คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำกัดสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1437/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดีเช่าทรัพย์สินราคาไม่สูง และผลผูกพันสัญญาเช่าเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์
คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าไม่เกินเดือนละสองพันบาท และเรียกค่าเสียหายไม่เกินสองพันบาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัย ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์หากจำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีที่โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้งจะอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องแยกพิจารณา แม้คดีที่โจทก์ฟ้องต้องห้ามคดีที่จำเลยฟ้องแย้งก็อาจไม่ต้องห้าม
สัญญาเช่าตึกมีกำหนดระยะเวลาเช่า 12 ปี ซึ่งผู้เช่าเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างให้ผู้ให้เช่านั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลใช้บังคับระหว่างคู่สัญญาได้เต็ม 12 ปีตามสัญญา แต่มีผลใช้บังคับผู้รับโอนตึกต่อไปได้เพียง 3 ปี เพราะมิได้จดทะเบียนเว้นแต่ผู้รับโอนนั้นจะได้ตกลงยินยอมเข้าผูกพันตนในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นแทนผู้ให้เช่าเดิมต่อไปอันเป็นการตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกซึ่งจะทำให้บุคคลภายนอกคือผู้เช่ามีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้จากผู้รับโอนซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 374
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต อ้างข้อเท็จจริงที่หาว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตต่างกับที่อ้างในศาลชั้นต้นแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์มาและศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้หรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าได้ยกขึ้นว่ามาแล้วในศาลอุทธรณ์โดยชอบ เป็นฎีกาต้องห้าม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงและการอุทธรณ์คำพิพากษายกฟ้องในคดีอาญา: การจำกัดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงพิจารณาพิพากษาเมื่อศาลแขวงไต่สวนมูลฟ้องแล้ว ว่าไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง ย่อมอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 22 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ ห้ามโจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
แม้ศาลชั้นต้นจะได้กล่าวความไว้ในคำพิพากษามีข้อความต่าง ๆดังที่โจทก์อ้างว่าเป็นเรื่องนอกสำนวนหรือมีข้อเท็จจริงผิดไปจากสำนวนก็ดีเมื่อข้อความเหล่านั้นไม่เป็นข้อความสำคัญอันเป็นประเด็นข้อแพ้ชนะทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้อาศัยเฉพาะความตามที่โจทก์ยกขึ้นอ้างนั้นแต่ประการเดียว เป็นเหตุยกฟ้องโจทก์ อุทธรณ์โจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1545/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงใช้ที่ดินร่วมกันเป็นถนน การจำกัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินร่วม
เจ้าของรวมในที่ดินมีโฉนดแบ่งแยกที่ดินเป็นหลายแปลงเพื่อขาย ได้ตกลงกันให้ที่ดินตามเลขโฉนดเดิมที่เหลืออยู่เป็นถนนสำหรับผู้มาซื้อที่ดินออกสู่ถนนใหญ่และได้ทำเป็นถนนคอนกรีตขึ้นในที่ดินส่วนนี้ โดยตกลงกันสละสิทธิเรียกร้องใด ๆ จากผู้ใช้ถนนนี้ ข้อตกลงดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันระหว่างกันใช้บังคับกันได้ โดยมิต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนและเป็นการตกลงกันที่แสดงให้เห็นว่ามีวัตถุประสงค์จะเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทที่กลายเป็นถนนคอนกรีตไปแล้วนี้ร่วมกัน มีลักษณะเป็นการถาวรเจ้าของรวมผู้มีชื่อในโฉนดคนหนึ่งคนใดไม่มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่ดินนั้นได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาจำกัดเฉพาะประเด็นที่ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้รับผิดน้อยลง การฎีกาลดหนี้เพิ่มเติมย่อมไม่อาจทำได้
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว โจทก์เป็นฝ่ายอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 รับผิดเพิ่มขึ้นจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาส่วนจำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์คดีแต่อย่างใด ในการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ตามที่โจทก์อุทธรณ์ขึ้นมาฝ่ายเดียวนั้น ศาลอุทธรณ์ก็ได้พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2 รับผิดน้อยลงไปกว่าเดิมด้วยซ้ำดังนี้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาขอลดจำนวนเงินที่จะต้องรับผิดให้น้อยลงไปอีกได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษเพียงเล็กน้อย
คดีอาญาที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี เป็นการแก้เพียงเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์และฎีกาที่จำกัดสิทธิ เนื่องจากศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษาเพียงเล็กน้อย
คดีอาญาที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297. ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี. เป็นการแก้เพียงเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 569/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดีปรับในศาลแขวง – การอุทธรณ์ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานไม่ใช่ข้อกฎหมาย
