พบผลลัพธ์ทั้งหมด 610 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุไม่สมควรให้ล้มละลาย: พิจารณาฐานะทางการงาน, การค้ำประกันหนี้, และผลกระทบต่อครอบครัว
การที่โจทก์ตกลงรับชำระหนี้จาก ก. และ ส. ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยจำนวน 900,000 บาท แล้วยอมถอนการยึดทรัพย์ให้ ก. และ ส. และตกลงไม่เรียกร้องให้คนทั้งสองชำระหนี้อีกต่อไปนั้น ไม่ได้เป็นการกลั่นแกล้งจำเลยให้ไม่ได้รับความเป็นธรรม จะถือเป็นเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายหาได้ไม่ จำเลยมีรายได้น้อยและไม่อยู่ในฐานะที่อาจชำระหนี้โจทก์ได้แต่การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารมีเงินเดือน มีโบนัสและสามารถส่งเสียบุตรให้เรียนหนังสือได้ทุกเดือน ต้องถือว่าจำเลยเป็นผู้มีฐานะทางการงานมั่นคง ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ก็เนื่องมาจากเข้าค้ำประกันหนี้เกี่ยวกับการค้าของสามีไม่ใช่เพราะประพฤติชั่วหรือใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย เกินฐานะและไม่ปรากฎว่าจำเลยมีเจ้าหนี้รายอื่นอีก หากพิพากษาให้ให้จำเลยล้มละลาย จำเลยก็จะถูกให้ออกจากงาน หมดอำนาจในการจัดการทรัพย์สิน และไม่สามารถส่งเสียบุตรให้ได้รับการศึกษาต่อไปทรัพย์สินของจำเลยก็จะยังคงไม่มีพอที่จะรวบรวมมาชำระหนี้โจทก์ ครอบครัวของจำเลยจะตกอยู่ในสภาพแพแตกและหมดที่พึ่ง ไม่บังเกิดผลดีแก่ทั้งโจทก์และสังคมส่วนรวมโจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วประมาณร้อยละ 78 ของจำนวนหนี้ทั้งหมดต่อไปหากจำเลยมีหน้าที่การงานดีขึ้น มีภาระทางครอบครัวน้อยลงและไม่ตกเป็นบุคคลล้มละลาย โจทก์ก็ยังมีโอกาสบังคับคดีในหนี้ที่เหลือจากจำเลยได้ไม่มากก็น้อยซึ่งจะบังเกิดผลดีแก่โจทก์ยิ่งกว่าการที่จะให้จำเลยตกเป็นบุคคลล้มละลาย กรณีเป็นเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันตามคำพิพากษาตามยอม ผู้ค้ำประกันมีหน้าที่ชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ผิดนัด
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมแล้วจำเลยตกลงจะนำบริษัท ค. เข้ามาเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้โดยยินยอมผูกพันตนรับผิดกับจำเลยอย่างลูกหนี้ร่วม และบริษัท ค.ได้ทำสัญญาดังกล่าวแล้ว ดังนั้นจึงถือว่าบริษัท ค. เข้าเป็นผู้ค้ำประกันในศาล โดยทำหนังสือประกันเพื่อการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274 แล้ว เมื่อจำเลยยังค้างชำระหนี้โจทก์อยู่ โจทก์ย่อมบังคับชำระหนี้เอากับบริษัท ค.ผู้ค้ำประกันได้ โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4657/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับรองการค้ำประกันมีผลผูกพันตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 3 ทำหนังสือซึ่งมีข้อความระบุถึงเลขที่ วันออกเช็ค และจำนวนเงินตามเช็คพิพาท และมีข้อความตอนท้ายใจความว่า จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันได้อ่านข้อความเข้าใจดีแล้วจึงลงลายมือชื่อรับรองไว้เป็นหลักฐาน และลงลายมือชื่อในช่องผู้ค้ำประกันด้วย คำว่า "ค้ำประกัน" มีความหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 ว่าอันค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น ดังนั้นเมื่อตามเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน จึงเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทไม่ชำระเงินตามเช็ค จำเลยที่ 3 จะยอมชำระแทน เอกสารดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4657/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันเช็ค: ผู้ค้ำประกันต้องชำระหนี้แทนผู้สั่งจ่ายเช็คเมื่อไม่ชำระหนี้
จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์การที่จำเลยที่ 3 ทำหนังสือซึ่งมีข้อความระบุถึงเลขที่วันออกเช็ค และจำนวนเงินตามเช็คพิพาท และมีข้อความตอนท้ายใจความว่า จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันได้อ่านข้อความเข้าใจดีแล้วจึงลงลายมือชื่อรับรองไว้เป็นหลักฐาน และลงลายมือชื่อในช่องผู้ค้ำประกันด้วย คำว่า "ค้ำประกัน" มีความหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 ว่าอันค้ำประกันนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น ดังนั้นเมื่อตามเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน จึงเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทไม่ชำระเงินตามเช็ค จำเลยที่ 3 จะยอมชำระแทน เอกสารดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีสัญญาจ้างแรงงานและค้ำประกันความเสียหาย: คดีไม่ขาดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คดีที่โจทก์ฟ้อง ผ. ต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานหาใช่คดีละเมิดอย่างเดียวไม่ เพราะโจทก์กับ ผ. เป็นนายจ้างลูกจ้างมีข้อผูกพันตามสัญญาจ้างแรงงานต่อกัน จำเลยค้ำประกันการทำงานของผ.