถึงเมื่อมีการยึดหรืออายัดเงินหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายการขายหรือจำหน่ายรวมถึงการแลกเปลี่ยนหรือเอาออกหรือยังไม่มีการจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัดจึงเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ1.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2858/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี: การจ่ายเงินที่อายัดแก่เจ้าหนี้ ถือเป็นการ 'จำหน่าย' ตามกฎหมาย
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินซึ่งจำเลยที่3ที่5ได้รับชำระหนี้ในคดีอื่นไว้นั้นเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดแก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไปจึงต้องคิดค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในการจ่ายเงินที่อายัดแก่โจทก์เจ้าหนี้ในอัตราร้อยละ3ครึ่งของจำนวนเงินที่อายัดตามตาราง5ข้อ2ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและคำว่า'จำหน่าย'หามีความหมายเพียงการขายอย่างเดียวไม่แต่ยังหมายถึง'จ่ายแจกแลกเปลี่ยนเอาออกใช้หรือให้'ด้วยการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดแก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เป็นการจำหน่ายเงินที่อายัดแล้วที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดค่าธรรมเนียมการจ่ายเงินที่อายัดตามข้อ2จึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย.
of 52