จำเลยต้องคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับ 50 บาทกระทงหนึ่ง 500 บาท อีกกระทงหนึ่ง ซึ่งแต่ละกระทงไม่เกิน 500 บาทคดีของจำเลยจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2503 มาตรา 10
อุทธรณ์เกี่ยวกับดุลพินิจของศาลชั้นต้นในเรื่องชั่งน้ำหนักคำพยานโจทก์มิใช่เป็นอุทธรณ์เกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการตกลงประเด็นนอกฟ้องในคดีอาญา ศาลต้องวินิจฉัยตามฟ้องเท่านั้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่คู่ความในอันที่จะตกลงกันหรือที่เรียกว่าท้ากัน ขอให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อหนึ่งข้อใดโดยเฉพาะแล้วให้ศาลพิพากษาชี้ขาดไปตามประเด็นข้อที่ตกลงหรือท้ากันนั้นได้ และในการนี้จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138,182 ที่บัญญัติเกี่ยวกับการตกลงหรือท้ากันในคดีแพ่งมาใช้กับคดีอาญาโดยอนุโลม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ก็ไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 บัญญัติบังคับห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานเก็บหาของป่าหวงห้ามในป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตและเสียค่าภาคหลวงจำเลยมิได้ให้การรับสารภาพในข้อหานี้แต่รับสารภาพในข้ออื่นที่โจทก์มิได้ฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องจึงฟังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมกำหนดผู้จัดการทรัพย์สินโดยไม่จำกัดสิทธิ และการตัดทายาทโดยธรรมต้องชัดเจน
ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ 3 กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ข้อเดียวกันนั้นว่า เมื่อตนถึงแก่ความตายไปแล้ว ให้จำเลยทั้งสี่เป็นผู้จัดการศพ ปกครองทรัพย์และจัดการในเรื่องทรัพย์สินของผู้ตาย แม้จะมีคำว่าข้าพเจ้าเต็มใจยกให้จำเลยทั้งสี่ แต่ก็มีข้อความติดต่อเกี่ยวเนื่องกันต่อไปว่า เป็นผู้ปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้า ข้อความต่อไปที่ว่า นอกจากจำเลยทั้งสี่ที่ระบุนามในหนังสือนี้แล้ว ผู้อื่นไม่มีสิทธิจะปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้า ข้อความต่อไปที่ว่า นอกจากจำเลยทั้งสี่ที่ระบุนามในหนังสือนี้แล้ว ผู้อื่นไม่มีสิทธิจะปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้าเป็นอันขาด ก็มีความหมายเป็นในเรื่องการปกครองทรัพย์เช่นเดียวกับข้อความในตอนแรก ต่างกับข้อความที่กำหนดไว้ในข้อ 1 และ 2 แห่งพินัยกรรมฉบับเดียวกันซึ่งมีข้อความกำหนดไว้เป็นที่แน่นอนว่า ได้ยกทรัพย์สิ่งใดให้แก่บุคคลใด โดยระบุชื่อไว้อย่างชัดแจ้งไม่มีข้อความต่อไปว่า ยกให้ปกครองและจัดการดังที่กล่าวไว้ในข้อ 3 ส่วนข้อความต่อไปที่ว่าทรัพย์สินที่ข้าพเจ้าได้ระบุไว้และมิได้ระบุให้เป็นอำนาจของจำเลยทั้งสี่จัดการโดยเด็ดขาดหากเห็นว่าควรจะยกให้แก่ผู้ใด ก็ให้ดำเนินการได้ตามความประสงค์ถ้าไม่เห็นสมควรประการใด ก็แล้วแต่จำเลยทั้งสี่จะจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์ทั้งสิ้นนั้น ข้อความดังกล่าวเห็นได้ว่า การที่จะยกทรัพย์ตามพินัยกรรมให้แก่บุคคลใด มากน้อยก็สุดแล้วแต่ใจของจำเลยทั้งสี่ กล่าวคือ ให้เป็นไปตามความประสงค์ของจำเลยทั้งสี่ ข้อกำหนดดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดบุคคลซึ่งไม่อาจจะทราบตัวแน่นอนได้ เป็นผู้รับพินัยกรรม และเป็นข้อกำหนดที่ให้บุคคลใดยกทรัพย์สินมากน้อยเท่าใดก็ได้ตามแต่ใจของบุคคลนั้น ข้อกำหนดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706
ข้อความในพินัยกรรมกล่าวแต่เพียงว่า บุคคลอื่นแม้จะเกี่ยวเป็นญาติพี่น้องลูกหลานของข้าพเจ้าไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์หรือปกครองทรัพย์ของช้าพเจ้าเท่านั้น ไม่มีข้อความตอนใดหรือในที่ใดระบุไว้ชัดแจ้งว่า ตัดนาง ย. หรือโจทก์ซึ่งเป็นบุตรของนาง ย. มิให้รับมรดก ฉะนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่ของนาง ย. ซึ่งเป็นที่ของนาง บ. จึงมีสิทธิรับมรดกของนางบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการจำหน่ายทรัพย์สินที่ถูกจำกัดสิทธิโดย พ.ร.ฎ.แนวทางหลวง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการบังคับคดีสามารถทำได้หากได้รับอนุญาต
จำเลยฎีกาขอให้สั่งงดการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดจากจำเลย โดยอ้างว่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกโจทก์นำยึดจะขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล เป็นที่ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับของพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน ซึ่งได้มีประกาศห้ามทำการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในเขตส่วนกว้างของแนวทางหลวงหนึ่งพันเมตร โดยการขาย แลกเปลี่ยน ให้ หรือโดยประการอื่น ฯลฯ นั้น ถือว่า แม้ที่ดินจะตกอยู่ภายใต้พระราชกฤษฎีกาตามที่จำเลยอ้าง แต่ตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 มาตรา 57 ซึ่งบัญญัติให้นำมาตรา 46 มาใช้บังคับในกรณีนี้โดยอนุโลม ก็ได้บัญญัติโดยมีข้อยกเว้นไว้ว่าถ้าได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่แล้ว ก็ย่อมจำหน่ายจ่ายโอนกันได้ มิให้บังคับไว้เด็ดขาด และกรณีเช่นนี้ จำเลยก็ไม่มีสิทธิ์จะร้องขอให้งดการขาย เพราะเป็นทรัพย์ของจำเลยที่ตกอยู่ในบังคับที่เจ้าหนี้มีสิทธิ์จะขอให้ยึดมาใช้หนี้ได้ ทั้งเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดำเนินการบังคับคดี
of 33