ต่อโจทก์โดยยอมรับผิดในความเสียหายที่ผ.ทำงาน จึงต้องผูกพันค้ำประกันความรับผิดของ ผ.ตามสัญญาจ้างแรงงานด้วยสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่มีกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(193/30 ที่ได้ตรวจชำระใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4562/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
การที่ ศ. ทำสัญญาค้ำประกันไว้กับเจ้าหนี้ซึ่งนอกจากจะมีข้อความระบุว่าเป็นการค้ำประกันหนี้เงินกู้ที่ลูกหนี้ที่ 1กู้ยืมเงินจากโจทก์ตามสัญญากู้ยืมและบันทึกข้อความต่อท้ายสัญญากู้ยืมแล้ว ตอนท้ายของสัญญาค้ำประกันดังกล่าวยังระบุด้วยว่าผู้ค้ำประกันสมัครใจค้ำประกันหนี้สินอื่น ๆ ทุกชนิด และทุกประเภทของผู้กู้ ทั้งที่มีอยู่แล้วหรือจะมีขึ้นในภายหน้าอันพึงมีต่อผู้ให้กู้ และ/หรือในนิติกรรมสัญญาใด ๆ ที่ผู้กู้ได้ทำไว้กับผู้ให้กู้ทั้งหมดจนกว่าผู้ให้กู้จะได้รับชำระหนี้ถูกต้องครบถ้วนด้วยดังนั้น เมื่อลูกหนี้ที่ 1 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้อันดับที่ 2และอันดับที่ 3 ไว้ต่อเจ้าหนี้ย่อมต้องถือว่า ศ. ตกลงเข้าค้ำประกันหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวด้วย เมื่อ ศ. นำเงินไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้โดยมิได้ระบุว่าชำระหนี้รายใด การที่เจ้าหนี้นำไปจัดสรรชำระดอกเบี้ยของหนี้ทั้งสามอันดับตามส่วน ย่อยชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328และมาตรา 329 แล้ว การที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้อันดับที่ 3 โดยอ้างส่งแต่เฉพาะสำเนาเอกสารเกี่ยวกับหนี้ดังกล่าวเป็นพยาน แต่ไม่นำส่งต้นฉบับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้หมายนัดให้เจ้าหนี้ทราบโดยชอบ ทั้งไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ จึงต้องห้ามมิให้รับฟังสำเนาเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ประกอบพระราชบัญญัติ ล้มละลาย มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4506/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันที่กำหนดวันสิ้นสุดสัญญา ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดชอบหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลัง
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันในวันเดียวกับที่จำเลยที่ 1ทำสัญญากู้เงินจากโจทก์โดยระบุว่า จำเลยที่ 1 จะชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 มีนาคม 2523 ซึ่งแสดงว่าได้กำหนดวันสิ้นสุดของสัญญาให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันทราบ ตามปกติจำเลยที่ 2ต้องรับผิดเฉพาะหนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นไว้ต่อโจทก์ ภายในวันที่31 มีนาคม 2523 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมหรือร่วมรู้เห็นด้วยในการที่โจทก์และจำเลยที่ 1 กู้เงินกันและชำระเงินกันโดยไม่ถือเอากำหนดเวลาสิ้นสุดของสัญญากู้เงินเป็นสาระสำคัญ และกรณีมิใช่เป็นเรื่องโจทก์เจ้าหนี้ผ่อนเวลาชำระหนี้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่จะถือเอาว่าจำเลยที่ 2 รับรู้ด้วยตามข้อยกเว้นในสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้เงินกู้ที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ 31 มีนาคม 2523
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนหนังสือค้ำประกันโดยความผิดพลาดไม่ปลดหนี้ผู้ค้ำประกัน หากหนี้ยังไม่ระงับ
โจทก์คืนหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3 รวม 5 ฉบับ ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับไปด้วยความเข้าใจผิดของพนักงานโจทก์ โจทก์มิได้มีเจตนาประสงค์จะปลดหนี้ให้แก่จำเลยทั้งสาม แม้จำเลยที่ 3 จะได้รับเวนคืนหนังสือค้ำประกันดังกล่าวซึ่งเป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ ซึ่งเข้าข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 วรรคสาม ว่าหนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปแล้วก็ตาม แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 1ยังมิได้ชำระหนี้ที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันแก่โจทก์ และหนี้ดังกล่าวหาได้ระงับไปด้วยเหตุประการอื่นใดไม่ จำเลยที่ 1ยังคงต้องชำระหนี้นั้นต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698จำเลยที่ 3 จะอ้างธรรมเนียมปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์ว่าเมื่อจำเลยที่ 3 ได้รับเวนคืนต้นฉบับหนังสือค้ำประกันจากจำเลยที่ 2ผู้เป็นลูกค้าโดยสุจริต แม้ไม่ได้รับเวนคืนจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 3 ก็หลุดพ้นจากความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันแล้วหาได้ไม่ เพราะกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกันดังที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ถึงมาตรา 701 ส่วนที่จำเลยที่ 3 อ้างว่าไม่อาจไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 สำหรับหลักประกันที่ได้คืนให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อยกเลิกหนังสือค้ำประกันดังกล่าวได้ เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ต้องไปว่ากล่าวกันต่างหากต่อไปหาได้เกี่ยวข้องกับการหลุดพ้นจากความรับผิดของจำเลยที่ 3ในฐานะผู้ค้ำประกันแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันสัญญาการศึกษาต่อต่างประเทศ: ระยะเวลาและข้อตกลงเพิ่มเติม
จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติและความรับผิดตามสัญญาของข้าราชการที่ไปศึกษาหรืออบรม ณ ต่างประเทศ ที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยทุนส่วนตัว (ทุนประเภท 2) มีกำหนด2 ปี นับแต่วันออกเดินทาง โดยเมื่อจำเลยที่ 1 เสร็จการศึกษาตามที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ลาไปศึกษาต่อ หรือจำเลยที่ 1ถูกเรียกตัวกลับ และจำเลยที่ 1 ไม่กลับมารับราชการกับโจทก์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาที่ได้รับเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและจำเลยที่ 1 ไม่ชดใช้เงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 2 ยินยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น ส่วนที่หลังจากครบกำหนด2 ปี แล้ว จำเลยที่ 1 ได้ขอลาศึกษาต่อด้วยทุนส่วนตัวอีก 5 ปี9 เดือน 4 วัน และโจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ลาศึกษาต่อโดยไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการลาไปศึกษาต่อเพิ่มเติมของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แต่อย่างใดจำเลยที่ 2 จึงคงมีความรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเพียงสำหรับการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 2 ปี เท่านั้น สัญญาค้ำประกันระบุว่า หากโจทก์จะผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ตกลงยินยอมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันต่อไป มีความหมายเพียงว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้เงินคืนให้โจทก์พร้อมเบี้ยปรับภายในกำหนด 30 วัน ถัดจากวันได้รับแจ้งจากโจทก์ตามสัญญาข้อ 4 และ ข้อ 5 และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน แม้โจทก์ผ่อนเวลาในการชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ก็ยินยอมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันต่อไปข้อความดังกล่าวหาได้มีความหมายว่า จำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ทุกประการโดยไม่จำกัดเวลาและจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นในอนาคตไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ถือเป็นการจัดการสินสมรส และการงดสอบสวนพยานที่จำเลยไม่มาตามหมาย
การค้ำประกันสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ใช่การจัดการเกี่ยวกับสินสมรสสามีไม่จำต้องรับความยินยอมจากภรรยาก็ใช้บังคับได้ ในชั้นสอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของจำเลยการไต่สวนจำเลยโดยเปิดเผยและการส่งประกาศนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งไปยังภูมิลำเนาจำเลยซึ่งเป็นสถานที่เดียวกันกับที่ปิดหมายนัดสอบสวนพยานลูกหนี้ซึ่งจำเลยก็ทราบทุกครั้งทั้งมิได้แจ้งว่าย้ายภูมิลำเนาแล้ว จึงเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อเห็นว่าได้ส่งหมายเรียกให้จำเลยโดยชอบแล้วจำเลยไม่มา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะสั่งงดสอบสวนพยานจำเลยเสียได้